‘ผ้าลุยสวน’
ผ้าขาวม้าผืนงามที่จะช่วยมอบความมั่นใจให้กับพี่น้องเกษตรกร
คุณเป็นอีกคนที่ชอบทำสวนและต้องเดินเข้าสวนบ่อยๆ หรือเปล่า รู้หรือเปล่าว่าหากถูกงูกัดแล้วควรต้องทำอย่างไร อย่าเพิ่งคิดว่านี่เป็นเรื่องไกลตัวไป เพราะยิ่งหน้าฝนแบบนี้มักเป็นช่วงที่ตัวเลขคนถูกงูกัดพุ่งสูง แถมยังมีข้อมูลทางสถิติรายงานระบาดวิทยาของกรมควบคุมโรคที่ระบุว่า คนถูกงูพิษกัดในไทยสูงเฉลี่ยถึงปีละ 6,155 คน ซึ่งถือเป็นจำนวนไม่น้อยเลย หากโชคร้ายถูกงูพิษกัดแล้วปฏิบัติไม่ถูกวิธีก็อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะแม้กระทั่งทุกวันนี้เองก็ยังคงมีความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้กันอยู่ อย่างหลายคนที่ชอบเข้าสวนอยู่กับต้นไม้ หรือแม้กระทั่งเกษตรกรหลายๆ คนก็ยังไม่รู้ว่าควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรหากโชคร้ายถูกงูกัด
‘ผ้าลุยสวน’
ผ้าขาวม้าไอเดียแจ่มที่เกิดจากความห่วงใยของปุ๋ยตรามงกฎ
โชคดีที่ THE STANDARD เราสืบทราบมาว่ามีโปรเจกต์ดีๆ นั่นคือ ‘ผ้าลุยสวน’ เกิดขึ้นมาด้วยความตั้งใจอยากช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว โปรเจกต์นี้เกิดจากไอเดียของ ‘ปุ๋ยตรามงกุฎ’ ปุ๋ยคุณภาพซึ่งอยู่คู่กับชาวสวนและเกษตรกรไทยมานานจึงมีความเป็นห่วงสวัสดิภาพของพี่น้องเกษตรกรไทย โปรเจกต์ ‘ผ้าลุยสวน’ นี้เกิดจากการที่ทางแบรนด์สังเกตเห็นถึงปัญหาซึ่งมีชาวสวนหลายๆ คนโพสต์รูปถามตามกลุ่มเกษตรกรในโลกโซเชียลว่างูที่ถ่ายมาคืองูอะไร หากโดนกัดแล้วต้องทำอย่างไร ด้วยความรู้สึกเป็นห่วงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าฝนที่ตัวเลขคนถูกงูกัดมักพุ่งขึ้นสูงอย่างช่วงนี้ ปุ๋ยตรามงกุฎจึงมีคำถามสงสัยต่อว่าแล้วชาวสวนที่ไม่ได้เล่นโซเชียลจะรู้ไหม หรือจะสามารถรับมือกับปัญหาได้หรือเปล่าหากโชคร้ายถูกกัด ซึ่งทุกวันนี้บางพื้นที่เรายังคงเห็นการปฐมพยาบาลที่ผิดวิธี อย่างการใช้ปากดูดพิษงูที่แผล หรือยังรัดด้วยผ้าบริเวณเหนือรอยกัดกันอยู่เลย ทางแบรนด์จึงได้นำเอาปัญหานี้มาคิดต่อยอด จนได้ออกมาเป็นไอเดียในการสื่อสารผ่านผ้าขาวม้า ซึ่งเป็นของติดตัวที่อยู่ในวิถีประจำวันของชาวสวนและเกษตรกรไทยมาช้านาน เพราะเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ ไม่ว่าจะนำไปใช้ซับเหงื่อ ปูรองนั่ง โพกศีรษะกันแดด ผูกทำเปล ใช้มัดแทนเชือก ใช้แทนผ้าพันแผล ฯลฯ ซึ่งเวลาพี่น้องเกษตรกรจะเข้าสวนทีก็มักเอาผ้าขาวม้าเคียนเอวติดตัวไปด้วย
ลวดลายบนผืนผ้าออกแบบมาเป็นพิเศษ
ให้มอบข้อมูลที่มีประโยชน์หากถูกงูกัด
ไอเดียแจ่มที่เกิดจากความห่วงใยของปุ๋ยตรามงกฎ คือคิดว่าจะดีสักแค่ไหนหากสามารถเปลี่ยนผ้าขาวม้าแสนธรรมดาที่ชาวสวนคุ้นชิน เป็นผ้าที่จะช่วยให้รู้ว่าเมื่อโดนงูกัดแล้วต้องทำอย่างไร จึงออกแบบผ้าให้สามารถแนะนำวิธีสังเกตงูพิษ เพราะบางคนก็อาจจะไม่รู้จักวิธีแยกชนิดของงู ลักษณะรอยกัด อาการ ข้อห้ามพร้อมวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น มารวมไว้ภายในผ้าผืนเดียว ซึ่งผ้าผืนนี้ยังสามารถเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือปฐมพยาบาลได้ด้วยเช่นกัน
สิ่งต่างๆ ที่ควรรู้หากถูกงูพิษกัด
- วิธีสังเกตงูพิษ ดูลักษณะงูพิษชนิดต่างๆ ตามภาพ
- งูพิษเขี้ยวหน้า เช่น งูจงอาง งูเห่า งูสามเหลี่ยม
พิษงูมีผลต่อระบบประสาท มักมีอาการหนังตาตก กลืนลำบาก หูอื้อ เหน็บชา
- งูพิษเขี้ยวพับ เช่น งูกะปะ งูแมวเซา
พิษงูมีผลต่อระบบเลือด มักมีอาการเลือดไหลไม่หยุด แผลบวม
- ข้อห้าม ห้ามดูดพิษ ห้ามรัดบริเวณรอยกัด
- วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ล้างน้ำสะอาด ใช้ไม้ดามบริเวณถูกกัด พันด้วยผ้าผืนนี้
- สายด่วนฉุกเฉิน โทร. 1669
นอกจากผ้าผืนนี้จะออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนที่เป็นชาวสวนได้ใช้ประโยชน์กันจริงๆ โดยเปลี่ยนผ้าขาวม้าธรรมดาที่พวกเขาคุ้นชิน เป็นผ้าที่จะช่วยให้รู้ว่าเมื่อโดนงูกัดแล้วต้องทำอย่างไร ‘ปุ๋ยตรามงกุฎ’ ยังได้ร่วมกับกลุ่มทอผ้าบ้านสนวนนอก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งสืบทอดเอกลักษณ์การทอผ้ามาตั้งแต่รุ่นปู่ทวดย่าทวด เป็นผู้ผลิตผ้าผืนนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วย เป็นอีกหนทางหนึ่งจากความตั้งใจอันดีที่ต้องการมีส่วนเพื่อพัฒนาชีวิตที่ดีขึ้นของพี่น้องเกษตรกรไทย นับเป็นโครงการดีๆ ที่เกิดจากความเป็นห่วงเป็นใยสวัสดิภาพพี่น้องเกษตรกรไทยโดยแท้ และยังเป็นวิธีการที่สร้างสรรค์มากอีกด้วย
พี่น้องเกษตรกรไทยสามารแจ้งความประสงค์รับ
‘ผ้าลุยสวน’ ผ้าแทนความห่วงใยจากปุ๋ยตรามงกุฎได้
พี่น้องเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจและรักการเข้าสวน สามารถร่วมกิจกรรมเพื่อลุ้นรับ ‘ผ้าลุยสวน’ กันได้ฟรีๆ วันนี้ ที่ https://shorturl.asia/mQ20H
หรือแอด LINE สอบถามได้ทาง https://lin.ee/rNYeQyq
- ความเจ็บป่วย หรือพิการจากการถูกตัดอวัยวะและเสียชีวิตจากเหตุงูพิษกัด ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขของทั่วโลก เนื่องจากแต่ละปีมีคนถูกงูพิษกัดประมาณ 2.7 ล้านคน เสียชีวิต 81,000-138,000 คน ความสูญเสียส่วนหนึ่งนั้นเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียรวมถึงประเทศไทย
- อ้างอิงจากรายงานระบาดวิทยาของกรมความคุมโรคระบุถึงอัตราของคนถูกงูพิษกัดในประเทศไทย พบว่าในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาแนวโน้มของคนที่ถูกงูพิษกัดลดลงเรื่อยๆ เช่น ในปี 2549 อยู่ที่อัตรา 13.25 ต่อประชากรแสนคน ลดลงมาอยู่ที่ 7.06 ต่อประชากรแสนคนในปี 2558 ทว่าในทางกลับกัน ตัวเลขคนถูกงูพิษกัดแต่ละปียังคงมีค่าเฉลี่ยสูงถึง 6,155 คน ส่วนใหญ่มักถูกกัดในช่วงฤดูฝนต่อเนื่องถึงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตของเกษตรกร
- อ้างอิง: https://news.thaipbs.or.th/content/281247