แม้ว่า Metaverse จะเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่คำนี้ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมาก หลังจากที่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ประกาศรีแบรนด์ Facebook เป็น Meta เมื่อเดือนตุลาคม 2021 และบริษัทจะมุ่งเน้นไปที่การสร้าง Metaverse อย่างไรก็ตาม บริษัท Meta ถูกวิจารณ์ว่ากำลังเดิมพันอนาคตของธุรกิจในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง รวมถึงความไม่เชื่อมั่นของผู้คนที่มีต่อ Mark Zuckerberg ในเรื่องการเก็บข้อมูลและความเป็นส่วนตัว สิ่งเหล่านี้กำลังทำให้บริษัทโซเชียลยักษ์ใหญ่ดิ่งลงเหว
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เดิมพันบริษัทกับ Metaverse
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก กล่าวว่า บริษัทของเขากำลังมุ่งมั่นไปที่ Metaverse เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเขาเผยว่าการระบาดใหญ่ของโควิดจากการล็อกดาวน์และการขาดการพบปะสังสรรค์ทำให้เขาตัดสินใจสร้างผลิตภัณฑ์จากสิ่งเหล่านี้ บริษัทยังได้ทุ่มเงินลงทุนมหาศาลถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ใน Metaverse ซึ่งเป็นมูลค่า 5 เท่าของเงินที่ Facebook จ่ายเพื่อซื้อ Oculus VR ในปี 2014 และ 10 เท่าของบริษัทที่จ่ายเพื่อซื้อ Instagram ในปี 2012
บทความที่เกี่ยวข้อง:
- พนักงานบ่นอุบ ‘มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก’ มัวแต่ ‘หมกมุ่น’ อยู่แต่ Metaverse แม้ยังไม่มีกลยุทธ์ที่ชัดเจน จนบางส่วนตัดสินใจลาออกจาก Facebook
- โจทย์หิน Facebook แม้เปลี่ยนชื่อสู่ Meta แต่งานนี้ไม่หมู เพราะกระแส ‘Metaverse’ ยังไร้รูปธรรมที่ชัดเจน
- ‘มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก’ ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่จาก Facebook เป็น ‘Meta’ สะท้อนความทะเยอทะยานที่ต้องการเป็นมากกว่า ‘บริษัทโซเชียลมีเดีย’ และมุ่งสู่ Metaverse
ปัจจุบันบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของโลก ไม่ว่าจะเป็น Google, Apple, Amazon หรือ Microsoft ต่างก็มุ่งมั่นที่จะเข้าสู่โลก Metaverse โดยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ แต่พวกเขาไม่ได้เดิมพันบริษัทเพื่อกำไรในทศวรรษหน้าอย่าง Meta
เหตุใด Metaverse ของ Meta อาจไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คิด
มีเหตุผลหลายประการที่บ่งชี้ว่าโครงการ Metaverse ของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก อาจไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลิตภัณฑ์ ข้อสงสัยในเรื่องการกระจายอำนาจ และความเป็นส่วนตัวในการจัดเก็บข้อมูล
หากซักเคอร์เบิร์กต้องการปฏิวัติ AR บริษัทจะต้องผลิตอุปกรณ์ที่มีความแตกต่างจากคู่แข่ง และเนื่องจาก Meta ไม่ใช่บริษัทฮาร์ดแวร์หรือเคยเปิดตัวอุปกรณ์ใดๆ ด้วยตัวเองมาก่อน ทำให้เกิดข้อสงสัยในเรื่องนี้อย่างมาก เมื่อเทียบกับ Google และ Microsoft ที่ใช้เงินลงทุนไปกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานจริงแล้ว นอกจากนี้ชุดหูฟัง VR ยังมีการใช้งานที่น้อยมาก เพราะภาคส่วนที่โดดเด่นในโลก Metaverse คือเกม
ความแตกต่างที่ใหญ่ที่สุดระหว่าง Metaverse ของ Meta กับโปรเจกต์ชั้นนำอื่นๆ คือการทำงานของสถาปัตยกรรมบล็อกเชนแบบเปิดที่นักพัฒนาทุกคนสามารถสร้างแอปพลิเคชัน Metaverse บนบล็อกเชนแบบเปิดได้ และผู้ใช้ทุกคนสามารถถือครองอสังหาริมทรัพย์เสมือนจริงของตนเองและมีส่วนร่วมกับทรัพย์สินเสมือนได้ โปรโตคอลการทำงานร่วมกันจะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างบล็อกเชน ทำให้สินทรัพย์ ซึ่งรวมถึงคริปโต เหรียญ Stablecoin โทเคนยูทิลิตี้ และ NFT สามารถถ่ายโอนข้ามเครือข่ายได้
ดังนั้นคำถามที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับแผนของ Meta คือขอบเขตที่บริษัทวางแผนให้ Metaverse สามารถทำงานร่วมกันได้ และการกระจายอำนาจนั่นเอง
และสุดท้าย ชื่อเสียงในอดีตของ Facebook ในเรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัวและการใช้ข้อมูลส่วนตัวในทางที่ผิดยังเป็นสิ่งที่ผู้คนขาดความเชื่อมั่น ไม่มีอะไรที่จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ว่า Meta จะสามารถจัดการกับสแปม การละเมิด หรือกิจกรรมทางอาญาได้อย่างจริงจัง
ล่าสุด Meta กำลังเปิดร้านค้าจริงเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์สำหรับ Metaverse ซึ่งจะเปิดในวันที่ 9 พฤษภาคม ที่ซานฟรานซิสโก ซึ่งถือเป็นการดำเนินการใหม่ๆ ของ Meta ในโลก Metaverse แต่สิ่งนี้จะช่วยยอดขายได้มากน้อยแค่ไหน นับตั้งแต่ Facebook รีแบรนด์เป็น Meta ราคาหุ้นได้ร่วงลงมากกว่า 50% แล้ว เป็นที่น่าสนใจว่า มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นให้กลับมาได้หรือไม่
อ้างอิง: