×

วัคซีนทางเลือกเพื่อกอบกู้ซากมนุษย์ดนตรีจากวิกฤตโควิด-19

24.08.2021
  • LOADING...
alternative vaccines and musician

HIGHLIGHTS

7 Mins. Read
  • เป็นระยะเวลาราวๆ 10 ปีมาแล้วในต่างประเทศ ที่มีการก่อตั้งแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เป็นศูนย์รวมงานหาคนและคนหางานขนาดใหญ่สำหรับมนุษย์ดนตรี ในทุกขั้นตอนของโปรดักชันเพลง ตั้งแต่โปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักร้อง นักดนตรี ซาวด์เอ็นจิเนียร์ นักอีดิตเสียง โดยเราสามารถลงทะเบียนและเขียนโปรไฟล์เท่ๆ พร้อมพอร์ตโฟลิโอตัวอย่างงานแปะลงไปในนั้นได้ เราก็สามารถกลายสภาพไปเป็นนักดนตรีตู้กระจกที่รอให้ลูกค้าทุกระดับเข้ามาส่อง เขาจะถูกใจน้องเบอร์ไหนก็สามารถเรียกขึ้นงานได้ทันที
  • soundbetter.com มีพื้นที่ให้ลงโปรไฟล์และตัวอย่างผลงานที่ดูง่าย และมีพื้นที่ให้แสดงรายละเอียดเยอะ ตอบโจทย์คนดนตรีเป็นอย่างยิ่ง ให้ความรู้สึกราวกับเป็น Airbnb แห่งโลกดนตรี เพราะมีมือโปรระดับโลกเป็นสมาชิกอยู่เยอะ ซึ่งจากประสบการณ์ตรงที่สัมผัสได้คือ คนดนตรีในบ้านเราหลายคนนั้นมีฝีมือเทียบชั้นระดับสากลได้จริงๆ ดังนั้นที่นี่อาจเป็นก้าวต่อไปสำหรับพวกเขาเลยก็ได้ 
  • แพลตฟอร์มที่บริการ Sync Music ส่วนใหญ่จะมีความครบวงจรและมี Tutorial คอยช่วยเหลือมือใหม่ที่อยากเริ่มต้นหารายได้จากการทำเพลงประกอบ และยังมีคอนเน็กชันที่แน่นหนา ที่สามารถนำเพลงที่เราแต่งไปร่วมประกวดงานในระดับโลก เราอาจได้มีผลงานเพลงไปปรากฏใน Netflix, HBO, Trailer ภาพยนตร์ต่างประเทศ, โฆษณาสินค้าแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Starbucks, BMW, Unilever และอีกมากมายที่ลำพังตัวเราไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยตัวเอง ทางแพลตฟอร์มเป็นผู้จัดการให้หมด

จะเกริ่นยาวไปก็เท่านั้น เพราะทุกคนทราบดีว่าผลกระทบจากภัยพิบัติระลอกที่สามนี้ ทำให้กลุ่มอาชีพดนตรีสูญสิ้นไปในพริบตา หลังจากเพิ่งล้มลุกคลุกคลานไปยังไม่ทันได้ตั้งไข่จากสองระลอกที่แล้ว สิ่งที่มองเห็นชัดได้ด้วยตาเปล่าคือ กลุ่มศิลปินนักดนตรีและดีเจที่งานสะบั้นกลางอากาศ ตั้งแต่สเกลงานอีเวนต์หน้าห้างไปจนถึงงานเทศกาลดนตรี ต่างก็ลำบากลำบนเศร้าปนแค้นกันเต็มหน้าโซเชียลมีเดีย

 

เมื่อมนุษย์ดนตรีกำลังจะสูญพันธุ์โดยปราศจากการอนุรักษ์ สิ่งเดียวที่พอจะช่วยให้สืบพงษ์ต่อพันธุ์ได้คือการ ‘ช่วยตัวเอง’ สองมือต้องถือให้มั่นและแข็งขัน เพื่อสร้างความชูชันให้กลับมาสู่ประสาทสัมผัสทางหู และยังสอดคล้องกับมาตรการ Social Distancing อีกด้วย ล้างมือให้สะอาดแล้วมาเริ่มอภิปรายกันเลยดีกว่า

 

alternative vaccines and musician

 

Active Income vs. Passive Income

ศัพท์เทคนิคนิดๆ หน่อยๆ อันนี้จั่วหัวไว้เพียงเพื่อให้บทความนี้ดูโปรขึ้นมานิดหนึ่ง ไม่ได้มีนัยสำคัญอะไรมาก สำหรับใครที่ยังไม่กระจ่างว่ามันคืออะไร ขออธิบายโดยย่อว่า Active Income คือ รายได้ประจำที่ทำแล้วได้สตางค์เลย เป็นรายได้หลักของมนุษย์ดนตรีทุกฝ่าย โชว์เสร็จ รับเงิน กลับบ้าน นอน ถ้าเป็นครูสอนดนตรีก็เก็บค่าคอร์สก่อน แล้วเริ่มสอนจนครบจำนวนชั่วโมงเป็นอันจบงาน

 

ส่วน Passive Income คือรายได้แบบเรื่อยๆ มาเรียงๆ ปล่อยให้สินทรัพย์มันสร้างดอกผลเอง โดยต้องอาศัยวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการสักหน่อย เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก การลงทุนรูปแบบต่างๆ และการปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ แต่ให้ตายเถอะ แทบจะไม่มีส่วนไหนตรงจริตกับธรรมชาติของคนดนตรีเอาเสียเลย นอกจากค่าลิขสิทธิ์ดนตรีที่ผู้มีรายได้ในส่วนนี้ก็คือนักประพันธ์เพลง หรือศิลปินที่แต่งเพลงเองเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมไปทุกหน่วยในวงการ

 

ดังนั้นจึงกล่าวแบบประมาณๆ ได้ว่า มนุษย์ดนตรีในบ้านเราเกือบทั้งหมดพึ่งพิงรายได้จาก Active Income เกิน 90 เปอร์เซ็นต์บวกๆ แน่ๆ และเป็นรายได้จาก Hard Skill ล้วนๆ ไม่ว่าจะเป็น ดีด สี ตี เป่า, มิกซ์เสียง, ตัดต่อเสียง ฯลฯ ซึ่งเมื่อสมัยที่โลกยังไม่แตกก็ยังดีๆ กันอยู่ แต่พอมาเจอเหตุการณ์โรคระบาดระดับโลกที่โคจรมาบรรจบกับความทุศีลระดับชาติที่กลิ่นคละคลุ้งไปไกลกว่าทุเรียนสุกระดับสิบ ทำให้ดวงเมืองภาคคีตศิลป์ครานี้ต้องผจญกับความเสียหายหนักหน่วงติด Top 5 ไม่แพ้วงการอื่นๆ เลยทีเดียว เมื่อ Active Income ขาดผึง ความตึงจึงมาเยือน

 

Worst Case Scenario: มองไปเลยว่าโลกนี้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ไม่ได้ให้มองโลกในแง่ร้าย แต่มองโลกตามความเป็นจริง กิจกรรมทางดนตรีในรูปแบบปกติน่าจะหายไปอย่างน้อยเป็นปีๆ แน่นอน เพราะฉะนั้นการอดออม เฝ้ารอ เฝ้าคอย จึงไม่ใช่ทางเลือกที่จะดำรงเผ่าพันธุ์เอาไว้ได้ กอปรกับยุคน้ำแข็งที่ยาวนานขนาดนี้ กลไกของอุตสาหกรรมดนตรีทั้งหมดย่อมต้องเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน ถึงแม้จะเข้าสู่ยุคที่ปลอดเชื้อและเมื่อถึงวันที่แผ่นดินสูงขึ้น การกลายพันธุ์ของมนุษย์ดนตรีจึงต้องเร่งเกิดขึ้น ยิ่งมี Mutant เยอะขึ้น โอกาสที่จะสร้างทีม X-Men เพื่อกอบกู้โลก ยิ่งมากขึ้น

 

การทำอย่างอื่น ‘ไปก่อน’ อาจไม่ใช่คำตอบสำหรับสถานการณ์ที่ยืดเยื้อและไม่รู้จะจบลงเมื่อไร บางคนถึงขั้นทำอย่างอื่น ‘ไปเลย’ เพราะในเมื่อสิ่งที่มีไม่ใช่สิ่งที่ฝัน แต่อาจลืมนึกไปว่าทักษะที่มีอาจนำมาใช้ในรูปแบบอื่นได้และไปได้คล่องแคล่วกว่าการสร้างทักษะใหม่ที่ขัดกับหัวใจศิลปินเหลือทน

 

อาชีพเสริมแบบจำเป็น เช่น ทำอาหาร ขนม และเครื่องดื่มเดลิเวอรี อาจช่วยเติมกระเป๋า แต่ไม่ได้เติมหัวใจ ส่วนการสอนดนตรีก็ยังคงวนอยู่ในการหารายได้จากกระเป๋าคนดนตรีด้วยกัน ซึ่งกำลังขาดรายได้อยู่เหมือนกัน จึงควรตั้งกลุ่มเป้าหมายใหม่เป็นกลุ่มที่เล่นดนตรีเป็นงานอดิเรกและ Beginner เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากสายอาชีพอื่นที่ได้รับผลกระทบไม่มากเท่าคนดนตรี และยังพอมีรายได้และเวลาเหลือในช่วงนี้

 

แต่อย่างไรก็ตาม ทักษะในการเล่นดนตรี กับ ทักษะในการสอนดนตรี เป็นทักษะคนละแบบ นักดนตรีที่เล่นเก่งที่สุดอาจไม่ใช่ครูที่ถ่ายทอดวิชาได้ดีที่สุดก็ได้ เป็นข้อคำนึงที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่งของการเทิร์นครู

 

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็น Active Income ที่มาเติมก้นถุงได้ทันที แต่มันมีทางเลือกแค่นี้เองเหรอ? และที่ว่ามาทั้งหมดทุกคนก็คิดได้และทำกันไปแล้ว แต่ก็ยังคงลุ่มๆ ดอนๆ เพราะอุปทานมีมากกว่าอุปสงค์ น่าสิ้นหวังไหม?

 

แต่ดูกรพี่น้อง เส้นขอบฟ้านั้นอยู่ไกลแค่ไหนขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์แห่งปัจเจก หากเราเฝ้ามองแต่โอกาสในโลกที่สามที่เรายืนอยู่ และในอนาคตอันใกล้ที่จะตกชั้นเป็นโลกที่สี่ เราเองก็จะตกชั้นลงไปตามผืนดินที่เรายืน แต่ถ้าเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ว่า ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ที่เหล่านั้นล้วนเป็นสถาน ที่สมมติ และในทางกลับกัน โลกออนไลน์กลับกลายเป็นสถานที่จริงอันไร้พรมแดน ด้วยแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตติดๆ ดับๆ เดือนละไม่ถึง 1,000 บาท เราก็สามารถขยายเส้นขอบฟ้าในการหารายได้ไปไกลกว่าที่ตาเห็น ซึ่งจริงๆ แล้วมันทำได้ตั้งแต่ก่อนยุคโควิดแล้ว แต่นี่เหมือนจะเป็นสถานการณ์ที่ทำให้ทางเลือกนี้ดูโดดเด่นขึ้นมามากขึ้น โดยเฉพาะในขณะนี้ที่หลายๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาผ่านวิกฤตไปได้จนถึงขั้นเริ่มต้นลงมือฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจกันแล้ว

 

โก-อิน-เตอร์

ไม่ต้องทำวีซ่า ไม่ต้องต่ออายุพาสปอร์ต เพราะเราจะโกอินเตอร์จากในห้องเรานี่แหละ พื้นที่ขนาด 9 ตารางเมตรนี้จะเป็นที่ทำกินระดับโลกของเรา โดยมีเครื่องแบบทำงานเป็นชุดนอน น่าสนไหม?

 

ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มมากมายในการหางานที่ถนัดทางออนไลน์ ไม่จำกัดเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น และด้วยอาชีพดนตรีบ้านเราก็แทบจะไม่ได้ใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มในการหางาน แต่ทั่วโลกมีการใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้กันอย่างแพร่หลาย และยังมีแพลตฟอร์มที่ทำไว้สำหรับการจ้างงานดนตรีโดยเฉพาะอีกด้วย ทั้งงานหาคนและคนหางาน ขยายน่านฟ้าในการทำงานไปได้ไกลโข โอกาสในการสะดุ้งฝีมือก็มีมากขึ้น

 

แต่ก่อนจะเริ่มอ่านต่อจากนี้ไป เราขอแนะนำให้มองคุณค่าของตัวเองให้สูงเข้าไว้ ตัดความคิดที่ว่า ‘มันเป็นไปไม่ได้’ ออกไป ในเมื่อเรายังไม่ได้ทดลอง มันเป็นแค่ความกลัวการออกนอก Comfort Zone ของตนเองตามประสามนุษย์เท่านั้น แต่ในเมื่อที่ที่เราเคยเรียกว่าเป็น Comfort Zone ณ วันนี้มันไม่มีรายได้และไม่มีการเยียวยาล่ะ เราอาจจะต้องแบ่งเวลาจากความเกรี้ยวกราดรายวันสักนิด มาหาทางช่วยเหลือตัวเองแบบใหม่สักหน่อย จะได้ลดความพารานอยด์ลงไปได้บ้าง

 

Active Income vs. Passive Income ศัพท์เทคนิคนิดๆ หน่อยๆ อันนี้จั่วหัวไว้เพียงเพื่อให้บทความนี้ดูโปรขึ้นมานิดหนึ่ง ไม่ได้มีนัยสำคัญอะไรมาก สำหรับใครที่ยังไม่กระจ่างว่ามันคืออะไร ขออธิบายโดยย่อว่า Active Income คือ รายได้ประจำที่ทำแล้วได้สตางค์เลย เป็นรายได้หลักของมนุษย์ดนตรีทุกฝ่าย โชว์เสร็จ รับเงิน กลับบ้าน นอน ถ้าเป็นครูสอนดนตรีก็เก็บค่าคอร์สก่อน แล้วเริ่มสอนจนครบจำนวนชั่วโมงเป็นอันจบงาน  ส่วน Passive Income คือรายได้แบบเรื่อยๆ มาเรียงๆ ปล่อยให้สินทรัพย์มันสร้างดอกผลเอง โดยต้องอาศัยวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการสักหน่อย เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก การลงทุนรูปแบบต่างๆ และการปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ แต่ให้ตายเถอะ แทบจะไม่มีส่วนไหนตรงจริตกับธรรมชาติของคนดนตรีเอาเสียเลย นอกจากค่าลิขสิทธิ์ดนตรีที่ผู้มีรายได้ในส่วนนี้ก็คือนักประพันธ์เพลง หรือศิลปินที่แต่งเพลงเองเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมไปทุกหน่วยในวงการ  ดังนั้นจึงกล่าวแบบประมาณๆ ได้ว่า มนุษย์ดนตรีในบ้านเราเกือบทั้งหมดพึ่งพิงรายได้จาก Active Income เกิน 90 เปอร์เซ็นต์บวกๆ แน่ๆ และเป็นรายได้จาก Hard Skill ล้วนๆ ไม่ว่าจะเป็น ดีด สี ตี เป่า, มิกซ์เสียง, ตัดต่อเสียง ฯลฯ ซึ่งเมื่อสมัยที่โลกยังไม่แตกก็ยังดีๆ กันอยู่ แต่พอมาเจอเหตุการณ์โรคระบาดระดับโลกที่โคจรมาบรรจบกับความทุศีลระดับชาติที่กลิ่นคละคลุ้งไปไกลกว่าทุเรียนสุกระดับสิบ ทำให้ดวงเมืองภาคคีตศิลป์ครานี้ต้องผจญกับความเสียหายหนักหน่วงติด Top 5 ไม่แพ้วงการอื่นๆ เลยทีเดียว เมื่อ Active Income ขาดผึง ความตึงจึงมาเยือน  Worst Case Scenario: มองไปเลยว่าโลกนี้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ไม่ได้ให้มองโลกในแง่ร้าย แต่มองโลกตามความเป็นจริง กิจกรรมทางดนตรีในรูปแบบปกติน่าจะหายไปอย่างน้อยเป็นปีๆ แน่นอน เพราะฉะนั้นการอดออม เฝ้ารอ เฝ้าคอย จึงไม่ใช่ทางเลือกที่จะดำรงเผ่าพันธุ์เอาไว้ได้ กอปรกับยุคน้ำแข็งที่ยาวนานขนาดนี้ กลไกของอุตสาหกรรมดนตรีทั้งหมดย่อมต้องเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน ถึงแม้จะเข้าสู่ยุคที่ปลอดเชื้อและเมื่อถึงวันที่แผ่นดินสูงขึ้น การกลายพันธุ์ของมนุษย์ดนตรีจึงต้องเร่งเกิดขึ้น ยิ่งมี Mutant เยอะขึ้น โอกาสที่จะสร้างทีม X-Men เพื่อกอบกู้โลก ยิ่งมากขึ้น  การทำอย่างอื่น ‘ไปก่อน’ อาจไม่ใช่คำตอบสำหรับสถานการณ์ที่ยืดเยื้อและไม่รู้จะจบลงเมื่อไร บางคนถึงขั้นทำอย่างอื่น ‘ไปเลย’ เพราะในเมื่อสิ่งที่มีไม่ใช่สิ่งที่ฝัน แต่อาจลืมนึกไปว่าทักษะที่มีอาจนำมาใช้ในรูปแบบอื่นได้และไปได้คล่องแคล่วกว่าการสร้างทักษะใหม่ที่ขัดกับหัวใจศิลปินเหลือทน  อาชีพเสริมแบบจำเป็น เช่น ทำอาหาร ขนม และเครื่องดื่มเดลิเวอรี อาจช่วยเติมกระเป๋า แต่ไม่ได้เติมหัวใจ ส่วนการสอนดนตรีก็ยังคงวนอยู่ในการหารายได้จากกระเป๋าคนดนตรีด้วยกัน ซึ่งกำลังขาดรายได้อยู่เหมือนกัน จึงควรตั้งกลุ่มเป้าหมายใหม่เป็นกลุ่มที่เล่นดนตรีเป็นงานอดิเรกและ Beginner เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากสายอาชีพอื่นที่ได้รับผลกระทบไม่มากเท่าคนดนตรี และยังพอมีรายได้และเวลาเหลือในช่วงนี้  แต่อย่างไรก็ตาม ทักษะในการเล่นดนตรี กับ ทักษะในการสอนดนตรี เป็นทักษะคนละแบบ นักดนตรีที่เล่นเก่งที่สุดอาจไม่ใช่ครูที่ถ่ายทอดวิชาได้ดีที่สุดก็ได้ เป็นข้อคำนึงที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่งของการเทิร์นครู  ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็น Active Income ที่มาเติมก้นถุงได้ทันที แต่มันมีทางเลือกแค่นี้เองเหรอ? และที่ว่ามาทั้งหมดทุกคนก็คิดได้และทำกันไปแล้ว แต่ก็ยังคงลุ่มๆ ดอนๆ เพราะอุปทานมีมากกว่าอุปสงค์ น่าสิ้นหวังไหม?  แต่ดูกรพี่น้อง เส้นขอบฟ้านั้นอยู่ไกลแค่ไหนขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์แห่งปัจเจก หากเราเฝ้ามองแต่โอกาสในโลกที่สามที่เรายืนอยู่ และในอนาคตอันใกล้ที่จะตกชั้นเป็นโลกที่สี่ เราเองก็จะตกชั้นลงไปตามผืนดินที่เรายืน แต่ถ้าเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ว่า ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ที่เหล่านั้นล้วนเป็นสถาน ที่สมมติ และในทางกลับกัน โลกออนไลน์กลับกลายเป็นสถานที่จริงอันไร้พรมแดน ด้วยแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตติดๆ ดับๆ เดือนละไม่ถึง 1,000 บาท เราก็สามารถขยายเส้นขอบฟ้าในการหารายได้ไปไกลกว่าที่ตาเห็น ซึ่งจริงๆ แล้วมันทำได้ตั้งแต่ก่อนยุคโควิดแล้ว แต่นี่เหมือนจะเป็นสถานการณ์ที่ทำให้ทางเลือกนี้ดูโดดเด่นขึ้นมามากขึ้น โดยเฉพาะในขณะนี้ที่หลายๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาผ่านวิกฤตไปได้จนถึงขั้นเริ่มต้นลงมือฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจกันแล้ว  โก-อิน-เตอร์ ไม่ต้องทำวีซ่า ไม่ต้องต่ออายุพาสปอร์ต เพราะเราจะโกอินเตอร์จากในห้องเรานี่แหละ พื้นที่ขนาด 9 ตารางเมตรนี้จะเป็นที่ทำกินระดับโลกของเรา โดยมีเครื่องแบบทำงานเป็นชุดนอน น่าสนไหม?  ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มมากมายในการหางานที่ถนัดทางออนไลน์ ไม่จำกัดเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น และด้วยอาชีพดนตรีบ้านเราก็แทบจะไม่ได้ใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มในการหางาน แต่ทั่วโลกมีการใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้กันอย่างแพร่หลาย และยังมีแพลตฟอร์มที่ทำไว้สำหรับการจ้างงานดนตรีโดยเฉพาะอีกด้วย ทั้งงานหาคนและคนหางาน ขยายน่านฟ้าในการทำงานไปได้ไกลโข โอกาสในการสะดุ้งฝีมือก็มีมากขึ้น  แต่ก่อนจะเริ่มอ่านต่อจากนี้ไป เราขอแนะนำให้มองคุณค่าของตัวเองให้สูงเข้าไว้ ตัดความคิดที่ว่า ‘มันเป็นไปไม่ได้’ ออกไป ในเมื่อเรายังไม่ได้ทดลอง มันเป็นแค่ความกลัวการออกนอก Comfort Zone ของตนเองตามประสามนุษย์เท่านั้น แต่ในเมื่อที่ที่เราเคยเรียกว่าเป็น Comfort Zone ณ วันนี้มันไม่มีรายได้และไม่มีการเยียวยาล่ะ เราอาจจะต้องแบ่งเวลาจากความเกรี้ยวกราดรายวันสักนิด มาหาทางช่วยเหลือตัวเองแบบใหม่สักหน่อย จะได้ลดความพารานอยด์ลงไปได้บ้าง

 

ตัวอย่างรูปแบบแพลตฟอร์มที่มีลุ้นในการสร้าง Active และ Passive Income ด้วยงานดนตรี

 

  1. เดชงานหาคน คนหางาน ข้ามขอบฟ้า 

เป็นระยะเวลาราวๆ 10 ปีมาแล้วในต่างประเทศ ที่มีการก่อตั้งแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เป็นศูนย์รวมงานหาคนและคนหางานขนาดใหญ่สำหรับมนุษย์ดนตรี ในทุกขั้นตอนของโปรดักชันเพลง ตั้งแต่โปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักร้อง นักดนตรี ซาวด์เอ็นจิเนียร์ นักอีดิตเสียง โดยเราสามารถลงทะเบียนและเขียนโปรไฟล์เท่ๆ พร้อมพอร์ตโฟลิโอตัวอย่างงานแปะลงไปในนั้นได้ เราก็สามารถกลายสภาพไปเป็นนักดนตรีตู้กระจกที่รอให้ลูกค้าทุกระดับเข้ามาส่อง เขาจะถูกใจน้องเบอร์ไหนก็สามารถเรียกขึ้นงานได้ทันที โดยธุรกรรมการส่งงาน จัดซื้อ จัดจ้าง และการชำระค่าบริการทั้งหมดจะถูกจัดการผ่านแพลตฟอร์มเหล่านั้นเป็นตัวกลาง ดังนั้นจึงไม่มีการโกง กด โก่ง เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

 

เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนดนตรีสัญชาติไทยที่จะได้รับงานบันทึกเสียงเครื่องดนตรีที่เราถนัด หรือหมวดหมู่งานมิกซ์และมาสเตอริ่งสำหรับซาวด์เอ็นจิเนียร์ก็มีพื้นที่ให้มากอยู่ และเรายังสามารถสร้างกิมมิกให้กับตัวเองได้ด้วยสำหรับผู้ที่มีความ สามารถในการเล่นดนตรีไทย เพราะสมัยนี้การนำเครื่องดนตรีพื้นเมืองมาใส่ในเพลงป๊อปสากลเป็นที่นิยมขึ้นมาก และเครื่องดนตรีไทยเราก็มีมากมาย และมีสุ้มเสียงที่มีเอกลักษณ์ไม่แพ้เครื่องดนตรีอินเดียที่มีการนำมาใช้ในเพลงป๊อปตั้งแต่สมัย The Beatles แล้ว

 

แพลตฟอร์มเหล่านี้ที่แนะนำให้แวะไปสำรวจก็มีอย่างเช่น soundbetter.com อันนี้เขาเจาะจงเป็นแพลตฟอร์มสำหรับงานดนตรีโดยเฉพาะ มีพื้นที่ให้ลงโปรไฟล์และตัวอย่างผลงานที่ดูง่าย และมีพื้นที่ให้แสดงรายละเอียดเยอะ ตอบโจทย์คนดนตรีเป็นอย่างยิ่ง ให้ความรู้สึกราวกับเป็น Airbnb แห่งโลกดนตรี แนะนำอันนี้มากๆ เพราะมีมือโปรระดับโลกเป็นสมาชิกอยู่เยอะ ซึ่งจากประสบการณ์ตรงที่สัมผัสได้คือ คนดนตรีในบ้านเราหลายคนนั้นมีฝีมือเทียบชั้นระดับสากลได้จริงๆ ดังนั้นที่นี่อาจเป็นก้าวต่อไปสำหรับพวกเขาเลยก็ได้ ในเมื่อเมืองไทยมันแคบไปและยังอยู่ในจังหวะที่ไม่มีงานจ้าง ก็พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสขยายน่านฟ้าของสายอาชีพด้วยวิธีนี้ไปเสียเลย

 

ตัวอย่างรูปแบบแพลตฟอร์มที่มีลุ้นในการสร้าง Active และ Passive Income ด้วยงานดนตรี  1. เดชงานหาคน คนหางาน ข้ามขอบฟ้า  เป็นระยะเวลาราวๆ 10 ปีมาแล้วในต่างประเทศ ที่มีการก่อตั้งแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เป็นศูนย์รวมงานหาคนและคนหางานขนาดใหญ่สำหรับมนุษย์ดนตรี ในทุกขั้นตอนของโปรดักชันเพลง ตั้งแต่โปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักร้อง นักดนตรี ซาวด์เอ็นจิเนียร์ นักอีดิตเสียง โดยเราสามารถลงทะเบียนและเขียนโปรไฟล์เท่ๆ พร้อมพอร์ตโฟลิโอตัวอย่างงานแปะลงไปในนั้นได้ เราก็สามารถกลายสภาพไปเป็นนักดนตรีตู้กระจกที่รอให้ลูกค้าทุกระดับเข้ามาส่อง เขาจะถูกใจน้องเบอร์ไหนก็สามารถเรียกขึ้นงานได้ทันที โดยธุรกรรมการส่งงาน จัดซื้อ จัดจ้าง และการชำระค่าบริการทั้งหมดจะถูกจัดการผ่านแพลตฟอร์มเหล่านั้นเป็นตัวกลาง ดังนั้นจึงไม่มีการโกง กด โก่ง เกิดขึ้นอย่างแน่นอน  เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนดนตรีสัญชาติไทยที่จะได้รับงานบันทึกเสียงเครื่องดนตรีที่เราถนัด หรือหมวดหมู่งานมิกซ์และมาสเตอริ่งสำหรับซาวด์เอ็นจิเนียร์ก็มีพื้นที่ให้มากอยู่ และเรายังสามารถสร้างกิมมิกให้กับตัวเองได้ด้วยสำหรับผู้ที่มีความ สามารถในการเล่นดนตรีไทย เพราะสมัยนี้การนำเครื่องดนตรีพื้นเมืองมาใส่ในเพลงป๊อปสากลเป็นที่นิยมขึ้นมาก และเครื่องดนตรีไทยเราก็มีมากมาย และมีสุ้มเสียงที่มีเอกลักษณ์ไม่แพ้เครื่องดนตรีอินเดียที่มีการนำมาใช้ในเพลงป๊อปตั้งแต่สมัย The Beatles แล้ว  แพลตฟอร์มเหล่านี้ที่แนะนำให้แวะไปสำรวจก็มีอย่างเช่น soundbetter.com อันนี้เขาเจาะจงเป็นแพลตฟอร์มสำหรับงานดนตรีโดยเฉพาะ มีพื้นที่ให้ลงโปรไฟล์และตัวอย่างผลงานที่ดูง่าย และมีพื้นที่ให้แสดงรายละเอียดเยอะ ตอบโจทย์คนดนตรีเป็นอย่างยิ่ง ให้ความรู้สึกราวกับเป็น Airbnb แห่งโลกดนตรี แนะนำอันนี้มากๆ เพราะมีมือโปรระดับโลกเป็นสมาชิกอยู่เยอะ ซึ่งจากประสบการณ์ตรงที่สัมผัสได้คือ คนดนตรีในบ้านเราหลายคนนั้นมีฝีมือเทียบชั้นระดับสากลได้จริงๆ ดังนั้นที่นี่อาจเป็นก้าวต่อไปสำหรับพวกเขาเลยก็ได้ ในเมื่อเมืองไทยมันแคบไปและยังอยู่ในจังหวะที่ไม่มีงานจ้าง ก็พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสขยายน่านฟ้าของสายอาชีพด้วยวิธีนี้ไปเสียเลย

 

fiverr.com เป็นอีกแพลตฟอร์มที่มีหมวดหมู่งานทุกประเภทครอบจักรวาล และงานด้านดนตรีและงานด้านเสียงก็เป็นอีกหมวดหมู่ที่คึกคักบนแพลตฟอร์มนี้ ถึงแม้จะดูไม่โปรเฟสชันนอลเทียบเท่า Soundbetter แต่ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทดลองไปก็ไม่เสียหายอะไร หากใครยังไม่มั่นใจในตัวเองนัก ก็ลอง Fiverr ดูก่อนก็ได้ เพราะมีกลุ่มนักดนตรีและคนทำเสียงระดับ Semi-Pro อยู่เยอะในเรตราคาที่ย่อมเยาลงมา และนี่ก็เป็นหนึ่งใน Active Income ในโลกออนไลน์ที่คนดนตรีบ้านเราสามารถเข้าถึงได้

 

ข้อคำนึงมีเพียงหนึ่งเดียวคือ นี่คือการเอาตนเองไปวางบนแผงเดียวกับตลาดโลก ซึ่งตัวเลือกมีมากมาย โดยไม่มีระบบอุปถัมภ์ เพื่อนฉัน พี่ข้า น้องอั๊วใดๆ ทั้งสิ้น ทุกคนคือคนแปลกหน้าที่มาร่วมงานกันด้วยเงื่อนไขของฝีมือล้วนๆ และอาจต้องขยัน อดทน สะสมเครดิตสักหน่อยในระยะแรก เพราะผู้รับจ้างในแพลตฟอร์มนี้มีหลายคนเลยทีเดียวที่มีเครดิตในการร่วมงานกับศิลปินระดับโลกมาก่อน แต่ก็หวังจะโกอินเตอร์ หนทางอาจไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไปถ้าใจมุ่งมั่นหรือไฟลนก้นกระเป๋าสตางค์ ลองเข้าไปส่องๆ กันดูได้ ไม่เสียหายอะไร แต่อย่าไปลงเรตตัดราคาเขาแบบทุเรศๆ เหมือนที่เราชอบทำกันเองในประเทศ มันจะสร้างความเสียหายให้กับชื่อเสียงของประเทศ และเรื่องพรรค์นั้นประเทศเรามีหน่วยงานระดับชาติคอยขยันทำให้เราเอือมระอาทุกวันอยู่แล้ว

 

 

  1. Sync Music 

คำนี้เป็นชื่อเรียกเหมารวมสำหรับดนตรีประกอบโน่นประกอบนี่ เพราะในทุกสื่อนั้นมี ดนตรีประกอบเข้ามาเกี่ยวข้องแทบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์, ซีรีส์, สารคดี, วิดีโอเกม, Trailer ภาพยนตร์, โฆษณา และคอนเทนต์ออนไลน์ต่างๆ เรียกว่ามีหลายสเกลให้เลือกสรรว่าเราจะไปโปรทางไหนดี ซึ่งในบ้านเรานั้น งานประเภทนี้เกือบทั้งหมดเป็นการว่าจ้างผ่านเอเจนซีจากลูกค้าแบบจำเพาะเจาะจง ผู้ที่ได้งานไปก็จะเป็นบริษัทรับทำเสียงและเพลงประกอบ หรือที่เราเรียกกันว่า Post Production Studio แต่ทว่าในประเทศตะวันตก มีความนิยมในการว่าจ้างประกวดงานแบบออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่สำคัญว่าผู้ประพันธ์เพลงจะมาจากซอกหลืบไหนของโลก ขอเพียงผลงานถูกต้องตามโจทย์ ถูกใจลูกค้าเป็นพอ ไม่ต้องนัดประชุมพูดโน้มน้าวขายงาน ผลงานของเราก็สามารถถูกเลือกมาใช้จริงได้และจ่ายในเรตเงินดอลลาร์ที่มีความเป็นสากล และแน่นอน… มูลค่าไม่จิ๊บจ๊อยเหมือนบ้านเรา ที่โดยมากงานที่ตกถึงมือฟรีแลนซ์มักเป็นงานงบน้อย สเกลเล็ก ส่วนงานโฆษณาใหญ่ๆ ที่ใช้ดาราดังเป็นพรีเซนเตอร์ ก็จะถูกบริษัททำเพลงโฆษณารับต่อจากเอเจนซีไปทำตามธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิมมากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว บวกกับในสถานการณ์แบบนี้ งานในประเทศก็คงหาได้ยากพอกันทั้งสายฟรีแลนซ์หรือสังกัดบริษัท เพราะฉะนั้นนี่เป็นอีกความเป็นไปได้ที่เราขอนำเสนอ

 

แพลตฟอร์มที่บริการ Sync Music ส่วนใหญ่จะมีความครบวงจรและมี Tutorial คอยช่วยเหลือมือใหม่ที่อยากเริ่มต้นหารายได้จากการทำเพลงประกอบ และยังมีคอนเน็กชันที่แน่นหนา ที่สามารถนำเพลงที่เราแต่งไปร่วมประกวดงานในระดับโลก เราอาจได้มีผลงานเพลงไปปรากฏใน Netflix, HBO, Trailer ภาพยนตร์ต่างประเทศ, โฆษณาสินค้าแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Starbucks, BMW, Unilever และอีกมากมายที่ลำพังตัวเราเองไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยตัวเอง ทางแพลตฟอร์มเป็นผู้จัดการให้หมด โดยที่เรามีหน้าที่แค่ทำเพลง ไม่ต้องคุยกับผู้กำกับสุดติสท์ ไม่ต้องสื่อสารผ่าน AE สาวสวยตัวหอมฟุ้งแต่สื่อสารภาษาคนไม่รู้เรื่อง และไม่ต้องคอยเอาใจลูกค้าที่ไม่รู้ความต้องการของตัวเองจนต้องแก้งานกันไปเรื่อยเปื่อย และส่วนเรื่องรายได้ก็ไม่ใช่ว่าได้รอบเดียวจบ ทางแพลตฟอร์มยังมีการจัดเก็บเปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งที่ได้จากการออกอากาศให้เราอีกด้วย กล่าวคือทุกครั้งที่มีการออนแอร์สื่อ หรือโฆษณาที่มีเพลงของเราอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นที่ใดๆ ในโลก เราก็จะได้รับเงินส่วนแบ่งไปด้วย นี่คือกติกาสากลของประเทศที่เจริญแล้ว

