การสร้างเสื้อผ้าที่จะทำให้ชีวิตของคนดีขึ้น
ดีเอ็นเอเบื้องหลังของแบรนด์เสื้อผ้าสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง UNIQLO ทำให้เรากลับมาย้อนคิดถึงการทำแบรนดิ้งของแบรนด์แฟชั่นในตลาดที่ต่างก็มีเป้าหมายที่แตกต่างกันไป บางแบรนด์จับกลุ่มลูกค้าแฟชั่นนิสต้า หลายแบรนด์จับกลุ่มลูกค้าที่เน้นฟังก์ชัน แต่จะมีสักกี่แบรนด์ที่เราจะสามารถพบในตู้เสื้อผ้าของทุกคนได้ ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นนางแบบระดับโลกหรือคุณแม่บ้านที่ไม่ได้ทำงานประจำก็ตาม
ปรัชญา LifeWear ของ UNIQLO
UNIQLO ต้องการสร้างสินค้าที่สามารถเข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม จึงไม่แปลกที่ทุกครั้งที่เราเข้าร้าน UNIQLO จะเจอคนทุกรูปแบบ ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ นักศึกษา ไปจนถึงผู้บริหารระดับสูง นั่นเป็นเพราะเสื้อผ้าของ UNIQLO ได้รับการออกแบบมาให้ ‘เป็นส่วนหนึ่ง’ ของชีวิตประจำวันด้วยปรัชญา LifeWear และความตั้งใจที่จะสร้างเสื้อผ้าที่มีทั้ง 4 คุณสมบัติ ได้แก่ คุณภาพเยี่ยม สวยงาม ราคาจับต้องได้ และใส่สบาย
“เราอยากขายเสื้อผ้าให้กับทุกคน ไม่ใช่แค่คนบางกลุ่มเท่านั้น” ทาดาชิ ยานาอิ ผู้ก่อตั้ง UNIQLO เคยให้สัมภาษณ์ไว้
LifeWear จึงไม่ใช่แค่คอนเซปต์สำหรับคอลเล็กชันใดคอลเล็กชันหนึ่ง แต่เป็นภาพรวม เป้าหมาย และทิศทางที่ UNIQLO ต้องการจะเดินไป
แต่แค่ปรัชญาเบื้องหลังการออกแบบอย่างเดียวคงไม่พอสำหรับความสำเร็จของ UNIQLO ในทุกวันนี้พวกเขาพยายามหาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใส่ในการออกแบบเพื่อทำให้สินค้าตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คนได้อย่างดีที่สุด เริ่มตั้งแต่เทคโนโลยี Heattech เนื้อผ้าที่สามารถดึงความชื้นจากร่างกายเพื่อเปลี่ยนให้เป็นความร้อนและกักเก็บความร้อนไว้ภายใน ไปจนถึงเทคโนโลยี AIRism ที่เป็นขั้วตรงข้ามกัน ด้วยคุณสมบัติระบายความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม
จากนี้ไป AIRism จะกลายเป็นไอเท็มสำคัญในการก้าวไปข้างหน้าของ UNIQLO เพราะคุณสมบัติพิเศษที่จะสามารถครองใจคนไทยได้ไม่ยาก
เทคโนโลยี AIRism คืออะไร
AIRism คือเสื้อที่ออกแบบมาสำหรับใส่ข้างใน เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2012 จากงานวิจัยของทีม Research & Development ของ UNIQLO และ Toray องค์กรพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในเส้นใยและสิ่งทอ เพื่อให้เนื้อผ้าดังกล่าวมีคุณสมบัติช่วยระบายความร้อนและความชื้นได้ดี ทั้งยังช่วยระงับกลิ่นไม่พึงประสงค์
AIRism กับคนไทย
แต่ไม่ใช่ว่าทุกผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจาก UNIQLO จะสามารถปรับเข้ากับวัฒนธรรมของทุกประเทศได้อย่างราบรื่น ยิ่งเป็นเสื้อทับสำหรับใส่ข้างในกับประเทศที่อากาศร้อนชื้นเกือบตลอดปีอย่างบ้านเราด้วยแล้ว การใส่เสื้อสองชั้นจึงไม่เป็นที่นิยมของคนไทย UNIQLO จึงทำการศึกษาเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ของคนไทย พบว่ากลุ่ม Office Worker ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นไปจนถึงผู้บริหารมีความน่าสนใจที่สุด เพราะต้องการความเนี้ยบและดูดีในการแต่งกายในทุกๆ วัน และนวัตกรรมของ AIRism ก็สามารถตอบโจทย์ได้อย่างตรงจุด ทั้งในเรื่องการระบายอากาศได้ดี ทำให้ไม่เห็นรอยเหงื่อบนเสื้อ หรือใส่เป็นเสื้อด้านในกันโป๊ก่อนคลุมเสื้อทับเพื่อเสริมความมั่นใจ โดยไม่ต้องกังวลว่าการใส่เสื้อสองชั้นในประเทศร้อนๆ เช่นนี้จะเป็นอุปสรรคเลยแม้แต่น้อย
นอกจากนี้ UNIQLO มองว่าหากจะให้คนไทยรู้จักนวัตกรรม AIRism ได้มากที่สุดต้องเกิดการบอกต่อประสบการณ์ผ่านช่องทางออนไลน์ เกิดเป็นแคมเปญ AIRism ซึ่งความน่าสนใจของแคมเปญนี้คือทางแบรนด์ไม่ได้ให้อินฟลูเอนเซอร์อย่างศิลปิน ดารา หรือเน็ตไอดอลมาเป็นตัวแทนเหมือนอย่างเคย แต่กลับเลือกกลุ่มผู้บริหารผู้มีวิสัยทัศน์ มีไลฟ์สไตล์รุ่นใหม่จาก Innovative Firm ผู้เป็นที่รู้จักหลายท่านมาเป็นตัวแทนของคนยุคนี้ที่เลือกนวัตกรรมดีที่สุดให้ตัวเองอย่างชาญฉลาด เพื่อส่งเสริมให้ AIRism เป็น Smart Product for Smart Person อย่างแท้จริง
แพม-สิตามนินท์ สุสมาวัตนะกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซุปเปอร์ริช (ไทยแลนด์)
แม็ค-สุนาถ ธนสารอักษร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แรบบิทส์ เทลล์ จำกัด
สุดท้ายแล้วก็กลับมาที่โจทย์ที่ UNIQLO ตั้งไว้ตั้งแต่เริ่มว่าเสื้อผ้าของพวกเขาจะทำให้ชีวิตของคนดีขึ้นจริงไหม และความน่าอัศจรรย์ของเทคโนโลยี AIRism จะครองใจคนไทยเหมือนที่ Heattech เคยทำไว้หรือไม่ คนที่ตอบคำถามนี้ได้คงมีแค่เราคนไทยเท่านั้น