×

เตรียมดันนกพิราบไทยแข่งบินไกลเป็นซอฟต์พาวเวอร์

โดย THE STANDARD TEAM
11.01.2024
  • LOADING...

วานนี้ (10 มกราคม) เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคณะ เดินทางถึงจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อตรวจราชการจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 10-12 มกราคม พร้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนและเตรียมประชุมการตรวจไฟป่า ทำแนวกันไฟ รวมถึงหารือแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ

 

โดยนายกรัฐมนตรียังเปิดเผยด้วยว่าได้มีการพูดคุยกับปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทีมงาน ถึงเรื่องการแข่งขันนกพิราบ เช่น ที่เมืองจีนก็มีการแข่งขัน ซึ่งนกพิราบตัวหนึ่งซื้อขายกันหลัก 100 กว่าล้าน และเมื่อสองเดือนที่แล้วก็มี 50 กว่าประเทศเข้ามาแข่งขันที่ประเทศไทย มีเงินหมุนเวียนหลายร้อยล้านบาท ซึ่งเรายังไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้ จึงอยากจะเสนอเรื่องนี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์พาวเวอร์ด้วย

 

จากนกส่งสารสู่เจ้าความเร็ว

 

ในอดีตนกพิราบมีไว้สำหรับการส่งสาร โดยชาวอียิปต์เป็นผู้ริเริ่มนำมาเลี้ยงและฝึกให้ส่งสาร ต่อมาในสมัยสงครามโลก นักบินจะนำนกพิราบติดตัวไป หากเครื่องบินประสบอุบัติเหตุจะปล่อยนกพิราบส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ

 

เมื่อสงครามสิ้นสุดลง เกิดการพัฒนาสายพันธุ์นกพิราบให้อึด อดทน เร็ว และบินได้ไกล เพื่อใช้ในการแข่งขัน

 

แข่งนกพิราบทางไกลคืออะไร

 

การแข่งขันนกพิราบระยะไกลเกิดขึ้นครั้งแรกที่เบลเยียม ในปี ค.ศ. 1818 ต่อมาได้ขยายความนิยมออกไปยังหลายประเทศ โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ ซึ่งปัจจุบันภาคตะวันออกเฉียงใต้ของฟิลิปปินส์เป็นการแข่งนกพิราบที่โด่งดังและโหดที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

 

นกพิราบต้องบินข้าม 3 ห้วงทะเล ต้องเผชิญสภาพอากาศร้อนจัด คลื่นลมทะเล หรือแม้แต่ไต้ฝุ่น ระยะทางไกล 600 กิโลเมตร ใช้เวลาอย่างน้อย 10 ชั่วโมง ทำให้นกพิราบหมดแรงและร่วงตายกลางทางจำนวนมาก และบางส่วนถูกดักซุ่มยิง

 

การแข่งนกพิราบได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในฟิลิปปินส์ รวมถึงประเทศอื่นๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะอินเดีย จีน และไต้หวัน ทำให้นกพิราบที่ดีที่สุดจะมีราคาสูง โดยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีชาวจีนประมูลซื้อนกพิราบแข่งระยะไกลที่ดีที่สุดของเบลเยียมไปในราคาสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 1.25 ล้านยูโร (ราว 45 ล้านบาท)

 

สำหรับประเทศไทย มีการจัดการแข่งนกพิราบนานาชาติถึง 8 ครั้งแล้ว ที่ผ่านมามีผู้สนใจเข้าร่วมจากทั่วโลก ในรอบล่าสุดมีนกพิราบถูกส่งเข้าแข่งขันถึง 10,667 ตัว จาก 51 ประเทศทั่วโลก

 

กลุ่มอนุรักษ์ค้าน

 

ทั้งนี้ กลุ่มพิทักษ์สิทธิสัตว์มองว่าการแข่งขันดังกล่าวนั้นโหดร้าย นกพิราบจะต้องเผชิญภัยต่างๆ จนล้มตาย และนี่ไม่ใช่การกีฬา แต่เพื่อเงินและถ้วยรางวัลสำหรับคนเลี้ยงเท่านั้น

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X