หนึ่งในตัวเลขที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยคือ การที่ลูกค้าของ ttb reserve หรือทีทีบี รีเซิร์ฟ รายหนึ่งยอมจ่ายเงิน 1 ครั้งเป็นจำนวนที่สูงถึง 70 ล้านบาทสำหรับซื้อ ‘ประกันชีวิต’
ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นการจ่ายเงินที่มากขนาดนี้ เพราะแม้สมาคมประกันชีวิตไทยจะประเมินว่า ทั้งปี 2566 จะมีเบี้ยประกันภัยรับรวมประมาณ 6.1-6.2 แสนล้านบาทเติบโตอยู่ในช่วงระหว่าง 0-2% ทว่าลึกลงไปคนไทย 100 คนมีประกันชีวิตไม่ถึง 40 กรมธรรม์ เป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอยู่มากโข เช่น ประเทศญี่ปุ่น ใน 100 คน มี 322 กรมธรรม์ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.22, ประเทศสิงคโปร์ ค่าเฉลี่ย 2.67 และประเทศเกาหลีใต้ มีค่าเฉลี่ย 1.7 เป็นต้น
ดังนั้นการที่ลูกค้าของ ttb reserve จ่ายเงินหลักสิบล้านและพร้อมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีก จึงเป็นเรื่องที่ชวนค้นหาคำตอบเป็นอย่างยิ่ง
กลายเป็นที่มาของการพูดคุยกับ ชวมนต์ วินิจตรงจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารผลิตภัณฑ์พันธมิตรทางธุรกิจกลุ่มลูกค้าบุคคล ธนาคารทหารไทยธนชาต เพื่อเจาะลึกวิธีคิดของคน ‘กลุ่มมั่งคั่ง’ กับการบริหารเงินเพื่อต่อยอดความมั่งคั่งทั้งในวันนี้และส่งต่อมรดกให้ลูกหลานผ่านทั้งประกันชีวิตและการลงทุน
‘ลดหย่อนภาษี’ แรงกระเพื่อมที่ทำให้สนใจ ‘ประกันชีวิต’ มากขึ้น
ชวมนต์เริ่มฉายภาพว่า เมื่อเทียบกับ 20-30 ปีก่อนถือว่าคนไทยเข้าใจ ‘ประกันชีวิต’ มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเหตุผลมาจากการที่รัฐบาลมีการกำหนดกฎที่ระบุว่า คนไทยที่ซื้อประกันชีวิตสามารถลดหย่อนภาษีได้ เกิดแรงกระเพื่อมของตลาดประกันขึ้นมา
“แต่เดิมคนไทยเข้าใจว่าประกันมีไว้เพื่อความคุ้มครอง แต่ตอนนี้มีเรื่องของลดหย่อนภาษีเข้ามาด้วย คนไทยจึงมองว่าประกันมีประโยชน์ขึ้น แต่ยังเน้นไปทางเรื่องลดหย่อนภาษีอยู่ หมายความว่าจะซื้อเพื่อลดหย่อน และหวังว่าระหว่างทางจะมีเงินคืนให้หรือถ้ามีสิทธิประโยชน์อื่นๆ ให้ก็ยิ่งดี ทำให้สัดส่วนของประกันที่เติบโตขึ้นคือประกันกลุ่มสะสมทรัพย์”
แต่สำหรับชวมนต์สิ่งที่ ttb มองคือ การอยากให้คนไทยมองประกันชีวิตเป็นประกันชีวิต ตัวอย่างเช่น หากคนหนึ่งมีเป้าหมายชีวิต อันได้แก่ อยากให้ครอบครัวมีความสุข ลูกมีการศึกษาที่ดี และถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันจนต้องเสียชีวิต สิ่งที่ต้องการหลังจากนั้นคือการให้ครอบครัวสามารถมีเงินใช้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายไปอีก 5 ปี และที่สำคัญคือต้องไม่เป็นหนี้ด้วย
ดังนั้นความเสี่ยงเหล่านี้ประกันสามารถเข้ามาตอบโจทย์ได้ แต่สิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้นคือ การค้นหาวิธีที่ใช้เงินที่น้อยที่สุดและให้ความคุ้มครองที่มากที่สุด “เพราะเราไม่ได้อยากให้ประกันถูกตีว่าเป็นภาระหรือเป็นเรื่องไกลตัว
“ด้วยเหตุนี้สิ่งที่ ttb สื่อออกไปไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารหรือผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อความเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่มของเรา และที่สำคัญคือต้องช่วยปิดความเสี่ยงให้ลูกค้าอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งการดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ใช่เพียงแค่ว่าเราอยากจะขายได้เยอะๆ เท่านั้น”
จากสถิติของ ttb reserve ปัจจุบันมีลูกค้ากลุ่ม Wealth ทั้งหมดกว่า 97,000 ราย มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิที่อยู่ภายใต้การบริหาร (AUM) รวม 7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นลูกค้า 1% ถือ AUM 61% ของทั้งธนาคาร แบ่งเป็น
- Young Wealth (อายุ 41-60 ปี) ประมาณ 40%
- Senior Wealth (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ประมาณ 50%
- 10% เป็นลูกค้ากลุ่ม Wealth ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี
ในจำนวนกลุ่ม Young Wealth อายุตั้งแต่ 41-60 ปี ราว 20,000 ราย เป็นกลุ่มที่มีลูกกำลังศึกษาอยู่ ดังนั้นลูกค้ากลุ่มนี้จึงมองหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่จะเข้ามาตอบโจทย์เรื่องการวางแผนอนาคตของลูก ทั้งด้านการศึกษาและอนาคตก่อนถึงวัยทำงาน จึงเน้นการวางแผนให้มากขึ้น เพื่อมั่นใจว่าลูกจะมีชีวิตที่ดีกว่าปัจจุบัน ซึ่งสามารถแบ่งเป็น
- การวางแผนการศึกษาบุตร เพื่อให้มั่นใจว่าไม่ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น ลูกจะยังได้รับการศึกษาตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ รวมถึงการบริหารความเสี่ยงด้านความผันผวนของค่าเงินสำหรับการกันเงินก้อนนั้นไว้ด้วย
- เพิ่มความมั่นใจว่าแผนที่เตรียมเก็บเงินก้อนไว้เพื่อส่งลูกเรียนต่อนั้น ต่อให้เกิดการสะดุดจากเหตุการณ์ไม่คาดคิด แต่แผนการศึกษายังคงเดินหน้าต่อไปได้
สำหรับ Young Wealth เรื่อง ‘ลูก’ สำคัญที่สุด
Young Wealth ที่บางส่วนจะมีลูกอายุ 5-10 ขวบ ดังนั้นเรื่องลูกจึงเป็นสิ่งที่ถูกให้ความสำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะในแง่ของการศึกษา เพราะสิ่งที่สามารถส่งต่อได้นอกจากความมั่งคั่งแล้วก็คือความรู้ที่จะติดตัวไปตลอด
เมื่อนึกถึงการศึกษาของบุตรหลานสำหรับกลุ่ม Young Wealth จึงต้องวางแผนด้านการเงินและมีการกันเงินไว้สำหรับเรื่องนี้โดยเฉพาะ ทว่ามีหลายคนที่มองข้ามเรื่อง ‘เงินเฟ้อ’ ไป นั่นเพราะในขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ราว 3% แต่เงินเฟ้อในด้านการศึกษากลับเพิ่มขึ้นมาราว 4-5% ด้วยกัน
“ยกตัวอย่างผมเอง สมัยก่อนไปเรียนที่อังกฤษจ่ายค่าเทอม 12,000 ปอนด์ต่อปี แต่ตอนนี้คือ 39,000 ปอนด์ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ นั่นแปลว่า 20 ปีที่ผ่านมาค่าเทอมเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่า หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 4% ในขณะที่อเมริกาจะสูงกว่านี้ เพราะตัวเลขเพิ่มขึ้นไปที่ 6-8% ดังนั้นเงินที่วางแผนไว้วันนี้จึงควรมองเรื่องเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย”
นี่จึงเป็นหน้าที่ของ ttb ที่จะช่วยบริหารจัดการว่าจะสู้กับเงินเฟ้อได้อย่างไร ด้วยการหาวิธีลงทุนอย่างเหมาะสมและไม่ต้องเสี่ยงมาก เพราะบางคนอาจต้องการปิดความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อ ยังไม่ได้มองข้ามไปถึงขั้นสร้างผลตอบแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่ ttb พยายามหาโซลูชันมาตอบโจทย์ลูกค้าที่มีเป้าหมายว่า อย่างน้อยๆ ถ้าลงทุนผิดพลาด เงินต้นต้องอยู่ กลุ่มนี้จึงจะเหมาะกับการลงทุนแบบพรินซิเพิล โพรเทค ที่จะมีทีมเข้ามาดูแลเรื่องการลงทุนโดยเฉพาะ
Senior Wealth มองหาการส่งต่อความมั่งคั่ง
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนทั่วไปประกันอาจมีเป้าหมายเพื่อลดหย่อนภาษี แต่สำหรับกลุ่ม Wealth สถานการณ์ความผันผวนของโลกและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ทำให้คนกลุ่มนี้เริ่มมองหาโซลูชันทางการเงิน เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นและยังคงรักษาความมั่งคั่ง รวมทั้งยังสามารถส่งต่อเป็นมรดกให้ลูกหลานได้
สำหรับกลุ่ม Senior Wealth ชวมนต์เผยว่า ด้วยความที่ลูกค้ากลุ่มนี้มีทรัพย์สินที่เพียงพอแล้ว จึงมองหาการส่งต่อความมั่งคั่งให้กับลูกหลาน จุดนี้เองทำให้พวกเขาต้องการเครื่องมือที่จะเข้ามาตอบโจทย์ เพราะหลายครอบครัวมีลูกหลายคน ดังนั้นการแบ่งให้เท่ากันหรือใครได้เท่าไรจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อไม่ให้กลายเป็นมรดกเลือดในที่สุด
“Senior Wealth เป็นกลุ่มที่ต้องการผู้ช่วยในการบริหารจัดการและให้คำแนะนำ ดังนั้นประกันหรือโซลูชันต่างๆ จึงต้องออกมาปิดความเสี่ยง หลายคนจึงเลือกซื้อประกันแล้วระบุให้ชัดเจนว่าจะให้ใครเท่าไร ขณะเดียวกันประกันบางชนิดยังมีผลตอบแทนในระหว่างทางด้วย”
ขณะเดียวกันก็ยังมีคนอีกกลุ่มที่สามารถรับความเสี่ยงได้มากกว่า สามารถรับได้ว่าหากไปผิดทางจะขาดทุนไม่เกินเท่าไร เช่น ไม่เกิน -5% ซึ่งหากเทียบกับแบบแรก แม้จะมีโอกาสติดลบ แต่ก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงกว่า 3-5 เท่า โดยเงินส่วนนี้สามารถป้องกันความเสี่ยงเงินเฟ้อด้านการศึกษาเพิ่มสูงขึ้นไปได้มากกว่าที่คาดไว้ หรือเป็นเงินทุนสำหรับให้ลูกต่อยอดความรู้ด้านต่างๆ ในอนาคต
“นี่คือคอนเซปต์ที่เราสร้างขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้าสามารถลงทุนแล้วนอนหลับได้อย่างสบายใจ ที่สำคัญคือการต่อยอดให้คุณและคนที่คุณรักก้าวสู่ความมั่งคั่งได้เร็วขึ้น”
ค้นหาวิธีที่ใช้เงินที่น้อยที่สุดและให้ความคุ้มครองที่มากที่สุด
หากย้อนกลับไปข้างต้นจะพบคำกล่าวที่ว่า ‘ค้นหาวิธีที่ใช้เงินที่น้อยที่สุดและให้ความคุ้มครองที่มากที่สุด’ ซึ่งทาง ttb ได้พัฒนาออกมาเป็น ‘โซลูชันประกันชีวิต’ ที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม Young Wealth และ Senior Wealth ไม่ว่าจะเป็น
- ทีทีบี เฟล็กซี่ ไลฟ์ โพรเทค (Flexi Life Protect) ใช้เงินน้อยสุด คุ้มครองสูงสุดกรณีเสียชีวิตทุกกรณี
- ทีทีบี เดอะ เทรเชอร์ (The Treasure) คุ้มครองจากกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุและ Passive Income หรือการสร้างมรดกแบบมีอย่างแผนให้ลูกหลาน
นอกจากนี้ยังมีโซลูชันทางการเงินอื่นๆ ของ ttb ที่ตอบโจทย์การบริหารความมั่งคั่งของกลุ่ม Young Wealth และ Senior Wealth ภายใต้คอนเซปต์ Wellness Investment ที่เป็นโซลูชันที่มีความเสี่ยงต่ำ คุ้มครองเงินต้น แต่ยังได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย เช่น Structured Note และ Structured Fund เป็นต้น
และที่สำคัญสำหรับลูกค้ากลุ่ม Wealth เรามีเอกสิทธิ์พิเศษขั้นสุดจาก ttb ที่มอบให้เป็นสิทธิประโยชน์จากการถือครองบัตร ttb reserve ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวประสานโซลูชันและสิทธิประโยชน์จากการถือครองบัตร โดยให้คะแนนสะสมพิเศษรายปีทุกปี เพื่อให้ลูกค้าสามารถแลกคืนเป็นเงินลงทุน, เครดิตเงินคืน หรือส่วนลดประกัน เพื่อต่อยอดด้านการเงินการลงทุนได้ ยกตัวอย่างเช่น
- กลุ่ม Young Wealth ที่วางแผนเรื่องการศึกษาต่อต่างประเทศ ttb ก็มีบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit: FCD) ที่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 5% ต่อปี ช่วยลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงิน และลดความยุ่งยากเรื่องการโอนเงินไปต่างประเทศด้วยบริการโอนเงินผ่านสมาร์ทโฟน 6 สกุลเงินไปยัง 34 ประเทศปลายทางได้รับเงินเต็มจำนวน ค่าธรรมเนียมเพียง 150 บาท พร้อมทั้งเอกสิทธิ์ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ttb reserve ฟรีค่าธรรมเนียมแปลงสกุลเงินต่างประเทศ 2.5%
- สำหรับลูกค้ากลุ่ม Senior Wealth ยังได้รับโปรโมชันพิเศษ ‘มั่งคั่งล้านพอยท์’ เมื่อซื้อประกันชีวิตจะได้รับคะแนนถึง 10 เท่า ซึ่งมีลูกค้าเคยได้รับคะแนนสูงสุดถึง 32 ล้านพอยท์ในครั้งเดียว
นอกจากนี้ด้วยความพิเศษของบัตรเครดิต ttb reserve ที่ถูกออกแบบภายใต้แนวคิด ‘Earn Fast – Burn Smart’ รับคะแนนเร็ว แลกคะแนนคุ้มค่า เพียงเปิดใช้งานบัตรลูกค้าจะได้รับคะแนนสะสมพิเศษรายปีสูงสุด 180,000 คะแนน โดยไม่ต้องมีการใช้จ่ายผ่านบัตร และทุกการใช้จ่าย 10 บาท รับ 1 คะแนน (ซึ่งบัตรทั่วไป 25 บาท รับ 1 คะแนน) และรับมากขึ้นเป็น 2 เท่าสำหรับจ่ายออนไลน์และโรงพยาบาล เทียบเท่า 5 บาท รับ 1 คะแนน
ลูกค้าสามารถนำคะแนนไปต่อยอดแลกรับสิทธิพิเศษด้านการลงทุนได้อีก เช่น ใช้เพียง 10,000 คะแนนแลกเป็นเงินลงทุนในรูปแบบเครดิตเงินคืนได้ 1,200 บาท หรือแลกเป็นเครดิตเงินคืน 1,000 บาท และยังแลกเป็นส่วนลดประกันได้อีกด้วย
หรือจะใช้คะแนนแลกเป็นของกำนัลจากแคตตาล็อกพิเศษของ ttb reserve ที่มีบริการให้เลือกหลากหลาย เช่น ลิมูซีนรับ-ส่งสนามบิน แพ็กเกจตรวจสุขภาพ สปา กรีนฟีสนามกอล์ฟ และของกำนัลพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย
พร้อมรับสิทธิพิเศษเพิ่มเติม เช่น รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 50% จากร้านอาหารFine Dining, ฟรีค่าธรรมเนียมแปลงสกุลเงินต่างประเทศ 2.5% และฟรีประกันเดินทางคุ้มครองทั้งครอบครัว เป็นต้น
พิเศษ! สำหรับลูกค้า Wealth ที่ยังไม่ถือบัตร สามารถซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ทีทีบี เดอะ เทรเชอร์ และทีทีทีบี เฟล็กซี่ ไลฟ์ โพรเทค รับสิทธิ์ในการสมัครบัตรเครดิต ttb reserve signature ได้ง่ายขึ้นเมื่อซื้อประกันชีวิตที่ร่วมรายการ โดยมีค่าเบี้ยประกันชีวิตรายปีตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป (จากปกติต้องมียอดรวมผลิตภัณฑ์เงินฝาก เงินลงทุน และ/หรือ ประกันชีวิต และ/หรือ ประกันวินาศภัย ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป)
ในยุคที่โลกและเศรษฐกิจเต็มไปด้วยความผันผวน การวางแผนทางการเงินที่มั่นคงและสามารถส่งต่อความมั่งคั่งให้กับลูกหลานได้อย่างมีคุณภาพในอนาคต คือสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้
โซลูชันทางการเงินจาก ttb reserve จึงไม่เพียงแต่ตอบโจทย์ความต้องการในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่ยังช่วยในการรักษาและยกระดับความมั่งคั่ง ตลอดจนยืนยันให้เห็นว่าการวางแผนทางการเงินเป็นเรื่องที่จำเป็นและควรได้รับความสนใจจริงจังไม่ว่าจากใครก็ตาม
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.ttbbank.com/th/reservestdinvest
#ttbreserve #ความสำเร็จต่อยอดได้ไม่มีที่สิ้นสุด #FinancialSolutions #ttb