ทุกๆ วิกฤตย่อมมีทั้งผู้ที่ได้รับประโยชน์ ผู้อยู่รอด ผู้ได้รับผลกระทบ และผู้ที่ล้มหายตายจากไป คำถามสำคัญก็คือในสภาวะวิกฤตจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เราจะปรับตัวอย่างไรและด้วยวิธีไหนเพื่อให้กิจการของเรายังสามารถดำเนินต่อไปได้ท่ามกลางความท้าทายและความผันผวนที่เกิดขึ้นในทุกๆ เสี้ยววินาที
ข้อมูลที่น่าสนใจก็คือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้กลายเป็นไฟลต์บังคับที่ทำให้ภาคองค์กรธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัว ทรานส์ฟอร์มการดำเนินงานของตัวเองเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างปฏิเสธไม่ได้ เรื่องนี้ชี้วัดได้ชัดเจนที่สุดจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาช้อปออนไลน์และใช้บริการฟู้ดเดลิเวอรีกันอย่างคึกคัก
ในขณะที่ข้อมูลอัตราการเติบโตของการทำธุรกรรมผ่านพร้อมเพย์ในประเทศเพิ่มสูงขึ้นถึง 133% โดยคนไทยมีอัตราการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น 21% และทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางออนไลน์สูงขึ้นถึง 93% ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงลูกค้าบุคคลรายย่อยเท่านั้น ลูกค้าธุรกิจก็เช่นเดียวกัน โดยลูกค้าธุรกิจของ TMB ทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ของ TMB เพิ่มขึ้น 50% และลูกค้าเอสเอ็มอีของ TMB ทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 100% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี ปัญหาสำคัญที่ยังพบในปัจจุบันคือการที่ลูกค้ากลุ่มธุรกิจองค์กรยังคงประสบปัญหา ‘ความยุ่งยาก’ ในการทำธุรกรรมบนช่องทางดิจิทัล ข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้น ความยากลำบากในเชิง Interface ที่ต้องอาศัยเวลาพอสมควรกว่าที่จะเริ่ม ‘คุ้นชิน’ กับดิจิทัลแพลตฟอร์มเหล่านั้นได้
เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นจุดเริ่มต้นที่ TMB ตัดสินใจพัฒนา ‘Business ONE’ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มธุรกิจองค์กรโดยเฉพาะ ในฐานะดิจิทัลแพลตฟอร์ม โซลูชันจัดการด้านธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจนั้นอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมที่ไม่ใช่แค่เรื่องของการเงิน แถมยังช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถเติบโตบนโลกดิจิทัลได้อย่างมั่นคง
แล้วจุดเด่นของ Business ONE คืออะไร ทำไมดิจิทัลแพลตฟอร์มด้านการจัดการธุรกิจรูปแบบนี้จึงช่วยให้คนทำธุรกิจสามารถเติบโตบนโลกดิจิทัลได้อย่างไร้แรงเสียดทาน?
ฟีเจอร์การใช้งานของ Business ONE มีอะไรบ้าง
ฟีเจอร์การใช้งานโดยทั่วไปบน Business ONE กับทางธนาคารยังมีอยู่ครบ ทั้งการโอน (ระหว่างบัญชีในบริษัทและคู่ค้า) รับ จ่าย (บิลและจ่ายเงินเดือนพนักงาน) หรือการรายงานข้อมูลทางการเงิน แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือการที่ Business ONE จะเปลี่ยนแพลตฟอร์มออกเป็น 3 ส่วนเพื่อความสะดวกและความคล่องตัวในการใช้งาน คือ
1. การจ่ายเงิน
2. การรับเงิน และรายงาน
3. การบริหารเงิน
สำหรับจุดต่างของ Business ONE ที่มีและไม่เหมือนกับดิจิทัลแพลตฟอร์มจัดการของธนาคารอื่นๆ ประกอบไปด้วย
1. Design Thinking การออกแบบ Business ONE จากประสบการณ์ใช้งานอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งทั้งข้อดี-ข้อเสีย แล้วนำมาปรับปรุงพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อช่วยสร้างประสบการณ์การใช้งานใหม่ให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น
2. Personalize ผู้ใช้งานสามารถสร้างรูปแบบของหน้าจอการใช้งานได้เองแบบ Personalize ตามกลุ่มผู้ใช้งานได้ เช่น คนทำรายการ คนอนุมัติรายการ หรือ CFO
