×

โรงไฟฟ้าชีวมวล หนึ่งในทางแก้ปัญหา PM2.5 ที่ต้นเหตุแบบยั่งยืน [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
01.11.2019
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • PM2.5 คือฝุ่นละเอียดขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังได้
  • องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดว่าประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศในปี 2556 ประมาณ 50,000 คน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท 
  • นอกจากฟากฝั่งรัฐบาลแล้ว ในวิกฤต PM2.5 เรายังได้เห็นภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างจริงจัง ซึ่งหนึ่งในนั้นรวมถึงการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ตอบโจทย์ในการลดมลพิษจากการเผาในที่โล่ง สร้างความมั่นคงทางพลังงานทางเลือกใหม่ ขณะเดียวกันยังช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนที่แวดล้อมอีกด้วย

ภาพตึกสูงที่เลือนหายไปในม่านฝุ่นควันสีน้ำตาล กำลังกลายเป็นภาพคุ้นชินที่วนเวียนกลับมาหลอกหลอนคนไทยในทุกๆ ปี เมื่อฝุ่นพิษ PM2.5 เพิ่มปริมาณสูงขึ้น หน้ากากอนามัย N95 กลายเป็นอวัยวะสำคัญที่ขาดไม่ได้เมื่อต้องออกจากบ้าน ไม่มีใครรู้ว่าปัญหานี้จะอยู่คู่กับคนไทยไปอีกนานแค่ไหน 

 

จากรายงานเรื่อง ‘โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล’ โดยกรมควบคุมมลพิษ พบว่าในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม ตั้งแต่ปี 2554-2561 ค่าฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ เกินค่ามาตรฐาน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในทุกปี นอกจากนี้ในรายงานยังระบุว่าแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในระยะหลังยังแสดงถึงแหล่งกำเนิดฝุ่นที่เพิ่มขึ้น และพบว่าปัญหานี้มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นด้วย 

 

ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเว็บไซต์จัดอันดับคุณภาพอากาศจะยกให้ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 สำหรับเมืองที่มีคุณภาพอากาศที่แย่ที่สุดในหลายช่วงเวลา ซึ่งก่อนที่ฝุ่น PM.25 จะกลับมารุกรานทางเดินหายใจของคนไทยอีกครั้ง เรามาทบทวนกันดูอีกทีดีกว่าว่าปัญหานี้มีที่มาจากไหน แล้วทางออกในเรื่องนี้คืออะไร 

 

ต้นกำเนิด PM2.5 และมูลค่าความเสียหายที่คนไทยต้องแลกในทุกๆ ปี

ฝุ่น PM2.5 คือฝุ่นละเอียดขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เพราะมีขนาดเพียง 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ ด้วยความเล็กจิ๋วที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่านี้เอง ขนจมูกมนุษย์จึงไม่สามารถกรองฝุ่นชนิดนี้ได้ และทำให้มันสามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังได้

 

สำหรับแหล่งกำเนิดของ PM2.5 มีที่มาจากหลายแหล่ง ทั้งแหล่งกำเนิดโดยตรงอย่างการเผาในที่โล่ง ที่ปลดปล่อย PM2.5 ออกมามากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนถึง 54% รองลงมาคือการคมนาคมขนส่ง 13% และฝุ่นทุติยภูมิที่เกิดจากการรวมตัวกันของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ ทั้งซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และออกไซด์ของไนโตรเจน รวมทั้งมีสารปรอท, แคดเมียม, อาร์เซนิก หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์

 

ด้วยองค์ประกอบของสารพิษเหล่านี้ ทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ PM2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง และยังเป็นสาเหตุให้ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 

 

โรงไฟฟ้าชีวมวล

 

ในแง่เศรษฐศาสตร์ งานวิจัยของ วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยประเมินไว้ว่า ในทุกๆ 1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 ที่เกินค่ามาตรฐาน จะสร้างความเสียหายให้กับคนกรุงเทพฯ คิดเป็นมูลค่า 18,400 ล้านบาทต่อปี นั่นหมายความว่าหากเป็นฝุ่น PM2.5 ที่มีขนาดเล็กกว่ามากก็จะยิ่งทวีคูณความเสียหายในมูลค่ามากกว่าเช่นกัน

 

ที่น่าตกใจคือ ความเสียหายเหล่านี้คือสิ่งที่กำลังจะวนเวียนกลับมาซ้ำเติมคนไทยในทุกๆ ปี หากยังไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังในระยะยาว

 

ส่องโมเดลโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดชีวมวล ทางเลือกใหม่ในการแก้ไขปัญหา PM2.5

หนึ่งในโมเดลการแก้ปัญหา PM2.5 ที่ต้นเหตุอย่างยั่งยืนที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย คือโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดชีวมวลที่มี บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ACE เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจนี้อย่างจริงจัง และมีโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วถึง 13 โครงการ 

 

โรงไฟฟ้าชีวมวล

 

วิธีแก้ปัญหาของ ACE คือการรับซื้อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกรมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดยมีการจูงใจเชิงเศรษฐศาสตร์ แทนที่เกษตรกรจะเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในที่โล่ง เกษตรกรก็จะเก็บมาขายให้กับโรงไฟฟ้าแทนเป็น Win Win Win Model ซึ่งทำให้ 

 

  1. เกษตรกรได้รายได้เพิ่ม
  2. แก้ปัญหา PM2.5 ที่ต้นเหตุ
  3. ทำของเสียไม่ให้เสียของ เพราะได้ไฟฟ้ากลับคืนมา

 

การลงทุนด้านเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา บวกกับประสบการณ์ในอุตสาหกรรมพลังงาน ทำให้ ACE สามารถออกแบบและสร้างโรงไฟฟ้าที่มีความพิเศษ คือสามารถใช้เชื้อเพลิงความชื้นสูงถึง 65% ได้ และสามารถใช้เชื้อเพลิงหลากชนิดพร้อมกันได้ (Mixed Fuel) ทำให้ ACE สามารถนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเกือบทุกชนิดที่มีในประเทศมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว, ใบอ้อย, ต้นข้าวโพด, เปลือกข้าวโพด, ต้นมันสำปะหลัง ฯลฯ ความยืดหยุ่นนี้ทำให้โมเดลโรงไฟฟ้าชีวมวลของ ACE สามารถกระจายได้ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย

 

อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สำคัญที่ ACE ใช้ในการแก้ไขปัญหา PM2.5  คือ Electrostatic Precipitator (ESP) ซึ่งจะทำการยิงประจุไฟฟ้าใส่อากาศที่วิ่งผ่านเพื่อดักจับฝุ่น PM2.5 แต่วิธีนี้ไม่ได้ทำให้ดักจับแค่ฝุ่น PM2.5 ได้เท่านั้น ขนาดเล็กกว่า PM2.5 ก็จะถูกจับด้วยวิธีนี้เช่นกัน ซึ่งเครื่อง ESP มีประสิทธิภาพดักจับฝุ่นได้เกือบ 100% ซึ่งฝุ่นที่ถูกดักจับเหล่านี้จะถูกนำไปอัดก้อน และฝังกลบอย่างถูกหลักสุขอนามัยเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นถูกปล่อยออกไปในชั้นบรรยากาศ เรียกได้ว่านอกจากจะได้พลังงานแล้ว ยังคืนอากาศที่สะอาดให้กับพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย 

 

โรงไฟฟ้าชีวมวล

 

โดยปัจจุบัน ACE มีโรงไฟฟ้าชีวมวล 9 โครงการ มีกำลังผลิตติดตั้งรวม 89.1 เมกะวัตต์ โดยจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อีกทั้งยังมีแผนขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 291 เมกะวัตต์ หรือมากกว่า 3 เท่าตัวในอีก 2 ปีข้างหน้า นับเป็นบริษัทกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดที่น่าจับตามอง เพราะเป็นบริษัทที่มีแนวคิดแบบใหม่ ดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG (Environmental, Social, and Governance) และ TSI (Total Societal Impact) ที่ส่งผลเชิงบวกให้กับสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจของประเทศ

 

โรงไฟฟ้าชีวมวล

 

นอกจากจะช่วยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศแล้ว ACE ยังเดินหน้าพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน (VSPP-MSW) – โรงไฟฟ้าที่รวบรวมขยะชุมชนจากเทศบาลข้างเคียงพื้นที่โรงไฟฟ้า มากำจัด โดยนำขยะมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดย ACE เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มการนำขยะครัวเรือนมาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีโรงไฟฟ้าขยะต้นแบบที่แรกในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 6 เมกะวัตต์ สามารถแปลงขยะเป็นไฟฟ้าได้ถึง 400-500 ตันต่อวัน และเป็นระบบ Zero Discharge ที่น่าสนใจคือสามารถรองรับการเผาขยะที่มีความชื้นสูงถึงร้อยละ 80 ได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแยกขยะและทำให้แห้งก่อน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการขยะก่อนเข้าโรงไฟฟ้า โดยขณะนี้ ACE กำลังพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนโครงการที่ 2 ขนาด 6 เมกกะวัตต์ ที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งจะแปลงขยะเป็นไฟฟ้าได้ 400-500 ตันต่อวัน 

 

โรงไฟฟ้าชีวมวล

 

ที่สุดแล้ว PM2.5 อาจเป็นปัญหาที่แวะเวียนมากวนใจคนไทยอีกในอนาคตอันใกล้ แต่ในระยะยาวสิ่งที่จะช่วยต่อสู้กับปัญหา PM2.5 คือความร่วมมือร่วมใจกันของทุกภาคส่วนในสังคม ตั้งแต่การขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนเพื่อลดมลพิษทางอากาศ รวมถึงการเข้ามามีส่วนร่วมกับปัญหาของภาคเอกชน ที่จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ผู้คนหายใจได้อย่างสะดวกและปลอดภัยอีกครั้ง 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising