อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ ทองคำ มีความน่าสนใจลงทุนลดลง ส่งผลให้นักลงทุนในประเทศฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา เทขายทองคำออกมา สวนทางกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในจีนและประเทศอย่างตุรกี รวมทั้งไทยด้วย
อย่างไรก็ตาม การขนส่งทองคำไม่สามารถทำได้เร็วเท่ากับความต้องการ ส่งผลให้ราคาทองคำและเครื่องเงินบางประเทศในเอเชียกำลังซื้อ-ขายกันด้วยราคาที่สูงกว่าราคาตลาดโลก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ทองคำแท่ง ที่มีราคาเป็นปอนด์ไต่ขึ้นใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลังชาวอังกฤษแห่ซื้อเพื่อหนีวิกฤตค่าเงิน
- วิเคราะห์ 5 สัญญาณ บ่งชี้ เงินเฟ้อ โลกใกล้ถึงจุดพีค
- นักเศรษฐศาสตร์ฟันธง เงินเฟ้อ ทั่วโลกผ่านจุดพีค แต่จะไม่กลับไปต่ำเท่ากับช่วงก่อนโควิด
โจเซฟ สตีแฟนส์ หัวหน้าฝ่ายเทรดดิ้งของบริษัทซื้อ-ขายทองคำอย่าง MKS PAMP SA มองว่า แรงจูงใจในการถือทองคำลดลง ขณะที่ทองคำกำลังไหลจากฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออก
การเคลื่อนย้ายของทองคำเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรตลาดทองคำในหลายทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อนักลงทุนเทขายและราคาลดลง ผู้ซื้อฝั่งเอเชียจะเข้ามาและเห็นการเคลื่อนย้ายทองคำมายังประเทศฝั่งตะวันออก ช่วยให้ราคาทองคำเริ่มสร้างฐานท่ามกลางตลาดที่อ่อนแอ
จากนั้นเมื่อราคาทองคำเริ่มวิ่งขึ้นอีกครั้ง ทองคำจะเริ่มไหลกลับไปยังศูนย์กลางทางการเงินอย่างนิวยอร์ก ลอนดอน และซูริก
ข้อมูลจาก Swiss Federal Customs Administration ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา จีนเป็นประเทศที่มีการนำเข้าสุทธิสูงที่สุดจำนวน 160 ตัน ขณะที่สหรัฐฯ มีตัวเลขนำเข้าสุทธิติดลบ 136 ตัน และประเทศไทยมีตัวเลขนำเข้าสุทธิ 38 ตัน
ฟิลิป แคลปวิจก์ กรรมการผู้จัดการของ Precious Metals Insights กล่าวว่า ความต้องการมักจะสูงขึ้นเมื่อราคาลดลง ผู้ซื้ออยากได้ทองคำในราคาต่ำลง และตลาดในแต่ละประเทศมักจะมองว่าทองคำอาจมีไม่พอเมื่อราคาลดลง ทำให้ราคาซื้อ-ขายในแต่ละตลาดมักจะสูงกว่าราคาตลาดโลก
จิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ กล่าวว่า ราคาทองคำในไทยกำลังซื้อ-ขายสูงกว่าราคาอ้างอิงที่ตลาดลอนดอน เนื่องจากอุปทานที่มีจำกัดและเงินบาทที่กำลังอ่อน
ขณะที่ราคาเครื่องเงินในอินเดียก็มีกำลังซื้อ-ขายสูงกว่าราคาตลาดอย่างมาก โดย ไชรัก เชฐ มองว่า เป็นผลจากการที่ผู้ค้ากำลังเร่งเติมสต๊อก
อ้างอิง: