×

สำรวจแนวทาง ‘รักษ์โลก’ ในวันที่วิกฤตโลกร้อนเป็นเรื่องของทุกคน ผ่านแนวคิดของแบรนด์ไทยและเทศ [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
12.07.2022
  • LOADING...
SCG-JMAT

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • ตอนนี้เรื่อง ‘รักษ์โลก’ ไม่ใช่กระแสอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนตระหนักรู้ถึงวิกฤตที่กำลังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิต เห็นได้จากหลายธุรกิจ หรือแบรนด์ต่างๆ ทั่วโลก พัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังมากขึ้น  
  • ปัจจุบันไอเดียการทรานส์ฟอร์มตัวเองของแบรนด์ต่างๆ ให้เป็นแบรนด์รักษ์โลก หรือใส่ใจรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม มีให้เห็นในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจของตัวเองจะคิดและทำอะไรได้บ้าง เช่น การหมุนเวียนทรัพยากร การคัดวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรักษ์โลกด้วยการใช้วัตถุดิบทดแทน
  • ล่าสุด SCG จับมือกับสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย จัดโครงการ J-MAT Brand Planning Competition เปิดโอกาสให้เยาวชนนักสร้างแบรนด์แห่งอนาคต ได้มีส่วนร่วมผลักดัน SCG Green Choice นำไปสู่โจทย์การประกวดแผนการสร้างแบรนด์ ‘SCG Green Choice: คุณเลือกเพื่อโลกได้’ กระตุ้นให้คนรุ่นใหม่กลั่นไอเดียเจ๋งๆ นำแนวทางของตัวเองไปพัฒนาเป็นแผนปั้นแบรนด์ เพื่อช่วยคนให้มาร่วมกันดูแลโลก

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาภาพการเดินขบวนเพื่อรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมของคนรุ่นใหม่มีให้เห็นบ่อยขึ้น เราได้เห็นผู้คนพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใกล้ๆ ตัว เช่น แยกขยะ, ลด ละ เลิก การใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือการซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ผลิตสินค้าและบริการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันเราก็ได้เห็นหลายธุรกิจ หรือแบรนด์ต่างๆ ทั่วโลก พัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังมากขึ้น ก็เป็นสัญญาณที่ชัดเจนแล้วว่าตอนนี้เรื่อง ‘รักษ์โลก’ ไม่ใช่กระแสอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนตระหนักรู้ถึงวิกฤตที่กำลังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิต 

 

มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU เคยเผยผลวิจัยการตลาดเกี่ยวกับ Voice of Green เพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภครักษ์โลกของไทยจำนวน 1,252 คน พบว่า ผู้บริโภคจำนวน 74% มีโอกาสเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่ม และมีผู้บริโภคถึง 37.6% เป็นกลุ่มรักษ์โลกจริงๆ ที่มองหาผลิตภัณฑ์ Eco เท่านั้น ซึ่งพร้อมจะใช้จ่ายเงินไปกับสินค้าและบริการเพื่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับผลสำรวจผู้บริโภคชาวไทยปี 2022 ของ Mintel บริษัทวิจัยการตลาดระดับโลก พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยประมาณ 82% พยายามทำในสิ่งที่จะไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

 

ในทางกลับกัน ฝั่งผู้ประกอบการธุรกิจและแบรนด์ต่างๆ ก็เริ่มหาทางลงมือทำด้วยวิธีของตัวเอง ที่เห็นมาเนิ่นนานก็เช่น ผู้ผลิตแพ็กเกจจิ้งที่จริงจังกับการนำวัสดุกลับมารีไซเคิล พัฒนาแพ็กเกจจิ้งให้สามารถรีไซเคิลได้ หรือใช้นวัตกรรมเพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแต่ยังคงความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์ได้เช่นเดิม ไปจนถึงเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วที่ยากต่อการรีไซเคิลมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้น และนำกลับมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกใหม่ ช่วยลดปริมาณขยะที่ถูกฝังกลบ และช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการเผาขยะได้  

 

SCG-JMAT

 

ปัจจุบันไอเดียการทรานส์ฟอร์มตัวเองของแบรนด์ต่างๆ ให้เป็นแบรนด์รักษ์โลก หรือใส่ใจรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม มีให้เห็นในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจของตัวเองจะคิดและทำอะไรได้บ้าง เช่น 

 

รักษ์โลกด้วยการ ‘หมุนเวียนทรัพยากร’ นำพลาสติกใช้แล้วมารีไซเคิลเป็นโปรดักต์ใหม่ ให้พลาสติกอยู่ในวงจรการผลิตและการบริโภคได้นานที่สุด เพื่อลดการใช้ทรัพยากรโดยรวม แบรนด์ระดับโลกอย่าง Levi’s ก็นำขวดพลาสติกรีไซเคิลที่ใช้แล้วมาแปรรูปเป็นกางเกงยีนส์ตั้งแต่คอลเล็กชันปี 2013 จนถึงตอนนี้ Levi’s นำขวดพลาสติกรีไซเคิลมาแปรรูปรวมแล้วกว่า 11.9 ล้านขวด หรือ IKEA ก็ผลิต คุงส์บัคก้า (KUNGSBACKA) บานตู้ครัวที่ผลิตมาจากเศษไม้และขวดพลาสติกรีไซเคิล โดย 1 บาน ทำมาจากขวดพลาสติกครึ่งลิตรประมาณ 25 ขวด และถ้าเบื่อบานนี้ อยากเปลี่ยนบานใหม่ ก็สามารถส่งกลับไปรีไซเคิลได้อีก หรือ Qualy แบรนด์ของตกแต่งบ้านไอเดียเก๋ของคนไทย นำพลาสติกใช้แล้วมารีไซเคิลใช้เป็นวัสดุในการผลิตสินค้า และใช้การดีไซน์มาเพิ่มมูลค่าให้พลาสติกรีไซเคิลกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดูน่าใช้งาน และยังสอดแทรกดีไซน์ที่ทำให้รู้สึกถึงความเป็นห่วงโลก ชวนให้คนหยุดคิด และส่งต่อพฤติกรรมรักษ์โลก  

 

 

รักษ์โลกด้วยการ ‘คัดวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ เปลี่ยนวัตถุดิบซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมความงาม ที่สารเคมีหรือสารบางชนิดที่ใส่เครื่องสำอางและสกินแคร์เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม แบรนด์ระดับโลกมากมายหันมาเอาจริง ตั้งแต่การยกเลิกการทดลองผลิตภัณฑ์กับสัตว์ ยกเลิกการใช้เม็ดไมโครบีตส์ซึ่งเป็นพลาสติกขนาดจิ๋วในสบู่ เพราะหากมีการตกค้างลงแม่น้ำจะทำให้เกิดจุลินทรีย์ในน้ำ เกิดมลพิษและการปนเปื้อนสารพิษในห่วงโซ่อาหาร เช่น Jurlique สกินแคร์จากออสเตรเลีย ลงทุนเพาะปลูกส่วนผสมแบบ Biodynamic ที่ไร้สารเคมี หรือ Davines แบรนด์ผลิตภัณฑ์เส้นผมระดับลักชัวรีจากอิตาลี ก็เลือกใช้ส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติ ผสานกับเทคโนโลยีที่ก่อประโยชน์สูงสุด ปลอดภัยกับมนุษย์และสัตว์ บ้านเราก็มีแบรนด์ ReReef ที่เริ่มต้นจากการพัฒนาครีมกันแดดที่มีส่วนผสมจากสารสกัดธรรมชาติ 100% ปราศจากสารฟอกขาว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และปะการัง จนปัจจุบันก็นำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาผลิตเป็นสินค้ารักษ์โลกสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันมากมาย เช่น แปรงสีฟัน ถุงซิปล็อก หลอดซิลิโคน และคอตตอนบัดไม้ไผ่

 

SCG-JMAT

 

อีกรูปแบบหนึ่งที่เริ่มเห็นมากขึ้นคือ ‘รักษ์โลกด้วยการใช้วัตถุดิบทดแทน’ เช่น เลิกใช้หนังแท้ หรือพลาสติก แล้วหันมาใช้วัตถุดิบทางธรรมชาติ หรือวัสดุอื่นๆ ตัวอย่างที่ชัดที่สุดก็เช่น Freitag แบรนด์กระเป๋าที่ทำจากผ้าใบคลุมรถบรรทุก แม้แต่แบรนด์แฟชั่นระดับไฮเอนด์อย่าง Prada ก็ประกาศใช้ไนลอนที่ผลิตจากเศษขยะพลาสติกก้นทะเล เช่น ตาข่ายจับปลา และขยะเส้นใยสิ่งทอ ฝั่งบ้านเราก็มีแบรนด์ UPCYDE ที่นำวัสดุหนังเทียมจากวัตถุดิบทางการเกษตรมาทดแทนหนังที่ย่อยสลายยาก

 

SCG-JMAT

 

นอกจากการใส่ใจในรายละเอียดของการผลิตสินค้าให้สามารถดูแลสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นแล้ว ยังมีแบรนด์ที่สร้างมาเพื่อกระตุ้น หรือชวนคนมารักษ์โลกไปด้วยกันอย่าง ‘SCG Green Choice’ ซึ่งเป็นฉลากรับรองสินค้าของ SCG ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ออกมาเพื่อการันตีว่าสินค้านั้นๆ ผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยืนยันว่าคุณจะได้มีส่วนช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมจากการใช้สินค้านั้นๆ จริงๆ เรียกว่าเป็นแบรนด์ชวนกันรักษ์โลก ที่ให้ทางเลือกในการตัดสินใจซื้อสินค้าให้กับผู้บริโภค  

 

ล่าสุดแบรนด์นี้ก็ยังคงคอนเซปต์การชวน โดยร่วมมือกับสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย จัดเวที J-MAT Brand Planning Competition ประกวดแผนสร้างแบรนด์ ‘SCG Green Choice: คุณเลือกเพื่อโลกได้’ ชวนนักศึกษาคนรุ่นใหม่มาช่วยกันกลั่นไอเดียเจ๋งๆ ในแบบของตัวเอง มาช่วยกันทำแผนปั้นแบรนด์ เพื่อชวนคนมาร่วมกันดูแลโลกต่อไปอีก นี่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่แบรนด์ทำได้เพื่อโลก  

 

SCG-JMAT

 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวทางหรือวิธีการที่ผู้ประกอบการธุรกิจหรือแบรนด์ต่างๆ ได้ลงมือทำ เป็นตัวอย่างที่พอจะหามายืนยันได้ว่าวันนี้หน้าที่ดูแลโลกไม่ใช่เรื่องของใคร แต่เป็นเรื่องของเราทุกคน คนทั่วไปก็ดูแลโลกได้ในบทบาทของตัวเองในชีวิตประจำวัน แบรนด์เองก็ช่วยดูแลโลกได้ในบทบาทของการดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และดูเหมือนความเข้มข้นและจริงจังของทุกกลุ่มจะขยายวงกว้างขึ้นทุกวัน จนทำให้คิดว่านี่ไม่ใช่แค่กระแสหรือทางเลือก แต่เป็นทางรอดที่ทุกคนต้องช่วยกัน

 

คุณเองก็สามารถออกแบบวิธีดูแลโลกในแบบของตัวเองได้ ช่วยกันดูแลโลกก่อนจะสายเกินแก้ 

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X