×

เจาะกองทุน SSF/RMF ดาวเด่นสายฮิต กับ SCBRM4 และ SCBLT1-SSF

โดย SCB WEALTH
14.12.2022
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • ตลาดหุ้นทั่วโลกในปี 2565 ให้ผลตอบแทนไม่ดีนัก ไม่ว่าจะเป็นหุ้นสหรัฐฯ หุ้นยุโรป หุ้นจีน หุ้นเวียดนาม หรือแม้แต่กองรีท
  • ปัจจัยกดดันตลาดหุ้นหลักๆ มาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของหลายประเทศเศรษฐกิจสำคัญ อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น และการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ 
  • อย่างไรก็ตาม ภาพของตลาดหุ้นไทยอาจจะต่างออกไปจากตลาดหุ้นโลก เพราะรอบวัฏจักรของเศรษฐกิจไทยนั้นต่างจากประเทศเศรษฐกิจสำคัญ
  • อีกความโดดเด่นของตลาดหุ้นไทยคือการมีหุ้นขนาดใหญ่ที่มีความผันผวนต่ำ และทนทานต่อสภาวเศรษฐกิจถดถอยอยู่จำนวนมาก
  • SCBRM4 และ SCBLT1-SSF จึงเหมาะกับการเข้าลงทุนเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้พอร์ตในยามตลาดหุ้นซบเซา เพิ่มประโยชน์ในระยะยาวและช่วยบริหารภาษี

ช่วงนี้นับว่าเป็นโค้งสุดท้าย SSF/RMF ของปีอย่างแท้จริง นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีต่างก็ต้องรีบลงทุนกันแล้ว แต่นักลงทุนบางคนก็ยังกังวลถึงความเสี่ยงที่จะลงทุนในต่างประเทศ จึงมองหากองทุน SSF/RMF ที่ลงทุนในหุ้นไทย วันนี้เราจะพามาดูกันว่า หุ้นไทยยังคงมีความน่าสนใจอย่างไร และเหมาะแก่การลงทุนในเวลานี้หรือไม่

 

โดยตลอดทั้งปี 2565 นี้ นับว่าเป็นปีที่มีปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุน อาทิเช่น สงครามความขัดแย้งระหว่างประเทศ การเปิดๆ ปิดๆ เมืองจากสถานการณ์โควิด รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 40 ปี การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่แรงและเร็วซึ่งส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นโลก หุ้นสหรัฐฯ หุ้นยุโรป หุ้นจีน หุ้นเวียดนาม หรือแม้แต่กองรีท (REIT) ต่างก็ให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีนัก นักลงทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ แม้จะเคยได้รับผลกำไรอย่างดีใน 1-2 ปีที่ผ่านมา แต่การปรับตัวลงอย่างหนักในปีนี้ทำให้นักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ตื่นตระหนกต่อความผันผวน 

 

แล้วทำไมหุ้นไทยถึงน่าสนใจ

เศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ช่วงการฟื้นตัวไปสู่จุดก่อนโควิด โดยรอบวัฏจักรของเศรษฐกิจไทยกับ 3 อันดับเศรษฐกิจหลักของโลกตอนนี้ต่างกัน โดยพิจารณาจากภาพรวมพบว่า เศรษฐกิจอันดับ 1 สหรัฐอเมริกา กำลังเข้าสู่ช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และในครึ่งหลังของปี 2566 มีโอกาสจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพราะพิษเงินเฟ้อและการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างเร็วและแรงตลอดช่วงปี 2565 

 

เศรษฐกิจอันดับ 2 จีน ยังคงติดกับช่วงการระบาดโควิดและการล็อกดาวน์ในหลายเมือง แม้เศรษฐกิจน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่นโยบายรัฐต่างๆ ยังคาดเดาได้ยาก และคาดว่าในระยะสั้นยังคงกดดันการลงทุน 

 

ขณะที่เศรษฐกิจอันดับ 3 ยุโรป สหภาพยุโรปเจอพิษสงครามรัสเซีย-ยูเครน วิกฤตราคาพลังงานโดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ และอยู่ในภาวะเงินเฟ้อรุนแรงเช่นกัน 

 

จากภาพรวมข้างต้น ทำให้เห็นว่าเราอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ขาลง ตลาดหุ้นอาจจะมีความผันผวนสูง จึงทำให้นักลงทุนที่ต้องการความผันผวนที่ต่ำกว่าและต้องการสร้างโอกาสการเติบโตหันมาสนใจการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทยมีหุ้นแข็งแกร่งที่ทำธุรกิจกึ่งผูกขาดในตลาดคู่แข่งน้อยรายอยู่หลายตัว กิจการเหล่านี้มักอยู่ใน SET100 ในอนาคตอาจจะขยายธุรกิจในแนวทางข้างต้น หรือหากเริ่มอิ่มตัวโตช้าแล้ว ก็มีแนวโน้มที่จะมีเงินสดเหลือมาก และจะจ่ายปันผลออกมาให้แก่นักลงทุนหุ้นไทยเพิ่มขึ้นได้ 

 

สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะยาวแบบลักษณะไม่หวือหวา บีบหัวใจ ก็สามารถเลือกลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นไทยได้ โดยเฉพาะนักลงทุนที่ต้องการลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอย่างกองทุน SSF และ RMF ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นไทย 

 

โดยในวันนี้ขอแนะนำกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นไทยคุณภาพ สำหรับพวกเราสายฮิต เฮตามเพื่อน ซื้อแล้วไม่เหงา กับกองทุนยอดนิยมที่ขายดีอันดับ 1 ของ SCB ในปี 2564 มาเป็นทางเลือกการลงทุน ได้แก่ 

 

1. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 (ชนิดเพื่อการออม) (SCBLT1-SSF)

เน้นหุ้นไทยพื้นฐานดี 70% และตราสารหนี้คุณภาพ 30% 

ระดับความเสี่ยง 6 

  • เป็นกองทุนผสมในประเทศโดยเน้นการลงทุนในหุ้นไทยที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 65-70% ส่วนที่เหลือกระจายลงทุนในตราสารหนี้
  • กองทุนอาจลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund: IFF) ซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการ โดยการลงทุนในหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้กรอบนโยบายการลงทุนของกองทุนซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด 
  • กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีน้ำหนักสูงในกองทุน คือ 1. กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค 18.93% 2. กลุ่มธนาคาร 10.37% 3. กลุ่มพาณิชย์ 9.16%  4. กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 7.92% และ 5. กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ 6.82% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565) 
  • มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
  • เหมาะสำหรับลูกค้าที่รับความผันผวนระหว่างทางได้ และต้องการเพิ่มผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุนส่วนใหญ่ ในหุ้นไทยที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนใน SSF

 

รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scbam.com/th/fund/reduce-taxes/fund-information/scblt1-ssf

 

2. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (SCBRM4)

ลงทุนในหุ้นไทยพื้นฐานดี เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนเหนือตลาด 

ระดับความเสี่ยง 6 

  • กองทุนลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีสภาพคล่องสูง โดยมีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิง SET50  
  • กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีน้ำหนักสูงในกองทุนคือ 1. กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค 23.34% 2. กลุ่มธนาคาร 13.43% 3. กลุ่มพาณิชย์ 10.86% 4. กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 9.75% และ 5. กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ 7.43% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565)
  • เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนใน RMF รวมถึงผู้ที่สามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นที่กองทุนรวมไปลงทุน และสามารถลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว โดยคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป
  • เป็นกองทุนที่ได้รับการจัดอันดับ Overall Rating 3 ดาว จาก Morningstar ประเภท Thailand Fund Equity Large-Cap (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565)

 

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.scbam.com/th/fund/rmf-domestic-investment/fund-information/scbrm4

 

จากที่กล่าวมาทั้งหมดพอทำให้เห็นภาพได้ว่า การลงทุนลดหย่อนภาษีเพื่อการออมระยะยาวในตลาดหุ้นไทยก็สามารถสร้างโอกาสลงทุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยได้ ส่วนการลงทุนนั้นก็ควรต้องเลือกสายที่ใช่คุณให้มากที่สุดด้วยเช่นกัน 

 

คำเตือน: 

  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน RMF/SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน 
  • กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X