×

เปิดประสบการณ์ใหม่ของคอนโดมิเนียมกลางเมือง ที่ความหรูหราคือเวลาและชีวิตที่ออกแบบเองได้ [Advertorial]

20.07.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • SALADAENG ONE คอนโดมิเนียม Super Luxury กลางใจเมือง โดย SC Asset หนึ่งในโครงการ Limited Luxury Collection ที่มอบความเป็น The One ในทุกรายละเอียดด้วยความประณีตและความใส่ใจ  
  • 21-22 กรกฎาคมนี้ SALADAENG ONE พร้อมมอบประสบการณ์ใหม่ เชิญชม ‘ห้องตัวอย่างที่มีชีวิต’ เป็นครั้งแรก โดย Experience Designer คุณปราง-จิตราภา เลิศทวีวิทย์ นักออกแบบประสบการณ์มืออาชีพ เพื่อช่วยให้การเลือกที่พักอาศัยเป็นไปอย่างถูกต้องตรงใจที่สุด
  • Healthiness, Success และ Multi Generation คือของขวัญสามสิ่งที่มนุษย์ต้องการ และ SALADAENG ONE มอบให้ด้วยความใส่ใจ

ที่พักอาศัยที่เป็น The One That Matters หนึ่งเดียวที่มีค่ามีความหมายกว่าสิ่งใดๆเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของชีวิตมนุษย์ ซึ่งหากจะเลือกสักครั้ง ก็อยากจะแน่ใจว่าเลือกได้ถูกต้องที่สุด

 

SALADAENG ONE อาคารสูงทรงสวย แปลกตาด้วยการออกแบบในลักษณะ Horizontal Design ที่มองคล้ายชั้นหินเรียงตัวสลับหนาและบางอย่างมีชั้นเชิง คือคอนโดมิเนียมแบบฟรีโฮลด์ Super Luxury แห่งใหม่ โดย SC Asset ตั้งตระหง่านอยู่กลางซอยศาลาแดง 1 ที่ฟากตรงข้ามคือสวนลุมพินี โอเอซิสสีเขียวครึ้มขนาดใหญ่กลางใจเมือง โดยรอบคือสีสันของมหานคร ที่ผสมผสานทั้งเมืองธุรกิจ และเมืองที่รุ่มรวยด้วยเสน่ห์ทางวัฒนธรรม

 

 

ด้วยสายตาที่ยาวไกลและเข้าใจความสำคัญที่อสังหาริมทรัพย์มีต่อผู้คน SC Asset จึงเลือกจะทิ้งวิธีการนำเสนอโครงการแบบเดิมๆ เปลี่ยนมาเป็นการมอบ ‘ประสบการณ์’ ที่มีชีวิต จริงใจ รู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง และเป็นประสบการณ์แบบองค์รวมที่จะเกิดขึ้นก่อนจะก้าวเข้าสู่ SALADAENG ONE เสียด้วยซ้ำ โดยยกหน้าที่นี้ให้กับ คุณปราง-จิตราภา เลิศทวีวิทย์ นักออกแบบประสบการณ์ หรือ Experience Designer ผู้ก่อตั้ง Another New Design Studio ที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ในปี 2554 และเป็นเจ้าของผลงานออกแบบจากโจทย์ที่หลากหลาย ซึ่งผลลัพธ์ไม่ใช่สิ่งของ แต่เป็นประสบการณ์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ เธอผ่านมาแล้วทั้งการออกแบบเครื่องประดับกับวิศวกรรมเนื้อเยื่อ จิตสังคมกับความทรงจำจากกลิ่น นิเวศวิทยาชุมชนเมืองกับวัฒนธรรมความตาย หรือแม้กระทั่งประสบการณ์การรับประทานอาหารที่ผสานเทคโนโลยีไว้ด้วยกัน เพื่อเปิดมุมมองใหม่ด้านอาหารในบริบทที่กว้างขึ้น     

 

 

ก่อนจะลงลึกถึงบทบาท ‘นักออกแบบประสบการณ์’ ที่คุณปรางมีต่อ SALADAENG ONE เธอย้อนเล่าถึงชีวิตก่อนหน้าจะมาทำงานที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องใหม่ และฟังไม่คุ้นหูนักในสังคมไทย ซึ่งเธอไปร่ำเรียนมาไกลถึงประเทศสวีเดน จนจบปริญญาโท Master of Fine Arts in Experience Design จากสถาบันคอนสต์แฟ็ค (Konstfack) กรุงสตอกโฮล์ม  

 

 

“ตอนปริญญาตรีปรางเรียนด้าน Industrial Design ค่ะ พอเรียนจบก็ทำงานแบรนดิ้ง สาย Strategy ซึ่งเป็นส่วนที่กระตุ้นการบริโภคอย่างมาก เพราะว่ามันคือการผลิตของใหม่เพื่อให้คนมาซื้อ เราต้องไปดึงเอา Resources จากในโลกมาเพื่อผลิตของที่มีอายุสั้นมาก ที่อีกไม่นานก็กลายเป็นขยะ ซึ่งสิ่งพวกนั้นไม่ได้ทำให้เราเกิดความสุขที่แท้จริง เราคิดว่าการบริโภครูปแบบนี้มันไม่ยั่งยืน เลยอยากออกแบบสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่มีความหมายและวัดได้ว่าคนนี้จ่ายเงินไปเพื่อสิ่งนี้ เขาได้รับประสบการณ์ ตัวตน Identity ของคนเกิดจากประสบการณ์ เป็นสิ่งที่เราใช้จ่ายเพื่อให้ได้รับประสบการณ์นั้น เช่น เราใช้เงินกับการไปเที่ยว เราได้ Perspective ใหม่ๆ จากการเดินทาง มันต่างจากการที่เราเอาเงินไปซื้อรองเท้า ซื้อเสื้อผ้าที่ไม่นานก็ต้องทิ้ง”

 

“ปรางก็เลยไปเรียนต่อ เราชอบแนวคิดแบบสแกนดิเนเวีย เขาเป็นประเทศที่พัฒนาแต่ในขณะเดียวกันก็มีสมดุลชีวิต คือ ในขณะที่เป็นคนเมือง คนเขาก็ยังเข้าป่า ไปปิกนิก ว่ายน้ำในทะเลสาบ และเราก็ชอบแนวคิด Scandinavian Design ก็เลยเริ่มหาว่ามีอะไรที่น่าเรียนจากตรงนั้น”

 

เมื่อถามถึงกระบวนการคิดและวิธีการทำงาน คุณปรางเล่าผ่านการทำงานในโครงการ SALADAENG ONE โดยอธิบายว่าการออกแบบประสบการณ์นั้นเกี่ยวพันกับคนและช่วงเวลาเป็นสำคัญ

 

“การออกแบบประสบการณ์ คือการที่เรามองว่าอยากให้ประสบการณ์แบบไหนเกิดขึ้น เราพูดถึง Perception (การรับรู้) และ Behavior (พฤติกรรม) ในฐานะที่เป็นเป้าหมาย เป็นวัตถุประสงค์ เพื่อให้คนที่มีแบ็กกราวด์ต่างกันสามารถรับรู้และมีพฤติกรรมในทางที่เราต้องการได้ โดยใช้วิธีแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary Design) อธิบายง่ายๆ คือการคิดแบบใช้หลายศาสตร์เข้าด้วยกัน เพราะเวลาออกแบบ เราไม่ได้ใช้เพียงมีเดียเดียว ไม่เหมือนคนออกแบบสวน ออกแบบผังเมือง ที่มีความชัดว่าอะไรที่เป็นมีเดีย แต่การออกแบบประสบการณ์ เราใช้มีเดียต่างกันในโจทย์ที่ต่างกัน”

 

“ประสบการณ์ของคนแต่ละคนเกิดจากสิ่งรอบตัว ถ้าเราเปลี่ยนองค์ประกอบที่ล้อมรอบก็จะทำให้คนมีประสบการณ์ไปในแบบที่เราต้องการได้ เพราะฉะนั้น ในการออกแบบประสบการณ์ คนจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักต่อผลของการออกแบบ เราจึงต้องเข้าใจว่า Audience ของเราเป็นใคร ต้องใช้ Design Thinking แบบไหน จากนั้นปรางก็จะดูว่า จุดเริ่มต้นของประสบการณ์นั้นควรอยู่ที่ไหน อย่างจุดเริ่มต้นของ SALADAENG ONE ความรู้สึกไม่ได้เริ่มตอนที่คนเดินเข้ามาเป็นครั้งแรก แต่มันเริ่มตั้งแต่ที่เขาได้ยินว่าที่นี่เป็นอย่างไร และเขามีความรู้สึกอย่างไร และเขาคิดและมีความคาดหวังอย่างไร แล้วเมื่อมาเจอจริง ที่นี่ตอบสิ่งที่คิดหรือไม่ จนเขาออกไปประสบการณ์ก็ยังไม่จบ เพราะเขายังเอาไปพูดต่อกับเพื่อนได้ เขาลงรูปในโซเชียลมีเดีย มีคนมาคอมเมนต์ ช่วงเวลา (Duration) ที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์นั้นคือสิ่งที่เรานำมาออกแบบได้ กำหนดได้ว่าให้เริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อไร และภายในช่วงเวลานั้น เราใส่อะไรเข้าไปตรงไหนได้”

 

 

SALADAENG ONE เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นภายใต้แนวคิด The One That Matters คือสิ่งที่มีความหมายมากที่สุด สะท้อนถึงความพิถีพิถันทุกองค์ประกอบของคอนโดมิเนียมที่รูปลักษณ์เทียบเท่าได้กับผลงานศิลปะเรียบโก้ และเหนือกาลเวลา ซึ่งคุณปรางออกแบบประสบการณ์ให้ผู้เข้าชมโครงการเข้าถึงแก่นที่ลุ่มลึกได้อย่างน่าสนใจ และถือเป็นมิติใหม่ของการนำเสนอที่พักอาศัย แบบที่ไม่เคยมีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใดเคยทำมาก่อน

 

 

“ปกติแล้วในงาน Grand Opening ผู้ที่สนใจก็จะเข้ามาดูห้องตัวอย่าง โดยมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายคอยบอกรายละเอียด ซึ่งเป็นสิ่งที่ปรางคิดว่าควรจะเปลี่ยน สำหรับคนที่ต้องการอยู่อาศัยนาน เป็น The One That Matters เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความหมายและต้องเก็บรักษาไว้ อยากซื้อด้วยความภูมิใจ และอยู่กับมันไปโดยไม่เบื่อ ก็ต้องมีความรู้สึกผูกพันเยอะ สิ่งที่เราทำคือ ถ้าเขาพักอยู่ที่นี่แล้วเพื่อนเขามาหา เขาอยากจะโชว์ส่วนไหนของที่แห่งนี้ให้เพื่อนดู ตรงไหนที่เขาภูมิใจ นั่นต่างหากคือสิ่งที่ควรบอกผู้ที่มาชม เพราะมันคือสิ่งที่เขาให้ความสำคัญ นี่คือเรื่องของการรับรู้ที่เราสามารถใช้ประสบการณ์มาออกแบบ เพื่อช่วยให้คนที่เข้ามาชมได้รู้สึกถึงข้อดีในการอยู่ที่นี่ ไม่ใช่แค่รับทราบ แต่ว่ารู้สึกด้วย”

 

“นี่จึงเป็นที่มาของการออกแบบรายละเอียดการชมห้องตัวอย่างใหม่ทั้งหมด ซึ่งปรางคิดว่าทาง SC Asset ก็ตื่นเต้นนะคะ เพราะก็เป็นเรื่องใหม่สำหรับเขาเหมือนกัน ทาง SC Asset ก็คิดว่าแนวทางนี้มีประโยชน์ต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด เพราะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการใส่ใจความรู้สึกความเป็นอยู่ของคน คนที่มองหาที่อยู่ก็จะได้รับประสบการณ์มากขึ้น และจะเป็นประสบการณ์จริงๆ ที่เขาจะได้รับเมื่อเข้ามาอยู่ที่นี่ เขาสามารถรู้สึกถึงมันได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ปรางคิดว่ามันเหมือนกับการซื้อเสื้อโดยได้ลองใส่กับไม่ได้ลองใส่ค่ะ เราสร้างช่วงเวลานั้นให้เขารู้สึกถึงมันได้  เหมือนเราช่วยแมตช์คนให้เจอกับอสังหาฯ ที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของเขาจริงๆ”

 

 

เมื่อถามถึงประสบการณ์ที่คุณปรางกลั่นกรองจากองค์ประกอบต่างๆ ของ SALADAENG ONE มาออกแบบและนำเสนอในวันงานเปิดตัวที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ นักออกแบบประสบการณ์สาวอธิบายว่า

 

“ย่านศาลาแดงคือที่ที่เฮลตี้สุดๆ เพราะสวนลุมพินีก็อยู่ตรงข้ามนี้เอง นี่คือเบเนฟิตของคนที่มาอยู่ตรงนี้ สุขภาพเขาอาจจะแข็งแรงขึ้น และตรงนี้ยังเป็นย่านธุรกิจ และมีสถาบันการศึกษาชั้นนำ เราคิดว่าตรงนี้เป็นเรื่องของความสำเร็จในทุกระดับ ไม่ว่าจะทั้งการเรียนหรือการทำงาน รวมไปถึงด้านโซเชียลไลฟ์ด้วย คือเลิกงานแล้วเรายังเจอเพื่อนฝูงแบบที่ทุกคนสะดวก”

 

 

“ถัดไปเรามองในเรื่องของความสัมพันธ์ ปรางมองว่า SALADAENG ONE เกี่ยวข้องกับเรื่อง Multi-Generation คือเป็นแหล่งที่คนหลายรุ่นอยู่ร่วมกันได้อย่างดี จากความคิดที่ว่าการอยู่ในเมืองทำให้ต้องเสียสละเรื่องความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว แต่การมาอยู่ที่ SALADAENG ONE กลับจะกลายเป็นทางออกของปัญหาด้วยซ้ำ มีคนรุ่นพ่อแม่ที่เกษียณแล้วแต่ยังแอ็กทีฟ มีรุ่นคนทำงาน รุ่นลูก รุ่นหลาน สมมติว่าเราซื้อให้พ่อแม่ของเราอยู่ ลูกของเราก็คอยมาดูแลปู่ย่าตายาย ข้อดีคือที่นี่อยู่ใกล้โรงพยาบาล นอกจากนั้นที่นี่ยังมี PA หรือ Personal Assistant คอยดูแล โทรเรียกได้ตลอด และอยู่ตรงนี้ลูกหลานแวะมาหาง่าย ความสัมพันธ์ในครอบครัวก็ดีขึ้น นี่คือหนึ่งในเรื่องหลักซึ่งสะท้อนคาแรกเตอร์ของทำเลตรงนี้ที่อยากให้คนรับทราบและรู้สึกถึงมันได้ค่ะ”

 

ลักษณะเด่นที่กล่าวไปนั้น คุณปรางหยิบมาใช้ในการออกแบบประสบการณ์แบบองค์รวม ตีความตัวตนของ SALADAENG ONE ผ่านเซนส์ Sense หรือประสาทสัมผัสต่างๆ ไม่ว่ากลิ่น รส เห็น สัมผัส ได้ยิน เช่น ช็อกโกแลตโฮมเมดที่โถงต้อนรับวางเชื้อเชิญให้หยิบลิ้มรสได้เองตามสะดวก สะท้อนบุคลิกเหมือนคนอารมณ์ดีที่เรียบโก้ สง่าและสนุกอยู่ในคนคนเดียวกัน

 

ความกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของย่านศาลาแดง ก็เป็นเรื่องที่ SALADAENG ONE อยากจะสื่อสารออกไปให้ชัดๆ ชีวิตรอบๆ ศาลาแดง จึงถูกดึงมานำเสนอให้ผู้เข้าชมโครงการได้เห็นภาพ และจินตนาการได้ว่าเมื่อเลือกที่นี่เป็นบ้าน ชีวิตจะเป็นอย่างไร

 

ส่วนไฮไลต์ของผลงานออกแบบประสบการณ์ครั้งนี้คือการนำเสนอห้องตัวอย่าง 3 รูปแบบ ผ่าน ‘ห้องตัวอย่างที่มีชีวิต’ ที่แต่ละห้องจะมี ‘เจ้าบ้าน’ ที่มีไลฟ์สไตล์แบบนั้นจริงๆ ไม่ใช่นักแสดง กำลังใช้ชีวิตตามปกติของตัวเองอยู่ โดยผู้เข้าชมโครงการสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับชีวิตในห้องนั้นได้ด้วย

 

ห้องแรกว่าด้วยเรื่อง Healthiness เป็นห้องของคนที่ตื่นได้เช้าขึ้น มีเวลาทำอาหารเช้ากินเอง มีเวลาจัดดอกไม้ มีกิจกรรมที่รื่นรมย์ทำ ชีวิตที่สุขภาพดีคือชีวิตที่มีเวลา และได้เลือกทำในสิ่งที่มีความสุข ห้องถัดมาว่าด้วยเรื่อง Success นำเสนอชีวิตของคนวัยเรียนที่บ้านเป็นสถานที่ปลอดภัยที่สุด ไม่ว่าจะสำหรับท่องหนังสือหรือปาร์ตี้กับเพื่อน หรือสำหรับคนวัยทำงาน กลุ่ม Work Lover ทำงานหนักแค่ไหน แต่เมื่อถึงเวลาพักแล้วได้พักผ่อนเต็มที่ เพราะมีที่พักซึ่งเอื้อต่อการใช้ชีวิตทุกด้าน

 

 

“เราอยากจะพูดถึงคนบ้างานที่ถ้ามาอยู่ที่นี่เขาจะได้ทุกอย่าง ทำงานหนักแต่ลดเวลาการเดินทางได้ ก็จะมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น เหลือเวลาสำหรับโซเชียลไลฟ์ได้ ทำอะไรที่รู้สึกดีกับตัวเอง เขาอาจจะเป็นผู้ชายที่ทำงานหนัก แต่ก็มีเครื่องทำป๊อปคอร์นในห้อง ปลูกโรสแมรี มีคราฟต์เบียร์อยู่ในตู้เย็น แล้วนั่งทำงาน เราอยากจะให้แขกที่มารู้สึกได้ว่าถ้าอยู่ที่นี่ชีวิตฉันจะดีขึ้น ความรู้สึกนั้นไม่ไช่เป็นแค่การรับทราบ แต่เราต้องการให้รู้สึกถึงตรงนั้นจริงๆ แบบฉันได้นั่งพักผ่อนอยู่ตรงนี้มองวิวแบบนี้เลย”

 

นอกจากนั้น ยังมีห้องตัวอย่างแบบ 2 ห้องนอนที่นำเสนอแนวคิด Multi-Generation ที่คุณปรางเผยว่าเธอออกแบบให้เกิดการรวมญาติขึ้นในห้องนั้น ชีวิตจิตใจที่ใส่ลงไป ละเอียดลออขนาดที่มีแม้กระทั่งตี่จู่เอี๊ยะ

 

“ห้องนี้จัดเหมือนสั่งอาหารมาจากแถวนี้จริงๆ และกำลังจัดโต๊ะกันอยู่ คนที่เข้าไปก็ร่วมรับประทานได้ หยิบจับได้ ทำให้ห้องนี้เป็นเหมือนห้องของคนที่อยู่ที่นี้ เราก็เป็นเพื่อนบ้านที่แวะเข้าไป เราไม่ได้เล่นบทบาทอะไรเราแค่นำเสนอสิ่งนั้น เพราะเราคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ช่วยลูกค้าเลือกได้จริงๆ ว่ามันใช่หรือเปล่า ท้ายที่สุดแล้วอยากให้ทุกคนเจอสิ่งที่เหมาะสมที่สุดกับตัวเอง”

 

 

ถัดจากห้องตัวอย่างที่มีชีวิตแล้ว การออกแบบประสบการณ์ของคุณปราง โดยถ่ายทอดตัวตนของ SALADAENG ONE ผ่านเซนส์ ยังคงต่อเนื่องมาจนถึงส่วน Sky Lounge ความประณีต เรียบ แต่คลาสสิกสะท้อนผ่านอาหารและของว่างที่เสิร์ฟ เช่น ขนมช่อม่วงสีขาวที่เรียกว่าขนมช่อมะลิ เพราะดอกไม้สีขาวเป็นคาแรกเตอร์ของ SALADAENG ONE

 

“ช่อมะลิเป็นขนมไทยที่เรียบง่าย คนรู้จักแต่ไม่ค่อยได้รับประทาน ในขณะเดียวกันก็ต้องพิถีพิถันทำให้สวย เราใช้สิ่งนี้มาสะท้อนความเป็น SALADAENG ONE ที่ไม่ได้มีอะไรเยอะเกินกว่าที่ควรจะเป็น สิ่งที่เราเป็นคือความประณีตในความเรียบง่าย นอกจากนั้นเราก็มีขนมจุ๋ยก้วย ซึ่งจุ๋ยก้วยของเราโรยด้วยกระเทียมเจียวทอดบางกรอบ แต่งด้วยดอกพวงชมพูซึ่งเป็นดอกไม้รับประทานได้ค่ะ เราอยู่ที่ SALADAENG ONE เราไม่ได้เสแสร้งจะเป็นคนอื่น รอบๆ เรายังมีอาหารข้างทางให้กิน แล้วมันคือ เสน่ห์ของการเอ็นจอยชีวิตแบบนี้”

 

ของหวานที่เลือกมาเสิร์ฟเป็นอีกหนึ่งอย่างที่มีความหมาย “เราเสิร์ฟมิลล์เฟยครีมพุทราจีน ปกติมิลล์เฟยจะซ้อนหลายๆ ชั้น แต่เราทำแค่ 2 ชั้น มีครีมอยู่ตรงกลาง เพราะ SALADAENG ONE ลดทอนความซับซ้อนให้เรียบง่ายและสบายขึ้น ขนมพุทราจีนเป็นขนมที่ถ้าไปร้านอาหารจีนจะต้องสั่งให้ได้ เพราะหารับประทานยาก เราก็เอามาเซอร์ไพรส์เสิร์ฟเป็นของหวาน”

 

คุณปรางทิ้งท้ายไว้ว่าทั้งหมดที่ทำ ก็เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ผู้ที่มาชมได้เกิดความรู้สึกมากที่สุด เพราะสุดท้ายแล้วลูกค้าที่มีความสุขคือลูกค้าที่เลือกชีวิต เลือกความต้องการได้ถูกต้องที่สุดตั้งแต่แรกนั่นเอง

 

 

SALADAENG ONE พร้อมมอบสิทธิพิเศษเหนือระดับ ในงาน SALADAENG ONE Grand Opening สำหรับห้อง 1 Bedroom รับฟรี Fully Furnished มูลค่า 9 แสนบาท** และสำหรับห้อง 2-3 Bedroom รับส่วนลดสูงสุด 2 ล้านบาท** ระหว่างวันที่ 21-22 ก.ค. นี้ ณ Sales Gallery สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 1749 หรือ www.saladaengone.com

 

Photo: SALADAENG ONE

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising