×

โปรดเกล้าฯ ‘พ.ร.บ. ตำรวจ’ เปิดทางเอาผิดวินัยตำรวจ แม้ออกจากราชการแล้ว

โดย THE STANDARD TEAM
07.04.2019
  • LOADING...
Police Act

ราชกิจจานุเบกษาประกาศพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562

 

สรุปสาระสำคัญคือ เปิดทางให้สามารถสอบสวนเอาผิดทางวินัยกับข้าราชการตำรวจ ซึ่งแม้จะลาออกไปแล้ว แต่หากกระทำความผิดอาญาระหว่างรับราชการ ก็สามารถดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ต้องส่ังลงโทษภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ผู้น้ันออกจากราชการ

 

“มาตรา 94 ข้าราชการตำรวจผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย มีกรณีถูกกล่าวหา เป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า ขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือต่อผู้มีหน้าท่ีสืบสวนสอบสวน หรือตรวจสอบตามกฎหมาย หรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่า ในขณะรับราชการได้กระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการ หรือความผิดลหุโทษ

 

“ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา ดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษ ตามที่บัญญัติไว้ในหมวดน้ีต่อไปได้เสมือนว่า ผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ต้องส่ังลงโทษภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ผู้น้ันออกจากราชการ

 

“กรณีตามวรรคหน่ึง ถ้าเป็นการกล่าวหา หรือฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาคดีอาญา หลังจากที่ข้าราชการตำรวจผู้ใดออกจากราชการแล้ว ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัย มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามท่ีบัญญัติไว้ในหมวดน้ีต่อไปได้เสมือนว่า ผู้น้ันยังมิได้ออกจากราชการ โดยต้องเริ่มดำเนินการสอบสวนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้น้ันออกจากราชการ และต้องสั่งลงโทษภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ผู้น้ันออกจากราชการ

 

“สำหรับกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามมาตรา 87 วรรคสาม จะต้องสั่งลงโทษภายใน 3 ปี นับแต่วันท่ีผู้น้ันออกจากราชการ

 

“ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคำส่ังลงโทษ หรือองค์กรพิจารณาอุทธรณ์ คำสั่งลงโทษทางวินัย หรือองค์กรตรวจสอบรายงานการดำเนินการทางวินัย มีคำวินิจฉัยถึงที่สุด หรือมีมติให้เพิกถอนคำส่ังลงโทษตามวรรคหน่ึงหรือวรรคสอง เพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยดำเนินการทางวินัยให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงท่ีสุด หรือมีคำวินิจฉัยถึงที่สุด หรือมีมติ แล้วแต่กรณี

 

“การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่า ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ

 

“ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ข้าราขการตำรวจ ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามมาตรา 95

 

“มาตรา 94/1 ในกรณีท่ีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ มีมติชี้มูลความผิดข้าราชการตำรวจผู้ใด ซึ่งออกจากราชการแล้ว การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษแก่ข้าราชการตำรวจผู้น้ันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แล้วแต่กรณี การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหน่ึง หากปรากฏว่า ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ก็ให้งดโทษ”

 

สำหรับเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ ปัจจุบันปรากฏปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่างๆ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม และไม่เสมอภาคในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการไปแล้ว

 

นอกจากน้ียังมีปัญหาความแตกต่างระหว่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือน กับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต ซึ่งทำให้การดำเนินการทางวินัย เพื่อพิจารณาลงโทษแก่ข้าราชการที่ถูกองค์กรตรวจสอบการทุจริตชี้มูลความผิดหลังออกจากราชการไปแล้วในบางกรณี ไม่อาจดำเนินการตามฐานความผิดท่ีชี้มูลได้

 

ดังนั้นสมควรให้การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ซึ่งออกจากราชการเป็นมาตรฐานเดียวกัน และสอดคล้องกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต อันจะเป็นกลไกหน่ึงที่ทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X