หากจะมองถึงภาพรวมการลงทุนในปี 2567 ว่ามีความง่ายหรือยากกว่าเมื่อเทียบกับปี 2566 ที่ผ่านมา ก็ต้องบอกว่ามีความท้าทายไม่แตกต่างกัน อย่างเช่น ปัจจัยเรื่องอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลต่อทิศทางเศรษฐกิจและการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก ที่ในปีนี้ก็คงจะคาดเดาจังหวะที่ Fed จะลดดอกเบี้ยได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากขึ้นอยู่กับสถานการณ์เงินเฟ้อด้วย ในกรณีที่ Fed ปรับลดดอกเบี้ยเร็วอย่างที่ตลาดคาด ก็อาจจะไปเร่งการบริโภค และทำให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง และลดดอกเบี้ยต่อได้ยาก
ด้วยสถานการณ์แวดล้อมการลงทุนที่ยังมีความท้าทายรออยู่ข้างหน้าเช่นนี้ นักลงทุนจึงต้องให้ความสำคัญกับการคัดเลือกสินทรัพย์ และจัดพอร์ตลงทุนให้สอดคล้องกับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
สำหรับประเด็นนี้มองว่า กว่าจะนำผลิตภัณฑ์แต่ละรายการมาเสนอขายต้องผ่านด่านคัดกรอง 3 รายการที่ทีมใช้ในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ก่อน ประกอบด้วย
ประเด็นแรก การคำนึงถึงความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของลูกค้า เนื่องจากเราทราบดีว่าลูกค้าแต่ละท่านคาดหวังผลตอบแทนแตกต่างกันไป และมีความสามารถและความยินดีในการรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ส่วนหนึ่งที่เพิ่งก้าวเข้าสู่โลกการลงทุน ก็อาจจะมีคนที่คาดหวังผลตอบแทนสูงโดยไม่มีความเสี่ยงเลยก็ได้เช่นกัน ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า ในโลกความเป็นจริงของการลงทุนไม่มีผลิตภัณฑ์แบบนี้อยู่ ฉะนั้นสิ่งที่เราจะทำได้ดีที่สุดก็คือ การคัดกรองผลิตภัณฑ์ที่นำมาเสนอขายแล้วจะสอดคล้องกับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของลูกค้านั่นเอง
ประเด็นถัดมาคือ ระดับความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ โดยก่อนที่ธนาคารจะนำเสนอผลิตภัณฑ์จะมีการวิเคราะห์เจาะลึกคุณภาพของสินทรัพย์ทุกๆ ประเภทในเชิงลึก ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ สินทรัพย์นอกตลาด (Private Asset) หรือสินทรัพย์ทางเลือกอย่างอสังหาริมทรัพย์ ทองคำ น้ำมัน
ตัวอย่างการวิเคราะห์เจาะลึก ได้แก่ การวิเคราะห์ภาพรวมอุตสาหกรรมของหุ้นตัวนั้นๆ แล้วลงลึกวิเคราะห์ศักยภาพของหุ้นรายตัวที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ หากเป็นการวิเคราะห์ตราสารหนี้ก็จะมุ่งเน้นเรื่องการพิจารณาคุณภาพของเครดิต โดยมีจุดมุ่งหมายในการเน้นคัดเลือกตราสารหนี้ที่มีคุณภาพเครดิตเหมาะสมกับลูกค้า Wealth ของธนาคารแต่ละกลุ่ม
หรือกรณีของ Private Asset ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้นอกตลาด (Private Debt) หรือหุ้นนอกตลาด (Private Equity) ธนาคารก็จะเริ่มพิจารณาจากคุณภาพของสินทรัพย์ก่อน จากนั้นก็ติดตามไปถึงกระบวนการในการคัดเลือกสินทรัพย์เหล่านั้นของผู้จัดการกองทุน ขณะเดียวกันก็ยังให้ความสำคัญกับการคัดเลือกพันธมิตร ผู้จัดการกองทุนที่ทำหน้าที่ในการบริหารสินทรัพย์เหล่านี้ด้วย โดยต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักลงทุนไทยหรือในระดับสากล
สำหรับประเด็นสุดท้ายคือ จังหวะเวลาในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป้าหมายหลักของธนาคารในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าก็คือ คาดหวังให้ลูกค้าได้เข้าซื้อสินทรัพย์ในราคาถูก และรอขายสินทรัพย์ทำกำไรได้ในจังหวะที่ราคาแพง อย่างไรก็ดี จังหวะที่ราคาถูกนั้นบ่อยครั้งจะเป็นช่วงเวลาที่สินทรัพย์นั้นให้ผลตอบแทนไม่ค่อยน่าพึงพอใจนัก ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักสำหรับการให้คำแนะนำที่จะทำให้นักลงทุนตัดสินใจเข้ามาลงทุนในช่วงเวลานั้น ซึ่งเรื่องนี้ต้องอาศัยความพยายามอย่างมากในการอธิบายข้อมูลต่างๆ กับลูกค้า
รุ่งโรจน์กล่าวว่า ธนาคารจะนำทั้ง 3 ประเด็นนี้ที่ใช้คัดกรองผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้า เป็นคัมภีร์ในการไปร่วมมือกับพันธมิตรของธนาคารทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ในไทย หรือ บลจ. จากต่างประเทศ โดยในบางครั้งธนาคารก็จะมีส่วนร่วมในการนำเสนอความคิดเห็นเพื่อให้ บลจ. พันธมิตรนำไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ทั้ง 3 ประเด็นนี้ด้วย นอกเหนือไปจากการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ทำอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในคนไทยจำนวนไม่มากที่ได้ไปอบรมและสอบผ่านหลักสูตรเริ่มต้นการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ‘Getting Started In Responsible Investment’ กับ PRI Academy ซึ่งเป็นสถาบันอบรมหลักการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบภายใต้องค์การสหประชาชาติ รุ่งโรจน์ได้นำแนวทางการลงทุนภายใต้กรอบการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมาใช้ในแต่ละขั้นตอนการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ลงทุนด้วยเช่นกัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสิ่งที่นำเสนอกับลูกค้าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด บนพื้นฐานที่คำนึงถึงความรับผิดชอบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
รุ่งโรจน์กล่าวว่า ตัวอย่างหนึ่งของการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่เราภูมิใจนำเสนอ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Dynamic Bond หรือ SCBDBOND ที่ธนาคารได้สะท้อนความต้องการของลูกค้าที่มีเกี่ยวกับกองทุนรวมตราสารหนี้ไปยัง บลจ.ไทยพาณิชย์ บริษัทในเครือ โดยลูกค้าต้องการตราสารหนี้คุณภาพดี และเป็นตราสารหนี้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ดอกเบี้ยในแต่ละช่วงเวลาด้วย ซึ่ง บลจ.ไทยพาณิชย์ก็นำไปออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์นี้และนำเสนอมา และเราก็คัดเลือกผลิตภัณฑ์นี้ เพราะสอดคล้องกับแนวคิดที่วางเอาไว้ คือ ‘Bond ดีดี กับ SCBDBOND’ ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ก็ได้นำมาเสนอขายให้ลูกค้าต้อนรับปีใหม่ โดยเสนอขายครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 15 มกราคม 2567 นี้
ทั้งนี้ SCBDBOND มีจุดเด่นที่ดีใน 2 ด้านสำคัญ ดีแรกคือ คุณภาพที่ดี เนื่องจากกองทุน SCBDBOND จะคัดเลือกลงทุนเฉพาะตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนที่มีคุณภาพสูง อยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงช่วยลดความกังวลต่อเครดิตของตราสารหนี้ให้นักลงทุนได้ระดับหนึ่ง
ส่วนดีต่อมาคือ กลยุทธ์การลงทุนของ SCBDBOND ซึ่งเป็นกองทุนที่ บลจ.ไทยพาณิชย์ บริษัทในเครือ ทำหน้าที่บริหารกองทุน ซึ่งเรามองว่า จากประสบการณ์ที่สั่งสมมานานทำให้ บลจ. มีความใกล้ชิด เข้าใจตลาด และจะสามารถสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการของลูกค้ากับตลาดได้เป็นอย่างดี สามารถปรับกลยุทธ์เพิ่มหรือลดอายุของตราสารหนี้ (Duration) เพื่อให้สอดคล้องกับจังหวะตลาด ช่วยสร้างผลตอบแทนบนสภาวะดอกเบี้ยในสถานการณ์ดอกเบี้ยทุกรูปแบบ
จะเห็นได้ว่า กว่าที่ธนาคารไทยพาณิชย์จะนำผลิตภัณฑ์กองทุนรวมรายการหนึ่งมาเสนอขายกับนักลงทุนนั้น ผ่านขั้นตอนการกลั่นกรองมามากทีเดียว เพราะธนาคารก็ต้องการส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า เมื่อลูกค้าได้รับสิ่งที่ดีแล้ว สุดท้ายก็จะย้อนกลับมาแสดงผลดีที่ผลการดำเนินงานของธนาคารเอง
คำเตือน
- การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
- กองทุน SCBDBOND เป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ มีความเสี่ยงระดับ 4 คือความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ
- เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไทยพาณิชย์ จำกัด
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 0 2777 7777