เรื่องเดียวที่นักลงทุนทั่วโลกเห็นพ้องต้องกันในช่วงปีที่ผ่านมาก็คือเศรษฐกิจทั่วโลกผันผวน ทำให้บรรยากาศการลงทุนตึงเครียดพักใหญ่ แต่ก็ใช่ว่าจะหมดหนทาง เพราะสัญญาณที่ดีเริ่มมีให้เห็น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่เร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้ออกมาใช้ชีวิตปกติ ทำให้เศรษฐกิจขยับตัวมากขึ้น ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดต่างประเทศเริ่มมีท่าทีที่ดีขึ้น หากดูตัวเลขประมาณการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วในปี 2021ที่ IMF เพิ่งประกาศไป ขึ้นมาอยู่ที่ 5.6% หากขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องการลงทุนของเอกชนระดับโลกจะกลับมาคึกคักอีกแน่นอน
นักลงทุนที่ลังเลว่าถึงเวลาที่จะกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในต่างประเทศดีหรือไม่ ถ้าคุณกำลังมองหาวิธีสร้างความมั่นคงระยะยาว การกระจายความเสี่ยงในการลงทุนจำเป็นต้องทำ ต่อให้เศรษฐกิจไทยและโลกไม่เจอวิกฤตก็ตาม เหมือนคำกล่าวสุดคลาสสิกที่ว่า “อย่าใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าเพียงใบเดียว” ยังเป็นคำเตือนที่ถูกต้องเสมอสำหรับนักลงทุน และอย่างที่บอก สถานการณ์ตอนนี้ตะกร้าที่นักลงทุนควรจะเอาไข่ไปใส่คือกระจายการลงทุนไปต่างประเทศ เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนจากประเทศที่กำลังฟื้นตัว และมองหาการลงทุนในบริษัทที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ และกลุ่มธุรกิจใหม่ๆ ในต่างประเทศ
หากการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศเป็นวิธีกระจายความเสี่ยงที่น่าสนใจ แล้วทำไมประเทศไทยยังมีสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่กระจุกตัวอยู่ในประเทศค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์และฮ่องกงตามข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย
อาจเป็นเพราะการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศเป็นเรื่องยาก แม้ปัจจุบันจะมีวิธีให้นักลงทุนสามารถลงทุนในสินทรัยพ์ต่างประเทศได้ด้วยตัวเอง แต่ก็ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจหรือติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด คนที่ไม่ค่อยมีเวลาอาจพลาดโอกาสดีๆ รวมถึงข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล ไปจนถึงขาดประสบการณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล นี่ยังไม่พูดถึงความยุ่งยากในการจับจังหวะลงทุนเอง เช่น ลงทุนในหุ้นต่างประเทศแต่ละแห่งเวลาเปิด-ปิดต่างกัน เมื่อแมตช์เวลามาเฝ้าไม่ได้ก็กลายเป็นความยุ่งยาก และข้อจำกัดที่มีผลต่อนักลงทุนคือค่าธรรมเนียมที่สูง เพราะการจ่ายค่าธรรมเนียมที่สูงไม่ได้การันตีว่าผลตอบแทนที่ได้กลับมาจะสูงตาม จึงเป็นความเสี่ยงที่นักลงทุนอยากเลี่ยง
ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยข้อมูลที่น่าสนใจด้วยว่า คนไทยมีแนวโน้มออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มดำเนินมาตรการปรับปรุงระบบนิเวศอัตราแลกเปลี่ยน (FX Ecosystem) ซึ่งช่วยให้เงินทุนสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีมากขึ้น โดยพบว่าจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ถึงเดือนพฤษภาคม 2564 มูลค่าการออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 1.78 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ที่มีค่าเฉลี่ยการออกไปลงทุนต่อปีเพียง 3 พันล้านดอลลาร์
ในสัดส่วนดังกล่าวผู้ลงทุนที่เลือกลงทุนผ่านแพลตฟอร์มการลงทุนเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ซึ่งปัจจุบันมีหลายแพลตฟอร์มที่ให้บริการการลงทุนต่างประเทศมากมาย แต่ที่มาแรงและน่าสนใจที่สุดในตอนนี้ก็คือ StashAway (สแทช-อเวย์) แพลตฟอร์มบริหารการลงทุน (Digital Wealth Management Platform) ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนในกว่า 160 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันได้รับการกำกับดูแลใน 5 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง Dubai International Financial Centre ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไทย เป็นประเทศที่ 5 พร้อมให้บริการแล้วหลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จัดการกองทุนส่วนบุคคลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
StashAway คือใคร ทำไมถึงเป็นแพลตฟอร์มการลงทุนที่น่าจับตามองที่สุดตอนนี้
จุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์มบริหารการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่ปี 2016 โดย 3 ผู้ก่อตั้ง มิเกเล เฟอร์ราริโอ (Michele Ferrario) Co-Founder และ Group CEO StashAway อดีต CEO ของ Zalora Group อีคอมเมิร์ซออนไลน์ยักษ์ ก่อนหน้านี้เขาเคยก่อตั้งบริษัท Rocket Internet ในประเทศอิตาลีและปากีสถาน และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการเงินมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การเป็นที่ปรึกษาให้กับสถาบันการเงินที่ McKinsey ก่อนจะมารับหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนที่ Synergo Private Equity ยิ่งไปกว่านั้นมิเกเลยังเคยได้รับเชิญจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสิงคโปร์ให้เป็นสมาชิกของคณะกรรมการเพื่ออนาคตของเศรษฐกิจอีกด้วย
นีโน่ อัลซาเมอร์ (Nino Ulsamer) Co-Founder และ Group CTO StashAway ที่ผ่านมาเขาเป็น Co-Founder และ CTO ของหลายบริษัท อาทิ Divvit โซลูชันซอฟต์แวร์สำหรับการวิเคราะห์อีคอมเมิร์ซ, Westwing แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำหรับบ้านและที่อยู่อาศัยที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซีย, Shopperella แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าสำหรับเด็ก รวมถึง Personio ซอฟต์แวร์ด้านทรัพยากรบุคคลที่กลายเป็นยูนิคอร์นเป็นที่เรียบร้อย
และ เฟรดดี ลิม (Freddy Lim) Co-Founder และ Group CIO StashAway ผู้เชี่ยวชาญด้าน Cross-Asset Investment มาพร้อมประสบการณ์บริหารพอร์ตการลงทุนระดับสถาบันในบริษัทชั้นนำอย่าง Millennium Capital Management, Morgan Stanley, Citi Group และ Nomura มานานกว่า 20 ปี เรียกว่าเป็นส่วนผสมที่ลงตัวสำหรับบริษัทฟินเทคที่ควรมีผู้เชี่ยวชาญด้าน Business, Investment และ Technology
พวกเขามีเป้าหมายเดียวกัน คือช่วยให้ผู้คนบรรลุเป้าหมายทางการเงินและสามารถสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว ผ่านการผสานเทคโนโลยีเข้ากับกลยุทธ์ลงทุนอัจฉริยะที่ช่วยให้การลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกเป็นเรื่องง่ายเพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนจากอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจที่เติบโตสูง มีการบริหารพอร์ตการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพตามการเปลี่ยนแปลงของแต่ละภาวะเศรษฐกิจ และสามารถควบคุมความเสี่ยงได้อย่างแท้จริง เป็นระบบ เพื่อช่วยให้นักลงทุนบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้อย่างยั่งยืน ภายใต้ค่าธรรมเนียมที่ต่ำ โปร่งใส และจบในค่าธรรมเนียมเดียว ภายในระยะเวลาเพียง 4 ปี StashAway กลายเป็นสตาร์ทอัพ Wealth Tech ที่เติบโตเร็วที่สุดในสิงคโปร์ จนมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท จากการนำเสนอแพลตฟอร์มบริหารการลงทุนที่ใช้งานง่ายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีบริหารการลงทุนระดับโลก และยังสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีอย่างต่อเนื่อง
