แคมเปญ Lazada 11.11 Our Biggest One-Day Sale ถูกสุดในรอบปี วันนี้วันเดียว และแคมเปญเลขคู่ (Double-Digit) ส่งท้ายปีอย่าง 12.12 ใกล้เข้ามาทุกที ลาซาด้า (ประเทศไทย) ไม่เพียงแต่เตรียมความพิเศษจัดหนักเอาใจนักช้อป ลาซาด้ายังเตรียมเครื่องมือและโซลูชันดีๆ ให้กับผู้ขาย เพื่อสร้างยอดขายเปรี้ยงปังให้กับทุกร้านค้าไปกับลาซาด้า ด้วยการจัดงานสัมมนาออนไลน์เพื่อนักขายสุดยิ่งใหญ่แห่งปี ‘Lazada Seller Opportunity Day 2021 – เปิดร้านปัง ยอดขายเปรี้ยง ไปกับลาซาด้า’ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา ทาง Facebook, YouTube, Laz Live และ Lazada University
งานสัมมนาครั้งนี้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ขาย ตั้งแต่พฤติกรรมผู้บริโภคและเทรนด์อีคอมเมิร์ซ วิธีนำเครื่องมือและโซลูชันบนลาซาด้าไปช่วยเพิ่มยอดขาย หรือกลยุทธ์ในการกระตุ้นยอดขาย เพื่อให้ผู้ขายเตรียมความพร้อมก่อนใช้งานจริงในแคมเปญใหญ่ส่งท้ายปีที่กำลังจะมาถึง โดยผู้เชี่ยวชาญ อาทิ ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thai E-Commerce Association) และเหล่าผู้บริหารจาก Lazada ได้แก่ วีระพงศ์ โก, มัณฑนา หล่อไกรเลิศ และ สุทธิดา รอดสวาสดิ์ พร้อมล้วงลึกประสบการณ์สร้างรายได้หลักล้านกับร้านค้าตัวท็อปของลาซาด้า
ก่อนงานสัมมนาจะเริ่มขึ้น เจมส์ ตง ประธานกรรมการบริหาร ลาซาด้า (ประเทศไทย) ได้พูดเป้าหมายหลักของแบรนด์และจุดประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ว่า “ลาซาด้า ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่ให้บริการผู้ใช้งานต่อเดือนมากกว่า 150 ล้านคนจากทั่วภูมิภาค ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ และที่สำคัญที่สุดคือ ทีมงานที่มีความสามารถของเรา เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่ดิจิทัล งานสัมมนาที่เกิดขึ้นนี้ทีมลาซาด้า ไทยแลนด์ จะนำข้อมูลเชิงลึกของแคมเปญมาช่วยสร้างยอดขายระดับท็อปให้กับผู้ขาย เปิดโอกาสทางธุรกิจสู่ความสำเร็จบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอันดับ 1 ไปด้วยกัน”
อีคอมเมิร์ซไม่ใช่ทางเลือกแต่จะเป็นทางรอดของหลายธุรกิจ
ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thai E-Commerce Association) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Priceza นำข้อมูลเชิงลึกของพฤติกรรมการช้อปปิ้งของคนไทย ช่องทางทำตลาดในโลกยุคใหม่ และเทรนด์ธุรกิจออนไลน์ที่ต้องรู้ มาแบ่งปันเพื่อให้ผู้ขายเข้าใจผู้บริโภคมากขึ้นในห้วข้อ ‘เทรนด์ธุรกิจออนไลน์ที่ผู้ขายต้องรู้’
ประเด็นที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ขายทุกธุรกิจ ได้แก่
- คนไทยใช้เวลาโดยเฉลี่ยบนอินเทอร์เน็ต 8.44 ชั่วโมงต่อวัน และสูงสุดเป็นอันดับ 9 ของโลก
- ใช้ Mobile Internet มากถึง 5 ชั่วโมง 7 นาทีต่อวัน สูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก
- กว่า 92% ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตพบว่า เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยตอบสนองความต้องการได้
- มากถึง 42% อยากทำงานที่บ้านเป็นส่วนมากและเข้าออฟฟิศเป็นครั้งคราว มีเพียง 14% เท่านั้นที่อยากเข้าออฟฟิศทุกวัน
ธนาวัฒน์ยังบอกอีกว่า ช้อปปิ้งเป็นกิจกรรมที่คนไทยทำบนอินเทอร์เน็ตมากเป็นอันดัน 3 รองลงมาจากการใช้เพื่อความบันเทิงอันดับ 1 ส่วนโซเชียลและสื่อสารเป็นอันดับ 2 ใจความสำคัญอยู่ที่พฤติกรรมการช้อปปิ้งของคนไทยส่วนใหญ่จะเป็นไปในรูปแบบของ ‘Omni-Channel Comparison Shopper’ นั่นคือ มากกว่า 9 ใน 10 คน จะหาข้อมูลและเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้อ ไม่ว่าจะซื้อผ่านหน้าร้านหรือออนไลน์ และ 55% ของคนกลุ่มนี้จะใช้ช่องทางออนไลน์ในการหาข้อมูล 28% เช็กข้อมูลออนไลน์และหน้าร้าน และ 10% ไปดูหน้าร้านเท่านั้น มีเพียง 8% ที่ซื้อโดยไม่หาข้อมูลก่อน
ข้อมูลยังพบว่า ปี 2564 การช้อปปิ้งของคนไทยเติบโตขึ้น 5 เท่าตัว สินค้าต่างๆ ที่ขายบนโลกออนไลน์หลากหลายมาก เทียบการค้าของไทยก่อนโควิด-19 ปี 2015-2019 Offline Retail เติบโต 5% ซึ่งในมุมของการค้าปลีกถือว่าเติบโตสูงมาก แต่ Online Retail เติบโตสูงถึง 54% ต่อปี
ช่วงโควิด-19 ปี 2020 Offline Retail การเติบโตถดถอย -5% เนื่องจากพฤติกรรมคนไทยเปลี่ยนฝั่งไป Online Retail พบการเติบโตสูงถึง 81% คาดการณ์ปี 2021 การเติบโตอย่างต่ำเพิ่มขึ้น 21% มูลค่าขยับเป็น 356,000 ล้านบาท นี่คือโอกาสที่ผู้ขายออนไลน์ต้องรู้
สาเหตุสำคัญที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคหันมาจับจ่ายผ่านออนไลน์ ธนาวัฒน์ชี้ให้เห็นว่าเกิดจาก 5 ปัจจัย ได้แก่ โควิด-19 เร่งให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม, ดีลและโปรโมชัน, ช้อปได้ตลอดทุกวัน 24 ชั่วโมง, ประหยัดเวลา และสามารถเปรียบเทียบราคาง่าย
และ 6 ช่องทางหลักที่คนไทยนิยมช้อปปิ้งที่สุดในปี 2021 อันดับ 1 คือ ตลาดอีคอมเมิร์ซ มากถึง 32% รองลงมา 21% ช้อปผ่านโซเชียลมีเดีย และ 13% ใช้งานแอปพลิเคชันครบวงจรและบริการจัดส่งอาหาร และอีก 3 ช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์ของแบรนด์สินค้าขนาดใหญ่, เว็บไซต์ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ และร้านค้าออนไลน์ขนาดเล็ก มีสัดส่วนเท่ากันคือ 12%
“อีคอมเมิร์ซเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนเรียบร้อย และนี่เป็นโอกาสของผู้ขายในการทำตลาด และยุคนี้ไม่จำเป็นต้องเลือกช่องทางใดช่องทางหนึ่งเท่านั้น เพราะอีคอมเมิร์ซจะช่วยให้ผู้ค้าขนาดเล็กใช้หลากหลายช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและสร้างรายได้ไม่จำกัด” ธนาวัฒน์กล่าวทิ้งท้าย
ลาซาด้า เตรียมโปรแกรมช่วยเหลือและสิทธิประโยชน์ช่วยให้ผู้ขาย ‘เปิดร้านปังและทำยอดขายเปรี้ยงไปกับลาซาด้า’
วีระพงศ์ โก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) เกริ่นถึงความสำเร็จของลาซาด้าในปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นปีที่เติบโตและยังครองอันดับ 1 แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีผู้ใช้งานสูงสุดในไทย จำนวนผู้ใช้งานเกือบ 50% ของประชากรไทย สร้างยอดขายเพิ่มขึ้น 1.6 เท่า อย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ซื้อก็เติบโตเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า จากปี 2020 และจำนวนคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปและหันมาช้อปออนไลน์มากขึ้น
“ลาซาด้านเจาะตลาดผู้บริโภคในทุกกลุ่มอายุและภูมิภาค ส่งผลให้มีนักช้อปเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา 1.5 เท่า ผู้ชาย 51% และผู้หญิง 49% อายุ 19-39 ปี มากขึ้น 50% ของผู้ใช้งานทั้งหมด เป็นนักช้อปที่มีกำลังซื้อสูงและจับจ่ายใช้สอยบ่อย และกลุ่มคนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลยังครองตำแหน่งโซนนักช้อป”
วีระพงศ์ชี้ให้เห็นถึงสถิติที่น่าสนใจช่วงแคมเปญ 9.9 ที่ผ่านมา พบว่า มีนักช้อปหน้าใหม่เข้ามาในลาซาด้ามากถึง 200% ชี้ให้เห็นแนวโน้มการเติบโตในลาซาด้าที่ไม่ได้เติบโตแค่กับนักช้อปกลุ่มเดิมๆ แต่ยังขยายไปยังกลุ่มนักช้อปใหม่ๆ อีกทั้งผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลต่อเทรนด์การซื้อสินค้าตั้งเดือนธันวาคม 2563 จนถึงกันยายน 2564 โดยสินค้าอุปโภคบริโภคมีการเติบโตสูงสุด 287% ตามมาด้วยสินค้าอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน 192% และรองลงมาคือสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพที่มีการเติบโต 160% เติบโตเพิ่มขึ้น 12 เท่า
ข้อมูลดังกล่าวนอกจากจะทำให้ผู้ขายได้มองเห็นเทรนด์ของผู้บริโภคแล้ว ทางลาซาด้าเองก็เตรียมโปรแกรมช่วยเหลือมากมายให้กับผู้ขายเพื่อเกาะกระแสเทรนด์นี้ไปพร้อมกับการกระตุ้นยอดขายในเมกะแคมเปญสุดยิ่งใหญ่ที่กำลังจะมาถึง ได้แก่
- ลาซาด้าโบนัส (Lazada Bonus) ฟีเจอร์ที่ช่วยให้ลูกค้าประหยัดเงินมากยิ่งขึ้นเมื่อช้อปบนแพลตฟอร์มลาซาด้า โดยลาซาด้าสนับสนุนร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรมนี้ในการมอบส่วนลดแก่นักช้อปสูงถึง 50% โดยในช่วงแคมเปญ 9.9 ที่ผ่านมา มียอดการใช้ลาซาด้าโบนัสสูงถึง 150 ล้านบาท ภายในเวลา 1 วัน หรือคิดเป็นจำนวนผู้ใช้งานกว่า 11 ล้านคน
- โปรแกรมจัดส่งฟรีพิเศษ (Free Shipping Max) หลังจากเริ่มโปรแกรมนี้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ผู้ขายที่เข้าร่วมโปรแกรมทำยอดขายเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 40% ด้วยข้อเสนอสุดพิเศษของโปรแกรมนี้ที่มอบส่วนลดค่าขนส่งให้กับลูกค้า
- โปรแกรมช้อป 9 บาททุกวัน (Shop 9 THB Everyday) ดีลสุดพิเศษที่นำเสนอสินค้าราคาดีเพื่อดึงดูดกลุ่มนักช้อปผู้แสวงหาสินค้าราคาย่อมเยา และยังเป็นอีกช่องทางที่ช่วยโปรโมตสินค้าให้แก่ร้านค้าใหม่ โดยร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรมนี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาสามารถสร้างการเติบโตได้เฉลี่ยเกือบ 6 เท่า
- เงินคืนทุกวัน (Daily Cashback) โปรแกรมล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัว ซึ่งช่วยเพิ่มการกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น
นอกจากโปรแกรมช่วยเหลือยังเตรียมสิทธิประโยชน์เพื่อสนับสนุนร้านค้าใหม่ให้คว้าโอกาสสร้างยอดขายเปรี้ยง ได้แก่
- บริการที่ปรึกษาส่วนตัว แนะนำขั้นตอนต่างๆ ให้เริ่มต้นเปิดร้านได้อย่างรวดเร็ว
- บัดดี้ร้านค้า โปรแกรมจับคู่ผู้ขายที่มีประสบการณ์กับผู้ขายหน้าใหม่เพื่อให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน
- Laz Expert กูรูจากโปรแกรม Lazada University ที่จะมาสอนเคล็ดลับเด็ดๆ ในการขาย
- แคมเปญพิเศษสำหรับผู้ขายใหม่เพื่อเพิ่มยอดการมองเห็น
- ฟรี! ค่าธรรมเนียมการขาย 0% เป็นระยะเวลา 1 เดือน
- ฟรี! ค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วมโปรแกรม Free Shipping Max เป็นเวลา 1 เดือน
- ฟรี! ค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วมโปรแกรม Daily Cash Back เป็นเวลา 1 เดือน
- คูปองพิเศษที่จะช่วยเพิ่มยอดขาย
เปิดแผนการตลาดสุดปัง พิชิตใจนักช้อปไทย
เมื่อมีเครื่องมือและสิทธิพิเศษสำหรับการเปิดร้านสร้างยอดขายเปรี้ยงแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือแผนการตลาดสุดปัง มัณฑนา หล่อไกรเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) บอกว่า ก่อนวางแผนการตลาด นักขายต้องให้รู้จัก ‘นักช้อป’ ทั้ง 4 ประเภทของลาซาด้าก่อน ได้แก่
- นักช้อปผู้นำเทรนด์ เป็นกลุ่มใหญ่ของลาซาด้า จากสถิติของนักช้อปกลุ่มนี้จะเป็นผู้หญิง อายุ 18-24 ปี คนกลุ่มนี้จะช้อปเพื่อไม่ให้ตกเทรนด์ ค้นหาของใหม่ๆ ซื้อแล้วชอบแชร์สิ่งที่ชอบ
- นักช้อปช่างแสวงหา กลุ่มนี้จะชอบค้นหาสินค้าแปลกใหม่แต่จะต่างตรงที่กลุ่มนี้จะหาข้อมูลสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ สินค้าที่คนกลุ่มนี้สนใจคือสินค้าที่มีรีวิว มีข้อมูลชัดเจนจากร้านค้า ส่วนมากเป็นผู้หญิงอายุ 18-34 ปี
- นักช้อปผู้มีเป้าหมาย ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่มีเป้าหมายในการซื้อชัดเจนว่าต้องการซื้อสินค้าอะไรและแบรนด์อะไร จึงคาดหวังเกี่ยวกับสินค้าและประสบการณ์ที่จะได้รับจากการช้อปปิ้ง
- นักช้อปอินดี้ พบว่ากลุ่มนี้เริ่มต้นเข้ามาแบบไม่มีเป้าหมายชัดเจนแต่ถ้าเห็นของที่ถูกใจจะสนใจและถ้าโดนใจมากขึ้นก็ช้อปทันที มักจะเป็นผู้ชายอายุ 18-24 ปี
