×

MEAN วงป๊อปที่สื่อสารกับแฟนเพลงได้เก่งพอๆ กับเล่นดนตรี

20.11.2017
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

Time  index

01.25 LIVE เพลง หมายความว่าอะไร

03.03 กว่าจะเป็นวง MEAN

08.20 เพลงที่เป็นแรงบันดาลใจให้สมาชิกในวง

16.33 ประสบการณ์ความฟินทางดนตรีจน eargasm

29.08 คุยถึงซิงเกิล หมายความว่าอะไร

32.12 การเป็นศิลปินในยุคโซเชียลเน็ตเวิร์ก

36.46 วง MEAN แรปสด

38.19 Eargasm Combo Talk

41.20 Eargasm Combo

     วง MEAN ถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางการเติบโตของโซเชียลเน็ตเวิร์ก ที่เรียกร้องให้วงดนตรีต้องทำงานได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ตั้งแต่แต่งเพลง เล่นดนตรี จบงานมิกซ์เพลง ไปจนถึงโปรโมตตัวเอง และสื่อสารกับผู้ฟังทางหน้าโซเชียลเน็ตเวิร์ก

     วงหน้าใหม่ที่เป็นที่พูดถึงอย่างมากในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาอย่างวง MEAN ก็ทำงานเหล่านั้นได้อย่างน่าทึ่ง

 


 

กว่าจะเป็นวง MEAN

     วง MEAN มีสมาชิก 4 คน คือ ปาล์ม มือคีย์บอร์ด ควบตำแหน่งแอดมินเพจ, โปเต้ ร้องนำ, กัน มือเบส และพัด มือกีตาร์ ควบตำแหน่งหัวหน้าวง

     ทั้งสี่คนรู้จักกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในชุมนุม TU Folksong หลังจากเรียนจบก็แยกย้ายไปทำงานต่างๆ กันไป โปเต้ก็ไปประกวด AF ซีซัน 8 ปาล์มก็ไปทำงานเป็นเบื้องหลังงานเพลง ทั้งเพลงโฆษณา เพลงรายการทีวี เล่นแบ็กอัพด้วย ทั้งวงค่อนข้างแน่ใจว่าจะเป็นนักดนตรีกันแน่ๆ มาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย กันจะมีสโลแกนติดตลกว่า “อย่าให้การเรียนมาทำให้ดนตรีเสีย” ด้วยความที่เรียนสายบริหารธุรกิจโลจิสติกส์มา ทำให้ตอบตัวเองได้ชัดเจนว่าไม่ไปทำงานต่อสายงานนี้แน่นอน เพราะไม่ชอบ เป็นสี่ปีที่เรียนให้รู้ว่าไม่ชอบทำงานทางนี้ เลยอยากบอกน้องๆ ที่เรียนอยู่ว่าถ้ารู้ว่าชอบอะไรแล้วต้องซิ่วก็ซิ่วไป อย่าไปเสียดายเวลาที่เรียนมาขนาดนั้น มันดีกว่าต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่ชอบไปตลอด

     ปาล์มรู้ว่าชอบดนตรีตั้งแต่ประมาณ 3 ขวบ ตอนนั้นฟังเพลงตามคุณพ่อที่มักพาปาล์มไปตกปลาที่โอไฮโอ สหรัฐอเมริกา แล้วก็เปิดเพลงเฉลียงฟัง แล้วคุณพ่อก็ซื้อคีย์บอร์ด Casio เล็กๆ ให้เป็นของขวัญ ก็เล่นมาตั้งแต่วันนั้น

 

ดนตรีที่เป็นแรงบันดาลใจให้วง MEAN

     สำหรับปาล์มคือเพลงที่พ่อร้องให้ฟัง เพลง กล่อมลูก ของเฉลียง ฟังแล้วก็รู้สึกดีมากเลย

     ส่วนโปเต้นั้นนอกจากติดตามวง BNK48 แล้ว ตั้งแต่เด็กๆ ก็มักร้องเพลงเล่นๆ ตามถนนเวลาเดินไปไหนมาไหน แล้วปรากฏว่าโดนแม่ค้าแซว ก็เขิน หลังจากนั้นก็ไม่ค่อยกล้าร้องเพลงอีก แต่โชคดีที่บ้านโปเต้เป็นร้านขายเทปเพลงกับหนังสือ เลยได้ฟังเพลงมาตลอด จนกระทั่งขึ้น ม.4 ก็พบว่าอยากร้องเพลงจริงจัง โปเต้ก็ไปเรียนร้องเพลง 1 คอร์ส 3 เดือน หลังจากนั้นก็ร้องเพลงมาต่อเนื่องเลย

     แต่ตอนนั้นก็ไม่ได้มีภาพในหัวชัดมากว่าต้องทำงานเป็นนักร้องนักดนตรี แต่ก็ประกวดมาเรื่อยๆ เช่น AF

     กันเป็นมือเบส แต่จริงๆ แล้วเล่นกีตาร์มาก่อน เล่นจริงจังมากจนถึง ม.6 เล่นเพลงสายร็อก Dream Theatre ฯลฯ มีกีตาร์สีส้ม จนเข้า TU Folksong ปรากฏว่ามือเบสที่ชุมนุมขาดคน ก็ได้เจอพี่จั๊มป์ วง Tattoo Colour เลยผันตัวไปเล่นเบสแทนมาจนทุกวันนี้

     ส่วนพัด หัวหน้าวง ที่ได้ตำแหน่งนี้มาก็เพราะว่าโดนเพื่อนผลักดัน เพราะเป็นคนระเบียบจัด ชอบจัดคิวซ้อม จัดตาราง ทำบัญชีวง เพื่อนเลยให้เป็นหัวหน้า

 

ประสบการณ์ความฟินทางดนตรีที่ทำให้ eargasm

     โปเต้ – มีเพลงหนึ่งที่นึกถึงเสมอเวลามีคนถามว่าชอบเพลงอะไรที่สุด ไม่ได้เพลงฮิตอะไรเลย แต่อยู่ในชีวิตของโปเต้มาช่วงหนึ่ง คือเพลง Sorry for the Stupid Things ของ Babyface เป็นศิลปินอาร์แอนด์บี คือปกติก็ไม่ได้ร้องแนวอาร์แอนด์บี แต่ฟังเพลงนี้แล้วชอบมาก รู้สึกเพราะมาก ทั้งเนื้อหาและทำนอง โปเต้เคยแชร์เพลงนี้ง้อแฟน แต่ก็ไม่ได้ช่วย

     กัน – คือตอนที่ไปดูคอนเสิร์ต Coldplay หลังจากเป็นสายปั่นมาตลอด ก็พบว่าเพลงที่ดี เพลงที่คนทั่วไปชอบฟังก็คือเพลงที่เพราะ ก็เลยมาชอบ Coldplay ชอบเปิดดูคอนเสิร์ตของวงในยูทูบ ดูจนจำได้หมดว่าตรงนี้จะเปิดไฟสีนี้ ตรงนี้จะมีพลุ รู้คิวหมดเลย พอไปดูคอนเสิร์ต Coldplay ที่ราชมังฯ แม้จะรู้อยู่แล้วว่าพลุจะจุดตอนไหน แต่พอถึงจังหวะนั้นน้ำตาก็ไหลเลย ยืนอึ้งซึ้งอยู่ตรงนั้น ซาวด์ดีมาก เล่นดีมาก

     พัด – ส่วนมากพัดประทับใจการไปเล่นคอนเสิร์ตมากกว่า ก่อนนี้เคยไปเล่นคอนเสิร์ตของ LOVEiS ที่ช่างชุ่ย ปกติที่ชุมนุม TU Folksong จะมีธรรมเนียมเล่นเพลง Season Changes ปิดทุกงานที่เล่น วันนั้นเราไปเล่นแล้วมีพี่นภ พรชำนิ ขึ้นมาร้องเพลงนี้ปิดโชว์ของเรา ความรู้สึกเราคือนี่คือเสียงที่เราฟังมาตลอด เขามาเล่นเหมือนเราอยู่ในคอนเสิร์ต B-Day เป็นเพลงที่มีความหมายกับเรามาก ปกติเพลงพี่บอยจะอยู่ในความนึกคิดของเราตลอดเวลา อย่างเพลงนี้พัดจะชอบท่อน “หากไม่รู้จักเจ็บปวดก็คงไม่ซึ้งถึงความสุขใจ” หรืออีกเพลงที่ชอบคือ Live and Learn ที่ชอบท่อน “สุขก็เตรียมไว้ เพราะความทุกข์คงตามมาอีกไม่ไกล” พอเราได้เล่นเพลงเหล่านั้นกับคนที่ร้องมัน แต่งมันขึ้นมา หรือได้เล่นให้พวกเขาฟัง มันเป็นประสบการณ์ที่เงินเท่าไรก็ซื้อไม่ได้จริงๆ

     ปาล์ม – ชอบเพลงของวง Queen เป็นเพลงที่คุณพ่อชอบฟัง เป็นครั้งแรกที่เราฟังเพลงแล้วได้เห็นว่าเปียโนมันร็อกได้ เป็นวงที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับเราเลย ช่วงหนึ่งที่เคยทำวงก่อนหน้าวง MEAN ปาล์มท้อมาก ไม่รู้จะทำยังไงต่อไป ก็เลยเปิดเพลงเก่าๆ ฟัง ก็ไปเจอเพลง We Are The Champion มันมีท่อนที่ร้องว่า “And we keep on fighting.” ฟังแล้วมันพีกเลย เราเลยลุกขึ้นมา keep on fighting ลองดูอีกครั้ง เราเลยมาตั้งวงที่มีสมาชิก 4 คนเหมือนกับวง Queen แล้วคำที่พ้องกับ Queen ก็คือ MEAN เลยกลายเป็นวงนี้

     นี่ไม่เคยบอกที่ไหนมาก่อนเลย

 

พูดถึงเพลง หมายความว่าอะไร

     พัดเป็นคนเขียนเนื้อ ส่วนทำนองคือได้กันเป็นคนแต่ง ส่วนเวลาเริ่มแต่งเนื้อเพลงจะมีเทคนิคคือโปเต้จะร้องขึ้นมาเป็นภาษาเกาหลีก่อน เป็นเทคนิคของพี่บอย ที่ดราฟต์แรกจะร้องเป็นภาษาที่ไม่มีความหมายก่อน ไม่ได้ปั๊บปาจั๊ดจา แล้วพี่บอยก็จะพูดเนื้อเพลงลงไปแบบไม่มีทำนอง แล้วเอาสองอย่างนี้มารวมกัน

     เทคนิคนี้ช่วยให้อารมณ์ของคำมันออก นึกคำที่จะใส่ออก

 

การเป็นศิลปินในยุคโซเชียลเน็ตเวิร์ก

     ทุกวันนี้ศิลปินไม่ใช่แค่เล่นดนตรีอย่างเดียวแล้ว แต่ต้องสร้างคอนเทนต์ลงในโซเชียลเน็ตเวิร์กด้วย

     ปาล์มมองว่าปัจจุบันนี้ ศิลปินต้องเป็นเหมือนค่ายเพลงที่สมบูรณ์แล้ว ต้องทำทุกอย่างได้ครบวงจร ค่ายเพลงในปัจจุบันจะช่วยเหลือเรื่องคอนเน็กชัน ที่บางทีเราอาจจะไปไม่ถึง นั่นแปลว่าเราควรจะทำทุกกระบวนการได้ ทำเพลงเองได้ด้วย จบงานมิกซ์เองได้ด้วยซ้ำ เพราะถ้าจะมารอให้คนอื่นทำให้ มันไม่ทันการณ์แล้ว เราต้องรู้ว่า target group ของเราเป็นใคร ต้องรู้ว่าเพลงที่เราทำมันจะอยู่ท่ามกลางเหล่าเพลงจำนวนมากได้ไหม มันจะแตกต่างอย่างไร เพราะว่าคอนเทนต์มันมีอยู่ทั่วไปหมดเลย

     ในขณะเดียวกันก็ต้องมีคอนเทนต์ที่ให้คนอื่นเข้าถึงตัวเราเองได้ เพราะสมัยก่อนสื่อสามารถบังคับให้คนดูเราได้ ศิลปินมีหน้าที่แค่ทำเพลง แล้วค่ายเพลงก็ทำให้คนได้เห็นเราเอง แต่เดี๋ยวนี้บางทีเพลงไปแล้ว คนยังไม่รู้เลยว่าเราเป็นใคร ซึ่งทำให้หลายวงมีปัญหา เพราะทำให้คนฟังเปิดเพลงผ่านไป

     มันจะมีช่วงหนึ่งที่ทุกๆ ศิลปินแข่งกันที่ยอดวิว ใครยอดวิวเยอะก็ชนะ แต่ทุกวันนี้ไม่เกี่ยวแล้ว บางวงมีวิวในยูทูบเยอะมาก แต่แทบไม่มีงานเลยก็มี

     ทุกวันนี้คนฟังและคนจ้างงานต่างมองกันที่ความเหมาะสมและเนื้องานจริงๆ ว่าถ้าให้วงนั้นมาที่งานแล้วเขาจะได้อะไรจากการฟังเพลงของวงนี้ หรือคนฟังก็ต้องได้อะไรจากการที่วงนี้มาเล่น

 

Eargasm Combo Talk

     เพลงที่ 1 – เป็นเพลงที่น่าสนใจ และนำมาทำใหม่ในแบบฉบับของวง MEAN เป็นเพลงที่มีความหมายกับปาล์มมาก เพราะมีวันหนึ่งที่รู้สึกแย่กับตัวเอง คิดว่าตัวเองถึงขั้นเป็น Music Director คอนเสิร์ตใหญ่ๆ มาแล้ว แต่กลับทำวงตัวเองให้ไปไกลกว่านี้ไม่ได้ มันท้อเหลือเกิน แล้วก็ไม่สร้างสรรค์อะไรอีกเลย จนรู้สึกว่าทำไมเราทุ่มเทให้กับดนตรีขนาดนี้ แล้วเราไม่ได้อะไรกลับมาเลย มันเกิดอะไรขึ้น จนเพลงนี้ออกมา แล้วมีเนื้อร้องว่า “เฮ้ เธออยากจะรักใคร รักไปแต่ต้องรักตัวเอง” ก็เลยรู้สึกว่า เออ จริง ถ้าเราไม่รักตัวเองแล้วจะไปรักใครได้

     เพลงที่ 2 – เป็นเพลงที่อยากนำเสนอมาก เป็นเพลงภาษาที่สาม เป็นอีกฟังก์ชันที่วงพวกเราทำได้ เป็นเพลงที่เป็นจุดเริ่มต้นจริงๆ ของวง MEAN กับ LOVEiS เพราะเราได้ไปปล่อยซิงเกิลแรกที่โอกินาวา แล้วเพลงนี้ก็เป็นเพลงที่เราหยิบมาเล่นด้วยต้องการให้เข้าถึงคนญี่ปุ่น กระแสตอบรับวันนั้นก็ดีมาก มีคนญี่ปุ่นช่วยร้องตาม

     เพลงที่ 3 – เป็นเพลงที่เราจะเล่นทุกครั้งตอนปิดโชว์ของ TU Folksong เป็นเพลงที่มีความหมายดีมากๆ และเหมือนให้อะไรหลายอย่างกับพวกเรานอกจากความเพราะ นอกจากเนื้อหาที่ดี มันมีอะไรมากกว่านั้น

 

Eargasm Combo Song list

  1. รักตัวเอง – Room39
  2. Himawari no Yakusoku – Motohiro Hata
  3. ฤดูที่แตกต่าง (Seasons Change) – Boyd Kosiyabong

 


 

Credits

The Host แพท บุญสินสุข

The Guest ปิยะพงษ์ เล็กประยูร

ปวีร์ ปรีชาวีรกุล

กันตพิชญ์ ยาวิราช

วรภัทร วงศ์สุคนธ์

 

Show Creator แพท บุญสินสุข

Show Producer นทธัญ แสงไชย

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Music Westonemusic.com

  • LOADING...

READ MORE

MOST POPULAR



Close Advertising
X