อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศยังคงปั่นป่วนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่าเงินของประเทศในฝั่งเอเชียที่ยังอ่อนค่าหนักเทียบกับเงินดอลลาร์
สำหรับการอ่อนค่าของเงินเยนญี่ปุ่นหนักสุดในรอบ 32 ปี ส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีแผนจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอการอ่อนค่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- 10 อันดับ สกุลเงินเอเชีย ที่อ่อนค่าสูงสุดนับจากต้นปี หลัง Fed ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยถึงปีหน้า
- ส่องนโยบาย ‘แบงก์ชาติทั่วโลก’ เมื่อ ‘วิกฤตเงินเฟ้อ’ กลายเป็นวิกฤตระดับโลกที่ทุกประเทศไม่อาจหลีกเลี่ยง
- 10 อันดับ สกุลเงินเอเชีย ที่อ่อนค่าสูงสุดนับจากต้นปี 2565
ชูนิชิ ซูซูกิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น ออกมาเตือนนักลงทุนว่ารัฐบาลจะแทรกแซงตลาดค่าเงินเพื่อชะลอการอ่อนค่าของเงินเยน
ด้าน เซอิจิ อะดาชิ กรรมการของธนาคารกลางญี่ปุ่น กล่าวว่า หากมองไปที่สถานการณ์การเงินโลกและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ความเสี่ยงที่เงินเยนจะอ่อนค่าลงไปอีกก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
“เมื่อความเสี่ยงสูงขึ้น เราควรจะเริ่มคำนึงถึงการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินไปเป็นแบบตึงตัวมากขึ้น”
ทั้งนี้ เงินเยนอ่อนค่าไปแตะระดับ 149.415 เยนต่อดอลลาร์ อ่อนค่ามากที่สุดนับแต่เดือนสิงหาคม ปี 1990
ขณะที่ค่าเงินดองของเวียดนามอ่อนค่าต่อเนื่อง 10 วันติดต่อกัน นับเป็นการอ่อนค่าติดต่อกันนานที่สุดนับแต่ปี 2008 หลังจากที่ธนาคารกลางของเวียดนามขยายกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินในแต่ละวัน
ล่าสุดค่าเงินดองอ่อนค่าลง 0.6% สู่ระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 24,511 ดองต่อดอลลาร์ โดยนโยบายของธนาคารที่ออกมานี้เป็นการส่งสัญญาณว่าจะปล่อยให้ค่าเงินอ่อนค่าเพื่อรักษาทุนสำรองเอาไว้
ก่อนหน้านี้ธนาคารกลางเวียดนามได้ใช้เงินทุนสำรองไปแล้ว 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ทุนสำรองของเวียดนามอาจจะลดลงไปต่ำกว่า 9 หมื่นล้านดอลลาร์ จากการประเมินของ Malayan Banking Bhd. ลดลงจากเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่มีทุนสำรอง 1.09 แสนล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลของ IMF
อย่างไรก็ตาม Nguyen Hoang Giang ประธานกรรมการของ DNSE Securities JSC มองว่า โอกาสที่ค่าเงินดองจะอ่อนค่าไปมากกว่านี้อาจจะไม่มากแล้ว เนื่องจากเศรษฐกิจเวียดนามและดุลการชำระเงินยังคงแข็งแกร่ง
“หากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ ธนาคารกลางเวียดนามอาจจะขยับดอกเบี้ยตาม และทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลงได้อีก 2-3% ในปีนี้ แต่หลังจากนั้นจะเริ่มทรงตัวและเริ่มแข็งค่ากลับมาได้ในปีหน้า”
อ้างอิง: