×

เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างเปราะบาง บทบาทธนาคารช่วยอย่างไร [PR NEWS]

โดย THE STANDARD TEAM
19.01.2024
  • LOADING...
เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเปราะบาง

 

ความคาดหวังต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2567 ทั้งในมุมของรัฐบาล นักเศรษฐศาสตร์ นักธุรกิจ หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไป ต่างอยากเห็นการฟื้นตัวหรือขยายตัวจากปีก่อน พูดง่ายๆ คือคาดหวังว่า ‘เศรษฐกิจจะดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว’

 

การจะวัดว่าเศรษฐกิจดีขึ้นหรือไม่ โดยพื้นฐานแล้วเราก็มักจะใช้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) มาเป็นตัวชี้วัด ซึ่งในปี 2566 หลายฝ่ายก็ประเมินกันไว้ว่า GDP ไทยจะเติบโตราว 2.4-2.7% ส่วนปีนี้ก็คาดหวังว่าจะเห็นการเติบโตสูงกว่า 3% ขึ้นไป อย่างศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 3.1% 

 

แม้ความคาดหวังต่อเศรษฐกิจโดยรวมจะไปในทางบวกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากย้อนกลับไปมองเทียบกับช่วงวิกฤตโควิด-19 แต่จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังสะท้อนให้เห็นว่าแม้วิกฤตจะผ่านไปแล้ว แต่ ‘บาดแผล’ ของธุรกิจและประชาชนบางกลุ่มยังไม่หายดีอย่างที่คิด โดยเฉพาะลูกจ้างนอกภาคเกษตร หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือแม้แต่ธุรกิจส่งออกที่เคยเป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทย 

 

 

3 ธุรกิจที่ต้องระมัดระวัง

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าภาคธุรกิจก็ยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ดูเหมือนจะชะลอตัวลงในปีนี้ โดยเฉพาะธุรกิจที่ทำการค้าระหว่างประเทศ ส่วนเจ้าของกิจการที่พึ่งพากำลังซื้อของคนในประเทศอาจได้แรงหนุนบางส่วนจากมาตรการรัฐ แต่ด้วยหนี้ที่ตึงตัวและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้ยอดขายของกลุ่มนี้อาจเติบโตไม่ได้มากเช่นกัน 

 

นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมิน 3 ธุรกิจที่อาจเป็น ‘ดาวร่วง’ หากหยุดพัฒนาและไม่มีความแตกต่างจากคู่แข่ง ได้แก่

 

  1. แฟชั่นและของใช้ส่วนตัวทั่วไป: ในภาวะที่ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย ซื่อสัตย์ต่อแบรนด์ต่ำ และการแข่งขันที่สูงมากกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ทำให้สินค้าจำพวกสกินแคร์ เครื่องสำอาง และวิตามิน เสี่ยงจะเผชิญยอดขายที่หดตัวหรือเป็นกระแสได้เพียงชั่วคราว สะท้อนจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าแฟชั่นและของใช้ส่วนตัวที่คาดว่าจะมีส่วนแบ่งการตลาดราว 20% ในปี 2567 เพิ่มขึ้นจาก 16% ในปี 2560 

 

เศรษฐกิจไทย

 

  1. สินค้าปล่อยคาร์บอนสูง: กำลังจะถูกเก็บค่าธรรมเนียมคาร์บอนข้ามพรมแดนจากคู่ค้าตั้งแต่ปี 2569 โดยเฉพาะจากสหภาพยุโรป โดยเป็นสินค้าในกลุ่มเหล็กและอะลูมิเนียม ทำให้ผู้ประกอบการเริ่มมีต้นทุนการดำเนินการ และอาจจำเป็นต้องลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ปริมาณเหล็กที่ส่งออกไปสหภาพยุโรปที่เข้าข่ายอยู่ที่ราว 1.25 แสนตัน คิดเป็น 6% ของเหล็กที่ส่งออกจากไทยไปตลาดโลก

 

  1. สถาบันการศึกษา: ด้วยโครงสร้างประชากรที่มีจำนวนเด็กเกิดใหม่น้อยลง การไปศึกษาต่อต่างประเทศทำได้ง่ายขึ้น การศึกษาผ่านออนไลน์ หรือแม้กระทั่งการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเอง ทำให้สถาบันการศึกษามีแนวโน้มเผชิญความท้าทายจากภาวะอุปทานส่วนเกิน จากสถิติเมื่อปี 2564 จะเห็นว่านักเรียนที่เข้าศึกษาต่อในขั้นอุดมศึกษาต่อสถาบันมีสัดส่วนเฉลี่ยที่ 2,816 คนต่อ 1 แห่ง ลดลงจากปี 2559 ที่ 3,517 คนต่อ 1 แห่ง หรือคิดเป็นจำนวนนักเรียนที่ลดลงเฉลี่ยกว่า 4% ต่อปี

 

บทบาทของธนาคารในการเสริมสภาพคล่อง

 

บนการฟื้นตัวที่เปราะบาง หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ทุกคนก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้คือ ‘สภาพคล่อง’ 

 

และจากวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจและการเงินที่ผ่านมาในอดีต เห็นได้ชัดว่าธนาคารพาณิชย์มีบทบาทสำคัญที่เป็นกลไกหล่อเลี้ยงให้ทุกภาคส่วนที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจของประเทศดำเนินต่อไปได้

 

ธนาคารในฐานะสถาบันการเงินของประเทศ จึงถือเป็นกลไกหลักในการเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญเพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจและการดำรงชีวิตของผู้คน  

 

ตัวอย่างหนึ่งคือ ธนาคารกสิกรไทย ที่ช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจผันผวนมาอย่างต่อเนื่องผ่านมาตรการความช่วยเหลือต่างๆ เพื่อแบ่งเบาภาระหนี้ และช่วยเสริมสภาพคล่องด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โดยเฉพาะการดูแลและช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้ลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบาง ตลอดจนการเสริมสภาพคล่องที่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจให้กลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs ผ่านมาตรการต่างๆ ที่สำคัญ 2 ด้าน ได้แก่ 

 

  1. มาตรการแบ่งเบาภาระหนี้ให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์โควิด-19 เช่น การพักชำระหนี้ และการลดดอกเบี้ย อย่างปี 2563 ที่เผชิญกับวิกฤตโควิด-19 อย่างหนัก ธนาคารได้ช่วยเหลือลูกค้าไปกว่า 1.6 ล้านราย คิดเป็นยอดการช่วยเหลือภายใต้มาตรการช่วยเหลือตามแนวทางของ ธปท. กว่า 428,000 ล้านบาท 

 

แม้จำนวนลูกค้าที่อยู่ในมาตรการช่วยเหลือจะทยอยลดลงตามสถานการณ์โควิด-19 ที่ค่อยๆ ดีขึ้นในแต่ละปี แต่ด้วยความท้าทายและการขยายตัวแบบไม่กระจายตัวทั่วถึง ปัจจุบันธนาคารยังให้ความช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง โดย ณ ไตรมาส 3/66 ธนาคารมีลูกค้าที่อยู่ในมาตรการช่วยเหลือแบบเบ็ดเสร็จตามแนวทางของ ธปท. คิดเป็นยอดสินเชื่อกว่า 166,000 ล้านบาท

 

  1. มาตรการเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้าที่ต้องการสินเชื่อเพิ่มเติม ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ได้แก่
  • สินเชื่ออัตราดอกเบี้ย 0% ระยะเวลา 1 ปี เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ SMEs ที่ชะลอตัว และทำให้สามารถรักษาการจ้างงานเป็นจำนวนมาก
  • สินเชื่ออัตราดอกเบี้ย 1% ระยะเวลา 5 ปี เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบหนักจากธุรกิจที่ต้องหยุดชะงัก
  • สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 2% ระยะเวลา 2-5 ปี สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีศักยภาพ เพื่อลดภาระต้นทุนของผู้ประกอบการ  
  • วงเงินสินเชื่อต่อรายต่ำกว่า 1 ล้านบาท สำหรับลูกค้ารายย่อย เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงสินเชื่อและบริการการเงินในระบบให้กับลูกค้ารายย่อย 

 

การสนับสนุนสภาพคล่องของธนาคารจึงเป็นเหมือนการกระตุ้นให้ทั้งระบบเศรษฐกิจ ธุรกิจ และผู้คน ทำให้กลไกต่างๆ กลับมาฟื้นตัว สามารถก้าวผ่านวิกฤตและเดินหน้าต่อไปได้ทั้งในการดำเนินธุรกิจและการดำรงชีพ 

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X