วันนี้ (30 กรกฎาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าแม้ปัญหา ปลาหมอคางดำ จะเกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว และเป็นปัญหาที่คาราคาซังต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่รัฐบาลถือว่าเป็นความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนจึงเป็นภารกิจที่รัฐบาลปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องเอาใจใส่และมีความจริงจังในการแก้ปัญหา จึงได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่าที่ผ่านมาได้จัดการไปอย่างไรและจากนี้จะมีมาตรการอย่างไร
ชัยกล่าวอีกว่า อรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า ที่ผ่านมากรมประมงได้พยายามแก้ไขแล้วแต่เอาไม่อยู่ เพราะที่ผ่านมาขาดการบูรณาการกับภาคประชาสังคมและภาคเอกชน ดังนั้นในรอบนี้จึงมีการเชิญนายกสมาคมการประมง นายกสมาคมผู้เพาะพันธุ์เลี้ยงสัตว์น้ำต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและวางแผนในการแก้ไขปัญหา โดยตกผลึกเป็นมาตรการ 7 ข้อ ใช้งบประมาณ 450 ล้านบาท ซึ่งปัญหาปลาหมอคางดำจะจบสิ้นและหมดไปจริงๆ ในปี 2570 โดยจากนี้จะค่อยๆ ลดไปตามลำดับ โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยืนยันว่าได้ผลแน่นอน เพราะเป็นการตกผลึกระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน โดยมี 7 มาตรการ ดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- รมช.เกษตรฯ เผย ครม. เห็นชอบ 7 มาตรการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ ชี้ข้อเสนอนักวิชาการใช้ไซยาไนด์ต้องคิดถึงระบบนิเวศ
- ประมงสมุทรสาครปล่อยปลากะพงนักล่า 20,000 ตัวสุดท้ายลงคลองไปกำจัดปลาหมอคางดำ ขอประชาชนอย่าล่าปลากะพง
- จับและลดปริมาณปลาหมอคางดำในแหล่งแพร่ระบาด 4 ล้านกิโลกรัม หรือ 4,000 ตัน ภายในกลางปี 2568
- ส่งปลาผู้ล่าหวังลดปลาหมอคางดำ เช่น ปลากะพง
- นำปลาหมอคางดำที่ได้ไปทำปุ๋ยหมัก น้ำชีวภาพ น้ำปลาร้า ปลาป่น เพื่อให้ปลาที่จับมาไม่สูญเปล่า
- ป้องกันการแพร่กระจายไปยังแหล่งน้ำข้างเคียง
- ให้ความรู้กับพี่น้องประชาชนในการสังเกตและป้องกันอันตรายหากระบบนิเวศถูกสัตว์น้ำต่างถิ่นเข้ามารุกราน
- แผนระยะกลางและระยะยาวใช้เทคโนโลยีด้านการเหนี่ยวนำโครโมโซมของปลาหมอคางดำจาก 2N เป็น 4N จะทำให้เป็นหมัน เมื่อเข้าไปผสมกับธรรมชาติ ลูกปลาหมอคางดำที่ออกมาจะกลายเป็น 3N ทำให้ได้ปลาหมอคางดำที่เป็นหมัน
- การฟื้นฟูแหล่งน้ำที่โดนปลาหมอคางดำทำลาย โดยกรมประมงจะนำสัตว์น้ำกลับคืนถิ่นเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศของแหล่งน้ำนั้นตามข้อมูลที่มีการบันทึกไว้