×

เปิดประตูสู่โอกาสคว้าผลตอบแทนทั่วโลก ด้วย ‘Offshore Fund’

28.08.2023
  • LOADING...

นาทีนี้ การถกถามเรื่องเศรษฐกิจและการลงทุน เป็นที่สนใจในทุกแวดวง ทั้งแวดวงธุรกิจ ผู้บริโภค ผู้กำหนดนโยบาย นักวิเคราะห์ และผู้ลงทุนทั่วโลก เหตุก็เพราะว่าข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏออกมานั้นมีความหลากหลาย กระจัดกระจาย และไม่ได้มุ่งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ฉะนั้น การรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสาร และเลือกรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนบริหารความมั่งคั่งของเราได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก 

 

อ้างอิงจากข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน จะเห็นได้ชัดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ล้วนแต่กำลังเผชิญกับมรสุมทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ในฐานะประเทศที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่ล่าสุดเพิ่งถูกสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่าง Fitch Ratings ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Long-Term Issuer Default Rating: IDR) ของสหรัฐอเมริกาเป็น ‘AA+’ จาก ‘AAA’ โดยมุมมองที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) จากเดิมที่มีเครดิตพินิจเป็นลบ (Rating Watch Negative) และคงระดับเพดานอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ (Country Ceiling) ไว้ที่ ‘AAA’

 

นอกจากนี้ เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ประกาศเพิ่มการคาดการณ์การกู้ยืมในไตรมาส 3 จาก 7 แสนล้านสู่ 1 ล้านล้านดอลลาร์อีกด้วย ซึ่งสะท้อนถึงความเปราะบางของนโยบายการคลัง

 

ขณะที่ประเทศจีน ในฐานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ก็ถูกปกคลุมด้วยความไม่แน่นอนหลายประการ โดยโจทย์ใหญ่ที่จีนถูกทั่วโลกจับตาก็คืออัตราการเติบโตของ GDP ซึ่งล่าสุดในไตรมาส 2/66 จีนประกาศ GDP ขยายตัวเพียง 6.3% เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 7.3% ทำให้ตลาดคาดหวังว่ารัฐบาลจีนจะออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวได้ตามเป้าหมายในปีนี้

 

อีกประการหนึ่งคือ สัดส่วนหนี้ต่อ GDP ของจีนเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยตามการประมาณการของ Bloomberg ระบุว่า หนี้ทุกภาคส่วน (Total Debt) ทั้งภาครัฐ เอกชน และครัวเรือนของจีน เพิ่มขึ้นเฉียด 282% ของ GDP ในไตรมาส 2 ซึ่งทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า จีนกำลังเข้าสู่ภาวะ Balance Sheet Recession หรือไม่ 

 

ขณะที่ประเทศไทยเอง ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่าเศรษฐกิจไทยในขณะนี้สามารถกลับมาฟื้นตัวได้ตามศักยภาพการเติบโตที่ระดับ 3-4% แล้ว ขณะที่เงินเฟ้อก็อยู่ในระดับต่ำและในระยะยาวมีแนวโน้มจะเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 1-3% ซึ่งเป็นบริบทที่แตกต่างจากในปีที่ผ่านมาที่เศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัวและมีบางช่วงที่เงินเฟ้อเร่งตัวแรงขึ้นไปเกือบ 8% ทำให้โจทย์การดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. แตกต่างไปจากเดิม และจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทใหม่

 

ปัจจุบัน นักลงทุนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลกได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น และยังสามารถเข้าถึงแหล่งและโอกาสการลงทุนที่กว้างขวางและหลากหลายมากขึ้น ผ่านการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศซึ่งเป็นโอกาสในการบริหารจัดการความมั่งคั่งด้วยเช่นกัน 

 

UOB Privilege Banking แนะนำให้ผู้ลงทุนใช้กลยุทธ์วางไข่ในตะกร้าหลายใบ เพื่อกระจายความเสี่ยงและประเภทสินทรัพย์ลงทุน เพื่อไม่พลาดโอกาสสำคัญในการเพิ่มพูนความมั่งคั่ง นอกเหนือจากนั้น การยกระดับมุมมองการลงทุนสู่ระดับโลก หรือเป็น Global Investor ก็เป็นอีกคุณสมบัติที่ทำให้การลงทุนเป็นไปตามเป้าหมาย 

 

โดยควรจัดสรรการลงทุนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ สำหรับการลงทุนต่างประเทศนั้น Offshore Fund เป็นประตูแห่งโอกาสบานใหญ่ด้านการลงทุน ที่จะช่วยเปิดโอกาสโลกของการลงทุนที่หลากหลายมากขึ้น

 

ทั้งนี้ Offshore Fund ก็คือกองทุนที่จัดตั้งขึ้นในต่างประเทศ และผู้ลงทุนไปลงทุนโดยตรง หรือลงทุนใน Master Fund ซึ่งมีความโดดเด่นที่หลากหลาย 

 

  • ประการแรกคือเรื่องค่าธรรมเนียม: Offshore Fund จะเสียค่าธรรมเนียมให้กับกองทุนหลักเพียงทางเดียว และไม่มีต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน 
  • ประการที่สองคือการจ่ายเงินปันผล: Offshore Fund มีข้อได้เปรียบในการรับเงินปันผล หรือผลกำไรที่ได้มาจากการลงทุน โดยอาจไม่ต้องเสียภาษี หากนำรายได้ที่เกิดขึ้นกลับเข้ามาในประเทศไทยข้ามปีภาษี (โปรดศึกษารายละเอียดเรื่องภาษีเพิ่มเติม) 
  • ประการที่สามคือความหลากหลายในการลงทุน: Offshore Fund บางกองอาจจะเป็นกองที่ในประเทศไทยไม่มีเสนอขาย การลงทุนผ่าน Offshore Fund จึงมีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลายขึ้น เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม Offshore Fund ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน โดยอาจมาจากปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุม เช่น การเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่อาจมีผลต่อการลงทุน การเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจในประเทศที่เลือกลงทุน และอื่นๆ ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินก่อนตัดสินใจลงทุนใน Offshore Fund และทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในแบบนี้ด้วย

 

โดย UOB Privilege Banking แนะนำ Offshore Fund 4 กองทุน ดังนี

 

  1. PIMCO GIS Income E USD Acc กองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก เพื่อสร้าง Income ที่สม่ำเสมอ 

 

  1. Allianz Income and Growth AT USD กองทุนผสมลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก เพื่อสร้าง Income และการเติบโตของเงินทุนในระยะยาว

 

  1. Fidelity Global Dividend A-Acc-USD กองทุนหุ้นทั่วโลก โดยลงทุนในหุ้นที่มีปันผลและมีโอกาสเติบโตของเงินปันผล เพื่อสร้างผลตอบแทนรวมจากเงินปันผลและให้ความสำคัญกับการรักษาเงินลงทุน 

 

  1. Fidelity Asia Pacific Div A-Dis-USD กองทุนเน้นลงทุนในหุ้นภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศที่อยู่ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (EM) โดยคัดเลือกหุ้นที่มีปันผลที่น่าสนใจและมีโอกาสเติบโต เพื่อสร้าง Income และการเติบโตของเงินลงทุนในระยะยาว 

 

นักลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อที่ปรึกษาทางการเงิน (Client Advisor) ของ UOB Privilege Banking ได้ที่ โทร. 0 2081 0999 หรือคลิก www.uob.co.th/privilegebanking 

 

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X