เมื่อวานนี้ (14 มิถุนายน) ประชาชนชาวเมียนมายังคงสู้ไม่ถอย เดินหน้าชุมนุมประท้วงในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ ต่อต้านกองทัพ หลังการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนผ่านมานานเกือบ 5 เดือนแล้ว โดยผู้ชุมนุมยังคงชูสามนิ้ว ร่วมอารยะขัดขืนต่อความไม่ชอบธรรมที่เกิดขึ้น พร้อมเผาธงอาเซียน องค์กรระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พยายามเข้ามามีส่วนในการหาทางออกให้กับวิกฤตในครั้งนี้ แต่ดูท่าจะยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร
ขณะที่ทางด้านสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) ที่จัดตั้งขึ้นโดยกองทัพเมียนมามีคำสั่งให้สมาชิกสภา นักการเมือง นักกฎหมายต่างๆ ยุติการปฏิบัติสัมพันธ์กับรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ที่จัดตั้งโดยฝ่ายสนับนับสนุนประชาธิปไตยในเมียนมาอย่างคณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพ (CRPH) รวมถึงกองกำลังพิทักษ์ประชาชน (PDF) โดยระบุว่า องค์กรต่างๆ เหล่านี้เป็นองค์กรก่อการร้ายและใช้กำลังอาวุธต่อต้านระบอบทหาร
สมาคมช่วยเหลือนักโทษทางการเมืองของเมียนมา (AAPP) รายงานถึงสถานการณ์ล่าสุด มีผู้เสียชีวิตหลังการก่อรัฐประหารแล้ว 863 ราย ยังคงถูกจับกุมและควบคุมตัวกว่า 4,880 ราย ออกหมายจับแล้ว 1,937 ราย ขณะที่อย่างน้อย 178 รายได้รับการตัดสินโทษแล้ว ในจำนวนนี้บางรายต้องโทษประหารชีวิต
บทความที่เกี่ยวข้อง:
- รัฐประหารเมียนมา: ใครเป็นใครใน ‘รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ’ เพื่อคานอำนาจกองทัพ
- 4 ฉากทัศน์ชี้ชะตาอนาคตเมียนมา ไทยควรมีบทบาทอย่างไร โดย รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม
ภาพ: STR / AFP / Reuters
อ้างอิง: