×

‘เพิ่มตราสารหนี้-เน้นหุ้น Quality Growth’ โซลูชันสร้างผลตอบแทนในยุคเศรษฐกิจซึมยาว ดอกเบี้ยสูงนาน

06.11.2023
  • LOADING...
Quality Growth

ในไตรมาส 3 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป นักลงทุนทั่วโลกต่างคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) น่าจะเข้าใกล้จุดสิ้นสุดวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นแล้ว และผลการประชุมในเดือนกันยายนที่ผ่านมา Fed ได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ แต่มีการส่งสัญญาณถึงภาวะ ‘Higher for Longer’ 

 

ผลตอบแทนของสินทรัพย์ในไตรมาส 3/23 กลุ่มสินทรัพย์เสี่ยงค่อนข้างทรงตัว เช่น ดัชนี MSCI World Index ปรับตัวลง 3.3% หลังจากปรับตัวขึ้นกว่า 15% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 4.5% ส่งผลให้ผลตอบแทนรวมของ Treasury Index ติดลบ และเป็นปีที่ 3 ที่พันธบัตรสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนเป็นลบ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ได้เห็นมากว่า 50 ปี 

 

จับตา 3 ความเสี่ยงสำคัญ 

 

ในไตรมาส 4/23 UOB ประเมินว่า มีความเสี่ยงสำคัญ 3 ประการที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ ดังนี้

 

  1. ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นผลกระทบจากทั้งด้านอุปทานที่ตึงตัวและอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากจีน การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันจะกระทบต่อเงินเฟ้อและอาจส่งผลต่อภาวะ Higher for Longer ที่ยาวนานขึ้น และจะกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจต่อไป โดย UOB คาดว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์มีโอกาสปรับขึ้นสู่ 100 ดอลลาร์ได้ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2024 

 

  1. การยุตินโยบาย Yield Curve Control ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งคาดว่าญี่ปุ่นจะค่อยๆ ยกเลิกนโยบายดอกเบี้ยติดลบในช่วงไตรมาส 1 ปี 2024 และปล่อยให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรญี่ปุ่นอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นเกิน 1% ได้ การปรับนโยบายการเงินนี้อาจส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกที่ก่อนหน้านี้มีการทำ Carry Trade อาจเกิดแรงเทขายได้

 

  1. การอ่อนค่าของเงินหยวนท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน นโยบายการเงินและการคลังที่ออกมาเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่า โดยเฉพาะการใช้นโยบายการเงินที่สวนทางกับสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลต่อการบริโภคและการใช้จ่าย รวมถึงกระทบต่อภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจที่มีหนี้สินเป็นสกุลเงินต่างประเทศ

 

ความเสี่ยงยังปกคลุม 2 มหาอำนาจทางเศรษฐกิจ

 

หากประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2023 UOB ประเมินว่า ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจทั้งสหรัฐฯ และจีน ยังคงถูกท้าทายจากปัจจัยความไม่แน่นอนต่างๆ 

 

โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ (ซึ่งเป็นประเทศแรกในกลุ่มเศรษฐกิจพัฒนาแล้วที่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ย) เติบโตได้ดีกว่าเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วอื่นๆ และยังหลีกเลี่ยงการเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ในปี 2023 ได้ ขณะที่เงินเฟ้อก็มีแนวโน้มลดลงท่ามกลางตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง

 

ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ค่อนข้างแข็งแกร่งอย่างที่ปรากฏ ส่วนหนึ่งได้แรงหนุนจากการกระตุ้นทางนโยบายการคลังที่มีมูลค่าใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ถึง 4.3 แสนล้านดอลลาร์อย่าง Inflation Reduction Act 

 

อย่างไรก็ตาม หากมองไปข้างหน้าในปี 2024 UOB ประเมินว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงหลายประการที่ต้องระวัง ได้แก่ ผลกระทบเชิงบวกจากนโยบายการคลังที่จะค่อยๆ จางหายไป, เงินออมส่วนเกินของครัวเรือนเริ่มลดลง, ผลของนโยบายการเงินที่เข้มงวดจะเป็นตัวฉุดรั้งการเติบโต ด้านเงินเฟ้อแม้จะลดลงเร็วกว่าคาด แต่ยังคงผันผวนก่อนที่จะลดลงสู่ระดับเป้าหมายของ Fed ที่ 2% 

 

ด้านเศรษฐกิจจีน แม้ว่านโยบายจะออกมาน้อยกว่าที่ตลาดคาดหวัง แต่ตลาดหุ้นยังสามารถทรงตัวได้ในไตรมาส 3 ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าภาวะตลาดหมีน่าจะใกล้สิ้นสุดลงแล้ว และเศรษฐกิจจีนยังคงมีเสถียรภาพ นำโดยภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงเผชิญความท้าทายในปัญหาสภาพคล่อง การที่รัฐบาลจีนยังไม่ได้เข้ามาให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่นั้นสะท้อนว่า รัฐบาลจีนมีเป้าหมายที่จะลดขนาดของภาคอสังหาลง แต่จากขนาดของภาคอสังหาที่มีผลต่อเศรษฐกิจ อาจทำให้จีนเผชิญแรงกดดันด้านการเติบโต 

 

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการผลิตทั่วโลกการฟื้นตัวขึ้น และจากระดับมูลค่าหุ้นที่ปรับตัวลงไปมากอาจเป็นโอกาสให้หุ้นจีนกลับมา Outperform ได้ในระยะสั้น 

 

UOB แนะนำลงทุนหุ้น Quality Growth และ Defensive

 

สำหรับคำแนะนำการจัด Asset Allocation ในไตรมาส 4 นี้ UOB ได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นลงจาก Neutral สู่ Slight Underweight จากมุมมองว่าตลาดมีความท้าทายระยะสั้น และระดับราคาที่ไม่ได้อยู่ในระดับที่ถูกหลังจากตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี โดยมีมุมมองแต่ละตลาด ดังนี้ 

 

  • การลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ UOB ให้น้ำหนัก Neutral และแนะนำให้คัดเลือกหุ้นกลุ่มเติบโตที่มีคุณภาพ (Quality Growth) และหุ้น Defensive อย่าง Healthcare ซึ่งจะช่วยให้พอร์ตการลงทุนมีเสถียรภาพ 
  • หุ้นยุโรป จากข้อมูลทางเศรษฐกิจ ยุโรปยังมีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้อำนาจทางราคาของภาคธุรกิจอ่อนแอลงจากอุปสงค์ที่ชะลอตัว อีกทั้งต้นทุนทางการเงินของธุรกิจก็ปรับสูงขึ้น เราให้น้ำหนัก Underweight ในหุ้นยุโรป โดยหากลงทุนควรเลือกกลุ่ม Defensive เช่น สาธารณูปโภค และอุปโภคบริโภค ซึ่งน่าจะมีกำไรที่แข็งแกร่งกว่า
  • หุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา และจะยังได้ประโยชน์จากกระแสเงินไหลเข้าจากกองทุนจากต่างชาติที่มองหาการกระจายการลงทุนออกจากจีน แต่ยังได้สัดส่วนการลงทุนในเอเชีย ซึ่งเราคาดว่าเทรนด์นี้จะยังอยู่และช่วยหนุนหุ้นญี่ปุ่นต่อได้ รวมทั้งระดับมูลค่าหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสปรับตัวดีขึ้นจากการส่งเสริมนโยบายการปฏิรูปธรรมาภิบาลและการซื้อหุ้นคืน
  • แรงเทขายในตลาดหุ้นจีนในช่วงก่อนทำให้ระดับมูลค่าปรับลดลงในระดับที่น่าสนใจ แต่ยังขาดปัจจัยหนุนเชิงบวก ส่งผลให้ในระยะสั้นหุ้นจีนจะคงวิ่งในกรอบ การฟื้นตัวของหุ้นจีนจะชัดเจนได้ก็ต่อเมื่อมีนโยบายสนับสนุนที่ชัดเจนและส่งผลมากขึ้น ในมุมมองของ UOB ค่อนข้างเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ถึงขนาดและระยะเวลาในการออกนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ 

 

ตราสารหนี้คุณภาพดียังเป็น Product Hero

 

UOB ยังคงน้ำหนัก Overweight โดยให้น้ำหนักไปที่ตราสารหนี้คุณภาพดี (Investment Grade) เป็นหลัก เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอตัวลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลให้ผลตอบแทนเทียบความเสี่ยงของตราสารหนี้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวมีความน่าสนใจมากขึ้น ผู้ลงทุนสามารถใช้โอกาสที่อัตราผลตอบแทนระยะยาวปรับสูงขึ้นในปัจจุบันเข้าลงทุนและสร้างพอร์ตที่แข็งแกร่งด้วยตราสารหนี้คุณภาพดี ซึ่งจะเป็นสินทรัพย์ที่มีประโยชน์ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวและดอกเบี้ยนโยบายถึงระดับสูงสุดแล้ว 

 

ส่วนสินทรัพย์ทางเลือกยอดนิยมอย่างทองคำ UOB ยังคงคาดการณ์ว่าทองคำมีโอกาสปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ โดยทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ใช้เพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน แรงกดดันต่อราคาทองคำในช่วงที่ผ่านมาทั้งค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้น น่าจะปรับตัวลงในปี 2024 ซึ่งจะกลับกลายมาเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ โดยคาดการณ์ราคาทองคำที่ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในไตรมาส 4/23 และไตรมาส 1/24 และปรับตัวขึ้นที่ 2,100 ดอลลาร์ในไตรมาส 3 และ 4/24


ทั้งนี้ นักลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมหรือติดต่อที่ปรึกษาทางการเงิน (Client Advisor) ของ UOB Privilege Banking ได้ที่ โทร. 0 2081 0999 หรือคลิก www.uob.co.th/privilegebanking 

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising