×

ลงทุนในโซลาร์เซลล์คุ้มค่าหรือไม่ และจุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน? [ADVERTORIAL]

11.09.2024
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • สถานการณ์ค่าไฟที่พุ่งสูงขึ้น 30% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เป็นตัวเร่งให้ภาคครัวเรือนมองการติดตั้ง ‘โซลาร์เซลล์’ เป็นทางเลือกหลัก ประกอบกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้มีแนวโน้มทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น ไปจนถึงเทรนด์ ‘พลังงานสะอาด’ (Clean Energy) ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกลายเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสำคัญ
  • ในมุมของนักลงทุนหรือคนที่พิจารณาเรื่องความคุ้มค่าเป็นหลัก อาจมองการติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่ง เพราะไม่ว่าคุณจะลงทุนในรูปแบบไหนจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อเข้าใจผลิตภัณฑ์ จุดคุ้มทุน ไปจนถึงกำไรที่จะได้รับ
  • เป็นที่มาของคำถามยอดฮิต จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ต้องรู้อะไร ลงทุนเท่าไร จุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน และใครเหมาะจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ THE STANDARD WEALTH สรุปให้
  • พร้อมหาคำตอบว่า ทำไม ‘EnergyLIB P1 All-In-One’ จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าลงทุน

จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ต้องรู้อะไร จุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน และใครเหมาะจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ นี่น่าจะเป็นหมวดคำถามยอดฮิตของคนที่กำลังสนใจเรื่อง ‘โซลาร์เซลล์’

 

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สถานการณ์ค่าไฟที่พุ่งสูงขึ้น 30% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (อ้างอิงจากค่าไฟฟ้าต่อหน่วยประเภทบ้านพักอาศัยระหว่างปี 2564-2566) จะเป็นตัวเร่งให้ภาคครัวเรือนมองการติดตั้ง ‘โซลาร์เซลล์’ เป็นทางเลือกหลัก 

 

แม้ว่ารัฐบาลจะสั่งตรึงค่าไฟต่อในราคาเดิมที่ 4.18 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2567 แต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในรูปแบบ Work from Home หรือความนิยมใช้รถยนต์ EV ก็มีแนวโน้มทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงตาม สอดคล้องไปกับข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เผยว่า ช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2566 มีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ต่อเนื่องมาถึงปี 2567 ยังพบว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริงพุ่งสูงกว่าปริมาณที่คาดการณ์ไว้อีกด้วย

 

 

การมาถึงของเทรนด์ ‘พลังงานสะอาด’ (Clean Energy) ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกลายเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสำคัญ อาจเพราะเริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เทรนด์การใช้พลังงานสะอาด ขยายวงกว้างจากเดิมที่กระจุกตัวอยู่ในภาคธุรกิจ (Commercial) เช่น ร้านอาหาร ออฟฟิศ และภาคอุตสาหกรรม (Industrial) เช่น โรงงาน มาสู่ภาคครัวเรือนหรือที่อยู่อาศัย (Residential) ซึ่งตลาดพลังงานมีมูลค่าตลาดคิดเป็น 6 หมื่นล้านบาท 

 

ในมุมของนักลงทุนหรือคนที่พิจารณาเรื่องความคุ้มค่าเป็นหลัก อาจมองการติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่ง เพราะไม่ว่าคุณจะลงทุนให้รูปแบบไหนจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อเข้าใจผลิตภัณฑ์ จุดคุ้มทุน ไปจนถึงกำไรที่จะได้รับ เป็นที่มาของคำถามยอดฮิต จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ต้องรู้อะไร ลงทุนเท่าไร จุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน และใครเหมาะจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ THE STANDARD WEALTH สรุปให้

 

ติดตั้งโซลาร์เซลล์ต้องรู้อะไรบ้าง 

 

ถ้าจะมองเรื่องความคุ้มค่าในการลงทุน คุณจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าในตลาดโซลาร์เซลล์ตอนนี้มีระบบอะไร แต่ละระบบมีจุดเด่นและข้อสังเกตอะไรก่อนตัดสินใจลงทุน 

 

ระบบออนกริด (On-Grid) เป็นระบบโซลาร์เซลล์ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหรือสายส่งจากระบบการไฟฟ้า สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อส่งไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ทันทีเมื่อมีแสงแดด หากระบบโซลาร์เซลล์ผลิตพลังงานไม่พอต่อความต้องการจะดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้แทน ข้อดีคือ ไม่ต้องพึ่งแบตเตอรี่ จึงหักลบค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปได้เลย แต่นั่นหมายความว่าจะผลิตพลังงานได้เฉพาะเวลากลางวัน ไม่สามารถผลิตได้ในตอนกลางคืน และพอไปเชื่อมกับระบบการไฟฟ้า หากต้นทางเกิดไฟฟ้าขัดข้อง ระบบไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ก็จะดับตามไปด้วย เนื่องจากอินเวอร์เตอร์หยุดทำงาน

 

ระบบออฟกริด (Off-Grid System) จุดเด่นคือใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ 100% ไม่พึ่งการเชื่อมต่อกับระบบการไฟฟ้า เพราะมีแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ในการสำรองพลังงาน เมื่อสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างอิสระก็ไม่ต้องกังวลเรื่องไฟตก ไฟดับ และสามารถใช้ไฟฟ้าได้ตอนกลางคืน แต่ต้องแลกมากับต้นทุนของแบตเตอรี่ที่เพิ่มขึ้น 

 

 

ระบบไฮบริด (Hybrid System) เป็นระบบที่ก้าวข้ามข้อจำกัดของทั้งสองระบบได้อย่างลงตัว เพราะรวมเอาข้อดีของระบบ On-Grid กับ Off-Grid เข้าด้วยกัน ที่มีความเสถียร สามารถใช้งานได้ตลอดเวลาในกรณีที่ไฟตกหรือดับ ระบบจะดึงไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาใช้ และในกรณีที่โซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าไม่พอระบบก็จะดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาชดเชยให้ ข้อสังเกตคือ เนื่องจากต้องใช้ระบบอินเวอร์เตอร์สำหรับระบบไฮบริดโดยเฉพาะ ซึ่งต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากการไฟฟ้า รวมถึงเรื่องของราคาเมื่อบวกอุปกรณ์แยกต่างๆ เข้าไปเพิ่ม

 

ในยุคหนึ่ง ‘แบตเตอรี่’ เป็นตัวชี้วัดความคุ้มทุน แต่ปัจจุบันแบตเตอรี่ราคาเข้าถึงง่าย เมื่อเทียบกับความคุ้มที่จะสามารถใช้ไฟฟ้าได้ในตอนกลางคืนหรือมีไฟฟ้าสำรองหากเกิดไฟดับก็ทำให้คนหันมาสนใจทางเลือกนี้มากขึ้น ประกอบกับตลาดปัจจุบันมีผู้เล่นเพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อกลไกราคาและทำให้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตพัฒนาอย่างรวดเร็ว 

 

จุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน

 

การลงทุนในโซลาร์เซลล์ต้องมองเป็นการลงทุนระยะยาว จุดคุ้มทุนยังขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของแต่ละครัวเรือน 

 

ยกตัวอย่าง หากคุณลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่มีพร้อมแบตเตอรี่ขนาด 10 กิโลวัตต์ชั่วโมง ในแต่ละวันสามารถเก็บพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยอย่างต่ำวันละ 5 ชั่วโมง 

 

10 กิโลวัตต์ x 5 ชั่วโมง = 50 กิโลวัตต์ชั่วโมง  

 

ค่าไฟฟ้าต่อ 1 หน่วย เฉลี่ย 4 บาท x 50 กิโลวัตต์ = 200 บาทต่อวัน แปลว่าในแต่ละวันคุณสามารถประหยัดค่าไฟไปได้ 200 บาท เดือนหนึ่งเท่ากับ 6,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี ราวๆ 72,000 บาท 

 

ถ้าคุณลงทุน 400,000 บาท ใช้ไฟทั้งกลางวันและกลางคืน จะคืนทุนภายใน 5-6 ปี มองอีกมุม การติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็เหมือนย้ายค่าใช้จ่ายไปจ่ายเงินให้กับระบบโซลาร์ แทนที่จะจ่ายแบบให้เปล่าไปกับการไฟฟ้าซึ่งเป็นการจ่ายไปเรื่อยๆ บางปีเรตค่าไฟฟ้าอาจเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ 

 

ใครเหมาะที่จะติดโซลาร์เซลล์

 

อย่างที่บอกไปข้างต้น จุดคุ้มทุนของแต่ละบ้านขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า ถ้าโดยปกติแล้วคุณต้องจ่ายค่าไฟไม่ต่ำกว่าเดือนละ 4,000 บาท มีสมาชิกในบ้านมากกว่า 3 คนขึ้นไป และส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้ไฟในเวลากลางวันเยอะ หรือบ้านที่มีความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา เช่น บ้านที่มีตู้เลี้ยงปลา มีเด็กเล็กและต้องแช่นมแม่ หรือบ้านที่มีผู้ป่วยที่ต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในการดูแล รวมไปถึงบ้านที่มีรถยนต์ไฟฟ้าหรือมีแผนที่จะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า เป็นกลุ่มที่น่าจะได้รับประโยชน์จากการติดตั้งโซลาร์เซลล์และใช้งานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด 

 

 

เห็นความคุ้มแต่ยังลังเล

 

จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้คนที่สนใจยังไม่ตัดสินใจติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นความยุ่งยากในการแยกซื้ออุปกรณ์ ทั้งแผงโซลาร์เซลล์ อินเวอร์เตอร์ และแบตเตอรี่ จากหลายแบรนด์ หากอุปกรณ์มีปัญหาก็ไม่รู้ว่าเกิดจากระบบไหนและจะต้องติดต่อใคร และแบรนด์ไหนควรรับผิดชอบ รวมไปถึงดีไซน์ของอุปกรณ์ที่ดูไม่เข้ากับสไตล์บ้านและมีความรกของสายไฟระโยงระยาง 

 

เมื่อการลงทุนในโซลาร์เซลล์เป็นการลงทุนระยะยาว เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ยิ่งต้องเลือกผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือ มีบริการหลังการขายที่ดี และควรมีทีมวิศวกรคอยให้คำปรึกษาตลอดการใช้งาน

 

ทำไม ‘EnergyLIB P1 All-In-One’ จึงเป็นทางเลือกที่น่าลงทุน 

 

ไม่นานมานี้ตลาดโซลาร์เซลล์ต่างพูดถึง ‘EnergyLIB’ แบรนด์ระบบโซลาร์เซลล์โซลูชันแบบครบวงจรน้องใหม่ที่มาปฏิวัติอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์เพื่อที่พักอาศัยครั้งแรกของไทย

 

แบรนด์เปิดตัวด้วยการชูจุดต่างด้วยระบบโซลาร์โซลูชันแบบครบวงจรสำหรับที่อยู่อาศัยรายแรกในไทย โดยมีจุดแข็งคือ One-Stop Solution จบครบทุกบริการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำในแบรนด์เดียว ตั้งแต่บริการติดตั้งพื้นฐาน [1] รับประกัน และบริการหลังการขาย

 

นอกจากนั้นยังได้ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Shenghong Ligend Power ผู้นำเทคโนโลยีด้านการผลิตแบตเตอรี่ภายใต้เครือ Shenghong Holding Group บริษัทยักษ์ใหญ่ติดอันดับ 171 ใน Fortune Global 500 ปี 2024 โดยจะนำเทคโนโลยีสุดล้ำมาใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงแก่ผู้บริโภค

 

 

ที่สำคัญคือ ตัวผลิตภัณฑ์ ‘EnergyLIB P1 All-In-One’ ที่มาพร้อมแผงโซลาร์เซลล์และเครื่อง All-In-One รวมอินเวอร์เตอร์และแบตเตอรี่ไว้ในเครื่องเดียว ภายใต้สโลแกน ‘ลดค่าไฟ 70% [2] ใช้ไฟได้ทั้งกลางวัน-กลางคืน’ ช่วยตัดจบความกังวลใจ ไม่ว่าจะเป็นความยุ่งยากในการเลือกว่าจะซื้ออุปกรณ์จากแบรนด์ไหน เพราะ EnergyLIB แบรนด์เดียวมาครบทั้งระบบ พร้อมบริการติดตั้ง รับประกัน และบริการหลังการขาย

 

 

EnergyLIB P1 All-In-One ต่างจากผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดอย่างไร

 

จุดแรกคือเรื่องของแผงโซลาร์เซลล์ (Black Magic) ที่นอกจากความเรียบหรู ไร้ช่องตาราง ยังให้ประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟเพิ่มมากขึ้นกว่าแผงทั่วไป 5% [3] หรือเทียบเท่าเปิดแอร์ 4 ชั่วโมง [4] 

