หลังจากญี่ปุ่นครองแชมป์ประเทศที่คนไทยอยากไปมากสุด ทำให้ Air Japan แบรนด์น้องใหม่ภายใต้เครือ ANA Holdings โดดมาจับตลาดคนไทย ไม่หวั่นแม้การแข่งขันสูง เปิดตัวด้วยเที่ยวบินกรุงเทพฯ-โตเกียว นาริตะ เริ่มบินเที่ยวแรกวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2024
มิเนะกุจิ ฮิเดกิ ประธานสายการบิน Air Japan กล่าวระหว่างการเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยว่า การเข้ามาทำตลาดในไทยครั้งนี้ เพื่อรองรับดีมานด์คนไทยที่เดินทางไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า และต้องการช่วยรัฐบาลญี่ปุ่นให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 60 ล้านคนมายังญี่ปุ่นภายในปี 2030
แม้ตัวเลขจะยังห่างจากช่วงก่อนโควิดอยู่มาก เนื่องจากยังมีอุปสรรคเรื่องการขาดแคลนแรงงานจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และค่าเงินเยนที่ยังต้องแก้ปัญหา แต่เชื่อว่าในอนาคตจะมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
“ที่สำคัญเราไม่หวั่นเรื่องการแข่งขันในตลาดการบิน Low-Cost เพราะเรามีจุดขายในการให้ประสบการณ์วัฒนธรรมญี่ปุ่น และด้วยฟังก์ชันที่นั่ง อาหาร และราคาที่เข้าถึงง่าย จะตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวมากขึ้น ซึ่งเป้าหมายใหญ่ของเราคือ อยากให้คนไทยที่นึกถึงการไปเที่ยวญี่ปุ่น ต้องนึกถึงสายการบิน Air Japan” ประธานสายการบิน Air Japan ย้ำ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ญี่ปุ่น เร่งฟื้นการท่องเที่ยว ตั้งเป้าดึงตัวเลขกลับแตะ 40 ล้านคนเท่าก่อนโควิดภายในปี 2025
- ญี่ปุ่นจ๋าพี่มาแล้ว! นี่คือ 5 เซอร์ไพรส์เล็กๆ จากญี่ปุ่นที่เปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง ที่รู้ไว้ก่อนก็ไม่เสียหาย
- ราคาห้องพักและโรงแรมใน ญี่ปุ่น พุ่งขึ้นแล้ว 10-20% จากนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวและเงินเฟ้อ
แม้ว่าระยะห่างระหว่างที่นั่งกับฟังก์ชันปรับเอนจะคล้ายกับของ All Nippon Airways แต่ค่าโดยสารก็ลดลง โดยยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมน้ำมันเชื้อเพลิงและการเรียกเก็บเงินแยกต่างหากสำหรับการกำหนดที่นั่ง สัมภาระเช็กอิน และอาหารในเที่ยวบิน ซึ่งอาหารบนเครื่องบินมี 13 ประเภท รวมถึงอาหารกลางวันแบบกล่องสไตล์ญี่ปุ่น จะมีจำหน่ายในราคาระหว่าง 800-2,000 เยน
ระยะแรกเปิดให้บริการในปี 2024 เส้นทางกรุงเทพฯ-นาริตะ โดยมีเที่ยวบินไป-กลับ 6 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ในราคาเปิดตัวเริ่มต้น 4,350-6,720 บาท พร้อมดึงดูดกลุ่มนักเดินทางที่เป็นครอบครัว สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ราคา 2,350 บาท ส่วนทารกต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่มีที่นั่ง เริ่มต้นเพียง 1,500 บาท
เบื้องต้นคาดหวังว่าจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการกว่า 80% โดยแบ่งเป็นคนไทยประมาณ 70% และคนญี่ปุ่น 30%
สำหรับแผนการดำเนินงาน 3 ปีจากนี้ ถ้าหากได้รับการตอบรับดีก็มองไปถึงการขยายเที่ยวบินไปยังเมืองอื่นๆ ในญี่ปุ่นเพิ่มเติม เช่น เส้นทางจากสนามบินนานาชาติคันไซทางตะวันตกของญี่ปุ่น ซึ่งต้องประเมินสถานการณ์อีกครั้ง เพราะที่ผ่านมาสายการบินในเครือ ANA Holdings ก็มุ่งขยายเส้นทางภายในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม สื่อของญี่ปุ่นรายงานว่า ANA Holdings คาดว่า การดำเนินงานของสายการบินราคาประหยัด Air Japan จะสร้างผลกำไรจากบริการที่อาจไม่ทำกำไร หากสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบเสนอ
อ้างอิง: