×

อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ย้ำป่วยโควิด-19 รักษาฟรีทั้งโรงพยาบาลรัฐ-เอกชน ขอประชาชนอย่ากังวล

โดย THE STANDARD TEAM
07.05.2021
  • LOADING...
รัหษาโควิด ฟรี

วันนี้ (7 พฤษภาคม) นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวถึงค่ารักษาโควิด-19 ในโรงพยาบาลเอกชนว่า จากกรณีที่มีการแชร์ภาพค่ารักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง โดยมีค่ารักษาเกือบ 1 ล้านบาทนั้น

 

จากสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ที่มีผู้ป่วยจำนวนมากในแต่ละวันนั้น สร้างความตึงเครียดและวิตกกังวลให้กับประชาชนทั่วประเทศเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และยิ่งมีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อว่า การเข้ารับการรักษาพยาบาลโควิด-19 ในสถานพยาบาลเอกชน ผู้ป่วยจะต้องจ่ายส่วนต่างของค่าห้องพัก ค่าห้องความดันลบ หรือค่ายาเพิ่ม หากเกินวงเงินที่รัฐบาลกำหนด

 

นพ.ธเรศ ชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด โดยกระทรวงสาธารณสุขได้มีการออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉิน 3 ฉบับ เพื่อดูแลค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข ได้แก่

 

  1. ค่ายา ค่าห้อง เครื่องมือแพทย์ที่ใช้ครอบคลุมการดูแลผู้ป่วย
  2. ประกาศเพิ่มเติมในรายการยาให้ครอบคลุมมากขึ้น
  3. ค่ารถรับ-ส่งผู้ป่วยจากที่บ้าน ค่าทำความสะอาดรถ 

 

ค่ารักษาพยาบาลกรณีการเจ็บป่วยหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เนื่องจากเป็นกรณีต้องได้รับการรักษาทันท่วงที 

 

โดยผู้ป่วยโควิด-19 สามารถเข้ารับสิทธิ์การรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิ์รักษาของตนเอง หรือสถานพยาบาลใดก็ได้ทั้งรัฐและเอกชน หรือแม้ไม่ได้เป็นผู้ป่วย แต่หากเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการเข้าข่ายที่จะติดเชื้อโรคโควิด-19 ก็สามารถเดินทางไปตรวจที่สถานพยาบาลใดก็ได้ หากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยโควิด-19 จะถูกส่งตัวรักษาตามกระบวนการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นการขอใช้สิทธิ์เพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวก ให้เป็นสิทธิ์ของผู้ป่วยหรือญาติที่จะทำความยินยอมตกลงกับสถานพยาบาล

 

ทั้งนี้ ในส่วนของสถานพยาบาลภาคเอกชนจะดำเนินการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แล้วทาง สปสช. ก็จะไปเรียกเก็บจากกองทุนต่างๆ ในภายหลัง ซึ่งค่าใช้จ่ายจะครอบคลุมค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ายา ค่าพาหนะรับ-ส่งแล้ว

 

ดังนั้น เมื่อมีผู้ป่วยเข้าไปรักษาในโรงพยาบาล หน้าที่ของผู้ดำเนินการสถานพยาบาลต้องทำ 2 เรื่อง คือ 

 

  1. ให้การดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัย 
  2. เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจาก สปสช. หากไม่ดำเนินการจะมีโทษตามมาตรา 66 จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

“ที่ผ่านมาพบกรณีสถานพยาบาลฝ่าฝืนเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลกับผู้ป่วย จำนวน 44 เรื่อง ใน 74 ราย เนื่องจากบางครอบครัวก็เข้าไปรักษาหลายคน ทั้งนี้ สถานพยาบาลได้คืนเงินผู้ป่วยครบทั้ง 74 รายแล้ว และยังมีเรื่องคงค้างในเดือนเมษายนอยู่จำนวนหนึ่ง จะมีการสอบสวนต่อไป อย่างไรก็ตาม หากประชาชนมีข้อสงสัยเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ สอบถามเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่สายด่วน สปสช. 1330 และสายด่วน สบส. 1426” นพ.ธเรศกล่าวทิ้งท้าย

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X