 

แต่อย่างไรก็ตาม มูลค่าของงานและคอนเน็กชันอันมหาศาลของแพลตฟอร์มเหล่านี้ การสมัครสมาชิกจึงต้องมีค่าธรรมเนียมรายเดือน ตีเป็นเงินไทยได้ประมาณบวกลบ 1,xxx บาท เพื่อเข้าถึงบริการของเขา จะคุ้มหรือไม่คุ้มก็คงต้องขึ้นอยู่กับวิจารณญาณ 

 

ส่วนรายได้ที่สามารถหาได้จากที่นี่คือ มันจะมีการประกวดงานอยู่เรื่อยๆ แจ้งมาทางอีเมลของสมาชิก โดยมีโจทย์จากลูกค้าจริง นำไปใช้งานจริง อธิบายแนวเพลงที่อยากได้อย่างละเอียด พร้อมด้วยเพลงเรเฟอเรนซ์, กำหนดเวลาส่งงาน ซึ่งมีตั้งแต่งานด่วน 1 สัปดาห์ไปจนถึงงานปั้นหม้อที่ให้เวลาเป็นเดือน และบอกราคาค่าจ้างกันตรงนั้นเลย ซึ่งก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะงานระดับอินเตอร์เท่าที่เห็นมาจากแหล่งนี้ งบมีตั้งแต่ 5,xxx-1xx,xxx ดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว ลองคูณ 30 เข้าไปสิ จะได้ตัวเลขเป็นเงินไทยคร่าวๆ 

 

ถึงแม้จะเป็นการแข่งขันกับนักแต่งเพลงทั่วโลก แต่ถ้าเพลงของเราถูกเลือกนำมาใช้ก็อาจจะมีรายได้ตู้มแรก 300,000 บาทไปเลย แต่ถ้าไม่ถูกเลือก เราก็ได้ศูนย์บาท… แต่อย่าเพิ่งเสียกำลังใจไป เพราะเพลงทุกเพลงที่แต่งขึ้นมาแล้วมันมีที่ให้ลงอีกมากมาย ซึ่งจะอธิบายในข้อต่อไปถ้าคุณไม่ขี้เกียจอ่านเสียก่อน

 

ตัวอย่างแพลตฟอร์ม Sync Music ที่เป็นชิ้นเป็นอันมีดังนี้

 

synccommunity.thinkific.com, musicgateway.com, tunecore.com, bigsyncmusic.com, cdbaby.com บางเว็บไซต์เขาตั้งตัวเป็นสังคมดนตรีออนไลน์ เพราะฉะนั้นมันจะมีหมวดหมู่ยิบย่อยลงไปอีก ทั้งเรื่องของการพัฒนาทักษะ การเพิ่มคอนเน็กชันในสังคมดนตรีระดับโลกโดยเน้นไปที่ Music Licensing หรือเพลงประกอบโน่นประกอบนี่ ถึงจะดูยิ่งใหญ่แต่ก็ไม่น่ากลัว เพราะในแพลตฟอร์มนี้มีตั้งแต่หมวด Training ให้เราเกิดความเข้าใจในระบบและกติกาการซื้อขายเพลงที่เป็นสากล ไม่รู้สึกเงอะๆ งะๆ พร้อมไปผจญโลกกว้าง

 

เนื่องด้วยในบ้านเราไม่ได้มีกติกาอันเป็นสากล โดยเฉพาะในวงการซื้อขายเพลงประกอบสื่อต่างๆ ซึ่งองค์ความรู้ส่วนนี้แหละ ถ้าเรายิ่งรู้เยอะและสามารถค่อยๆ นำมาปรับใช้และต่อรองให้บ้านเรามีกฎกติกาที่ใกล้เคียงความเป็นสากลมากขึ้นเรื่อยๆ ได้ มูลค่าของบทเพลงและผลประโยชน์ของผู้ประพันธ์ก็จะคุ้มค่าและสมเหตุสมผลขึ้นในที่สุดสักวันหนึ่ง

 

alternative vaccines and musician

 

  1. ปั่นๆ ปั้นๆ เพลงลงบนแผง Library Music 

บางที่ก็เรียกว่า Stock Music ซึ่งเป็นที่นิยมในวงการ Post Production ทั้งในบ้านเราและในต่างประเทศ รูปแบบแพลตฟอร์มนี้เป็นเหมือนร้านสะดวกซื้อเพลงออนไลน์เพื่อนำไปประกอบคอนเทนต์ต่างๆ แต่คราวนี้เป็นการเลือกช้อปปิ้งเพลงสำเร็จรูปที่มีอยู่บนหน้าร้านอยู่แล้ว และเป็นไปตามเงื่อนไขข้อกำหนดของการใช้เพลงอย่างถูกต้องตามลิขสิทธิ์แบบไม่ต้องยุ่งยากทั้งทางฝั่งผู้ซื้อและผู้ประพันธ์ เพราะแพลตฟอร์มทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้ทั้งหมด ซึ่งเงื่อนไขต่างๆ สามารถศึกษาได้บนเว็บไซต์ของแพลตฟอร์ม ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรูปแบบใกล้เคียงกัน มีแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด ราคา และโปรโมชันของแต่ละเจ้าก็ใกล้เคียงกันราวกับแพ็กเกจโทรศัพท์มือถือที่ค่ายต่างๆ ออกมาแข่งขันกัน


 

แพลตฟอร์มนี้เป็นศูนย์รวมเพลงให้ลูกค้ามาเลือกใช้ ไม่ใช่งานจำเพาะเจาะจงเหมือนในข้อ 2 เพราะฉะนั้นนักดนตรีหรือนักแต่งเพลงสามารถผลิตเพลงออกมาได้เรื่อยๆ เลย ยิ่งมีเพลงอยู่บนหน้าร้านเยอะ โอกาสที่จะถูกมองเห็นและถูกเลือกมาใช้ก็จะเยอะตาม

 

งานส่วนใหญ่เป็นลักษณะแบบ Mass Production เพลงที่ทำเน้น Mood & Tone ที่สามารถจัดหมวดหมู่ได้ชัดเจน เพื่อเป็นการง่ายต่อผู้ซื้อในการใช้คีย์เวิร์ดในเสิร์ชเอนจินหาเพลงบนแพลตฟอร์มนั้นๆ หากใครสนใจสามารถเข้าไปหาฟังเพลงตัวอย่างที่อยู่ในหน้าเว็บไซต์ของเขาได้ ซึ่งฟังดูแล้วเพลงส่วนใหญ่มีโครงสร้างที่ไม่ยากเลย และมีเป็นเพลงแบบวนลูปไปมา มีท่อนที่ใช้เครื่องดนตรีน้อย ไล่ไปถึงกลาง จนไปถึงมากเต็มที่ในเพลงเดียวกัน เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถนำไปตัดต่อให้เหมาะกับช่วงอารมณ์ของคอนเทนต์ของตนได้ และมาตรฐานคุณภาพของเพลงอยู่ที่ระดับไม่ยาก มือใหม่อาจเริ่มต้นเสริมความมั่นใจในการออกสู่โลกกว้างด้วยการแต่งเพลงลงแพลตฟอร์มนี้ก่อนก็ได้

 


และสืบเนื่องจากข้อ 2 หากเราทำเพลงเข้าร่วมประกวดแล้วไม่ได้ถูกเลือกนำไปใช้ เรายังสามารถเอาเพลงเหล่านั้นมาวางขายบนแพลตฟอร์มประเภทที่ 3 นี้ก็ได้ สิ่งที่ทำไปแล้วยังไงก็ไม่เสียเปล่า แต่รายได้จากแหล่งนี้อาจไม่มากเท่า เพราะกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ผลิตคอนเทนต์ที่ใช้งบน้อยกว่า แต่คนกลุ่มนี้มีจำนวนเยอะกว่ากลุ่มนายทุนใหญ่อยู่หลายเท่าตัว อย่างไรก็ตาม หากเราทำไปเรื่อยๆ จนมีแคตตาล็อกเพลงของตัวเองจำนวนมากพอระดับ 100 เพลงขึ้นไป และทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เท่ากับว่าเราจะมีโอกาสสร้าง Passive Income ได้ยาวๆ เลย จนเมื่อวิกฤตโควิดหมดไป เพลงของเราก็ยังคงมีอยู่ให้เลือกใช้ และยังคงสร้างรายได้ให้เราได้เรื่อยๆ แบบยาวๆ ถึงแม้ในอนาคตเราอาจจะเลิกผลิตเพลงเพิ่มแล้ว แต่เมื่อมีคนมาซื้อเพลงเก่าของเรา เราก็ยังคงได้รายได้จากส่วนนี้อยู่เช่นเดิม

 

ฟังดูแล้วเหมือนว่าเราอาจต้องขยันปั่นเพลงให้ได้จำนวนเยอะหน่อยในระยะแรก แต่มันไม่ยากอย่างที่คิดหากได้ลองฟังเพลงที่มีอยู่ในแพลตฟอร์มนี้ ที่ส่วนใหญ่เป็นเพลงบรรเลงง่ายๆ ใช้เวลาในการผลิตไม่เยอะ แต่หากเราทำเพลงที่มีคุณภาพโดดเด่นออกมาจากกลุ่มนั้น โอกาสที่จะถูกนำมาใช้ก็จะมากไปด้วย

 

ขอฝากวาร์ปแพลตฟอร์มประเภทนี้ให้เข้าไปศึกษากัน มันไม่ยากเกินฝีมือเราๆ ท่านๆ แน่นอน ลองดูสิ ตามนี้เลย premiumbeat.com, audiojungle.net, epidemicsound.com, pond5.com เหล่านี้คือตัวหลักๆ ของแพลตฟอร์มประเภทนี้ จริงๆ ยังมีอีกเยอะ ลองเข้าไปศึกษาเงื่อนไขของแต่ละแพลตฟอร์มดูว่าอันไหนถูกจริตกับเราที่สุด ก็สามารถสมัครเข้าไปลองฝีมือได้เลย 

 

เหล่านี้คืออีกทางเลือกในการหารายได้ของคนดนตรีในสภาวะล็อกดาวน์เช่นนี้ จะชอบหรือไม่ ใช่หรือเปล่า ก็ขอให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาส่วนบุคคล แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือ เราต้องคอยกล่อมเกลาจิตใจตนเองให้คอยให้คุณค่ากับความพยายามและความสามารถของตนให้มากๆ จิตใจที่แข็งแรงเป็นวัตถุดิบตั้งต้นอันแรกที่จะทำให้เรามีเรี่ยวแรงต่อยอดและเกิดปัญญาในการหาทางแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ 

 

กำลังใจมีอยู่ในตัวเราเองถ้าเราพยายามสร้างมัน ขอให้คนดนตรีทุกท่านอยู่รอดกันพร้อมหน้าพร้อมตาต่อไปจนถึงวันที่เราจะผงาดง้ำค้ำโลกาอีกครั้ง อันนี้ขอถือวิสาสะเขียนจากมุมมองของเพื่อนร่วมอาชีพที่ยืนอยู่บนผืนดินเดียวกันและประสบปัญหาเดียวกันกับทุกคน ไม่ใช่สาส์นที่ฝากกินรีส่งร่อนลงมาจากหอคอยงาช้างกลางทุ่งลาเวนเดอร์ที่บานสะพรั่งด้วยปุ๋ยชั้นดีจากซากศพชนชั้นรากหญ้า-ชั้นกลางแต่อย่างใด

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising