สินค้าอุปโภคบริโภคในญี่ปุ่นกว่า 7,000 รายการจ่อขึ้นราคาอีกระลอก รับเงินเยนอ่อนค่าดันต้นทุนพุ่ง สร้างแรงกดดันให้ธุรกิจหลังผู้บริโภคจับจ่ายน้อยลง ฝั่งกระทรวงแรงงานญี่ปุ่นแนะให้บริษัทขึ้นค่าจ้างพนักงานกระตุ้นกำลังซื้อ
Nikkei Asia รายงานว่า บริษัทผู้ผลิตอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศญี่ปุ่นเริ่มวางแผนปรับขึ้นราคาอีกระลอกในปีนี้ เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบและพลังงาน ประกอบกับเงินเยนอ่อนค่า สร้างแรงกดดันให้กับธุรกิจอย่างหนัก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- บริษัทญี่ปุ่น ‘ล้มละลาย’ เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกรอบ 3 ปี พิษโควิดทำรายได้หด เงินเยนอ่อนค่าดันต้นทุนพุ่ง
- บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งเริ่มปรับลดคุณสมบัติด้านภาษาของพนักงานต่างชาติจาก N1 เป็น N3 เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานทักษะสูง
- ต้องรีบซื้อตุน? เหตุยุค ‘เงินเยน’ อ่อนค่าอาจจบแล้ว! หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ แผ่วกว่าคาด ดึงดอลลาร์อ่อน
จากการสำรวจบริษัทชั้นนำ 46 แห่ง ในเดือนธันวาคมปี 2022 ที่ผ่านมา พบว่าบริษัท 27 แห่ง หรือประมาณ 59% ตั้งใจที่จะขึ้นราคาสินค้า แต่บางแห่งเลือกใช้วิธีการปรับลดขนาดสินค้าลงเพื่อขายในราคาเดิม ซึ่งมีเพียงบริษัทเดียวที่บอกว่าจะไม่มีการปรับขึ้นราคาสินค้า หวังรักษาฐานลูกค้าเอาไว้
ด้านการสำรวจในปี 2023 พบว่าหลายๆ ร้านกว่า 59% ได้มีการคาดการณ์ว่าต้นทุนจะมีแนวโน้มสูงขึ้น 10-20% และร้านที่เหลืออีก 28% คาดว่าต้นทุนจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
Teikoku Databank นักวิจัยจากโตเกียว ระบุว่า ในปีที่ผ่านมาบรรดาผู้ผลิตอาหาร 105 ราย มีการขึ้นราคาสินค้ามากกว่า 20,000 รายการ และยังมีสินค้าอีกกว่า 7,000 รายการ เตรียมขึ้นราคาในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายนปี 2023 ซึ่งมากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 50%
สำหรับกลุ่มสินค้าที่เตรียมขึ้นราคา เริ่มตั้งแต่ Nisshin OilliO Group ที่ผ่านมามีการขึ้นราคาน้ำมันปรุงอาหารมากว่า 6 ครั้ง และขณะนี้เตรียมขึ้นราคาน้ำมันมะกอกกับน้ำมันงาอีกครั้งในเดือนมีนาคม ตามด้วยเครื่องปรุงรสอายิโนะโมะโต๊ะ ที่จะขึ้นราคาในสัปดาห์นี้
รวมถึง Otsuka Pharmaceutical เตรียมปรับขึ้นราคา Calorie Mate ในเดือนกุมภาพันธ์ ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เปิดตัวผลิตภัณฑ์มา
เช่นเดียวกับ NH Foods และ Prima Meat Packers ผู้ผลิตแฮมและไส้กรอก 2 ราย ได้ปรับขึ้นราคาสินค้ามาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เพราะได้รับผลกระทบจากต้นทุนเนื้อสัตว์ พลังงาน และสกุลเงินญี่ปุ่นที่อ่อนค่าลง
อีกทั้งผู้บริโภคในญี่ปุ่นมีพฤติกรรมระมัดระวังค่าใช้จ่ายมากกว่าประเทศอื่น ทำให้สินค้าที่ขึ้นราคาขายได้น้อยลง ซึ่งในบางบริษัทต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้
ด้าน Eiichi Gochou ประธาน Lotte กล่าวต่อว่า การปรับขึ้นราคาไม่ได้ช่วยให้ลดต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นได้ เพราะจะยังคงเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากต่อไป
นอกเหนือจากการขึ้นราคาแล้ว จากผลสำรวจล่าสุดยังพบว่า บริษัทต่างๆ พยายามเลือกใช้ซัพพลายเออร์หลายๆ เจ้าเพื่อลดต้นทุนวัตถุดิบ เช่น บริษัทเครื่องดื่ม Kirin Holdings กล่าวว่า กำลังพิจารณาจัดหาวัตถุดิบจากประเทศต่างๆ เพื่อลดต้นทุนด้านการขนส่ง โดยปัจจุบันได้เลือกกระจายสินค้าร่วมกับบริษัทอื่นๆ ผ่าน F-Line
แม้กระทั่งวิกฤตเงินเฟ้อที่แซงหน้าค่าจ้างที่ลดลงในปีนี้ ซึ่งถือเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน จากข้อมูลจากกระทรวงแรงงานของญี่ปุ่นแสดงให้เห็นว่า อัตราการใช้จ่ายซื้ออาหารของครัวเรือนหดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน และราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นจะสร้างความเสียหายถึง 68,760 เยนต่อปี (529.75 ดอลลาร์) ต่อครัวเรือน
ทั้งนี้ กุญแจสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้น คือบริษัทต่างๆ ต้องหันมาพิจารณาการเพิ่มค่าจ้างให้กับพนักงาน
อ้างอิง: