×

บังคับใช้แล้ว! อาคารสูงทุกแห่งต้องติดเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED) เพิ่มโอกาสรอดชีวิตจาก ‘ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน’ [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
14.12.2021
  • LOADING...
AED

HIGHLIGHTS

5 Mins. Read
  • ‘ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน’ (Sudden Cardiac Arrest หรือ SCA) คร่าชีวิตผู้คนในประเทศไทย โดยเฉลี่ยกว่า 50,000 คนต่อปี  จากการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วย SCA ที่เกิดขึ้นนอกโรงพยาบาลเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่ได้รับการทำ CPR จากผู้เห็นเหตุการณ์ ส่วนในสหรัฐอเมริกา SCA เกิดขึ้นโดยเฉลี่ยปีละกว่า 350,000 เคส  กว่า 100,000 เคสเป็นนักกีฬาวัยหนุ่มสาว และในจำนวนนั้นจะมีผู้เสียชีวิตจาก SCA 1 ถึง 3 ราย
  • การรอรับบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน ช่วยให้ผู้ป่วย SCA มีโอกาสรอดชีวิตเพียง 5% เท่านั้น ขณะที่โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นถึง 50% หากได้รับการทำ CPR พร้อมกับการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator หรือ AED) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่พกพาหรือเคลื่อนย้ายได้สะดวก สามารถวิเคราะห์จังหวะและปล่อยกระแสไฟเพื่อช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจผู้ป่วยได้ในกรณีที่จำเป็น
  • ในประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น การเข้าถึงอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษของเจ้าหน้าที่กู้ชีพอาจเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศในกฎกระทรวงเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2564 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2564 กำหนดให้อาคารสูงและและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเหลือเพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วย SCA ก่อนที่เจ้าหน้าที่กู้ชีพจะมาถึง

นาทีที่ คริสเตียน อีริกเซน (Christian Eriksen) กองกลางทีมชาติเดนมาร์กล้มฟุบลงในสนามระหว่างเกมการแข่งขัน UEFA Euro 2020 ทำให้วงการกีฬาทั่วโลกหันมาให้ความสนใจกับภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest หรือ SCA) ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของนักกีฬาวัยหนุ่มสาวในอันดับต้นๆ กว่า 80% ของนักกีฬาที่เสียชีวิตจากภาวะดังกล่าวไม่มีอาการบ่งชี้มาก่อน

 

อีริกเซนได้รับการช่วยเหลือจากการทำ CPR โดยได้รับการปั๊มและกระตุ้นหัวใจด้วยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator หรือ AED) อย่างทันท่วงทีก่อนที่จะถูกส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ถือว่าโชคดีที่เป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตจาก SCA

 

AED

 

ตัวเลขผู้เสียชีวิตจาก SCA ทั่วโลก

ในสหรัฐอเมริกามีผู้เสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน หรือ SCA กว่า 326,000 รายต่อปี มากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และเอดส์รวมกัน ส่วนในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุนี้โดยเฉลี่ยปีละกว่า 50,000 คน

 

SCA เกิดจากการทำงานของระบบไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ ส่งผลให้หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน โดยที่ภาวะดังกล่าวนี้ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกที่ และทุกเวลา ผู้ป่วยจะหายใจลำบากหรือหยุดหายใจและหมดสติในที่สุด  เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมอง ปอด และอวัยวะอื่นๆ ได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยต้องได้รับการช่วยเหลือในทันทีด้วยการทำ CPR ร่วมกับเครื่อง AED ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่พกพาหรือเคลื่อนย้ายได้สะดวก สามารถวิเคราะห์จังหวะและปล่อยกระแสไฟเพื่อช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจผู้ป่วยได้ในกรณีที่จำเป็น

 

ความช่วยเหลือที่รวดเร็ว เพิ่มโอกาสการรอดชีวิต

อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย SCA นั้น สามารถเพิ่มขึ้นมากถึง 50% หากผู้ที่เห็นเหตุการณ์ช่วยเหลือทันทีด้วยการทำ CPR พร้อมด้วยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ แต่หากผู้ป่วยไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที โอกาสรอดชีวิตจะลดลง 10% ในทุกนาที ทั้งนี้ ตามข้อมูลจากสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association หรือ AHA) ผู้ป่วยต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีในช่วง 3-4 นาทีแรกหลังจากเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เพื่อให้การช่วยเหลือนั้นส่งผลดีกับผู้ป่วยมากที่สุด

 

จากการศึกษาพบว่า SCA ที่เกิดขึ้นนอกโรงพยาบาลใน 7 ประเทศในเอเชีย อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่ยังมีการทำงานของระบบประสาทที่ดีอยู่นั้นมีประมาณ 3%  นอกจากนี้ มีผู้ป่วยจากภาวะ SCA ที่เกิดขึ้นนอกโรงพยาบาลน้อยกว่า 1% เท่านั้นที่ได้รับการช่วยเหลือด้วยการช็อกกระตุ้นการเต้นของหัวใจจากผู้เห็นเหตุการณ์ ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการติดตั้งเครื่อง AED ในที่สาธารณะ

 

ทั้งนี้ เครื่อง AED ควรได้รับการติดตั้งในที่ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น บริเวณลิฟต์ หรือโถงบันได และมีการระบุไว้อย่างชัดเจนในแผนผังอาคารที่อ่านง่าย

 

AED

 

อาคารสูงต้องติดตั้งเครื่อง AED

ในประเทศไทย อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษหลายแห่งไม่ได้มีการจัดเตรียมที่จอดสำหรับรถฉุกเฉินหรือรถพยาบาล นอกจากนี้ยังมีอีกหลากปัจจัยที่ทำให้ยากต่อการรับมือเหตุฉุกเฉินและการเข้าถึงผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว

 

ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 69 (พ.ศ. 2564) ประกาศเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ธ้นวาคม 2564 เป็นต้นมา กำหนดให้อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่จัดเป็นอาคารสาธารณะต้องจัดให้มีช่องทางเพื่อให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยหรือเจ้าหน้าที่แพทย์ฉุกเฉินสามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ภายในอาคาร และยังต้องจัดให้มีพื้นที่สำหรับจอดรถฉุกเฉินพร้อมทางเข้าอาคารได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง จัดให้มีลิฟต์เพื่อขนย้ายผู้ป่วยหรือผู้ประสบภัย รวมถึงจัดให้มีพื้นที่หรือตำแหน่งเพื่อติดตั้งเครื่อง AED ในพื้นที่ภายในตัวอาคารที่เข้าถึงได้ง่าย

 

AED

 

คุณสมบัติและเทคโนโลยีของเครื่อง AED

นอกเหนือจากขนาด น้ำหนัก และราคาแล้ว เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ AED ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่แตกต่างกันไปตามผู้ผลิตแต่ละราย สำหรับการเลือกซื้อเครื่อง AED นั้น ควรพิจารณาถึงคุณสมบัติในการช่วยให้ผู้ที่เห็นเหตุการณ์สามารถเข้าให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที เช่น วิธีแนะนำขั้นตอนการทำ CPR ที่อุปกรณ์นำเสนอ อายุการใช้งานแบตเตอรี่ คุณสมบัติการทดสอบตัวเองของเครื่อง และอุปกรณ์ดังกล่าวนั้นสามารถใช้ได้กับทั้งผู้ใหญ่และเด็กหรือไม่

 

นอกจากนี้ ควรมองหาเครื่อง AED ที่มีคุณสมบัติตามคำแนะนำของ AHA และสภาการกู้ชีพยุโรป (European Resuscitation Council หรือ ERC) ควรได้รับการอนุมัติก่อนวางจำหน่าย (Premarket approval หรือ PMA) จากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA)  ได้รับการยอมรับและเลือกใช้โดยหน่วยงานหรือองค์กรระหว่างประเทศ

 

โดยส่วนใหญ่ เครื่อง AED จะมาพร้อมคำแนะนำและแสดงภาพหรือไอคอนเพื่อบอกวิธีปฏิบัติแก่ผู้ใช้งาน และ AED จากผู้ผลิตหลายรายก็มีเครื่องจับจังหวะเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามอัตราความเร็วในการปั๊มหัวใจและการหายใจของผู้ป่วยได้

 

เครื่อง AED ที่จัดจำหน่ายโดย ZOLL® จากประเทศสหรัฐอเมริกา มีคำแนะนำผู้ใช้งานด้วยภาพและเสียง หากผู้ที่ทำ CPR ให้น้ำหนักการกดหน้าอกผู้ป่วยในระดับที่ดีแล้ว หรือแจ้งเตือนเพื่อกระตุ้นให้กดแรงขึ้นอีก หากน้ำหนักในการกดนั้นไม่แรงพอที่จะปั๊มเลือดไปสู่หัวใจ ปอด หรืออวัยวะอื่นๆ ของผู้ป่วยได้ เครื่อง AED จะทำการแนะนำวิธีปฏิบัติในทุกขั้นตอน ช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยมากขึ้นด้วย

 

AED

 

ความสำคัญของการทำ CPR คุณภาพสูง

สององค์กรที่มีบทบาทสำคัญอย่าง ECR และ AHA ต่างเห็นพ้องกันว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออัตราการรอดชีวิตจากภาวะ SCA นั้น คือการที่ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือด้วยการทำ CPR คุณภาพสูงจากผู้กู้ชีพหรือผู้เห็นเหตุการณ์ ทั้งนี้ การทำ CPR คุณภาพสูง เป็นวิธีที่จะช่วยแปลงการเต้นของหัวใจจาก Non-shockable Rhythm เป็น Shockable Rhythm เพื่อช่วยให้มีปริมาณเลือดที่มากพอไปเลี้ยงสมองและอวัยวะสำคัญต่างๆ จนกว่าความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่แพทย์ฉุกเฉินจะมาถึง ทั้งนี้ เมื่อการเต้นของหัวใจอยู่ในระดับ Shockable Rhythm ผู้ป่วยต้องได้รับการทำ CPR ต่อทันทีหลังทำการช็อกกระตุ้นการเต้นของหัวใจไปแล้ว มิฉะนั้นการช็อกกระตุ้นการเต้นของหัวใจอาจไม่ได้ผล

 

องค์ประกอบสำคัญ 5 ประการของการทำ CPR คุณภาพสูง ตามที่องค์กร ERC และ AHA ระบุไว้ในแนวทางปฏิบัติ ประจำปี 2563:

 

  • กดหน้าอกในอัตรา 100-120 ครั้งต่อนาที
  • กดหน้าอกให้ลึก 5-6 เซนติเมตร (2–2.4 นิ้ว)
  • หลีกเลียงการพิงหรือทับบริเวณหน้าอกผู้ป่วย เพื่อให้อกคืนตัวจนสุดหลังการกดแต่ละครั้ง
  • ไม่หยุดกดหน้าอกโดยไม่จำเป็นและหยุดสั้นที่สุด (ค่า Chest Compression Fraction หรือสัดส่วนช่วงเวลาการกดหน้าอกเทียบกับช่วงเวลาในการทำ CPR ทั้งหมด ควรต้องมีค่ามากกว่า 60%)
  • ช่วยหายใจโดยใช้เวลาหายใจเข้าประมาณครั้งละ 1 วินาที ทำให้หน้าอกขยาย แต่ไม่มากเกินไป (Avoiding Excessive Ventilation) (ช่วยหายใจ 2 ครั้ง กดหน้าอก 30 ครั้ง ในกรณีไม่มีอุปกรณ์ช่วยหายใจขั้นสูง (Advanced Airway) ช่วยหายใจ 10 ครั้งต่อนาที ในกรณีใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจขั้นสูง)

 

AED

 

เครื่อง AED จาก ZOLL รองรับการทำ CPR คุณภาพสูง

ผู้ที่เข้าช่วยชีวิตไม่ว่าจะมีประสบการณ์หรือไม่ก็ตาม จะได้รับคำแนะนำในขณะที่ทำ CPR เนื่องจากเป็นการยากที่จะทราบได้ว่า การกดหน้าอกนั้นมีกำลังกดที่แรงหรือเร็วพอ หรือเป็นไปตามแนวทางที่กำหนดเกี่ยวกับอัตราและความลึกในการกดหน้าอกหรือไม่ โดยผู้ปฏิบัติหน้าที่ช่วยชีวิตที่ได้รับข้อมูลแบบเรียลไทม์ จะทราบได้ทันทีว่าวิธีที่กำลังทำอยู่นั้นได้ผลอย่างไร ทำให้โอกาสในการทำ CPR ระดับสูงได้สำเร็จมีมากกว่า

 

ZOLL นำเสนอเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถแนะนำวิธีการทำ CPR ด้วยเทคโนโลยีเซ็นเซอร์จับลักษณะการเคลื่อนไหวในแผ่น CPR อิเล็กโทรด (Electrodes) ของ ZOLL สามารถจับอัตราและความลึกในการกดหน้าอกแต่ละครั้ง และมีเทคโนโลยี Real CPR Help® ที่สามารถแสดงข้อมูลชี้วัดต่างๆ บนหน้าจอของเครื่อง AED

 

ทั้งนี้ ยังมีตัวจับเวลาที่ทำการวัดรอบในการทำ CPR เพื่อให้ผู้ช่วยชีวิตสามารถรักษาจังหวะในการกดหน้าอกที่เหมาะสมได้ ในขณะที่แถบวัดการกดหน้าอกจะแสดงข้อมูลให้ผู้ที่กำลังช่วยชีวิตทราบได้ว่า ควรให้น้ำหนักการกดหน้าอกแรงขึ้นหรือเบาลง นอกจากนี้ ยังมีเครื่องจับจังหวะที่ช่วยบอกถึงอัตราการกดหน้าอกให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ และด้วยเทคโนโลยี Real CPR Help® ที่ช่วยแสดงข้อมูลแบบเรียลไทม์ ผู้ที่ช่วยชีวิตจึงสามารถปรับวิธีการช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยได้รับการทำ CPR คุณภาพสูง

 

เทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นนี้ ช่วยรองรับผู้ใช้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการกู้ชีพมาก่อน ซึ่งน่าจะทำให้เจ้าของหรือผู้ที่มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยในอาคารอุ่นใจได้ว่า ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์จะสามารถเข้าช่วยเหลือผู้ป่วยในนาทีชีวิต ก่อนที่เจ้าหน้าที่ฉุกเฉินจะมาถึง

 

เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่อง AED ของ ZOLL ที่เหมาะสำหรับการติดตั้งในที่สาธารณะ และออกแบบมาเพื่อการช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างทันท่วงทีแม้ไม่มีประสบการณ์กู้ชีพมาก่อนได้ที่ zoll.com/products/aeds/aeds-for-public-access

 

อ้างอิง:

  • Bangkok Heart Hospital website, https://www.bangkokhearthospital.com/en/content/cardiac-arrest. Accessed 27 October 2021.
  • Sudden Cardiac Arrest Foundation website, “Latest Statistics,” sca-aware.org/about-sudden-cardiac-arrest/latest-statistics. Accessed October 25, 2021. 
  • McKelvie RS. Sudden Cardiac Death in Athletes, www.msdmanuals.com/professional/cardiovascular-disorders/sports-and-the-heart/sudden-cardiac-death-in-athletes. Accessed October 25, 2021. https://www.osha.gov/sites/default/files/publications/osha3185.pdf 
  • Sudden Cardiac Arrest Foundation Website, www.sca-aware.org/about-sca. Accessed 14 Nov. 2017.
  • Weisfeldt ML, et al. J Am Coll Cardiol. 2010;55(16):1713–20
  • Royal Thailand Government Gazette, Ministerial Regulation No. 69 B.E.2521 (2021), published June 4, 2021.
  • Kelly R. What happened to Christian Eriksen at Euro 2020? Denmark star’s medical emergency explained.
  • www.goal.com/en-us/news/what-happened-christian-eriksen-euro-2020-denmark-medical/x2rwwvwv64021x72psbvx0r1g. Accessed October 25, 2021. 
  • Drezner JA, et al. HeartRhythm. 2007;4:4 549–565.
  • Cardiovascular Institute of the South website, “Youth Athletes & Sudden Cardiac Arrest: How to Protect Young Hearts,” 3 Aug 2018, www.cardio.com/blog/youth-athletes-sudden-cardiac-arrest-how-to-protect-young-hearts. Accessed 25 October 2021.
  • Sudden Cardiac Arrest Association website, Fact Sheet: Sudden Cardiac Arrest, associationdatabase.com/aws/SCAA/asset_manager/get_file/43858?ver=32583. Accessed 25 October 2021.
  • Mozaffarian D, et al. Circulation. 2015;131:e29–e322.
  • Ong, MEH et al. Resuscitation. 2015;96;100–108.
  • U.S. Food and Drug Administration website, Premarket Approval (PMA), www.fda.gov/medical-devices/premarket-submissions/premarket-approval-pma. Accessed 26 October 2021.
  • European Resuscitation Council website, ERC Guidelines for Resuscitation, https://cprguidelines.eu/. Accessed 25 October 2021.
  • American Heart Association website, American Heart Association Guidelines for CPR and ECC. cpr.heart.org/en/resuscitation-science/cpr-and-ecc-guidelines. Accessed 25 October 2021.
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X