จากข้อมูลของกรมสรรพากรของประเทศบราซิลพบว่า ยอดการใช้งานเหรียญ Stablecoin อย่าง USDT พุ่งขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงปี 2023 จนส่งผลให้สัดส่วนกว่า 80% ของธุรกรรมจากคริปโตเคอร์เรนซีทั้งหมดในประเทศมาจากเหรียญ USDT
ณ กลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้ ธุรกรรมจากเหรียญ USDT ในประเทศบราซิลมีมูลค่าสูงถึง 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท ในขณะที่เหรียญคริปโตชั้นนำอย่าง Bitcoin มีมูลค่าการทำธุรกรรมเพียง 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1 ล้านล้านบาท มากกว่าเกือบเท่าตัว
จุดประสงค์ของเหรียญ Stablecoin เหล่านี้คือการถูกออกแบบมาให้มีมูลค่าเท่ากับสกุลเงินตราต่างๆ แบบ 1 ต่อ 1 และโดยส่วนมาก Stablecoin เหล่านี้มักเป็นเงินตราที่ตรึงมูลค่ากับเงินดอลลาร์สหรัฐ เช่น เหรียญ USDT เป็นต้น
ทั้งนี้ ยอดการใช้งานเหรียญ USDT ในประเทศบราซิลก็เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ช่วงปี 2021 แต่มีมูลค่าการทำธุรกรรมแซงหน้า Bitcoin เป็นครั้งแรกในช่วงปีเดือนกรกฎาคม 2022 ซึ่งนับได้ว่าเป็นช่วงจุดสูงสุดของความปั่นป่วนในตลาดคริปโตเลยก็ว่าได้ ที่บริษัทอย่าง Three Arrows Capital และ Voyager Capital พังทลายลงมา
ไม่เพียงเท่านั้น จากข้อมูลของรัฐบาลบราซิลยังพบว่า ภาวะตลาดขาลงของคริปโต หรือที่เรียกกันว่าฤดูหนาวคริปโต ก็ทำให้ยอดธุรกรรมคริปโตในประเทศบราซิลลดลงถึง 25% ณ สิ้นปี 2022 เหลือมูลค่าเพียง 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1 ล้านล้านบาทเพียงเท่านั้น
ซึ่งกรมสรรพากรของบราซิลได้ใช้วิธีทางด้าน AI และการวิเคราะห์ทางระบบที่ซับซ้อน เพื่อประเมินการใช้งานคริปโตของประชากรในประเทศ
นอกจากนี้ รัฐบาลของบราซิลยังเพิ่งผ่านกฎหมายที่ถือว่าคริปโตเป็นสินทรัพย์การลงทุนประเภทหนึ่งไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ (25 ตุลาคม) และหากมีรายได้จากคริปโตที่ไม่ได้เกิดจากภายในประเทศมูลค่าระหว่าง 1,200-10,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 45,000-350,000 บาท ก็จะถูกคิดภาษีในอัตรา 15% และส่วนเกินจากนี้จะคิดภาษีที่ 22.5% เริ่มภายในเดือนมกราคม 2024
โดยแพลตฟอร์มต่างๆ ที่มาดำเนินการในบราซิลก็ต้องเปิดเผยข้อมูลการซื้อขายของลูกค้าต่อรัฐบาลตั้งแต่ปี 2019 แล้ว และสำหรับกำไรจากส่วนต่างราคาที่เกิน 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 245,000 บาทต่อเดือน จะถูกคิดภาษีในอัตรา 15-22.5% แบบอัตราก้าวหน้า
อ้างอิง: