×

OECD เผย 27% ของแรงงานในปัจจุบัน ‘เสี่ยง’ ถูกแทนที่ จากการปฏิวัติ AI

12.07.2023
  • LOADING...
ปัญญาประดิษฐ์

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เปิดเผยรายงานล่าสุดที่พบว่า มากกว่า 1 ใน 4 หรือราว 27% ของจำนวนแรงงานในปัจจุบันกำลังพึ่งพาการทำงาน ที่สามารถถูกแทนที่โดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรืองานอัตโนมัติต่างๆ ส่งผลให้ตำแหน่งเหล่านั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วย AI และทำให้คนที่ทำงานอยู่ในสายงานดังกล่าวตกงาน

 

ปัจจุบัน OECD ซึ่งมีชาติสมาชิกทั้งหมด 38 แห่ง ครอบคลุมตั้งแต่ประเทศมั่งคั่งไปจนถึงกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ กล่าวว่า แม้ขณะนี้จะมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยว่าการกำเนิดของ AI จะมีผลกระทบอย่างมากต่องาน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเบาใจได้ เพราะการปฏิวัติของ AI ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น 

 

ทั้งนี้ ในรายงาน 2023 Employment Outlook ของ OECD ซึ่งแสดงถึงภาพรวมแนวโน้มการจ้างงานประจำปี 2023 พบว่า 27% ของแรงงานโดยเฉลี่ยในกลุ่มประเทศ OECD ที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะถูก AI เข้ามาทำหน้าที่แทน นอกจากนี้ รายงานยังพบว่า ประเทศในยุโรปตะวันออกมีความเสี่ยงมากที่สุด

 

ขณะเดียวกัน 3 ใน 5 ของแรงงานในปัจจุบันยอมรับว่ากังวลเรื่องตกงาน เพราะถูกแทนที่ด้วย AI ภายในช่วงอีก 10 ปีข้างหน้า 

 

สำหรับนิยามของงานที่มีความเสี่ยงสูงสุด ทาง OECD ได้พิจารณาจากงานที่มีทักษะที่ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI มองว่าเป็นทักษะที่เทคโนโลยี AI สามารถทำให้เป็นระบบอัตโนมัติได้ โดยทักษะที่ผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกมานี้มีมากกว่า 25 ทักษะ จากทั้งหมด 100 ทักษะ 

 

การสำรวจครั้งนี้ ทาง OECD ได้ดำเนินการโดยครอบคลุมคนงานราว 5,300 คนในบริษัท 2,000 แห่ง ในภาคการเงินและภาคการผลิตของกลุ่มประเทศ OECD โดยการสำรวจยังมีขึ้นในช่วงเวลาก่อนที่เทคโนโลยี Generative AI อย่าง ChatGPT จะเปิดตัวสู่สาธารณชน 

 

อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า แม้จะมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการกำเนิดของ AI แต่พนักงาน 2 ใน 3 ที่ทำงานกับ AI อยู่แล้วกล่าวว่า ระบบอัตโนมัติทำให้งานของพวกเขามีอันตรายหรือน่าเบื่อหน่ายน้อยลง

 

Mathias Cormann เลขาธิการ OECD กล่าวว่า ท้ายที่สุดแล้ว AI จะส่งผลกระทบต่อพนักงานในที่ทำงานอย่างไร และผลประโยชน์จะมีมากกว่าความเสี่ยงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการดำเนินนโยบายที่คนที่ใช้งานจะดำเนินการ โดย Cormann ย้ำว่า รัฐบาลต้องช่วยพนักงานในการเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง และได้รับประโยชน์จากโอกาสที่ AI จะเข้ามา

 

ยิ่งไปกว่านั้น OECD ยังชี้ว่าค่าจ้างขั้นต่ำและการเจรจาต่อรองร่วมกันอาจช่วยลดแรงกดดันที่เทคโนโลยี AI มีต่อค่าจ้าง ขณะที่ภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแลจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าสิทธิของบรรดาแรงงานจะไม่ถูกละเมิด

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X