หนึ่งในคำถามที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ไปทั่วโลกคือ อนาคตของ ‘บ้าน’ ควรเป็นอย่างไร
เพราะการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่อง ‘สุขภาพ’ มากขึ้น ไม่เพียงแต่เรื่องอาหารการกินเท่านั้น แต่ ‘บ้าน’ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ผู้บริโภคหันมาใสใจมากขึ้น เมื่อการใช้ชีวิตส่วนใหญ่ต่างอยู่ในบ้านกันทั้งสิ้น
ทำให้บ้านที่เรากำลังมองหาคือบ้านที่ต้องปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อโรคที่ถูกนำมาจากด้านนอก
จากความต้องการของผู้บริโภคที่เกิดขึ้น ตรงกับแนวคิดของ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ MQDC ที่ให้ความสำคัญเรื่องความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข สำหรับทุกสรรพสิ่งหรือ For All Well-Being มาโดยตลอด จึงได้คิดวิจัยและพัฒนาร่วมกับศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ RISC เพื่อร่วมกันค้นหาว่า อนาคตของที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย ลดการแพร่กระจายเชื้อ อยู่แล้วมีความสุขจะเป็นอย่างไร
โดยทั้งหมดเกิดขึ้นภายใต้คอนเซปต์ COVID-Free Design ซึ่งได้ออกแบบสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยให้ตอบรับกับการระบาดของโรคโควิด-19 โดยได้แบ่งรากฐานออกเป็น 4 แนวทางหลัก
การออกแบบพื้นที่ลดการแพร่กระจายเชื้อของบ้าน
เรื่องแรกคือ การออกแบบพื้นที่ลดการแพร่กระจายเชื้อหรือ Disinfection Zone ซึ่งถือเป็นหน้าด่านของบ้านเลยก็ว่าได้ ดังนั้นจึงได้มีการออกแบบมาเพื่อดักและระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ผ่านการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เป็นพื้นที่ลดการแพร่กระจายเชื้อ
ทั้งการออกแบบโถงทางเดิน (Foyer) ที่มีประตูสองชั้นบริเวณทางเข้า-ออก เพื่อดักฝุ่นและสิ่งสกปรกที่อาจติดเข้ามากับตัวคนหรือสิ่งของก่อนเข้าสู่ภายในอาคาร การติดตั้งระบบฟอกอากาศบริเวณทางเข้า-ออกหลัก (Entrance Air Purifier) รวมถึงในลิฟต์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคในอากาศและเชื้อโรคบริเวณพื้นผิวต่างๆ ที่อาจติดเข้ามาในพื้นที่ ตลอดจนการติดตั้งพรมที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหรือ AVA (Anti Viral Allergy Free) Carpet โดยพรมนี้จะมีนวัตกรรมที่สามารถดักและหยุดการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่อาจติดมากับรองเท้า เพื่อเป็นการลดจำนวน ลดการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของเชื้อโรค
การออกแบบพื้นที่ลดการสัมผัส
อย่างที่เรารู้กันว่า การระบาดของโรค ส่วนหนึ่งมาจากการจับพื้นผิวต่างๆ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการไม่แตะต้องหรือสัมผัสสิ่งต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะการลดการสัมผัสเป็นการลดการแพร่กระจายเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ
กลายเป็นที่มาของ Smart & Touchless การออกแบบพื้นที่โดยมีการปรับใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อลดการสัมผัสในพื้นที่และกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในโครงการ ทั้ง Face Recognition ระบบสแกนใบหน้าเพื่อควบคุมการเข้า-ออก และยังสามารถตรวจวัดอุณหภูมิได้อีกด้วย
Automatic Door ประตูเปิด-ปิดอัตโนมัติเพื่อช่วยลดการสัมผัส, Sensor Faucet ก๊อกน้ำเปิด-ปิดอัตโนมัติลดการสัมผัส และ Touchless Lift ระบบลิฟต์ที่ช่วยลดการสัมผัสด้วยการใช้รังสีอินฟราเรด พร้อมการฆ่าเชื้ออัตโนมัติด้วยการใช้นาโนเทคโนโลยีเคลือบผิว โดยนวัตกรรมดังกล่าวอาจมีรูปแบบแตกต่างกันในแต่ละโครงการ
การออกแบบที่อยู่อาศัยรองรับการทำงาน
ขณะเดียวกันการระบาดของโรคได้นำมาซึ่งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป หนึ่งในนั้นคือการที่หลายองค์กรมีคำสั่งให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน หรือ Work from Home ดังนั้นการออกแบบที่เอื้อต่อการทำงานอย่างถูกสุขลักษณะจึงเป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ เพราะจะช่วยส่งเสริมการทำงานและการทำกิจกรรมภายในบ้าน ลดปัญหาด้านสุขภาพ
โดยการออกแบบนี้จะประกอบไปด้วย การออกแบบที่รองรับสรีระและอิริยาบถต่างๆ ของผู้อาศัย มีกล่องรับ-ส่งพัสดุและอาหาร (Disinfection Box) เพื่อฆ่าเชื้อบนกล่องพัสดุก่อนถึงมือลูกบ้าน ตลอดจนการออกแบบอื่นๆ เช่น การออกแบบเพื่อลดผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EMF) และการออกแบบแสงสว่างที่เหมาะสมต่อการทำกิจกรรมควบคู่กับระบบนาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm)
รวมถึงในพื้นที่ส่วนกลางที่จัดให้เป็น Co-Working Space ที่ระบายอากาศดี และรักษาระยะห่างทางกายภาพ (Physical Distancing) เพื่อลดความเสี่ยง นอกจากนี้ยังแบ่งพื้นที่ให้มี Phone Booth เพื่อติดต่องาน ลดเสียงรบกวนระหว่างกัน การจัดเตรียมตู้จ่ายอาหารอัตโนมัติ (Vending Machine) ในพื้นที่พักอาศัยเพื่อความสะดวกกรณีปิดเมือง (Lockdown)
การกำหนดนโยบายจัดการและป้องกันเชื้อโรคโควิด-19
สุดท้ายนี้เป็นในเรื่องของ Management Protocol การกำหนดนโยบายและหลักการปฏิบัติภายใต้กรอบและข้อกำหนดของการป้องกันเชื้อโรคโควิด-19
โดยประกอบไปด้วย Infection Prevention การประกาศหลักการทำลายเชื้อในยุคการระบาดของโรคโควิด-19 และวิธีการทำความสะอาดอาคารสถานที่ที่ถูกต้อง มาตราการการเว้นระยะเพื่อลดความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อโรค รวมถึงการออกแบบเพื่อลดการพบปะและการสัมผัส เช่น การติดตั้งกล่องฆ่าเชื้อ (Disinfection Box) เพื่อฆ่าเชื้อบนกล่องพัสดุก่อนถึงมือลูกบ้าน การฝากพัสดุไว้ในล็อกเกอร์เพื่อลดการพบปะทางกายภาพ
นอกจากภายในอาคารที่มีการออกแบบและใช้ระบบช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อแล้ว ภายนอกอาคาร ทาง MQDC ยังมีนโยบายให้ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศระดับเมือง Fahsai 2 ที่ไม่เพียงฟอกอากาศเพื่อลด PM2.5 ในพื้นที่สาธารณะ แต่ยังสามารถกำจัดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ เพื่อให้ลูกบ้านและชุมชนใกล้เคียงมีพื้นที่ทำกิจกรรมภายนอกได้อย่างปลอดภัยเพิ่มขึ้นอีกด้วย
Cleaning การควบคุมมาตรฐานด้านความสะอาด และการประกาศแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อพบผู้เสี่ยงในพื้นที่ และ Waste Disposal ทุกโครงการจัดเตรียมถังขยะหรืออุปกรณ์สำหรับทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วโดยเฉพาะ หรือถุงแดงซิปล็อกจำกัดเชื้อ เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อโรค และยังเป็นการเตือนให้รู้ถึงอันตรายของขยะที่ใส่ในถุงแดง เพื่อความปลอดภัยของพนักงานเก็บขยะ และสามารถแยกชนิดขยะเพื่อนำไปกำจัดทิ้งอย่างถูกต้อง
ทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทาง MQDC และ RISC ได้พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะที่ดีของลูกบ้าน ชุมชน และบุคคลทั่วไป รวมถึงลดโอกาสการสัมผัสและการติดเชื้อโควิด-19 จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวันภายในโครงการที่อยู่อาศัยของ MQDC เพื่อให้พื้นที่ภายในโครงการเป็นพื้นที่ปลอดเชื้อโควิด-19 อย่างสมบูรณ์
ตลอดจนเป็นการดำเนินไปตามทิศทางของ MQDC ในเรื่อง ‘For All Well-Being’ ที่มุ่งสร้างความสุขให้ทุกชีวิตอย่างยั่งยืน ซึ่งเข้ามาเติมเต็มคุณภาพในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีคุณค่า และเป็นมากกว่าคำว่า ‘ที่อยู่อาศัย’
และหากอยากเห็นภาพให้ชัดเจนว่า อนาคตของบ้านในยุคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นภายใต้คอนเซปต์ COVID-Free Design เป็นอย่างไร สามารถรับชมได้จากวิดีโอด้านล่างนี้เลย
พิสูจน์อักษร: ชนเนตร ลอยครุฑ