3. Predictive Business ONE มีการ Predictive เงินในอนาคต โดยกรณีลูกค้ามีการทำธุรกรรมผ่าน Business ONE ล่วงหน้า เช่น การจ่ายเงินเดือน มีเช็คเข้ามาที่ยังไม่ถึงวัน Clearing จะทำให้ลูกค้าสามารถจัดการ Cash Flowได้ง่าย
4. Open API Business ONE สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ร่วมกับระบบอื่นได้ผ่านเทคโนโลยี Open API ที่เชื่อมต่อระหว่างระบบของธนาคารกับระบบอื่นๆ ภายในองค์กรของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นระบบ HR ระบบจัดการ Supplier หรือ Stock management เป็นต้น
ไม่ใช่แค่ Internet Banking แต่เป็นได้ ‘มากกว่า’ เพื่อให้ทุกอย่างครบ จบในที่เดียวแนวคิดการพัฒนา Business ONE โดย TMB ไม่ใช่แค่การพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มขึ้นมาเพื่อเป็นแค่ ‘อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง’ เท่านั้น เพราะ TMB หมายมั่นปั้นมือที่จะพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ทำได้มากกว่าเรื่องการเงิน ควบคุมการทำธุรกิจได้ง่าย สะดวกสบาย ใช้งานง่าย ครบ จบในที่เดียว
โดยไม่ได้มีข้อจำกัดเรื่องขนาดของธุรกิจเพราะ Business ONE จะต้องสามารถตอบโจทย์แก้ไขปัญหาการจัดการและการดำเนินธุรกิจให้กับลูกค้าธุรกิจของธนาคารได้ในทุกๆ เซกเมนต์ ตั้งแต่องค์กรขนาดใหญ่ที่มีระบบและการ Customized ที่ซับซ้อน ไปจนถึงกลุ่มเอสเอ็มอีที่ต้องการความสะดวก ง่าย ภายใต้โจทย์ของการมีต้นทุนที่จำกัด
3 หัวใจหลักของดิจิทัลแพลตฟอร์ม Business ONE ประกอบด้วย
1. ONE Platform เข้าถึงทุกบริการจากทุกอุปกรณ์ ทำได้ทุกธุรกรรม ซื้อ ขาย รับ จ่าย ครบจบในระบบเดียว ทุกที่ทุกเวลา ผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน
2. ONE to Control ระบบเดียวทำทุกธุรกรรมได้ง่ายและรวดเร็ว ช่วยให้การทำธุรกรรมจ่ายเงินหรือการค้นหารายการสามารถทำได้สะดวกยิ่งขึ้น
3. ONE to Command ระบบเดียวเห็นข้อมูลทั้งหมด พร้อมสั่งงานได้ มองเห็นภาพรวมและข้อมูลสรุปทางการเงินภายในบริษัทผ่านรูปแบบของ Dashboard และยังสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ร่วมกับระบบอื่นได้ผ่านเทคโนโลยี Open API ที่เชื่อมต่อระหว่างระบบของธนาคารกับระบบอื่นๆ ภายในองค์กรของลูกค้าได้ง่ายๆ
นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถปรับเมนูและมุมมองของข้อมูลและรายงานได้ตามความต้องการ รวมถึง Business ONE ยังให้ความสำคัญกับการจัดการสิทธิ์ของผู้ใช้งานภายในบริษัท เพื่อให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลอีกด้วย
สำหรับในอนาคตข้างหน้า TMB ยังมองไปถึงการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม Business ONE ทางการเงินแพลตฟอร์มเดียวที่ลูกค้าเลือกใช้งาน ซึ่งหลังจากที่การรวมกิจการกับทางธนชาตแล้วเสร็จก็อาจจะมีบริการหรือฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ถูกเสริมเข้ามาต่อยอดให้ Business ONE กลายเป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์แบบที่สุดสำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจองค์กร
โดยผู้ที่สนใจ Business ONE สามารถสมัครการใช้งานได้ง่ายๆ สำหรับลูกค้าที่มี Business CLICK (Internet Banking) อยู่แล้วไม่จำเป็นจะต้องสมัครใหม่ แต่ทางธนาคารจะทยอยอัปเกรดให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้ในช่วงต้นปี 2564 เป็นต้นไป ส่วนลูกค้าปัจจุบันที่ยังไม่มีบริการดังกล่าวสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Relationship Manager ที่ดูแลธุรกิจของท่าน หรือโทร. 0 2643 7000 เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ tmbbank.com/thestandard/fb
#BusinessONE #เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น #TMB #MakeREALChange
พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์