ภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคในการมีส่วนร่วมทางการเมืองเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2567 กรณีคำวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล และวินิจฉัยให้ เศรษฐา ทวีสิน พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 กรณีคำวินิจฉัยปลดนายกรัฐมนตรีนั้น
คณาจารย์และนักกฎหมายที่มีรายชื่อท้ายแถลงการณ์นี้ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทั้งสองคดี ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับใช้กฎหมายและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานแห่งกฎหมาย และมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดปัญหาอย่างร้ายแรงต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยดังจะกล่าวต่อไปนี้
ประการแรก ศาลรัฐธรรมนูญตีความขยายเขตอำนาจของตัวเอง และตีความบทบัญญัติของกฎหมายให้มีขอบเขตการบังคับใช้ที่กว้างขวาง จนไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนเพื่อยุบพรรคและตัดสิทธินายกรัฐมนตรี ซึ่งขัดต่อหลักการพื้นฐานแห่งกฎหมายที่ใช้การตีความกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลจะต้องตีความอย่างแคบและด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในคำวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล ทั้งที่มีแนวทางในการตีความการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดเจน และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ศาลกลับตีความ ขยายความ ให้รวมถึงการเสนอนโยบายของพรรคการเมือง และการเสนอแก้ไขกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ
ในคำวินิจฉัยปลดนายกรัฐมนตรี ศาลตีความการกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้รวมถึงการขาดความระมัดระวังในการเสนอชื่อบุคคลที่ศาลเชื่อว่าน่าจะมีปัญหาในเรื่องคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี โดยศาลอ้างอิงความคิดเห็นของสาธารณชนเพื่อสนับสนุนความเชื่อดังกล่าว ทั้งที่ไม่เคยมีการพิสูจน์การขาดคุณสมบัติของบุคคลดังกล่าวภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด
ประการที่สอง คำวินิจฉัยทั้งสองคดีเป็นผลของการดำเนินการกระบวนพิจารณาที่ไม่สอดคล้องกับหลักการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (Due Process) โดยศาลอ้างอำนาจตามกฎหมายในการกำหนดกระบวนพิจารณาตามที่เห็นสมควร เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่เพียงพอในการตัดสินคดี การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลจึงเกิดความไม่แน่นอน ทั้งต่อการเตรียมการต่อสู้คดีของผู้ที่ถูกกล่าวหาและการติดตามความคืบหน้าของสาธารณชน
ทั้งๆ ที่ตามหลักการพื้นฐานของกฎหมายนั้น กระบวนพิจารณาคดีที่จะนำไปสู่การจำกัดสิทธิผู้ถูกกล่าวหาจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้นำเสนอพยานหลักฐานเพื่อต่อสู้คดีอย่างเต็มที่และเป็นธรรม พยานหลักฐานบางส่วนที่ศาลรับในคดีล้มล้างการปกครอง ซึ่งมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 และถูกอ้างอิงในคดียุบพรรคก้าวไกลในเวลาต่อมา อาทิ พยานหลักฐานจากหน่วยงานความมั่นคง เป็นพยานหลักฐานที่ศาลรับฟังโดยไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ถามค้านหรือโต้แย้ง ภายใต้หลักการพื้นฐานแห่งกฎหมาย คำวินิจฉัยที่เป็นผลจากกระบวนพิจารณาคดีที่ไม่ชอบย่อมเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ประการที่สาม การที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความขยายเขตอำนาจของตนเองให้เข้าไปตรวจสอบการกระทำทางนิติบัญญัติและการกระทำทางรัฐบาล เกินไปกว่าที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจและไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นการทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจและเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อกลไกคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติและการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารเกิดความไม่แน่นอนและไม่เป็นอิสระ
ประการสุดท้าย คำวินิจฉัยทั้งสองคดีของศาลรัฐธรรมนูญลดทอนความเชื่อมั่นและศรัทธาที่ประชาชนชาวไทยและต่างชาติมีต่อระบบกฎหมายและการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยอย่างรุนแรง
คำวินิจฉัยที่มีผลให้พรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดต้องสิ้นสุดลง และมีผลให้นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะการตีความกฎหมายและวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นไปตามหลักการของกฎหมาย ย่อมทำลายความเชื่อมั่นของประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีต่อระบบกฎหมายและระบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอย่างรุนแรง และก่อให้เกิดความรู้สึกหดหู่และสิ้นหวังจากการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการประหัตประหารทางการเมือง ทำลายคู่ต่อสู้ในทางการเมือง การที่ประชาชนทั่วไปสามารถทำนายผลคดีได้อย่างแม่นยำ และเห็นได้ว่าเป็นการตัดสินคดีที่เป็นเพียงเกมการเมือง ไม่ใช่การตัดสินคดีอันเป็นกระบวนการทางกฎหมาย ทัศนคติเช่นนี้เป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าสังคมและประชาชนขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาที่มีต่อระบบกฎหมายและระบบการเมืองอย่างรุนแรง ระบบกฎหมายที่อาศัยเฉพาะแต่อำนาจ แต่ขาดซึ่งความเชื่อมั่นและศรัทธาของประชาชน ย่อมไม่อาจดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และในท้ายที่สุดแล้วจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือข้อขัดแย้งทางสังคมและการเมืองใดๆ ได้เลย
คณาจารย์นิติศาสตร์และนักกฎหมายดังมีรายนามแนบท้ายนี้ ขอยืนยันถึงความไม่เห็นด้วยต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการยุบพรรคก้าวไกลและการวินิจฉัยให้ เศรษฐา ทวีสิน พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี และต้องการชี้ให้สังคมไทยได้เห็นว่า การใช้และตีความกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญผิดหลักการทางนิติวิธีที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของวิชานิติศาสตร์ ดังที่ได้แสดงเหตุผลไว้แล้ว
ทั้งนี้ เพื่อให้สังคมไทยได้ถกเถียงในประเด็นดังกล่าวบนพื้นฐานของเหตุและผลอย่างจริงจัง รวมถึงการถกเถียงในประเด็นเรื่องการปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญในอนาคตต่อไปด้วย
ด้วยความเชื่อมั่นในนิติรัฐ ประชาธิปไตย และอำนาจสูงสุดของประชาชน
รายนามคณาจารย์นิติศาสตร์และนักกฎหมาย
- กมลนัยน์ ชลประทิน สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- กรกนก วัฒนภูมิ
- กรรภิรมย์ โกมลารชุน คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- กฤษฎา ใจแก้วทิ
- กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- กิตติยา พรหมจันทร์
- ขรรค์เพชร ชายทวีป
- ขริสา สร้อยศรี
- เขมชาติ ตนบุญ
- เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง
- เขมภัทร ทฤษฎิคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
- คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร
- จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน
- จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว ทนายความ
- ฉัตรฑริกา นภาธนาพงศ์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- เฉลิมศรี ประเสริฐศรี
- ชนฐิวัทน์ อุดมศิริพัชร
- ชาคริต สิทธิเวช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
- ฐิติชญา พนัสนอก
- ฐิตินันท์ เต็งอำนวย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ณรงค์เดช สรุโฆษิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ณัฏฐพงษ์ ลัทธาพลสกุล
- ณัฏฐพร รอดเจริญ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ณัฐดนัย นาจันทร์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ณัฐพล สุรรัตน์รังษี
- ณัฐวัฒน์ กฤตยานวัช มหาวิทยาลัยบูรพา
- ณัฐสุดา อมรสู่สวัสดิ์
- ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ติณเมธ วงศ์ใหญ่ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ทวีศักดิ์ เอื้ออมรวนิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ทศพล ทรรศนพรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ธนาชัย ธนาหิรัญบุตร
- ธนินทร์ เพชรศิริ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- ธวัช ดำสอาด
- ธาดา ชาติอุดม
- ธีรยุทธ ปักษา
- ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- นนท์ปวิธ แสงเทียนประไพ
- นพดล เดชสมบูรณ์รัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นฤมล ช้างบุญมี
- นฤมล ฐานิสโร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
- นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นันทกานต์ อมรสู่สวัสดิ์
- นาฏนภัส เหล็กเพ็ชร
- สิทธิพร จึงรุ่งฤทธิ์
- นิฐิณี ทองแท้
- นิติ จันจิระสกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- นิรันดร์ ลวดเงิน
- นิสิต อินทมาโน
- ปพนธีร์ ธีระพันธ์
- ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปลื้ม บางวัฒนกุล
- ปารณ บุญช่วย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ปิยอร เปลี่ยนผดุง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
- พงศ์ธร จิตตาพินิจมาศ
- พงษ์พันธ์ บุปเก
- พอชนก คุณวุฒิฤธิรณ
- พัชร์ นิยมศิลป คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พิไลวรรณ ศรีประเสริฐ
- พุฒิพันธุ์ อภิไชยาวาทย์
- พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความ
- เพชรณพัฒน์ ศรีวุทธิยประภา สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ภัทรพงษ์ แสงไกร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ภานุวัฒน์ ผ่องใส
- ภาลฎา อ่ำทรัพย์
- ภาสกร ญี่นาง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ภิรมย์พร ไชยยนต์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- ภูเก็ต ช้างเสวก
- ภูภัชร พัฒนธารธาดา
- ภูริวัฒน์ ชัยสิริโรจน์
- มณฑินี รูปสูง
- –
- มาติกา วินิจสร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มาลี พฤกษ์พงศาวลี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มุนินทร์ พงศาปาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เมษปิติ พูลสวัสดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
- รัฐพล ปั้นทองพันธุ์ ทนายความ
- รัดเกล้า นามกันยา ทนายความ
- รัษฎา มนูรัษฎา สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
- วรภัทร วีรพัฒนคุปต์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
- วรวิทย์ ศิริสุโขดม
- วัชลาวลี คำบุญเรือง มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
- วิชญา รัตนจรัสโรจน์
- วิเชียร เพ่งพิศ
- วิทูรย์ ตลุดกำ
- วิพล กิติทัศนาสรชัย ข้าราชการอัยการ
- วีระ สมความคิด เครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.)
- วีระยุทธ สิทธิโภชน์
- ศรัณย์ จงรักษ์
- ศรัณย์ พิมพ์งาม คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศราวุฒิ ประทุมราช
- ศรีประภา เพชรมีศรี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศศิน สุขจรัส
- ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความ
- ศศิภา พฤกษฎาจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศิริกาญจน์ เจริญศิริ
- ศิริโสภา สันติทฤษฎีกร
- ศุภกร ชมศิริ
- ส.รัตนมณี พลกล้า
- สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- สมชาย หอมลออ
- สรรค์ ตันติจัตตานนท์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- สัญญา เอียดจงดี
- สันติชัย ชายเกตุ
- สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
- สิริลักษณ์ บุตรศรีทัศน์ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
- สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- สุธารี วรรณศิริ
- สุรชัย ตรงงาม ทนายความ
- สุรพี โพธิสาราช
- สุวิทย์ ปัญญาวงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
- เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ นักวิชาการอิสระ
- อธิรัชต์ ส่านประสงค์ กองทุนประกันวินาศภัย
- อธิวัฒน์ เส้งคุ่ย
- อนันต์สิทธิ์ ลัทธพลสกุล
- อรพรรณ พนัสพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อัครชัย ชัยมณีการเกษ
- อานนท์ ศรีบุญโรจน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
- อานันท์ กระบวนศรี
- อารยา สุขสม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- อำนาจ ตั้งคีรีพิมาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อิษิรา ธนรัช
- อุดม งามเมืองสกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
- เอกรพี หาศรีวงศ์
- เอกรินทร์ เท่งเจียว
- เอื้อการย์ โสภาคดิษฐพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย