- สหรัฐฯ และจีนบรรลุข้อตกลงการค้าเฟส 1 พร้อมยกเลิกขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน 15% โดยในข้อตกลงมีการปรับลดอัตราภาษีสินค้านำเข้าประเภท 4A จากเดิมที่ 15% เป็น 7.5% ขณะที่ทางการจีนตกลงที่จะนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ มูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดข้อตกลงเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การเปิดเสรีภาคการเงิน และการดูแลค่าเงินหยวน
- ตัวเลขค้าปลีกสหรัฐฯ เดือนพฤศจิกายนต่ำกว่าคาด โดยขยายตัวที่ 0.2% (MoM) จากที่คาดว่าจะขยายตัว 0.5% (MoM) ส่วนตัวเลขค้าปลีกพื้นฐาน (Core Retail Sales) ขยายตัวที่ 0.1% (MoM) ต่ำกว่าคาดว่าจะขยายตัวที่ 0.4% (MoM) อย่างไรก็ตาม ตลาดไม่ได้ตอบรับข่าวการประกาศตัวเลขดังกล่าว เนื่องจากให้ความสนใจต่อการเจรจาการค้า
- ติดตามดัชนี PMI สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น คืนนี้สถาบัน Markit มีกำหนดเปิดเผยดัชนี Manufacturing PMI ของสหรัฐฯ (เบื้องต้น) เดือนธันวาคม คาดออกมาที่ 52.6 จุด เท่ากับเดือนก่อนหน้า ส่วน Services PMI ของสหรัฐฯ (เบื้องต้น) เดือนธันวาคม คาดไว้ที่ 52.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกันนั้นมีการเปิดเผยดัชนี Manufacturing PMI ของยุโรป (เบื้องต้น) เดือนธันวาคม คาดเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 47.3 จุด ด้าน Services PMI ของยุโรป (เบื้องต้น) เดือนธันวาคม คาดไว้ที่ 52.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเช่นเดียวกับสหรัฐฯ ขณะที่ดัชนี Manufacturing PMI ของญี่ปุ่น (เบื้องต้น) เดือนธันวาคม อยู่ที่ระดับ 48.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 48.9 จุด
- สัปดาห์นี้ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยจะมีการประกาศตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.1% เท่ากับการประกาศครั้งก่อน ขณะเดียวกันมีกำหนดการประกาศตัวเลขตลาดอสังหาฯ โดยจะมีการเปิดเผยตัวเลข Building Permits เดือนพฤศจิกายน คาดออกมาที่ 1.4 ล้านหลัง ลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย พร้อมกันนั้นมีการเปิดเผยตัวเลข Housing Starts เดือนพฤศจิกายน คาดออกมาที่ 1.344 ล้านหลัง เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย
- Industrial Production ประเทศจีน เดือนพฤศจิกายนออกมาเกินคาด โดยขยายตัว 6.2% (YoY) ดีกว่าคาดที่ 5.0% (YoY) และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งขยายตัวที่ 4.7% (YoY) ส่วน Fixed Asset Investment เดือนพฤศจิกายน ออกมาขยายตัว 5.2% เท่ากับที่คาดไว้ และเท่ากับเดือนก่อนหน้า
สรุปภาพรวมตลาดวานนี้
- สหรัฐฯ กับจีนบรรลุข้อตกลงการค้าในเฟสแรกแล้ว หลังจากที่ยืดเยื้อมานาน ซึ่งช่วยให้ตลาดคลายกังวล ส่งผลให้ทั้งดัชนี Dow Jones, S&P500 และ Nasdaq ปรับตัวขึ้น สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นยุโรปที่ปรับตัวขึ้น จากความชัดเจนของ Brexit หลัง บอริส จอห์นสัน ได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยในการเลือกตั้งทั่วไป นักลงทุนเริ่มกลับมาลงทุนในหุ้นที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับที่จีนที่มีท่าทีชัดเจน ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกยังไม่ลดลง ขณะที่กลุ่ม OPEC ได้ลดกำลังผลิตไปแล้ว ด้านราคาทองคำปรับตัวขึ้นจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ รวมไปถึงอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรที่ลดลง ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยบางส่วน
สหรัฐฯ
- Dow 30 ปิดที่ 28135.38 เพิ่มขึ้น 3.33 (0.01%)
- S&P 500 ปิดที่ 3168.8 เพิ่มขึ้น 0.23 (0.01%)
- Nasdaq ปิดที่ 8734.88 เพิ่มขึ้น 17.56 (0.2%)
ยุโรป
- DAX ปิดที่ 13282.72 เพิ่มขึ้น 61.08 (0.46%)
- FTSE 100 ปิดที่ 7353.44 เพิ่มขึ้น 79.97 (1.1%)
- Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3731.07 เพิ่มขึ้น 24.72 (0.67%)
- FTSE MIB ปิดที่ 23329.33 ลดลง -61.62 (-0.26%)
เอเชีย
- Nikkei 225 ปิดที่ 24023.1 เพิ่มขึ้น 598.29 (2.55%)
- S&P/ASX 200 ปิดที่ 6739.7 เพิ่มขึ้น 30.9 (0.46%)
- Shanghai ปิดที่ 2967.68 เพิ่มขึ้น 51.98 (1.78%)
- SZSE Component ปิดที่ 10004.62 เพิ่มขึ้น 168.39 (1.71%)
- China A50 ปิดที่ 14093.58 เพิ่มขึ้น 303.72 (2.2%)
- Hang Seng ปิดที่ 27687.76 เพิ่มขึ้น 693.62 (2.57%)
- Taiwan Weighted ปิดที่ 11927.73 เพิ่มขึ้น 91.31 (0.77%)
- SET ปิดที่ 1573.91 เพิ่มขึ้น 10.06 (0.64%)
- KOSPI ปิดที่ 2170.25 เพิ่มขึ้น 32.9 (1.54%)
- IDX Composite ปิดที่ 6197.32 เพิ่มขึ้น 57.92 (0.94%)
- BSE Sensex ปิดที่ 41009.71 เพิ่มขึ้น 428 (1.05%)
- PSEi Composite ปิดที่ 7877.63 เพิ่มขึ้น 136.56 (1.76%)
Commodity
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 59.98 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.74 (1.24%)
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปิดที่ 64.93 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.73 (1.14%)
- ราคาทองคำปิดที่ 1480.2 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 7.9 (0.54%)
พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า
อ้างอิง:
- Infoquest
- Bloomberg
- Investing
- CNBC
- Reuters