×

เสียงไวโอลินสิ้น เช่นเดียวกับการประท้วงโค่นล้มรัฐบาลเวเนซุเอลา

05.09.2017
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

2 mins read
  • วูอิลลี อาร์เตอากา วัย 23 ปี เพิ่งถูกปล่อยตัวจากโทษจำคุก 3 สัปดาห์ ที่เขาถูกลงโทษจากการประท้วง เพียงเพื่อจะออกมาพบความจริงที่ว่าบนถนนไม่มีผู้คนร่วมอุดมการณ์อีกต่อไปแล้ว เช่นเดียวกับบทเพลงของเขาที่ตายไปพร้อมกัน
  • การนองเลือดนำมาสู่ความสูญเสียชีวิตประชาชน 125 ราย ผู้คนบาดเจ็บหลายพันราย และในขณะเดียวกัน ผู้คนนับพันๆ ถูกโยนเข้าคุก
  • “ถึงทุกคนที่อยู่ข้างใน ผมยังไม่กล้าพอที่จะบอกพวกคุณว่า ไม่มีใครออกมาบนถนนอีกต่อไปแล้ว” มือไวโอลินกล่าว “ผมไม่อยากให้พวกเขาพบเจอความจริงอย่างที่ผมได้เห็นตอนออกจากคุกเพราะมันเจ็บปวดเกินทนไหว”

     ภาพชายยืนเล่นไวโอลินท่ามกลางควันจากแก๊สน้ำตาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงเพื่อโค่นล้มรัฐบาลเวเนซุเอลา

     ผู้บรรเลงไวโอลินท่ามกลางการนองเลือด วูอิลลี อาร์เตอากา วัย 23 ปี เพิ่งถูกปล่อยตัวจากโทษจำคุก 3 สัปดาห์ ที่เขาถูกลงโทษจากการประท้วง เพียงเพื่อจะออกมาพบความจริงที่ว่าบนถนนไม่มีผู้คนร่วมอุดมการณ์อีกต่อไปแล้ว เช่นเดียวกับบทเพลงของเขาที่ตายไปพร้อมกัน

 

Photo: CARLOS BECERRA/AFP

     “ตอนที่ผมออกมาจากคุก ถนนกลับว่างเปล่า ผู้คนเดินไปมาราวกลับไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเลย” อาร์เตอากา เผยความรู้สึกว่าภาพที่เห็นได้สร้างความปวดร้าว หลังครั้งหนึ่งถนนหลายสายเคยเต็มไปด้วยการปะทะระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายผู้ประท้วง

     หลังปฏิบัติการบนท้องถนนนับ 4 เดือนเพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร ลงจากตำแหน่ง ผู้เข้าร่วมเริ่มถอดใจและผิดหวังต่อตัวแกนนำ ไม่เพียงแค่ความรู้สึกเท่านั้น แต่ความเหนื่อยล้า ปืนฉีดน้ำ และแก๊สน้ำตาได้มาพรากความฝันนี้ไปจากพวกเขา

 

Photo: FEDERICO PARRA/AFP

     การนองเลือดนำมาสู่ความสูญเสียชีวิตประชาชน 125 ราย ผู้คนบาดเจ็บหลายพันราย และในขณะเดียวกัน ผู้คนนับพันๆ ถูกโยนเข้าคุก

     “ถึงทุกคนที่อยู่ข้างใน ผมยังไม่กล้าพอที่จะบอกพวกคุณว่า ไม่มีใครออกมาบนถนนอีกต่อไปแล้ว” มือไวโอลินกล่าว “ผมไม่อยากให้พวกเขาพบเจอความจริงอย่างที่ผมได้เห็นตอนออกจากคุกเพราะมันเจ็บปวดเกินทนไหว”

 

ทำนองชีวิตของชายผู้ติดไวโอลิน

     อาร์เตอากา เริ่มมีความสนใจในดนตรีตั้งแต่วัย 9 ขวบเมื่อครั้งพ่อแม่พาเขาไปที่โบสถ์แห่งหนึ่ง ภายหลังเขาตัดสินใจย้ายเข้ากรุงการากัสในปี 2015 ที่ที่เขากลายเป็นวณิพกบนท้องถนนและสถานีรถไฟใต้ดิน จนกระทั่งเขาได้ร่วมวงออร์เคสตราการากัสยูธ

     “สองปีหลังย้ายมาอยู่เมืองหลวง วงออร์เคสตราของผมก็เริ่มมีปัญหาการเมืองภายใน วงถูกผูกมัดให้ไปเล่นตามงานที่มาดูโรกล่าวปาถกฐา”

     อาร์เตอากา เปิดเผยอีกว่า “ผมเริ่มเห็นว่ามันปลอมมากๆ เพราะทุกคนก็นินทามาดูโรตอนซ้อมวง แต่กลับยิ้มแย้มได้เวลาเขามาทักทายนักดนตรี”

 

Photo: FEDERICO PARRA/AFP

     นักไวโอลินรายนี้ตัดสินใจเข้าร่วมการประท้วงหลัง อาร์มันโด คานิซาเลส นักไวโอลินอีกรายหนึ่งเสียชีวิตในการประท้วง จนกระทั่งชื่อเสียงของ อาร์เตอากา เริ่มปรากฏ รัฐบาลตระหนักถึงภัยคุกคามในฐานะสัญลักษณ์การประท้วงจนออกมากล่าวหาว่าเขาสนับสนุนความรุนแรง

     “ผมไม่เคยสนับสนุนความรุนแรง ทุกอย่างที่ผมทำลงไปก็เพื่อให้ประเทศดีขึ้น” ชายหนุ่มวัย 23 ปีย้ำถึงเจตนารมณ์ในการประท้วงผ่านเสียงดนตรีที่สิ้นสุดลง

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X