×

ตลาดหุ้นเอเชียยังถูกกดดันจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19, ยอดผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ พุ่งทะลุ 1.4 แสนราย: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้ (30 มี.ค. 2563)

โดย FINNOMENA
30.03.2020
  • LOADING...
FINNOMENA
  • สหรัฐฯ มียอดผู้ป่วยโควิด-19 พุ่งแตะ 140,886 ราย เสียชีวิตมากกว่า 2,000 ราย ขณะที่ยอดผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วโลกอยู่ที่ 720,117 ราย และมีผู้เสียชีวิต 33,925 ราย ด้านประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศขยายช่วงเวลาให้ประชาชนทั่วประเทศเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ออกไปจนถึง 30 เมษายน

 

  • หุ้นเอเชียเช้านี้เปิดตลาดในแดนลบ ดัชนี Nikkei 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดลบมากถึง -4% ก่อนจะฟื้นตัวขึ้นมาเล็กน้อย ส่วนดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลี เปิดลบ -2.30% ขณะที่ CSI 300 ตลาดหุ้นจีน เปิดลบ -1.60% สืบเนื่องจากความกังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 โดย บรูซ คาสแมน นักเศรษฐศาสตร์จาก J.P. Morgan ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกครึ่งปีแรกอาจหดตัวมากถึง -10.5% 

 

  • สำนักการบินพลเรือนแห่งประเทศจีน (CAAC) เปิดเผยว่าท่าอากาศยานในมณฑลหูเป่ยเริ่มกลับมาให้บริการเที่ยวบินในประเทศอีกครั้งในวันที่ 29 มีนาคม หลังจากระงับการให้บริการมาตั้งแต่เดือนมกราคม ขณะที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ฮั่นเทียนเหอจะเริ่มเปิดให้บริการเที่ยวบินในประเทศอีกครั้งในวันที่ 8 เมษายน อย่างไรก็ตาม เที่ยวบินระหว่างประเทศ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง เขตบริหารพิเศษมาเก๊า และไต้หวันจะยังไม่เปิดให้บริการ เนื่องจากยังคงมีมาตรการป้องกันและควบคุมโรคระบาดอย่างเข้มงวด

 

  • The Mortgage Bankers Association หรือสมาคมธนาคารสินเชื่อที่อยู่อาศัย เตือนตลาดที่อยู่อาศัยกำลังเผชิญกับภาวะหยุดชะงักครั้งใหญ่ จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เข้ามาเสริมสภาพคล่องโดยการเข้าซื้อตราสารหนี้ MBS (Mortgage-Backed Securities) เป็นจำนวน 1.83 แสนล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ก่อน ซึ่งสร้างความผันผวนต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เหล่าผู้กู้บางรายถูกธนาคารเรียก Margin Calls ซึ่ง Fed เองก็ตอบรับข้อเรียกร้อง โดยวันศุกร์มีการลดวงเงินเข้าซื้อลงเหลือเพียง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ จากแผนที่วางไว้ที่ 4 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่วันจันทร์นี้จะดำเนินการเข้าซื้อที่ระดับเดิม

 

  • จับตาตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ 1. สหรัฐฯ ประกาศตัวเลขจำนวนบ้านที่รอขายประจำเดือนกุมภาพันธ์ (MoM) คาดหดตัวที่ -1.0% ขณะที่เดือนก่อนขยายตัวถึง 5.2% 2. ยุโรปประกาศตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนมีนาคม คาดหดตัวที่ -11.6 เช่นเดียวกับครั้งก่อน 3. เยอรมนีประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเบื้องต้น (MoM) ประจำเดือนมีนาคม คาดขยายตัวเหลือ 0.1% จากครั้งก่อนที่ 0.4% และขยายตัว (YoY) ระดับ 1.4% ลดลงจากระดับ 1.7%

 

สรุปภาพรวมตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

  • ดัชนี Dow Jones, S&P 500 และ Nasdaq ปรับตัวลงจากแรงกดดันของสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในสหรัฐฯ ซึ่งล่าสุดมีรายงานผู้ติดเชื้อมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้นที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยงออกมาจากความกังวลเรื่องภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นยุโรปที่ปรับตัวลงหลังผู้นำในสหภาพยุโรปไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และอาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยเร็วขึ้น

 

  • ราคาน้ำมันดิบปรับตัวร่วงแรงจากความกังวลที่ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันลดลงจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมไปถึงสงครามราคาน้ำมันระหว่างซาอุดีอาระเบียและรัสเซียที่ยังไม่มีท่าทีจะจบลง ส่งผลให้น้ำมันเริ่มล้นตลาด ด้านราคาทองคำปรับตัวลงจากแรงเทขายทำกำไรของนักลงทุนจากที่ก่อนหน้านี้ปรับตัวขึ้นมาแรง

 

สหรัฐฯ

  • Dow 30 อยู่ที่ 21,636.78 ลดลง 915.39 (-4.06%)
  • S&P 500 อยู่ที่ 2,541.47 ลดลง 88.6 (-3.37%)
  • Nasdaq อยู่ที่ 7,502.38 ลดลง 295.16 (-3.79%)

.

ยุโรป

  • DAX อยู่ที่ 9,632.52 ลดลง 368.44 (-3.68%)
  • FTSE 100 อยู่ที่ 5,511.25 ลดลง 304.48 (-5.24%)
  • Euro Stoxx 50 อยู่ที่ 2,728.65 ลดลง 119.13 (-4.18%)
  • FTSE MIB อยู่ที่ 16,822.59 ลดลง 546.79 (-3.15%)

 

เอเชีย

  • Nikkei 225 อยู่ที่ 18,660 ลดลง 729.43 (-3.76%)
  • S&P/ASX 200 อยู่ที่ 4,946.8 เพิ่มขึ้น 104.4 (+2.16%)
  • Shanghai อยู่ที่ 2,726.89 ลดลง 45.32 (-1.63%)
  • SZSE Component อยู่ที่ 10,109.91 ลดลง 0 (0%)
  • China A50 อยู่ที่ 12,520.24 ลดลง 146.75 (-1.16%)
  • Hang Seng อยู่ที่ 23,025 ลดลง 459.28 (-1.96%)
  • Taiwan Weighted อยู่ที่ 9,513.37 ลดลง 185.55 (-1.91%)
  • SET อยู่ที่ 1,099.76 เพิ่มขึ้น 7.8 (+0.71%)
  • KOSPI อยู่ที่ 1,677.29 ลดลง 40.44 (-2.35%)
  • IDX Composite อยู่ที่ 4,545.57 เพิ่มขึ้น 206.67 (+4.76%)
  • BSE Sensex อยู่ที่ 29,815.59 ลดลง 131.18 (-0.44%)
  • PSEi Composite อยู่ที่ 5,266.62 ลดลง 0 (0%)

 

Commodity

  • ราคาน้ำมันดิบ WTI อยู่ที่ 20.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง 0.99 (-4.6%)
  • ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ อยู่ที่ 26.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง 1.1 (-3.94%)
  • ราคาทองคำ อยู่ที่ 1654.65 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 0.55 (+0.03%)

FINNOMENA

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

อ้างอิง: 

  • Infoquest
  • Bloomberg
  • Investing
  • CNBC
  • Reuters
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising