×

‘ยิ่งเติบโต ยิ่งต้องพัฒนา’ มองสมรภูมิแพลตฟอร์มดิจิทัล พลิกเกมเป็นผู้ชนะแบบ เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) [Advertorial]

12.06.2020
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

5 MINS. READ
  • ปัจจัยสำคัญที่ธุรกิจของเทนเซ็นต์เติบโตกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ เป็นผลจากการที่พวกเขาดำเนินธุรกิจแพลตฟอร์มบริการโซลูชันต่างๆ โดย ‘บริการเกมบนสมาร์ทโฟน’ สามารถกวาดรายได้เพิ่มถึง 31% เมื่อเทียบกับปีก่อน
  • กลยุทธ์ที่เทนเซ็นต์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากคือการพัฒนาบริการต่างๆ ออกมาตอบสนองความต้องการผู้ใช้งานให้ทันท่วงที รวดเร็วที่สุด ก่อนที่จะต่อยอดพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ เสริมลงไปในภายหลัง
  • ต่อจากนี้ เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จะหันมาโฟกัสหน่วยธุรกิจ B2B มากขึ้น ผ่านนวัตกรรมด้านโซลูชันคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าในกลุ่มองค์กรธุรกิจต่างๆ ปรับตัวเข้ากับการทรานส์ฟอร์มธุรกิจได้

การระบาดของโควิด-19 มีส่วนไม่น้อยที่ทำให้ธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างมหาศาลในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมาทั้งในเชิงรายได้และฐานผู้ใช้บริการ สืบเนื่องจากนโยบาย Work from Home ที่องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ให้พนักงานใช้ชีวิต ทำงาน และกักตัวอยู่ที่บ้านเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัส 

 

โซลูชันด้านการทำงานและบริการในกลุ่ม Remote Work จึงพลอยได้รับอานิสงส์เชิงบวกไปเต็มๆ ไม่ต่างจากแอปพลิเคชัน สตรีมมิง เกม ในกลุ่มด้านความบันเทิงที่มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดอย่างชัดเจน

 

 

‘เทนเซ็นต์’ บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ระดับโลก ก็เป็นอีกหนึ่งในองค์กรที่มีจำนวนผู้ใช้บริการโซลูชันและแอปพลิเคชันต่างๆ ของพวกเขาในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นสูงมหาศาล 

 

โดยหลายๆ บริการของเทนเซ็นต์ที่เข้ามาให้บริการในประเทศไทยภายใต้ ‘บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จํากัด’ ตัวอย่างเช่น JOOX (สตรีมมิงมิวสิก), Sanook (แพลตฟอร์มข่าว), WeTV (แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิง), PUBG Mobile (เกม), Tencent Cloud (โซลูชันด้านคลาวด์สำหรับองค์กร) หรือล่าสุด VooV Meeting (แอปพลิเคชัน VDO Conference) ก็ล้วนแล้วแต่ได้รับความนิยมด้วยกันทั้งสิ้น

 

 

THE STANDARD คุยกับ กฤตธี มโนลีหกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อหาคำตอบภายใต้เบื้องหลังกลยุทธ์การไม่หยุดพัฒนาโซลูชันใหม่ๆ ออกมาตอบโจทย์ลูกค้าและองค์กรอย่างต่อเนื่อง การเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือชุมชน Stakeholder ในช่วงโควิด-19 ตลอดจนคาดการณ์เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจแพลตฟอร์มต่อจากนี้ 

 

 


ปรับตัวตามสถานการณ์ให้ไว เสาะหา ‘โอกาส’ ใน ‘วิกฤต’ ให้เจอ

ในการรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรกของบริษัทประจำปี 2020 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคมที่ผ่านมา เทนเซ็นต์ โฮลดิ้งส์ มีรายรับรวมอยู่ที่ 108,065 ล้านหยวน หรือประมาณ 481,000 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 26%

 

 

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเทนเซ็นต์เติบโตมหาศาลกว่าที่คาดการณ์เอาไว้และโตสวนกระแสเศรษฐกิจโลก เป็นผลจากการที่ธุรกิจที่พวกเขาทำอยู่ในกลุ่มแพลตฟอร์มบริการโซลูชันต่างๆ โดย ‘บริการเกมบนสมาร์ทโฟน’ ถือเป็นตัวละครสำคัญที่ทำรายได้พุ่งพรวดมากกว่า 31% เมื่อเทียบกับปีก่อน

 

อย่างไรก็ดี แม้รายได้จะโตต่อเนื่องก็ใช่ว่าจะนิ่งนอนใจได้ โดยเทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) ที่เดิมทีไม่มีโซลูชันด้านการประชุมจากทางไกลมาก่อนก็ได้เร่งพัฒนา ‘VooV Meeting’ ออกมาในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา (พัฒนามาจาก Tencent Meeting ในประเทศจีน) เพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ทันท่วงที

 

 


กฤตธีบอกว่า “ในด้านผลกระทบ เมื่อคนอยู่บ้านมากขึ้น ต้องทำงานที่บ้าน เทคโนโลยีจึงเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้านตามไปด้วย นี่คือสาเหตุที่เราเปิดตัว VooV Meeting ออกมาเร็ว เพื่อพยายามรองรับและตอบสนองความต้องการใช้งานเพื่อการทำงานจากที่บ้าน การคุยกับคนทั่วโลกในการทำงาน 

 

“เมื่อชั่วโมงและระยะเวลาการใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเพิ่มมากขึ้น เทรนด์การเสพคอนเทนต์ออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มทั้งภาพยนตร์และซีรีส์ก็เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 50-70% ไม่ต่างจากเกม PUBG Mobile ที่ทำรายได้ให้กับบริษัทสูงเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่ตัวเกมถูกปล่อยให้เล่นมาแล้วกว่า 2 ปี

 

“ส่วนตัวผมมองว่า New Normal ต่อจากนี้คือการที่คนจะมาอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลที่ตามมาก็จะทำให้คู่แข่งของเรา (ในธุรกิจแพลตฟอร์ม) งอกเงยขึ้นมาอีกมหาศาลแน่นอน เพราะจากระยะเวลา 6-7 ชั่วโมงที่เขาเคยอยู่บนอินเทอร์เน็ตเป็นปกติ เมื่อจำนวนการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นก็ต้องมีคู่แข่งที่อยากเข้ามาอยู่ตรงนี้มากขึ้นด้วยเช่นกัน

 

“ดังนั้นสิ่งที่เทนเซ็นต์พยายามทำเป็นอย่างมากคือการผลักดันตัวเองให้ดีไซน์และพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ออกมาให้ได้อย่างสม่ำเสมอ อย่าง VooV Meeting เราก็ไม่ได้บอกว่ามันจะสมบูรณ์แบบ แต่เราทำออกมาให้ได้เร็วที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คน โดยเป็นบริการที่อยู่บนแพลตฟอร์ม Tencent Cloud ของเราอีกที เพราะคัลเจอร์ของเทนเซ็นต์จะไม่ยึดติดว่าทุกบริการและผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวจะต้องประสบความสำเร็จทันที เราโฟกัสที่ ‘สปีด’ ก่อน แล้วค่อยๆ ปรับปรุงและพัฒนาไปเรื่อยๆ นี่คือวิธีการทำงานของเรา เพราะแค่นวัตกรรมอย่างเดียวอาจจะไม่พอแล้ว”

 

 

เติมความหลากหลายพอร์ตธุรกิจ แสวงหาบ่อน้ำมันใหม่ๆ เสมอ

ธุรกิจหลักที่เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) ได้ดำเนินมาตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาคือการทำแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นในรูปแบบ B2C กับกลุ่มผู้บริโภคและผู้ใช้งานเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ Sanook.com, JOOX, WeTV หรือ PUBG Moblie

 

 

แต่แนวทางหลังจากนี้ของเทนเซ็นต์ก็จะเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจในโมเดล B2B มากขึ้น หลังเริ่มรุกหนักอย่างจริงจังมาได้ 1 ปีกว่าๆ แล้ว ผ่านทั้งนวัตกรรมด้าน AI และโซลูชันเทคโนโลยีที่พวกเขามี โดยเฉพาะ ‘Tencent Cloud’

 

“ต่อจากนี้เราจะได้เห็นนวัตกรรมและกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทที่หันมาให้ความสำคัญกับโมเดลธุรกิจแบบ B2B มากขึ้นผ่านนวัตกรรมของเทนเซ็นต์ ตัวอย่างเช่น ก่อนหน้านี้การเดินทางเข้าออกออฟฟิศจะต้องเปิดปิดประตูด้วยการสัมผัสที่จับหรือระบบสแกนลายนิ้วมือ แต่ Tencent Cloud ที่มีเทคโนโลยี Facial Recognition ให้คนสามารถสแกนใบหน้าเพื่อเปิดประตูจะกลายเป็นหนึ่งในโซลูชันที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตแบบ New Normal ได้อย่างลงตัว

 

“ตั้งแต่ก่อนจะเกิดโควิด-19 ทิศทางธุรกิจของเราจะค่อนข้างชัดเจนว่าให้ความสำคัญกับสองส่วนหลักๆ นั่นคือ B2C ที่อยู่ในรูปแบบการสร้างแพลตฟอร์มด้านความบันเทิง (Entertainment Platform) ส่วนอีกโมเดลหนึ่งคือ B2B ได้แก่ Tencent Cloud ที่เราเริ่มเข้ามาทำได้ประมาณ 2 ปี ซึ่งตลาดนี้มีมูลค่ามหาศาลเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโอกาสทั้งในแง่ของการวิเคราะห์ข้อมูล ภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ การแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์ม OTT และอีคอมเมิร์ซ ซึ่งทั้งหมดจะนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยเพิ่มประโยชน์และประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาใช้งานเพื่อรองรับมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ”

 

หมดยุค ‘O2O’ ต่อจากนี้เหลือ O เพียงตัวเดียว นั่นคือ ‘Online’

ที่ผ่านมาเรามักจะได้ยินนิยาม O2O หรือ Online to Offline อยู่เป็นประจำ ซึ่งเป็นการทำการตลาดแบบดิจิทัล สร้างเอ็นเกจเมนต์กับผู้บริโภคระหว่างโลกออนไลน์และโลกออฟไลน์ให้หล่อหลอมกลายเป็นสิ่งเดียวกัน

 

กระทั่งการเข้ามาของโควิด-19 จุดตัดความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ก็ได้เกิดขึ้น ถึงขนาดที่กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด มองว่าในอนาคตต่อจากนี้นิยาม O2O จะไม่มีอีกต่อไปแล้ว หลงเหลือไว้เพียง O-Online เพียงตัวเดียวเท่านั้น

 

“สิ่งที่เราต้องทำน้อยลงคือก่อนหน้านี้เราจะพูดถึง O2O มาตลอด แต่ปัจจุบันเราจะต้องโฟกัสทุกอย่างไปที่ออนไลน์หมดแล้ว เมื่อเราไม่สามารถเจอผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานแบบตัวต่อตัวได้ เราจะทำอย่างไรให้เขายังติดตามเราอยู่ สร้างชุมชนให้แข็งแกร่งมากขึ้น อย่างคอนเสิร์ตของ JOOX จากปกติที่เราเคยจัดอีเวนต์แบบออฟไลน์ก็ต้องเปลี่ยนมาเป็นคอนเสิร์ตออนไลน์แทน 

 

“อาจจะยากขึ้นแล้วสำหรับการจัดงานแฟนมีตของ WeTV ที่เราเคยจัดแล้วมีแฟนคลับศิลปินนับพันชีวิตเดินทางมาร่วมงานรอพบดาราจากประเทศจีน แต่เราโชคดีมากๆ ที่ทุกแพลตฟอร์มของเรามีฟีเจอร์ไลฟ์สตรีม ช่วยให้ยูสเซอร์เข้ามามีส่วนร่วม แชตได้แบบเรียลไทม์ แถมยังส่งข้อความและไอเท็มให้กับดาราศิลปินที่พวกเขาชื่นชอบได้”

 

ขณะที่ในเชิงภาพรวมตลาดนั้น กฤตธีมองว่าผู้ประกอบการในวันนี้จะต้องหันมาให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก และถือเป็นไฟต์บังคับที่ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคในวันนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว

 

“New Normal ในวันนี้คือการที่คนหันมาทำธุรกิจออนไลน์มากขึ้น คนเริ่มคุ้นชินการสั่งอาหารจากแอปฯ ซื้อของผ่านแอปฯ ซึ่งการเกิดขึ้นของโควิด-19 ถือเป็นจุดเปลี่ยนอย่างหนึ่งที่ทำให้พวกเราต้องปรับตัวมาใช้เครื่องมือออนไลน์มากขึ้น และธุรกิจในกลุ่มอีคอมเมิร์ซก็น่าจะเติบโตขึ้นอีกเยอะ”

 

‘Together We Can’ ช่วยเหลือสังคมและ Stakeholder ให้ก้าวข้ามอุปสรรคไปพร้อมๆ กัน

หนึ่งในสิ่งที่เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากคือการเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ใช้งาน ผู้ประกอบการ ศิลปิน สังคม หรือที่เรียกรวมกันว่าเป็น Stakeholder ในคอมมูนิตี้ของพวกเขาให้สามารถก้าวข้ามผ่านโควิด-19 และอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้

 

“ที่ผ่านมาเทนเซ็นต์ได้จัดทำแคมเปญ ‘Together We Can’ ที่ให้ความช่วยเหลือชุมชนผู้ใช้งานและลูกค้ากลุ่มองค์กร รวมถึงการบริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้ทุกคนก้าวข้ามผ่านวิกฤตนี้ไปได้พร้อมๆ กัน 

 

“ขณะที่ JOOX ก็มีแคมเปญ JOOX Home Room Charity WFH Fest ให้ศิลปินไลฟ์จากที่บ้านเพื่อส่งความสุขให้แฟนเพลง และยังเป็นการส่งต่อความสุขโดยแฟนเพลงสามารถส่งของขวัญผ่านฟีเจอร์ใน JOOX ให้กับศิลปินคนโปรด เพื่อเปลี่ยน Gifts เป็นเงินบริจาค (2 Gifts = 1 บาท) ซึ่งสามารถส่งต่อเงินบริจาคให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถีถึงกว่า 450,000 บาท 

 

“และ JOOX For Artist ที่ JOOX นำรายได้ส่วนหนึ่งมาหารแบ่งให้กับศิลปินกว่า 100 คนที่อยู่ในโครงการนี้โดยตรงแบบไม่ผ่านค่ายเพลง ผ่านการคำนวณตามจำนวนยอดสตรีมการเปิดเล่นและฟังเพลงของศิลปินแต่ละคน เพื่อสมทบรายได้ที่ขาดหายไปให้กับเหล่าศิลปินในช่วงที่อุตสาหกรรมเพลงต้องหยุดชะงัก 

 

“หรืออย่าง Sanook ก็มีการพัฒนาหน้า Landing Page รวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับโควิด-19, ‘Sanook What The Fark’ ที่เป็นสื่อกลางช่วยผู้ประกอบการด้วยการเปิดพื้นที่ให้ร้านค้าและผู้ประกอบการเข้ามาฝากร้านค้าได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

“ส่วน WeTV ก็ได้ปรับเอ็กซ์คลูซีฟคอนเทนต์บางคอนเทนต์ให้สามารถรับชมได้แบบฟรีๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงยังมีการทำซีรีส์พากย์ไทยเพื่อให้คนทุกเพศทุกวัยเข้าถึงได้ในช่วงที่ Work from Home อีกด้วย ด้าน Tencent Cloud ก็ได้เปิดตัวแพ็กเกจบริการต้านภัยโควิด-19 เพื่อมอบความช่วยเหลือแก่องค์กรต่างๆ สถาบันทางการแพทย์ และภาครัฐบาลของทั่วโลก ให้สามารถรับมือกับความท้าทายที่เกิดจากวิกฤตที่เกิดขึ้น”

 

ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นภายใต้ความตั้งใจของเทนเซ็นต์ที่อยากจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ชุมชนผู้ใช้งาน องค์กร และหน่วยงานต่างๆ สามารถฝ่าวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ได้ เพื่อให้ได้รับผลกระทบเชิงลบในระดับที่บางเบาที่สุด

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X