สิ่งต่อมาที่ต้องสนใจคือการเลือกสื่อที่มีผลต่อการช้อป พบว่า สื่อโฆษณาออนไลน์มีผลต่อการซื้อมากถึง 52% รองลงมาคือออนไลน์อินฟลูเอนเซอร์ 30% โฆษณาทางโทรทัศน์และวิทยุ 24% สุดท้ายคือดาราเซเลบริตี้มีเพียง 10% เท่านั้น ข้อมูลตรงนี้จะเป็นประโยชน์แก่นักขายที่ต้องการมองหาช่องทางทำตลาดเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด และลาซาด้าเองก็นำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการเลือกทำการตลาดที่สื่อสารกับผู้บริโภค โดยปัจจุบันลาซาด้าเน้นไปที่สื่อโฆษณาทีวีและสื่อนอกบ้าน รองลงมาคือการโปรโมตผ่านสื่อออนไลน์ ตามมาด้วยการใช้อินฟลูเอนเซอร์และดารา แต่ก็ไม่ลืมที่ต้องไลฟ์สตรีมและอีเวนต์ รวมถึงการประชาสัมพันธ์
“นักช้อปใช้โซเชียลมีเดียค้นหาข้อมูลของสินค้าที่สนใจมากถึง 41% และ 36% ใช้เพื่อดูรีวิวสินค้า แปลว่าช่องทางโซเชียลมีเดียสำคัญมาก เราจึงมีโซเชียลครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย เช่น Facebook มีผู้ใช้ 6 ล้านคน, LINE มีผู้ใช้ 22 ล้านคน, TikTok มีผู้ใช้ 2 ล้านคน, Twitter มีผู้ใช้ 8 หมื่น และ Instagram มีผู้ใช้ 4 แสนคน ในขณะเดียวกันการตลาดยุคนี้คือการพาร์ตเนอร์กับสื่ออื่นๆ เราก็ทำพาร์ตเนอร์บนโซเชียลกว่า 200 อินฟลูเอนเซอร์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายได้อย่างครบถ้วน”
ความถี่ในการซื้อสินค้าที่ลาซาด้า จำนวน 30% ซื้อเดือนละครั้ง และ 44% ซื้อสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ลาซาด้าจึงเสริมด้วยแคมเปญระดับ MEGA ตลอดทั้งปี รวมถึงแคมเปญส่งเสริมกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่องทุกเดือน จะเห็นว่าลาซาด้ามีแผนการตลาดและแคมเปญที่จะสื่อสารกับนักช้อปตลอด 365 วันทั้งปีไม่มีหยุด
“อีกเทรนด์ที่ไม่ควรมองข้ามคือ นักช้อปเดี๋ยวนี้มองหาความคุ้มค่ามากกว่าแค่ราคา ไม่ว่าจะเป็นคูปอง โปรโมชัน ส่วนลด ที่จะทำให้เขาได้ของในราคาที่คุ้มค่า ลาซาด้าเราเป็นหนึ่งในด้านความคุ้มค่าทางราคาอย่างเห็นได้ชัด อย่างโปรโมชันช้อป 9 บาท ทุกวันที่ลาซาด้า หรือจะเป็นส่งฟรีทั่วไทยโดยเฉพาะลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัดมาช่วยนักช้อปได้อย่างมาก หรือส่วนลด 6 ต่อ และสุดท้าย Lazada Bonus”
มัณฑนายังบอกด้วยว่า 53% นักช้อปวางแผนไว้แล้วว่าจะเข้ามาซื้ออะไร แต่ 47% เป็นนักช้อปที่เข้ามาในลาซาด้าโดยไม่ได้วางแผนแต่เห็นของที่ถูกใจจึงตัดสินใจซื้อ กลุ่มนี้เองที่ลาซาด้ามองว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องป้อนสินค้าที่คิดว่าจะโดนใจเพื่อกระตุ้นการซื้อในแคมเปญต่างๆ ผ่าน Live โดยร้านค้าสามารถเข้าร่วมได้ นอกจากนั้นยังมีการทำคลิปรีวิวสินค้า
รวมเทคนิคพิชิต 11.11 และ 12.12
สุทธิดา รอดสวาสดิ์ รองประธานอาวุโสฝ่ายพัฒนาการเติบโตผู้ใช้งานลาซาด้า (ประเทศไทย) ยืนยันว่า แคมเปญ 11.11 และ 12.12 สร้างประวัติศาสตร์บทใหม่ทุกปี ทั้งด้านยอดขาย ยอดผู้ซื้อ และรายได้ของร้านค้า โตขึ้น 2 เท่าในทุกด้าน หากดูจากพฤติกรรมของผู้ซื้อในช่วงแคมเปญ 30% ของผู้ใช้งาน กดดูหน้าแคมเปญโดยเฉพาะ และ 40% ของผู้ใช้งานซื้อผ่านการค้นหาและ Filter ดูเฉพาะดีลที่เกี่ยวกับแคมเปญ ชี้ชัดว่าช่วงแคมเปญลูกค้าจะสนใจเฉพาะสินค้าที่ร่วมแคมเปญเท่านั้น
ดังนั้นผู้ขายหน้าใหม่หรือผู้ขายที่ยังไม่เคยเข้าร่วมแคมเปญเริ่มต้นได้จาก 3 ขั้นตอนที่จะช่วยให้พิชิตยอดขายสร้างรายได้เปรี้ยง คือ
- กดเข้าร่วมแคมเปญ 11.11 และทำโปรโมชันลาซาด้าโบนัส โดยสินค้าแคมเปญจะมีผู้เข้าชมสูงขึ้น 2 เท่า ยอดออร์เดอร์เพิ่มขึ้น 3 เท่า และจำนวนชิ้นขายสูงขึ้น 3 เท่า และกว่า 80% ของผู้ใช้งานมีการเก็บลาซาด้าโบนัส และระบบลาซาด้าจะดึงเฉพาะสินค้าที่เข้าร่วมแคมเปญมาแสดงผลในหน้าต่างๆ อีกสิ่งสำคัญคือ คูปองส่วนลดจะใช้กับสินค้าที่เข้าร่วมแคมเปญผ่านระบบเท่านั้น
- การใช้กลไกโปรโมชันต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย ได้แก่ โปรโมชันส่งฟรี ร้านค้าที่มีโปรค่าส่งจะเพิ่มยอดขายได้มากกว่าร้านที่ไม่มีโปรส่งฟรีถึง 20% และกว่า 60% ของร้านค้าในลาซาด้าทำโปรส่งฟรีอยู่แล้ว อีกส่วนคือ คูปองร้านค้า และ Daily Cashback รับเครดิตเงินคืน 10% สำหรับการสั่งซื้อครั้งต่อไป และสุดท้าย Flexi Combo ข้อเสนอพิเศษยิ่งซื้อยิ่งลด หรือแจกของรางวัล เป็นการคืนกำไรให้ลูกค้า
- การเข้าถึงเครื่องมืออื่นๆ เพื่อสร้างยอดเข้าชม ได้แก่
-
- เครื่องมือจาก Lazada เช่น Seller Picks แสดงอันดับที่สูงขึ้นในการค้นหา, Laz Live ขายสินค้าผ่านไลฟ์, Laz Coins เพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่กับเหรียญลาซาด้า, Laz Feed โพสต์ประจำวัน เพิ่มการมองเห็นและจำนวนผู้ติดตาม และช่องทางการแชทและติดต่อลูกค้า
- โปรแกรมของ Lazada ที่สามารถเข้าร่วมได้ เช่น Sponsored Affiliate โปรโมตผ่านพาร์ตเนอร์ลาซาด้า, Sponsored Display สร้างการมองเห็นของร้านค้าบนแอปฯ ได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และลาซาด้า x เฟซบุ๊ค CPAS แสดงสินค้าตามประวัติการใช้งานบนแอปฯ
- ช่องทางการสื่อสารของคุณ ให้กลุ่มลูกค้าเข้าร่วมแคมเปญ 11.11
ภาพรวมตลาดอีคอมเมิร์ซในอนาคตและกลยุทธ์บทใหม่ของลาซาด้า
ไฮไลต์สำคัญของงานสัมมนาครั้งนี้ เป็นการพูดคุยกับผู้บริหารของลาซาด้า โดยมี สุทธิชัย หยุ่น มาร่วมตั้งประเด็นคำถาม โดยเริ่มที่เรื่องของการปรับตัวช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 วีระพงศ์เผยว่า ลาซาด้ามองเป็นช่วงที่ท้าทายและพบว่ามีจำนวนคนใช้งานเพิ่มขึ้น ทำให้ลาซาด้าเติบโตอย่างก้าวกระโดดในทุกเดือน
มัณฑนาเสริมว่า โควิด-19 จะทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน เมื่อผู้บริโภคได้สัมผัสถึงความคุ้มค่าด้านราคา ความสะดวกสบาย และความปลอดภัย อ้างอิงผลวิจัยจาก Wunderman 2021 Thailand ช่วงปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคใช้จ่ายออนไลน์สูงขึ้น 62% และ 92% ของคนไทยก็ยังยืนยันจะช้อปออนไลน์ต่อไปแม้โควิด-19 จะหมดไป
ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซ สุทธิดาบอกว่า สิ่งที่ทำให้ลาซาด้าโดดเด่นกว่าคู่แข่งคือ การช่วยเหลือผู้ประกอบการ ทั้งแพ็กเกจสนับสนุนร้านค้าที่เปิดใหม่ หรือนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยผู้ซื้อและผู้ขาย การมี Personalization ทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์ช้อปตรงใจที่สุด และร้านค้าเองก็ได้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อจะทราบว่าเทรนด์ที่กำลังมาคืออะไร ลูกค้าตอนนี้กำลังมองหาอะไรมากที่สุด
เมื่อถามถึงการเตรียมความพร้อมและสูตรสำเร็จของแคมเปญ 11.11 มัณฑนาเล่าถึงความพิเศษของแคมเปญนี่จะลดหนักที่สุดแห่งปี มีส่วนลด คูปอง และโปรโมชันมากมาย รวมถึงอีเวนต์เพิ่มความสนุกสนาน เพราะการช้อปปิ้งคือประสบการณ์ระหว่างทาง ในขณะที่วีระพงศ์เผยกลยุทธ์ของ 11.11 ในปีนี้ หากดูจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปยิ่งต้องหาเครื่องมือใหม่หรือเทคนิคใหม่ๆ เพื่อป้อนประสบการณ์ที่ดียิ่งกว่า ยุคนี้ขาดไม่ได้คือการ Engaged กับลูกค้า ทำอย่างไรให้การเข้ามาลาซาด้าแล้วเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้ามากยิ่งขึ้น หรือการมีลาซาด้าโบนัส ที่เพิ่มเข้ามาในปีนี้ก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่ง
“เราอยากให้คนจดจำว่า ลาซาด้าคือแพลตฟอร์มที่มีทุกสิ่งที่ใจค้นหา นี่เป็นความรับผิดชอบของเราที่จะดึงดูดผู้ขายที่มีสินค้าที่ตอบโจทย์ และสร้างความมั่นใจว่าเรามีกฎในการคัดกรองผู้ขาย รวมถึงนโยบายที่จะช่วยปกป้องผู้ซื้อด้วย และยังต้องเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบสนองความต้องการของทุกกลุ่ม ทุกวัย ในอนาคตยังต้องสร้าง Ecosystem E-Commerce ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ไม่ใช่แค่มีร้านค้าบนแพลตฟอร์ม แต่ยังมีเรื่องของโลจิสติกส์ และสร้างการช้อปปิ้งให้เป็น Shoppertainment เพิ่มสื่อสารผ่านการไลฟ์สตรีมมิงหรือทำกิจกรรมเข้าไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้ Ecosystem ของลาซาด้าแข็งแรงขึ้น”
แชร์ประสบการณ์จาก Top Seller ร้านค้าที่สร้างรายได้หลักล้านบาทต่อเดือนบนลาซาด้า
ปู-นริศรา เจ้าของร้าน ป.ปลา อาหารตากแห้งแปรรูป ผู้ขายหน้าใหม่ที่สร้างรายได้เดือนละ 8 แสนกว่าบาท
“เริ่มเข้ามาในลาซาด้าได้ประมาณ 4 เดือน ก็ทำยอดขายได้เดือนละประมาณ 8 แสนกว่าบาท ดีเกินความคาดหมาย น่าจะเป็นเพราะอยู่ถูกที่ ถูกเวลา ประกอบกับร้านเราขายแต่สินค้าที่มีคุณภาพ จึงเกิดการซื้อซ้ำทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น จริงๆ ทางลาซาด้าเองก็ช่วยทุกอย่างตั้งแต่การตั้งร้าน การตลาด ปรึกษาได้ทุกเรื่อง ให้คำแนะนำตลอดการขาย ทำให้เรามียอดขายเพิ่มขึ้น ที่สำคัญคือ ตั้งแต่มาเป็นผู้ขายที่ลาซาด้า ปูเข้าร่วมทุกแคมเปญ เพราะเราเป็นร้านค้าใหม่ ต้องทำให้คนเห็นเยอะที่สุด ซึ่งมันก็เห็นผลจริงๆ แคมเปญที่ผ่านมาทั้ง 9.9 และ 10.10 ยอดขายพุ่งอย่างเห็นได้ชัดเลยค่ะ”
เมย์ เจ้าของร้าน Happi Cup ถ้วยอนามัยแฮปปี้ อุปกรณ์ที่ใช้แทนผ้าอนามัย สินค้าแนวใหม่ที่ดูเหมือนจะทำการตลาดยาก
“ถ้วยอนามัยเป็นสินค้าที่ใหม่มากในประเทศไทย จึงเจอคำถามที่หลากหลายมาก แต่เราก็เตรียมข้อมูลเอาไว้ เพราะเราทำรีเสิร์ชเยอะมากๆ ก่อนที่จะผลิตโปรดักส์แล้วก็เทสกับผู้ใช้งานจริง ค่อยๆ เพิ่มความมั่นใจขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญยุคนี้เครื่องมือต่างๆ มันพร้อมมากๆ เราสามารถแปะคลิปวิธีใช้งานบนหน้าร้านของเราในลาซาด้าได้เลย เมย์ว่าฟีเจอร์หลายๆ อย่างของลาซาด้าช่วยให้การทำธุรกิจง่ายขึ้น โดยเฉพาะระบบหลังบ้าน การจัดส่ง หรือเรื่องสต๊อก ก็ช่วยเราได้มาก เวลามีลูกค้าสั่งจะตัดสต๊อกอัตโนมัติ เราแค่พรินต์มาแปะนัดวันให้ลาซาด้ามารับของ และสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับเรามากๆ คือ ลาซาด้าเป็นแหล่งรวมผู้ซื้ออยู่แล้ว การที่เราจะเข้าถึงผู้ที่สนใจก็ทำได้ง่ายกว่าเราไปหาลูกค้าเอง”
จิน-อิงค์ เจ้าของแบรนด์ Lookbook Signature แบรนด์เสื้อผ้าออนไลน์ที่บุกตลาดโซเชียลเองตั้งแต่ยุคเริ่มแรกและเพิ่งเข้ามาร่วมจอยกับลาซาด้าได้ 3 ปี
“แม้เราจะมีแพลตฟอร์มของตัวเองแต่ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่เข้าร่วมกับลาซาด้า เพราะเป็นช่องทางที่ซัพพอร์ตทั้งผู้ซื้อและผู้ขายให้ช้อปปิ้งได้ง่ายขึ้น ตั้งแต่เข้ามาร่วม ยอดขายก็เติบโตอย่างเห็นได้ชัด จุดเด่นที่เราชอบมากๆ และเป็นประโยชน์กับทุกธุรกิจคือ ลาซาด้ามีข้อมูลหลังบ้านที่หยิบมาใช้ได้ทันที เช่น ไอเท็มไหนคนดูเยอะ หรือคนกำลังมองหาอะไร รวมถึงแคมเปญต่างๆ เราเชื่อมั่นว่าลาซาด้าทำให้เราสร้างยอดขายได้ถล่มทลายจริงๆ”
นอกเหนือจากความรู้ที่เราสรุปมาให้ข้างต้น ยังมี Breakout Session เจาะลึกไปกับกูรูชั้นนำในหัวข้อต่างๆ อาทิ ‘เริ่มต้นขายให้ปัง เป็นร้านดังบน Lazada’ โดย โซอี้ Digital Shortcut และ Laz Expert คนแรกของไทย, ‘เคล็ดลับปังสู่ยอดขาย 6 หลักจากนักขาย Lazada ตัวจริง’ โดย เจตน์ โสภิตวิริยาภรณ์ Laz Star รุ่นที่ 2 เจ้าของร้าน PerfectMart และเจ้าของเพจ Jade เลือดสาดมาร์เก็ตติ้ง, ‘บูม บูม บูม กลยุทธ์ระเบิดยอดขายสูงสุดใน 11.11 และ 12.12’ โดย พิจิตรา ผู้ก่อตั้ง Promai Business School และเจ้าของแบรนด์ SONAR เจ้าของร้าน SONAR และอีก 6 ร้านค้าบน Lazada และช่วง ‘Lazada Clinic’ ตอบทุกปัญหาคาใจผู้ขาย โดยทีมงาน Lazada ตัวจริง