หากมองไปที่ตลาดการลงทุนในประเทศไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ เปรียบเทียบกับในอดีตที่ประเทศไทยเคยมีดอกเบี้ยเงินฝากสูงถึงหลัก 10% จะเห็นได้ว่าดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศไทยนั้นอยู่ในแนวโน้มที่ลดลงมาตลอด จนถึงปัจจุบันที่อยู่ในอัตราที่ไม่ถึง 1% เสียด้วยซ้ำ
ยิ่งสถานการณ์แบบนี้ ประกอบกับการที่หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลตลาดการลงทุนเริ่มผ่อนคลายนโยบายการลงทุน และสนับสนุนการลงทุนของคนไทยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การอนุญาตให้คนไทยสามารถลงทุนโดยตรงในกองทุนรวมต่างประเทศ (Offshore Funds) การผ่อนคลายด้านมาตรการของอัตราแลกเปลี่ยนที่ช่วยให้คนไทยสามารถนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศได้
รวมไปถึงการเปิดโอกาสในการลงทุนให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยการที่นักลงทุนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น มีทางเลือกกว้างขวางมากขึ้น เป็นการกระตุ้นให้เกิดการออมและการลงทุนแบบระยะยาวมากขึ้น ซึ่งอีกหนึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดคือ นักลงทุนในประเทศไทยนั้น มีการปรับรูปแบบการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ก็ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นตามมา
ยิ่งไปกว่านั้น การเผชิญกับสถานการณ์วิกฤตระดับโลกอย่างโควิดในปัจจุบัน ยิ่งสะท้อนให้นักลงทุนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการวางแผนทางการเงิน และการลงทุนมากขึ้น
โยกลงทุนสินทรัพย์จับต้องได้และผลตอบแทนสูงมากขึ้น
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตัน คีท จิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้ฉายภาพให้เราเห็นว่า เมื่อมองไปที่สัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนรายใหญ่ในประเทศไทย จะพบว่ามีการปรับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่ได้ผลตอบแทนต่ำอย่างเงินฝาก ตราสารหนี้ หรือการถือเงินสดลดลงอย่างชัดเจน และได้ทำการโยกย้ายสินทรัพย์การลงทุนไปยังสินทรัพย์การลงทุนที่จับต้องได้อย่างทองคำมากขึ้น และกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์เสี่ยงที่สร้างโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงอย่าง สินทรัพย์ทางเลือก หรือตราสารทุน
ที่น่าสนใจคือ นักลงทุนไทยมีความสนใจในการลงทุนต่างประเทศมากขึ้นอย่างน่าเหลือเชื่อ โดยจากการสำรวจพบว่า มากกว่า 50% ของนักลงทุนประเภท Private Wealth (นักลงทุนรายใหญ่ที่มีสินทรัพย์สูง และมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย) มีสัดส่วนการลงทุนอยู่ในต่างประเทศมากกว่า 30% ของสินทรัพย์การลงทุนทั้งหมด ซึ่งแปลว่านักลงทุนไทยจริงๆ แล้วให้ความสำคัญกับการแสวงหาการลงทุนที่ดีที่สุดอยู่ตลอดเวลา
จุดนี้เองทำให้ Wealth Management ของไทยนั้นเติบโตขึ้นอย่างมาก และก่อให้เกิดการแข่งกันในธุรกิจการเงินด้วยกันเอง ซึ่ง “ในปัจจุบันได้มีสถาบันการเงินต่างๆ ทั้งที่เป็นธนาคารและไม่ใช่ธนาคาร เข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดนี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีทั้งการแข่งขันนำเสนอผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เหมือนกัน และทั้งที่พยายามจะเสาะหาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์การลงทุนของลูกค้ามาดึงดูดความสนใจของนักลงทุน”
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มองว่า ในขณะที่ตลาดมีผลิตภัณฑ์การลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น นักลงทุนก็จะมีความรู้ความเข้าใจในการลงทุนเพิ่มมากขึ้นไปด้วย เพราะเหตุนี้ทำให้ผู้ให้บริการต้องปรับตัวตาม โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการให้ความสำคัญกับคุณภาพของ ‘บริการ’
เพราะนอกเหนือไปจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ดีและตอบโจทย์การลงทุนของลูกค้าแล้ว ‘ความน่าเชื่อถือและความจริงใจ’ ในการให้คำแนะนำกับลูกค้า การเอาใจใส่ในความต้องการและผลประโยชน์ของลูกค้า ความเข้าใจใน ‘ตัวบุคคล’ ของลูกค้าจริงๆ หรือการมีบริการในลักษณะที่เป็น ‘ที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล’ ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้บริการของผู้ลงทุนในปัจจุบัน
ตัน คีท จิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
3 เรื่องที่ ‘ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย’ ยึดถือ
อย่างไรก็ตามถึงจะมีหลากหลายเรื่องที่ต้องรับมือ แต่ด้วยผลิตภัณฑ์การลงทุนหลากหลาย ตอบโจทย์ลูกค้าด้วยความเข้าใจได้ทำให้ ‘ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย’ ได้รับรางวัล Wealth Management Platform of the Year ของประเทศไทย จาก The Asian Banking & Finance Retail Banking Awards ติดต่อกันปี 2020 และ 2021 ซึ่งชี้ให้ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นหนึ่งในธนาคารที่ลูกค้านึกถึงเมื่อคิดถึงเรื่อง Wealth
ตัน คีท จิน ได้ย้ำถึงความเชื่อของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ที่ว่าการสร้างความแข็งแกร่งของการเป็นผู้นำในการให้บริการด้านการลงทุนและที่ปรึกษาทางการเงินนั้น จะต้องประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก คือ ความแข็งแกร่งด้านผลิตภัณฑ์ การให้บริการอย่างมืออาชีพ และระบบที่มีประสิทธิภาพ
ข้อแรก ‘ความแข็งแกร่งด้านผลิตภัณฑ์’ ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่ที่ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้เริ่มให้บริการเสนอขายผลิตภัณฑ์การลงทุนให้กับนักลงทุนในประเทศไทย ธนาคารมีความตั้งใจอยู่เสมอว่า จะต้องเฟ้นหาผลิตภัณฑ์ที่ดี มีความหลากหลาย และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าแต่ละคนได้ ไม่ว่าจะลูกค้าจะมีความต้องการอย่างไร ก็สามารถที่จะหยิบมาเสนอให้ตรงโจทย์การลงทุนของลูกค้าได้”
ต่อมาคือ ‘การให้บริการอย่างมืออาชีพ’ จากความมุ่งมั่นนี้ ทำให้ธนาคารฯ ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นธนาคารอันดับต้นๆ ที่นักลงทุนจะนึกถึงและเลือกใช้บริการหากต้องการที่จะลงทุน ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์เงินฝาก สินเชื่อ หุ้นกู้ตลาดแรก หุ้นกู้ตลาดรอง พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ต่างประเทศ กองทุนรวม หรือผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ซับซ้อนอย่างหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ธนาคารก็จัดสรรมาให้นักลงทุนได้เลือกลงทุน”
และสุดท้าย ‘ระบบที่มีประสิทธิภาพ’ โดยนอกจากความหลากหลายและคุณภาพของผลิตภัณฑ์แล้ว ธนาคารก็เล็งเห็นถึงเทรนด์การให้บริการอย่างการเป็น ‘ผู้แนะนำการลงทุนส่วนบุคคล’ ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์และดูแลลูกค้าอย่างมืออาชีพ เข้าใจความต้องการของลูกค้า ซึ่งธนาคารก็ให้ความสำคัญทั้งด้านการพัฒนาบุคลากรที่ทำหน้าที่ให้บริการลูกค้าโดยตรง ทั้งความรู้ความสามารถด้านการลงทุน การเอาใจใส่ให้ลูกค้าได้ผลประโยชน์สูงที่สุด และพัฒนาระบบที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบ ติดตาม วิเคราะห์ และบริหารทรัพย์สินการลงทุนของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“การที่ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มีโฟกัสที่ชัดเจน ที่ต้องการจะเป็นผู้นำด้านการให้บริการด้านการลงทุน ซึ่งทำให้องค์กรมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งในการสร้างรากฐานด้านการลงทุนที่แข็งแกร่ง ทั้งกระบวนการคัดสรรผลิตภัณฑ์ การสร้างองค์ความรู้ของบุคลากร และการสร้างสรรสิ่งต่างๆ เพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์สูงสุดของนักลงทุนที่เป็นลูกค้าของธนาคาร
“และอีกจุดแข็งที่ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย นั้นโดดเด่นมากๆ ก็คือการเป็นธนาคารในระดับภูมิภาคอาเซียน ที่มีบริษัทในเครือกระจายอยู่ในหลากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ หรืออินโดนีเซีย ทำให้ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สามารถหยิบยื่นโอกาสและบริการลูกค้าได้อย่างกว้างขวางผ่านการให้สิทธิประโยชน์ของการเป็นสมาชิกซีไอเอ็มบีพรีเฟอร์ (CIMB Preferred) โดยลูกค้าสามารถใช้บริการและลงทุนในระดับภูมิภาค หรือแม้แต่ระดับโลกได้”
พร้อมรับมือทุกความเปลี่ยนแปลง
แม้จะมีการเตรียมตัวได้มากแค่ไหนก็ตาม แต่ยิ่งเวลาวันผันผ่านไปการเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นตาม ซึ่งสิ่งที่ต้องจับตาคือ “ตลาด Wealth ในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งจำนวนผู้ให้บริการที่เข้ามาแข่งขันในตลาดมากขึ้น ความเปิดกว้างของหน่วยงานกำกับในการอนุญาตให้นักลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนที่มากขึ้น และเทคโนโลยีที่พัฒนาแบบก้าวกระโดด อีกทั้งยังมีสถานการณ์อย่างโควิดมากระตุ้นให้ผู้บริโภคจำเป็นต้องปรับพฤติกรรม และพยายามทำความเข้าใจและหันมาใช้บริการช่องทางดิจิทัลจนกลายเป็น New Normal”
ดังนั้น ‘เทคโนโลยี’ จึงกลายมาเป็นคำตอบของการรับมือกับทุกความเปลี่ยนแปลงที่จะเข้ามา ซึ่ง ตัน คีท จิน กล่าวว่า ในแง่ของเทคโนโลยีดิจิทัลนั้น ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้มองการณ์ไกลไว้แล้วตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์โควิด ซึ่งธนาคารเล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้บริการรูปแบบใหม่ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัลมาโดยตลอด และธนาคารได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็น Digital-Led Bank หรือธนาคารที่ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ดังนั้นธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จึงได้ทำการพัฒนาการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพัฒนาระบบด้านการบริหารการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น
- โมบายล์แอปพลิเคชัน ‘CIMB THAI Digital Banking Mobile Application’ ที่ลูกค้าสามารถทำการลงทุนได้อย่างครบวงจรผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของตนเอง
- ช่องทางให้บริการในการสอบถามข้อมูล ‘Wealth & Preferred’ บน LINE Application
- ‘myPreferred’ แอปพลิเคชันสำหรับกลุ่มสมาชิก CIMB Preferred ที่สามารถตรวจสอบและเลือกใช้เอกสิทธิ์ได้
- บริการด้านการให้คำแนะนำการลงทุนออนไลน์อย่าง ‘Smart Advisory’ ที่ลูกค้าสามารถจองใช้บริการ เพื่อติดต่อกับผู้แนะนำการลงทุนมืออาชีพแบบส่วนตัวได้
- ระบบบริหารและจัดการการลงทุนที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามพอร์ตการลงทุน ผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าใช้บริการ แนะนำการลงทุนสำหรับแต่ละบุคคล และรวมถึงกระบวนการในการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับนักลงทุน เพื่อทำให้ลูกค้าได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนสูงสุด
“ในอนาคตอันใกล้นี้ ธนาคารตั้งเป้าที่จะพัฒนาการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลในรูปแบบ One-Stop-Service อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกผลิตภัณฑ์การลงทุน ทั้งกองทุนรวม หุ้นกู้ตลาดแรก หุ้นกู้ตลาดรอง และเครื่องมือในการลงทุนอย่างการวางแผนทางการเงิน และ Robo Advisor ที่จะเป็นผู้ช่วยพาลูกค้าไปสู่จุดสูงสุดของเป้าหมายทางการเงิน” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าว
ขณะเดียวกัน ตัน คีท จิน ก็ย้ำว่า ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใด การตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างกัน การให้บริการแบบมืออาชีพ และการพัฒนาเพื่อนำหน้าตลาดที่ไม่หยุดนิ่งนั้น ก็น่าจะเป็นโจทย์หลักของการให้บริการด้านการเงิน
และในปัจจุบัน ปัจจัยสำคัญที่เพิ่มขึ้นมาอีกข้อหนึ่ง และอาจจะกลายเป็นปัจจัยหลักก็คือ ‘ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี’ ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในตลาดการลงทุน ทั้งในด้านช่องทางการให้บริการ รูปแบบการให้บริการ และสินทรัพย์การลงทุน
จะเห็นได้ว่า แม้การลงทุนตลอดจนความต้องการของนักลงทุนจะเปลี่ยนไปมากแค่ไหนก็ตาม แต่ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้เตรียมพร้อมรองรับทุกความต้องการ และคิดเผื่อให้กับลูกค้าไว้หมดแล้ว ซึ่งไม่ว่าจะมีเรื่องใดๆ ก็ตาม ‘ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย’ ก็พร้อมจะพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง และอยู่เคียงข้างนักลงทุนทุกท่าน เพื่อให้บรรลุทุกเป้าหมายทางการเงิน