 

ตัวเครื่อง All-In-One ซึ่งรวมเอาอินเวอร์เตอร์และแบตเตอรี่เข้าด้วยกัน ไม่มีสายไฟระโยงระยางกวนสายตา มีความพรีเมียม โค้งมนแบบ ‘Integrated Streamline Design’ วางตำแหน่งใดของบ้านก็กลมกลืนไปกับการตกแต่งบ้านหลากสไตล์ 

 

ปลอดภัยด้วย ‘Energy CUBE’ ระบบป้องกันอัตโนมัติอัจฉริยะ และใช้งานได้แม้ไฟดับ [5] รวมถึงมีแอปพลิเคชัน ‘LIB Life’ ตรวจสอบสถานะการผลิตและใช้ไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ มาพร้อมบริการครบวงจร ไร้กังวลตลอดอายุการใช้งาน รับประกันแผงโซลาร์เซลล์ 25 ปี [7] และเครื่อง All-In-One 10 ปี [7]

 

เปิดตัวราคาเริ่มต้น 359,000 บาท สำหรับ EnergyLIB P1 All-In-One ใช้ไฟทั้งกลางวันและกลางคืน คืนทุนในเวลาเพียง 5-6 ปี [6] และ EnergyLIB P1 Lite ทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เฉพาะเวลากลางวัน (ไม่มีแบตเตอรี่) ราคาเริ่มต้นที่ 199,000 บาท ราคาข้างต้นรวมบริการติดตั้งพื้นฐาน [1] การรับประกัน และบริการหลังการขาย



‘EnergyLIB P1 All-In-One’ เปิดให้พรีออร์เดอร์ตั้งแต่วันนี้ – 22 กันยายน 2567 พร้อมรับ EnergyLIB Voucher มูลค่าสูงสุด 30,000 บาท ที่ร้าน BaNANA ทุกสาขา และตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ สัมผัสเครื่องจริงได้ที่ BaNANA สาขาที่ร่วมรายการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Facebook: EnergyLIB

 


 

หมายเหตุ (Disclaimer):

 

[1] อาจมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง ภายหลังจากการสำรวจพื้นที่หน้างานจริง โดยขึ้นอยู่กับโครงสร้างและสภาพแวดล้อมของบ้าน

 

[2] ปริมาณพลังงานไฟฟ้าคำนวณจากการใช้งาน EnergyLIB P1 All-In-One ระบบไฟ 3 เฟส ที่ติดตั้งแบตเตอรี่ 20 kWh และแผงโซลาร์เซลล์ 26 แผง โดยประสิทธิภาพและผลลัพธ์อาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งานจริงและปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น ปริมาณแสงแดดและความร้อน ความสะอาดของแผงโซลาร์เซลล์ อายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่นๆ

 

[3] ประสิทธิภาพของสินค้าเมื่อเทียบกับแผงโซลาร์เซลล์ที่มีค่ากำลังการผลิตไฟฟ้าเท่ากันและอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน โดยอิงตามเงื่อนไขการทดสอบมาตรฐานจากโรงงาน ไม่รวมสภาพอากาศที่รุนแรง เช่น ช่วงที่ฝนตกต่อเนื่อง  

 

[4] ปริมาณพลังงานไฟฟ้าคำนวณจากการใช้งาน EnergyLIB P1 All-In-One ระบบไฟ 3 เฟส พร้อมติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 26 แผง ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงแดดในกรุงเทพฯ และใช้งานเครื่องปรับอากาศ 18,000 BTU รุ่นประหยัดไฟ 3 ดาวขึ้นไป

 

[5] ระยะเวลาที่เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ในกรณีไฟดับ ขึ้นอยู่กับปริมาณไฟที่คงเหลือในแบตเตอรี่ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าและ/หรือจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการใช้ โปรดติดต่อวิศวกรของ EnergyLIB ล่วงหน้าสำหรับการตั้งค่าหน้างานจริง

 

[6] คำนวณจากการใช้ EnergyLIB P1 All-In-One แบบเต็มประสิทธิภาพ โดยระยะเวลาคืนทุนอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้งานจริง เช่น พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า บิลค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือน และอื่นๆ

 

[7] โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ใบรับประกัน

 


 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X