×

เมื่อ ‘Soft Power’ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ แล้วประเทศไทยจะหยิบไอเท็มไหนส่งออกไปสู้? [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
20.12.2021
  • LOADING...
Garena Soft Power

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • Soft Power สร้างเม็ดเงินมหาศาลไหลเข้าสู่ประเทศและกลายเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย จึงหันมาสนใจแนวคิด Creative Economy หรือการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ พุ่งเป้าไปที่การสร้าง Soft Power หวังให้เป็นพลังขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ 
  • จริงๆ แล้ว Soft Power ไทยก็ไม่ธรรมดา อาหารไทย ละครไทย ภาพยนตร์ไทย ดาราไทย ทั้งฐานแฟนคลับ รางวัลจากเวทีนานาชาติ การยอมรับจากต่างประเทศ สื่อบันเทิงดิจิทัล (Digital Entertainment) ก็เป็นอีกช่องทางในการส่งเสริม Soft Power เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างตลาดอีสปอร์ตไทยในปี 2020 มีมูลค่ามากถึง 27,000 ล้านบาท 
  • การีนา (ประเทศไทย) ผู้พัฒนาและให้บริการเกมออนไลน์ชั้นนำ ร่วมพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมเกมไทยให้ได้มาตรฐานเทียบเคียงกับผู้ผลิตคอนเทนต์ระดับโลก จับมือกับ depa ในโครงการ ‘depa Game Accelerator Program Batch 2’ ยกระดับบุคลากรและวงการเกม ผลักดันบุคลากรให้สร้าง Soft Power ผ่านเกม 

“วัฒนธรรม ค่านิยมการเมือง และนโยบายต่างประเทศ” ถ้า 3 สิ่งนี้คือปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ Soft Power ทำงานตามที่ โจเซฟ เนย์ (Joseph Nye) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้กล่าวไว้

 

แล้ว Soft Power ของไทยมีพลังมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมผู้คน หรือขับเคลื่อนเศรษฐกิจหรือยัง?

 

ภาพยนตร์ แอนิเมชัน เพลง ศิลปะ หรืออาหาร มักถูกใช้เป็นเครื่องมือแฝงตัวอย่างแนบเนียนเพื่อสร้าง Soft Power เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด ทำให้ผู้คนอยากมีส่วนร่วม ไปจนถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมโดยไม่ต้องใช้อำนาจบังคับขู่เข็ญ

 

หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย จึงหันมาสนใจแนวคิด Creative Economy หรือการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ โดยพุ่งเป้าไปที่การสร้าง Soft Power เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารภาพลักษณ์ประเทศ ส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมหลัก สร้างโอกาสให้กับธุรกิจใหม่ จนเกิดการจ้างงานและอาชีพใหม่ให้กับคนในประเทศ  

 

Garena Soft Power

 

ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการใช้พลังของ Soft Power ที่ชัดที่สุดในตอนนี้ต้องยกให้แดนกิมจิ จริงจังถึงขั้นจัดตั้งหน่วยงาน Korea Culture and Content Agency (KOCCA) เพื่อส่งออกความเป็นเกาหลีสู่สายตาโลก สร้างกระแส Korean Wave ด้วยพลัง K-Pop จนเกิดเทรนด์สินค้าเกาหลี อาหารเกาหลี ภาษาเกาหลี ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก 

 

Korean Wave ถูกปลุกอีกครั้งด้วยการเวฟแบบซอฟต์ๆ แต่สะเทือนไปทั่วโลกจากซีรีส์เกาหลี ล่าสุด Squid Game ซีรีส์สัญชาติเกาหลีที่ทำให้คนทั่วโลกรู้จักวัฒนธรรมของเกาหลีมากขึ้น และยกระดับวงการซีรีส์และภาพยนตร์เกาหลีไปอีกขั้น 

 

รายงานจาก The Korea Economic Daily พบว่าในปี 2019 มูลค่าการส่งออกเนื้อหาทางวัฒนธรรมผ่านซีรีส์อยู่ที่ 10.3 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากในปี 2014 ถึง 2 เท่า นอกจากนี้ในรายงานของ Bloomberg ยังชี้ให้เห็นว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปในเกาหลีใต้ในปี 2019 กว่า 13% เพื่อสัมผัสกับวัฒนธรรมป๊อป (Pop Culture) ของเกาหลี สร้างรายได้ให้กับเกาหลีใต้ประมาณ 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 9.1 หมื่นล้านบาท  

 

Garena Soft Power

 

ประเทศญี่ปุ่นก็มี Soft Power ที่ทรงพลังไม่น้อย ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆ มองภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นเปลี่ยนไป ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย จนทำให้รัฐบาลต้องออกนโยบายเพื่อเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์และฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศผ่านการทำ Soft Power เริ่มจากนำเสนอมุมมองการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นในมุมที่ต่างไปผ่านสื่อทุกรูปแบบ ทั้งรายการทีวี เพลง หนังสือการ์ตูนหรือมังงะ ภาพยนตร์อนิเมะ ภายใต้นโยบาย ‘Cool Japan’ ในปี 2012 เพื่อสนับสนุนการส่งออกวัฒนธรรม และเผยแพร่ความคิดสร้างสรรค์แบบญี่ปุ่นไปสู่ชาวโลก ทุกวันนี้ โดเรมอน การ์ตูนมังงะ ภาพยนตร์อนิเมะ J-Pop และ AKB48 คือ Soft Power ที่สร้างรายได้มหาศาล 

 

กลับไปที่คำถามแรก แล้ว Soft Power ของไทยมีพลังมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมผู้คน หรือขับเคลื่อนเศรษฐกิจหรือยัง? 

 

จริงๆ แล้วประเทศไทยมีนโยบายและริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อผลักดันการใช้ Soft Power เช่น โครงการครัวไทยสู่ครัวโลก และโครงการ Thai SELECT ที่มุ่งยกระดับอาหารไทยและร้านอาหารไทย นำเสนออัตลักษณ์ความเป็นไทยให้เป็นที่รู้จักแก่ชาวโลก 

 

ภาพยนตร์ไทย ละครไทย ก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก โกอินเตอร์บุกตลาดสร้างฐานแฟนคลับชาวจีนก็ไม่น้อย ภาพยนตร์วัยรุ่นสะท้อนสังคมอย่าง ฉลาดเกมส์โกง ก็คว้ารางวัลและได้เสียงชื่นชมจากนานาประเทศ เรียกได้ว่าถ้าจะสู้กันที่คอนเทนต์ก็สู้ได้ไม่อายใคร  

 

Garena Soft Power

 

ด้านสื่อบันเทิงดิจิทัล (Digital Entertainment) ก็เป็นอีกช่องทางในการส่งเสริม Soft Power เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างอุตสาหกรรมอีสปอร์ตที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างสูง โดยอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตในปี 2020 มีมูลค่าถึง 28,900 ล้านบาท และมีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตราว 14% ในปี 2021 นอกจากนี้จำนวนผู้ชมการแข่งขันอีสปอร์ตก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปี 2021 คาดว่าจะมีผู้ชมอีสปอร์ตทั่วโลกถึง 474 ล้านคน นั่นหมายถึงโอกาสในการสอดแทรกศิลปะวัฒนธรรมเข้าไปในอุตสาหกรรมนี้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฉากในเกม ตัวละคร เครื่องแต่งกาย หรือดนตรีที่ใช้

 

Garena Soft Power

 

ถ้าพอจำได้ลางๆ Free Fire สุดยอดเกมเอาตัวรอดบนมือถือที่พัฒนาโดย Garena เคยหยิบเอารถตุ๊กตุ๊กมาทำเป็นยานพาหนะในเกม หรือการทำแผนที่ชื่อ ‘บ้านริมน้ำ’ แล้วเอาบ้านเรือนไทย บรรยากาศป่ากล้วยที่สื่อถึงความเป็นอาเซียนเข้าไปใส่ นอกจากจะสร้างความบันเทิงให้กับผู้เล่น นี่คือวิธีกระตุ้นความทรงจำและเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่นสู่สายตาชาวโลกได้อย่างแนบเนียน 

 

กฤตย์ พัฒนเตชะ Senior Director, Head of Garena Online (Thailand) บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) ผู้พัฒนาและให้บริการเกมออนไลน์ชั้นนำ เชื่อมั่นว่าการที่เกมและอีสปอร์ตเป็นที่ยอมรับในวงกว้างอย่างทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจากพลังของ Soft Power “เรามองว่าเกมและอีสปอร์ตมีศักยภาพในการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นไทยรวมถึงทัศนคติที่ดีสู่สังคม ดังนั้น 2 ปีที่ผ่านมา การีนา (ประเทศไทย) จึงริเริ่มโครงการและแคมเปญต่างๆ ที่ผนวกวัฒนธรรมไทยเข้ามาสู่โลกของ Digital Entertainment เช่น RoV Skin Design Contest โครงการแข่งขันออกแบบชุดตัวละครหรือสกิน (Skin) ในเกม RoV (Arena of Valor) เพื่อผลักดันเยาวชนไทยที่มีความสามารถด้านการออกแบบ นำเสนออัตลักษณ์ไทยผ่านตัวละครในเกม หรือการผลักดันการสร้างสังคมออนไลน์ที่เป็นมิตรและปลอดการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ในโปรเจกต์ Respect Your Game ที่รณรงค์ให้เกมเมอร์ไทยภูมิใจในตัวเองและเคารพผู้อื่น”

 

Garena Soft Power

 

กฤตย์ยังกล่าวเสริมว่า การจะใช้ Digital Entertainment เป็นสื่อกลางนำ Soft Power ไปสู่สายตาชาวโลกได้นั้น ต้องมีผู้ผลิต Digital Content ที่มีความสามารถและความพร้อมที่จะตอบโจทย์ผู้บริโภคคอนเทนต์ทั้งในและต่างประเทศเสียก่อน 

 

“วงการเกมไทยยังขาดบุคลากรในสายงาน Game Development อีกมาก การที่เราสามารถสร้างคอนเทนต์เองได้แทนที่จะต้องนำเข้าเนื้อหาจากต่างประเทศเป็นหลักจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้าง Soft Power รวมไปถึงการสร้างการเติบโตของ Creative Economy ด้วย การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสายการผลิตจึงมีความสำคัญ เพราะเรากำลังจะเอาความเป็นไทยไปแข่งในเวทีโลก”

 

ล่าสุด การีนา (ประเทศไทย) จับมือกับ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย และอินโฟเฟด เปิดตัวโครงการ ‘depa Game Accelerator Program Batch 2’ เพื่อร่วมพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมเกมไทยให้ได้มาตรฐานเทียบเคียงกับผู้ผลิตคอนเทนต์ระดับโลก ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมใน 4 หมวดเกมยอดนิยม ได้แก่ Action, Adventure, Strategy และ Sport (Casual Game) พร้อมเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการแล้ววันนี้ถึงวันที่ 3 มกราคม 2022  

 

ผู้ที่ได้รับคัดเลือกในรอบสุดท้ายของแต่ละหมวดเกม ยังได้รับโอกาสต่อยอดไอเดียและหาประสบการณ์เพิ่มเติมกับ Nintendo (Licensed Developer) พร้อมรับการสนับสนุนค่าชุดพัฒนาเกม รวมถึงโอกาสเข้าถึงกลุ่มนักลงทุนและได้ทดลองเกมในตลาดจริง

 

“โครงการนี้จะเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมเกมไทย ด้วยการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเกมมีศักยภาพในการพัฒนาเกม เพิ่มขีดความสามารถให้เทียบเคียงกับผู้ประกอบการระดับโลก ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะหันมาสร้าง Soft Power อย่างจริงจัง เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเคลื่อนไหวดีๆ ในสังคม สร้างเม็ดเงินให้ไหลเข้าประเทศ พร้อมนำเสนอความเป็นไทยให้ทั่วโลกได้เห็นบ้าง” กฤตย์กล่าวทิ้งท้าย

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising