×

ถอดบทเรียนของ ‘Sea Sand Sun Resort & Villas’ กับการนำธุรกิจโรงแรมที่พึ่งลูกค้าต่างชาติเป็นหลัก ฝ่าวิกฤตโควิดที่ถาโถมแบบไม่ทันตั้งตัว [ADVERTORIAL]

26.10.2022
  • LOADING...
Sea Sand Sun Resort & Villas

HIGHLIGHTS

3 Mins. Read
  • การระบาดของโรคโควิดทำให้เครื่องยนต์หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่าง ‘ภาคการท่องเที่ยว’ ต้องสะดุดลง และคาดว่าต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่กว่าจะสามารถฟื้นตัวได้
  • เพื่อรอช่วงเวลาที่ธุรกิจจะกลับมาเป็นปกติ ผู้ประกอบการธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีความจำเป็นในการประคับประคองธุรกิจตัวเองให้ผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้ ซึ่งหนึ่งในนักสู้ของอุตสาหกรรมนี้ก็คือ ‘โรงแรม Sea Sand Sun Resort & Villas’ ซึ่งมีฐานลูกค้าหลักเป็นชาวต่างชาติ
  • นิธิพัฒน์ ปัจฉิมนันท์ กรรมการผู้จัดการ โรงแรม Sea Sand Sun Resort & Villas เล่าว่า นอกจากการจัดการฝ่ายในซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากพนักงานแล้ว สิ่งที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอดมาได้คือความช่วยเหลือจาก SCB ที่เปรียบเหมือนเพื่อนที่โตมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก

‘ภาคการท่องเที่ยว’ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เพราะในปี 2562 สามารถสร้างรายได้มากถึง 3.01 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 18.6% ของ GDP (Gross Domestic Product หรือผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ) เลยทีเดียว (ข้อมูล: SCB EIC)

 

แต่แล้วเครื่องยนต์ดังกล่าวก็ต้องประสบความท้าทาย เมื่อช่วงต้นปี 2563 เกิดการระบาดของโรคโควิดไปทั่วโลก ก่อให้เกิดการหยุดชะงักของการเดินทาง แน่นอนธุรกิจท่องเที่ยวย่อมได้รับผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้

 

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ออกรายงานที่ระบุว่า ภาพรวมในปี 2563 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวก่อให้เกิดรายได้รวม 0.81 ล้านล้านบาท ลดลง 2.18 ล้านล้านบาท หดตัวร้อยละ 72.79 จากปี 2562 โดยเป็นรายได้ที่ลดลงจากภาคการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ 1.58 ล้านล้านบาท และรายได้จากภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ 0.60 ล้านล้านบาทตามลำดับ

 

โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 6.70 ล้านคน ลดลง 33 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 83.21 จากปีที่ผ่านมา และมีรายได้เท่ากับ 0.33 ล้านล้านบาท หดตัวร้อยละ 82.63 จากปี 2562

 

แม้โควิดจะเกิดขึ้นมาเข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว แต่สถานการณ์ต่างๆ ยังไม่ได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดย SCB EIC ประเมินว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยคาดว่าจะฟื้นตัวกลับไปที่ก่อนโควิดได้ในช่วงปี 2566 ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงปลายปี 2567 

 

โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีกำลังซื้อบางส่วนจะออกเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศมากขึ้น ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัวได้ดีจากนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักของไทยอย่างนักท่องเที่ยวจีน ที่คาดว่าจะกลับมาเดินทางระหว่างประเทศได้ในช่วงปี 2566 เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องต่อการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวไทยที่พึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก และทำให้ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจการบินของไทยเริ่มฟื้นตัวกลับไปเทียบเท่าก่อนโควิดตั้งแต่ปลายปี 2567 เป็นต้นไป

 

สิ่งที่มองข้ามไม่ได้คือ SCB EIC ประเมินว่า ธุรกิจโรงแรมยังเผชิญความท้าทายจาก 

 

  1. ต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น และปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคบริการ 
  2. นักท่องเที่ยวไทยที่มีกำลังซื้อบางส่วนเริ่มเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น 
  3. การแข่งขันที่สูงขึ้นในธุรกิจโรงแรมจากการลดราคาห้องพักของโรงแรมในระดับ 4-5 ดาว รวมถึงการแข่งขันจากโรงแรมที่เคยปิดบริการชั่วคราวที่เริ่มกลับมาให้บริการมากขึ้น

 

เพื่อรอช่วงเวลาที่ธุรกิจกลับมาเป็นปกติ ผู้ประกอบการธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต้องใช้ความพยายามในการประคับประคองธุรกิจตัวเองให้ผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ‘โรงแรม Sea Sand Sun Resort & Villas’ ซึ่งมีฐานลูกค้าหลักเป็นชาวต่างชาติ

 

จัดการเรื่องภายในก่อน

“โดยส่วนตัวแล้ว เราเข้าใจทุกๆ ฝ่าย เพราะว่าเรื่องสุขภาพของคนหรือประชากรเป็นสิ่งที่สำคัญ หากเกิดปัญหาอะไรขึ้นมามากกว่าที่เป็นอยู่ในช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจต่างชาติหรือธุรกิจภายในประเทศก็จะกระทบหมด” นิธิพัฒน์ ปัจฉิมนันท์ กรรมการผู้จัดการโรงแรม Sea Sand Sun Resort & Villas กล่าวถึงความรู้สึกแรกหลังจากที่ทราบว่าจะมีการปิดประเทศเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด

 

Sea Sand Sun Resort & Villas เป็นบูติกโฮเทลที่มีวิลล่าจำนวน 61 หลัง โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ทำเล ซึ่งตั้งอยู่ที่หาดตะวันรอน ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นหาดที่เงียบสงบท่ามกลางธรรมชาติ มีความเป็นส่วนตัว ห่างจากพัทยาใต้ประมาณ 15 นาที มีทะเลที่สวยงาม ชายหาดที่มีความเป็นส่วนตัว และวิวพระอาทิตย์ลับขอบฟ้ายามเย็นที่น่าประทับใจ ซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนประกอบของจุดขายโรงแรมที่ยากจะหาได้ในเมืองพัทยา จึงทำให้เป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งจากยุโรป ยูเครน และคาซัคสถาน รวมไปถึง ไต้หวัน ฮ่องกง จีน และเกาหลีใต้

 

หลังเกิดวิกฤตโควิด นิธิพัฒน์เล่าว่า สิ่งแรกที่ต้องทำคือการจัดการภายใน โดยเฉพาะการลดค่าใช้จ่ายเพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินต่อไป ซึ่งได้มีการเรียกพนักงานทุกคนมาพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน ก่อนที่จะบรรลุข้อตกลงขอปรับการจ่ายเงินเดือนในบางช่วง

 

“ถ้าโรงแรมอยู่ไม่ได้ พนักงานก็อยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราจึงได้รับความร่วมมือส่วนนี้จากพนักงานทุกท่าน ด้วยเราไม่ได้ไล่พนักงานออก แต่การรักษาไว้ก็มีค่าใช้จ่ายเช่นกัน”

 

เมื่อพูดคุยกับพนักงานเสร็จก็เดินหน้าลดค่าใช้จ่ายต่อด้วยการเปิดโรงแรมเพียงบางส่วนเพียง 20 ห้อง พร้อมกับเดินหน้าทำตลาดในกลุ่มลูกค้าชาวไทย ทำให้ช่วงนั้น 90-95% เป็นคนไทยที่มาเข้าพัก

 

เดินหน้ารีโนเวต

จัดการเรื่องภายในเสร็จก็มาจัดการปัจจัยภายนอก ซึ่งส่วนที่สำคัญสุดคือต้นทุนทางการเงินที่ได้รับความช่วยเหลือมาจากธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB

 

“กับ SCB เราช่วยกันมาตลอด ซึ่งนอกจากการพักชำระหนี้แล้ว ความช่วยเหลือสำคัญจาก SCB คือการซัพพอร์ตเรื่องการรีโนเวต สำหรับเตรียมความพร้อมในอนาคตที่มีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้นทุกวัน”

 

จริงๆ แล้วการรีโนเวตเป็นสิ่งที่นิธิพัฒน์บอกว่าต้องการทำมาตลอด แต่ด้วยมีลูกค้าเข้าพักเลยไม่สะดวกที่จะทำการก่อสร้าง ที่ทำได้จึงเป็นการปรับปรุงห้องพัก แต่ไม่ได้ปรับปรุงในภาพรวม แต่เมื่อเกิดโควิดลูกค้าน้อยลง จึงใช้จังหวะนี้ทำในสิ่งที่อยากทำมาตลอด 

 

นิธิพัฒน์ย้ำว่า ความตั้งใจนี้จะสำเร็จไม่ได้เลยหากไม่ได้รับความช่วยเหลือจาก SCB ซึ่งดูแลกันมา 20 ปี ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นก็ได้ SCB เข้ามาให้คำแนะนำตลอด 

 

“สำหรับเรากับ SCB ถือเป็นเพื่อนที่รู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก เพราะนี่ก็ผ่านมาแล้ว 20 ปี ซึ่งเราอยู่กันมาแล้วก็ช่วยเหลือกันมาตลอดเวลา”

 

จุดแข็งอยู่ที่เอกลักษณ์ความเป็นไทย 

แม้จะเกิดการระบาดของโรคโควิด แต่ด้วยความที่การท่องเที่ยวไทยมีจุดแข็งอยู่ที่เอกลักษณ์ของคนไทย ความใส่ใจเรื่องบริการ และอาหารไทยที่อร่อย ทำให้นิธิพัฒน์มองว่า จะเป็นจุดเด่นที่ดึงให้นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาได้ไม่ยาก

 

“เราเชื่อว่าพัทยาจะกลับมาคึกคักเหมือนเดิม นอกจากไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ยังมี EEC (โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก) รวมไปถึงสนามบินอู่ตะเภาซึ่งกำลังจะได้รับการพัฒนา ทำให้ต่อไปนักท่องเที่ยวสามารถบินตรงมาลงได้เลย”

 

สำหรับ Sea Sand Sun Resort & Villas นอกเหนือจากการทำตลาดคนไทยแล้ว ก็จะกลับไปทำตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อให้อัตราการเข้าพักกลับมาอยู่ในระดับเดิมหรือมากกว่าเดิม 

 

แม้ว่าหนึ่งในฐานลูกค้าหลักอย่างรัสเซีย-ยูเครน จะได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้น นิธิพัฒน์จึงจะไปทำตลาดในประเทศอื่นๆ ที่ยังมีศักยภาพ โดยเฉพาะลูกค้า Hi-End ในกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม เอเชียที่เริ่มเปิดประเทศกันแล้ว และยุโรปที่ผู้คนเดินทางกันจำนวนมาก 

 

ซึ่งวิธีการทำตลาดคือร่วมมือกับสายการบินรวมถึง Online Marketing และการใช้ฐานข้อมูลมากำหนดวิธีการทำการตลาด

 

“ผมเดินทางไปต่างประเทศเองตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด ดังนั้นผมจึงได้เป็นผู้ติดต่อบริษัทต่างๆ ด้วยตัวเอง แต่ตอนนี้กลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง บริษัทเล็กๆ จึงอาจจะไม่มีแล้ว ผมจึงติดต่อแต่ละตลาดผ่านบริษัทขนาดใหญ่ 4-5 แห่ง ซึ่งมีข้อดีคือการที่แต่ละบริษัทจะมีฐานลูกค้าหลังจากบริษัทเล็กๆ ปิดตัวไป ทำให้เราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น”

 

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวการฝ่าวิกฤตของ Sea Sand Sun Resort & Villas ซึ่งนิธิพัฒน์ย้ำว่า นอกจากประสบการณ์ส่วนตัวแล้ว ความช่วยเหลือจาก SCB ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ธุรกิจสามารถประคองตัวผ่านมาได้ 

 

สำหรับคนทำธุรกิจ SMEs ที่กำลังมองหาเพื่อนทางธุรกิจที่คอยช่วยเหลือ และสนับสนุนในด้านต่างๆ สามารถลองเข้าไปอ่านข้อมูลและบทความอื่นๆ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจได้ที่ https://www.scb.co.th/th/sme-banking/articles/success-story-and-inspiration-case/seasandsun-Success-Stories-SCB-Branding-Campaign.html 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X