×

55 ปีที่อยู่คู่สังคมไทย: GSK กับนวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

โดย THE STANDARD TEAM
12.12.2019
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

3 Mins. Read
  • GSK หรือแกล็กโซสมิทไคล์น เชื่อว่า ไม่มีใครอยากเจ็บป่วยและต้องใช้ยา ดังนั้น หน้าที่ขององค์กรคือ การผลิตวัคซีนที่ช่วยป้องกันโรคร้าย หรือเมื่อเจ็บป่วยและจำเป็นต้องใช้ยาแล้ว ก็ต้องมอบยาดีมีคุณภาพที่เข้าถึงได้ และช่วยรักษาให้หายได้จริง
  • การคิดค้นวิจัยนวัตกรรมยาและวัคซีนช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ทั้งในแง่ของสุขภาพ การป้องกันโรค ลดการสูญเสียชีวิต และลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษา
  • GSK ไม่เป็นเพียงองค์กรที่คิดค้นวิจัยนวัตกรรมยาและวัคซีนระดับโลกเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับพนักงาน ด้วยการสร้างบรรยากาศการทำงานที่เต็มไปด้วยพลังบวก ด้วยตระหนักว่า องค์กรนั้นจะขับเคลื่อนไปได้ก็ด้วยคนในองค์กร องค์กรจะประสบความสําเร็จขึ้นอยู่กับพนักงาน และหากพนักงานทำงานอย่างมีความสุข องค์กรจะเจริญเติบโตไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ สำหรับ GSK คือการช่วยให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง และอายุยืนยาว 

‘ยา’ เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และทำให้ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น ‘นวัตกรรมทางการแพทย์’ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรได้รับการสนับสนุน เพื่อความก้าวหน้าในการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตของเราทุกคน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า กว่าจะได้มาซึ่งยาหรือวัคซีนแต่ละตัว นักวิทยาศาสตร์ต้องพบเจอกับความล้มเหลวมากี่ร้อยกี่พันครั้ง พวกเขาอาจต้องใช้เวลานานนับสิบๆ ปี ในความพยายามค้นคิดสสารสักตัวที่จะสามารถนำมาผลิตเป็นยารักษาโรคให้กับเราได้

 

“ทุกวันนี้เราจะเห็นว่า คนต้องป่วยก่อนแล้วถึงจะรักษา แต่ในอนาคตเราอาจค้นพบวิธีป้องกันโรคบางโรคได้เลยตั้งแต่ก่อนจะเป็น ในเมื่อพวกเรามีโอกาสที่จะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของทุกคนดีขึ้นได้ ช่วยลดการเสียชีวิตลงได้ แล้วทำไมเราจะไม่ทำ” 

 

 

คุณวิริยะ จงไพศาล ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK บอกกับเราเมื่อตอบคำถามถึงความสำคัญของนวัตกรรมการผลิตยาและวัคซีน ก่อนจะเสริมอีกว่า การคิดค้นพัฒนาสิ่งเหล่านี้ช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ทั้งในแง่ของสุขภาพ การลดการสูญเสีย และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งการพัฒนายาและวัคซีนนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากขาดเทคโนโลยี นวัตกรรม บุคลากร และการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐ และเอกชนในด้านต่างๆ เนื่องจากการคิดค้นวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งยาหรือวัคซีนสักตัวหนึ่ง จำเป็นต้องมีการลงทุนอย่างมหาศาล ทั้งในเรื่องของเวลา บุคลากร และค่าใช้จ่าย 

 

โดยประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศในเขตร้อน มีความชุกของโรคที่แตกต่างจากประเทศในแถบอื่น ทำให้ต้องมีการทดลองวิจัยค้นคว้ายาและวัคซีนที่ใช้รักษาโรคที่แพร่ระบาดในเขตร้อนโดยเฉพาะ เช่น ยาและวัคซีนสำหรับไข้กาฬหลังแอ่น และมาลาเรีย นอกจากนั้นประเทศไทยยังมีการแพร่ระบาดของวัณโรค สืบเนื่องมาจากปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะ การคิดค้นวิจัยเพื่อค้นหายาและวัคซีนใหม่ๆ ที่จะป้องกันวัณโรคได้ จึงมีความสำคัญ

 

GSK ได้ร่วมมือพัฒนาวัคซีนนวัตกรรมกับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และองค์กรเอกชน มากกว่า 150 แห่งทั่วโลก โดยในประเทศไทยได้ร่วมมือกับนักวิจัยและหลายสถาบัน เพื่อวิจัยวัคซีนมากกว่า 50 โครงการ เช่น วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโรต้าที่เป็นสาเหตุของโรคท้องร่วง วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV (Human papilloma virus) ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก วัคซีน RSV (Respiratory syncytial virus) ซึ่งก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจในเด็กเล็ก ตลอดจนวัคซีนป้องกันวัณโรค โรคไข้กาฬหลังแอ่น และมาลาเรีย

 

ในการร่วมภาคีกับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี GSK ได้นำเข้าองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเพื่อสร้างบุคลากร การวิจัย และส่งเสริมการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน อันจะก่อให้เกิดรายได้เข้าประเทศ และทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง การสร้างนวัตกรรมต้องอาศัยความพยายามและความเข้าใจ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อเชื่อมต่อประเทศไทยกับ Global Value Chain โดยนำเอาความต้องการระดับโลก หรือ Global Demand ด้านนวัตกรรมการดูแลรักษาโรคของผู้บริโภคเป็นตัวตั้ง

 

GSK

 

การคิดค้นยาคือการค้นหาความสำเร็จ แม้ความหวังจะเป็นเพียงหนึ่งในร้อย

“ปัจจุบันหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเองกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) การพัฒนาด้านการแพทย์จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้สูงอายุต้องการอยู่ได้อย่างแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข ไม่เป็นภาระของผู้อื่น และยังคงสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมและคนรอบข้างได้ นวัตกรรมยาและวัคซีนต่างๆ จึงเป็นอีกตัวช่วยที่จะทำให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง และอายุยืนยาวขึ้น

 

“ในเวลานี้วงการยาและวัคซีนนวัตกรรมระดับโลกได้เดินทางมาไกลมาก หากการค้นคว้าวิจัยเพื่อค้นหาสิ่งใหม่ๆ ก็ยังหยุดไม่ได้ GSK สำนักงานใหญ่ได้ร่วมมือกับหลายบริษัท เพื่อหาแนวทางป้องกันรักษาโรคด้วยวิธีใหม่ๆ อย่างการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น ไบโออิเล็กทรอนิกส์ (Bioelectronics) ซึ่งเป็นการผสมผสานความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์เข้ากับด้านชีวภาพ เพื่อเกิดเป็นวิธีรักษาผู้ป่วยที่ได้ผลดีขึ้น หรือการพัฒนาวัคซีนแบบย้อนกลับ (Reverse Vaccinology) ที่ผสมผสานความรู้ด้านฐานข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ (Bioinformatics) กับความรู้ด้านชีวภาพ ที่ทำให้การคิดค้นวัคซีนแม่นยำและรวดเร็วขึ้น และช่วยให้เราค้นพบว่า มีโรคใดบ้างที่อาจสามารถป้องกันได้ตั้งแต่ต้นทาง

 

“เทคโนโลยีต่างๆ ที่กล่าวถึงเป็นเรื่องใหม่ๆ ที่เราพยายามมองหาและค้นคว้าพัฒนาให้เกิดขึ้นจริง เพื่อทำให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีสุขภาพแข็งแรง แม้การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ในแต่ละครั้งจะยากลำบากและมีต้นทุนมหาศาล เราอาจพูดได้ว่า GSK นั้นคุ้นเคยกับความผิดหวังและความล้มเหลวมากกว่าความสำเร็จ แต่กระนั้น หากจุดหมายปลายทางที่ผ่านความล้มเหลวนับร้อยนับพันครั้ง จะมีความสำเร็จเพียงแค่ครั้งเดียว เราก็เชื่อว่า คุ้มค่าแล้ว”

 

“พวกเราพยายามมองหาความสำเร็จหนึ่งเดียวนั้น

เพื่อทำให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี และสามารถดูแลคนรอบตัวได้เช่นกัน”

 

GSK

 

ยาที่ดีจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อประชาชนสามารถเข้าถึงได้

“บริษัท GSK อยู่คู่สังคมไทยและคนไทยมากว่า 55 ปี มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เรายังคงทำอยู่อย่างต่อเนื่อง ด้วยอุดมการณ์และความมุ่งมั่นที่ต้องการให้คนไทยเข้าถึงยาดี มีคุณภาพได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเราเข้าใจว่า ทุกคนที่จำเป็นต้องใช้ยาก็เพราะอยากหายจากความเจ็บป่วย แต่เราก็ไม่ต้องการให้คนใช้ยาหากไม่จำเป็นเช่นกัน ดังนั้น หน้าที่ของเราคือ การมอบยาคุณภาพที่ช่วยรักษาให้หายได้จริง นี่คือจุดมุ่งหมายขององค์กร จึงเป็นที่มาของคำว่า ‘ยาดี เข้าถึงได้’ หรือ Access to Medicines ซึ่งนโยบายที่บริษัทใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานต่างๆ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับคนไทย ด้วยการลงมือทำอย่างจริงจังผ่านหลายๆ โครงการที่เราเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กรหรือหน่วยงานและคนในชุมชนมาตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา” 

 

การแก้ไขปัญหาสุขภาพให้คนในสังคม คุณวิริยะมองว่า ต้องเกิดจากการให้องค์ความรู้ และทำให้ประชาชนได้มีโอกาสรับยาที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง GSK จึงได้ทำโครงการเพื่อสังคม เช่น ‘GSK ธนาคารยาเพื่อบรรเทาทุกข์’ ซึ่งเป็นการร่วมมือกับสำนักบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อเข้าไปดูแลประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ที่เข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ยากลำบาก โครงการนี้พนักงานของบริษัทได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วยทุกปี จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่สร้างความภาคภูมิใจให้ทุกคน เพราะพนักงานได้ใช้ความรู้ทางการแพทย์ พยาบาล และเภสัชกรรม ที่ร่ำเรียนมา เพื่อช่วยเหลือสังคม นอกจากนี้ GSK ก็มีโครงการทุนการศึกษา ‘พยาบาลเพื่อชุมชน’ ร่วมกับสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ที่มอบทุนสนับสนุนให้นักเรียนพยาบาลผู้ยากไร้มากว่า 20 ปี โดยเมื่อหลังจบการศึกษาแล้ว นักเรียนสามารถนำความรู้กลับไปดูแลชุมชนของตนเองในถิ่นทุรกันดาร 

 

กิจกรรมเหล่านี้ GSK ได้ทำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปี ทำให้องค์กรได้รับการชื่นชมยอมรับผ่านรางวัลที่สะท้อนความตั้งใจมากมาย ล่าสุดคือรางวัล ‘องค์กรที่มีผลงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมดีเด่น (Corporate Social Responsibility Excellence Awards) ประจำปี 2562’ จากหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย (American Chamber of Commerce or AMCHAM) รางวัลที่ได้รับในปีนี้เป็นระดับแพลตตินัม อันเป็นระดับสูงสุด เนื่องจากบริษัทได้รับรางวัลต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 10 ซึ่งตอกย้ำอุดมการณ์และความมุ่งมั่นของ GSK ในการส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดี

 

GSK GSK

 

อีกสิ่งหนึ่งที่องค์กรให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการทุ่มเทค้นคว้าเพื่อพัฒนายานวัตกรรมก็คือ เรื่องของ ‘บุคลากร’ แม้ GSK จะเป็นบริษัทที่เน้นการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แต่เรารู้สึกแปลกใจเป็นอย่างมากที่บรรยากาศในออฟฟิศแห่งนี้กลับมีชีวิตชีวาและไม่ตึงเครียดอย่างที่คาดไว้

 

คุณวิริยะเล่าว่า สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ GSK เป็นองค์กรที่ทันสมัย (Modern Employer) โดยมีหลักการ 3 ข้อในการสร้างความสุขให้กับพนักงาน ข้อแรกคือ ‘Be You’ ที่สนับสนุนให้พนักงานเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ และส่งเสริมความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเพศ เชื้อชาติ ศาสนาใด รวมถึงผู้พิการ ทำให้ทุกคนในองค์กรมีความเคารพซึ่งกันและกัน บรรยากาศการทำงานจึงสัมผัสได้แต่พลังบวก ข้อต่อมาคือ ‘Feel Good’ คือการส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีทั้งกายใจ ซึ่งส่งผลให้ทุกคนมีความสุขกับการทำงาน และมีพลังที่จะแสดงความสามารถออกมาอย่างเต็มที่ ข้อสุดท้ายคือ ‘Keep Growing’ การสนับสนุนให้พนักงานเกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพราะเราเชื่อว่า เมื่อพนักงานเติบโต องค์กรก็จะเติบโตเช่นกัน

 

การให้ความสำคัญกับพนักงานในบริษัทเป็นการสร้างความเข้มแข็งจากภายในสู่ภายนอก ซึ่งส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการอย่างแข็งแกร่ง และสามารถทำหน้าที่ดูแลสุขภาพและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้คนในสังคม  

FYI
  • บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศอังกฤษ และมีเครือข่ายการดำเนินงานด้านต่างๆ เช่น การวิจัย ค้นคว้า และพัฒนา โรงงานผลิต และฝ่ายการตลาด กระจายอยู่ใน 150 ประเทศทั่วโลก
  • GSK เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในระดับสากล ในความเป็นผู้นำด้านเวชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคหลายชนิด โดยแบ่งเป็น 3 ธุรกิจหลัก คือ ยานวัตกรรม วัคซีนนวัตกรรม และผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพที่หลายคนคุ้นเคยกันดี เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์เซ็นโซดายน์ คลีนเซอร์ล้างหน้าแอคเน่-เอด และผลิตภัณฑ์ดูแลฟันปลอมโพลิเดนท์
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X