วิเคราะห์เหตุผลที่ StashAway ได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนในกว่า 160 ประเทศทั่วโลก
นอกเหนือจากประเด็นเรื่องความเชี่ยวชาญด้าน Business, Investment และ Technology และประสบการณ์การทำงานของ 3 ผู้ก่อตั้ง ผลลัพธ์ที่เห็นรูปธรรมคงเป็นเรื่องการเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยการเป็นบริษัทแพลตฟอร์มบริหารการลงทุนแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประกาศว่ามีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท) โดยสามารถทำตามเป้าหมายดังกล่าวได้ภายในเวลาเพียง 42 เดือน ซึ่งเร็วกว่าที่บริษัทแพลตฟอร์มบริหารจัดการการลงทุนรายใหญ่ของโลกอย่าง Betterment และ Wealthfront ได้เคยทำไว้
ปี 2020 StashAway ได้รับการยอมรับจาก World Economic Forum ในฐานะ Technology Pioneer ที่มีบทบาทในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อการพัฒนาธุรกิจและสังคมของโลก และในปีเดียวกันได้รับการโหวตให้เป็น Top 10 สตาร์ทอัพในสิงคโปร์จาก LinkedIn
ไม่เพียงเท่านั้น StashAway ยังได้รับความไว้วางใจและร่วมทุนจาก Venture Capitals ระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Sequoia Capital India ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Venture Capital ระดับโลกจากสหรัฐฯ หนึ่งในผู้ให้เงินทุนสนับสนุนแก่บริษัทระดับโลกมากมาย เช่น Google, YouTube, Instagram, PayPal และ Airbnb หรือ Eight Roads Ventures ที่สนับสนุนโดยบริษัท Fidelity International และยังเป็นผู้ลงทุนรายแรกๆ ใน Alibaba รวมถึง Square Peg ซึ่งเป็นกองทุน Venture Capital ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย ทำให้ StashAway สามารถระดมทุนได้ถึงรอบ Series D
ปัจจุบัน StashAway ได้รับการกำกับดูแลใน 5 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง Dubai International Financial Centre ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไทย เป็นประเทศที่ 5
ฟันเฟืองชิ้นสำคัญที่ทำให้ StashAway โดดเด่นและประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วยังเป็นเรื่องของเทคโนโลยีและกลยุทธ์การลงทุนที่มีมาตรฐานระดับสากล อย่างกลยุทธ์การลงทุนอัจฉริยะ ERAA™ ที่พัฒนาขึ้นโดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์บริหารการลงทุนให้กับสถาบันการเงินระดับโลกมานานกว่า 50 ปี พร้อมทั้งได้ผ่านการทดสอบ Stress Testing มากกว่า 30,000 ชั่วโมง สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจอย่างสม่ำเสมอเพื่อระบุประเภทสินทรัพย์ที่เหมาะสมที่สุดและปรับพอร์ตได้อย่างแม่นยำตามการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีไปพร้อมกับการรักษาระดับความเสี่ยงตามที่กำหนดอยู่เสมอ
เมื่อเสริมความแข็งแกร่งด้วยเทคโนโลยี Fractional Shares รองรับการลงทุนแบบเศษส่วนหุ้น จึงช่วยให้ลูกค้าสามารถถือเศษส่วนของหน่วยลงทุน ETF ได้ละเอียดถึง 1 ต่อ 10,000 หน่วย ช่วยลดข้อจำกัดในเรื่องจำนวนเงินขั้นต่ำในการซื้อ ETF และสามารถลงทุนตาม Asset Allocation ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น กระจายความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำ โปร่งใส และจบในค่าธรรมเนียมเดียว
จะเห็นได้ว่าแม้ในช่วงวิกฤตต่างๆ อย่างโควิด พอร์ตในสิงคโปร์ที่บริหารด้วยกลยุทธ์ ERAA™ สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า Benchmark* ที่มีระดับความเสี่ยงที่เท่ากันได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เปิดให้บริการในปี 2560 โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ย** ตั้งแต่ 17.1% ต่อปี (สำหรับพอร์ตที่มีความเสี่ยงสูงสุด) ไปจนถึง 3.8% ต่อปี (สำหรับพอร์ตที่มีความเสี่ยงต่ำสุด) ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ณ เดือนกรกฎาคม 2564
นอกจากจะเป็นจังหวะเหมาะในการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศแล้ว การมาของ StashAway ก็เข้ามาได้ถูกจังหวะ เหมาะกับคนที่มองหาการลงทุนระยะยาว ด้วยพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกตามระดับความเสี่ยงโดยมีให้เลือกถึง 12 ระดับ สามารถสร้างพอร์ตได้หลายพอร์ตเพื่อตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะตัว โดยเลือกจากระดับความเสี่ยงที่เหมาะกับตัวเอง เพื่อให้รู้ว่าความเสี่ยงที่รับได้เป็นเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นพอร์ตแบบ General Investing เพื่อลงทุนให้เงินงอกเงยในระยะยาว หรือพอร์ตแบบ Goal-based Investing เพื่อลงทุนตามเป้าหมายทางการเงินเฉพาะ ซึ่งมีให้เลือกถึง 8 เป้าหมาย ปรับระดับความเสี่ยงและจำนวนเงินที่จำเป็นของเป้าหมายการลงทุนให้เหมาะกับแต่ละบุคคล
ข้อดีอีกอย่างที่ทำให้ StashAway เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่ชอบความยุ่งยากและอยากสร้างความมั่งคั่งระยะยาว เห็นจะเป็นเรื่องระบบติดตามและทบทวนพอร์ตการลงทุนให้เหมาะกับทุกจังหวะชีวิต เสมือนมีผู้จัดการกองทุนส่วนตัวคอยดูแลตั้งแต่ต้นจนบรรลุเป้าหมายทางการเงิน สามารถตรวจสอบและปรับพอร์ตโฟลิโอตามสภาวะเศรษฐกิจให้นักลงทุนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม พร้อมทั้งมีทีมดูแลลูกค้าคอยตอบคำถามและดูแลนักลงทุนตลอดเวลา
อย่าลืมว่าการถือเงินสดในมือมากเกินไปแทนที่จะกระจายความเสี่ยงลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ความแน่นอนเดียวที่จะได้เจอคือการสูญเสียมูลค่าตามอัตราเงินเฟ้อและจะทวีคูณไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลา StahAway แพลตฟอร์มบริหารการลงทุนจะเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศให้กลายเป็นเรื่องง่าย เพียงเปิดบัญชีผ่านทางแอปพลิเคชัน สามารถดาวน์โหลดผ่านทาง App Store และ Play Store ก็สามารถเข้าถึงพอร์ตการลงทุนที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อเป้าหมายทางการเงินและระดับความเสี่ยงที่รับได้ของแต่ละบุคคล ด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำเพียง 0.2-0.8% ต่อปี ไม่มี Lock-up Periods ไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ ที่สำคัญทรัพย์สินของนักลงทุนจะอยู่ภายใต้การดูแลด้วยบัญชีผู้รับฝากทรัพย์สิน (Custodian)โดยธนาคารกสิกรไทย ตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด ทั้งหมดนี้น่าจะทำให้นักลงทุนมองเห็นความคุ้มค่าที่จะลงทุนกับ StashAway
อ้างอิง:
*Benchmark ที่ใช้เปรียบเทียบจาก MSCI World Equity Index (ในส่วนของหุ้น) และ FTSE World Government Bond Index (ในส่วนของตราสารหนี้) โดยน้ำหนักของ Benchmark ที่ใช้จะมีค่าความผันผวนที่เกิดขึ้นจริง (Realized Volatility) ในระยะเวลา 10 ปีเท่ากับระดับความเสี่ยง StashAway Risk Index
**การเปรียบเทียบผลการดําเนินงานดังกล่าวมาจากผลตอบแทนก่อนหักค่าธรรมเนียม โดยอยู่ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ผลการดําเนินงานมาจากพอร์ตที่ใช้กลยุทธ์การลงทุน ERAA™ ในประเทศสิงค์โปร์ โดยวัดจากวันเริ่มดำเนินงานของพอร์ตจนถึงเดือนกรกฎาคม 2021 โดยพอร์ตที่มีความเสี่ยงต่ำสุด (SRI 6.5%) เริ่มในวันที่ 19 กรกฎาคม 2017 และพอร์ตที่มีความเสี่ยงสูงสุด (SRI 36%) เริ่มในวันที่ 16 สิงหาคม 2018
ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต: โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน