×

UN คาดกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาต้องใช้เงินสูงถึง 3.4 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี เพื่อบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

07.11.2022
  • LOADING...
ประเทศกำลังพัฒนา

Kristalina Georgieva ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ออกมาระบุว่า ความช่วยเหลือด้านเงินทุนจากรัฐบาลประเทศร่ำรวยเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำให้ประเทศกำลังพัฒนาบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกได้ โดยระบุว่าการส่งเสริมให้ภาคเอกชนในประเทศเหล่านี้เพิ่มการลงทุนในธุรกิจสีเขียวเป็นสิ่งที่จำเป็นไม่แพ้กัน

 

“เราจะไม่มีวันบรรลุเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกได้ หากเรามัวแต่รอที่จะพึ่งพาเม็ดเงินจากประเทศที่ร่ำรวยเพียงอย่างเดียว เพราะเม็ดเงินที่เราต้องทุ่มให้กับเป้าหมายนี้มีขนาดที่ใหญ่มาก” Georgieva กล่าวระหว่างเข้าร่วมประชุม COP27 ที่อียิปต์


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ผู้อำนวยการ IMF กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือทุกฝ่ายต้องช่วยกันผลักดันให้เกิดการลงทุนสีเขียวของภาคเอกชนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น ควบคู่ไปกับการได้รับความช่วยเหลือของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

 

“เราต้องตระหนักว่าเรายังอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายในการรักษาสภาพภูมิอากาศของโลกเพื่อลูกหลานของเราในอนาคต เราจำเป็นจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 25-50% ภายในปี 2030 แต่ปัจจุบันปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเติบโตอยู่”

 

Georgieva ได้ออกมาให้ความเห็นดังกล่าวหลังองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มเม็ดเงินช่วยเหลือแก่กลุ่มประเทศเปราะบาง เพื่อให้ประเทศเหล่านี้สามารถปรับตัวและเดินหน้าทำตามเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกได้

 

ทั้งนี้ รายงานของ UN ประเมินว่า กลุ่มประเทศเปราะบางและประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องใช้เม็ดเงินระหว่าง 1.6-3.4 แสนล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2030 เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และตัวเลขจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.65 แสนล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2050

 

“การปรับตัวของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องใช้เม็ดเงินสูงถึง 3.4 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี แต่ปัจจุบันกลุ่มประเทศกำลังพัฒนายังได้รับเงินสนับสนุนแค่เพียง 1 ใน 10 ของเม็ดเงินดังกล่าวเท่านั้น ที่สำคัญคือประชากรในประเทศเหล่านี้ยังเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศมากที่สุดอีกด้วย” António Guterres เลขาธิการ UN ระบุ

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X