×

K WEALTH Forum จับสัญญาณ 5 ปัจจัยเปลี่ยนเกมการลงทุนโลก

10.04.2025
  • LOADING...
K WEALTH Forum

HIGHLIGHTS

  • AI ไม่ได้เพียงเพิ่ม Productivity ให้ธุรกิจ แต่ยังเป็นแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ที่อาจพลิกโฉมตลาดแรงงานและทิศทางการลงทุนในอนาคต
  • หนี้สาธารณะที่พุ่งสูงทั่วโลกไม่ใช่ความเสี่ยงเสมอไป หากถูกนำไปใช้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างศักยภาพระยะยาว
  • การเคลื่อนไหวของ Fed ท่ามกลางเงินเฟ้อและเศรษฐกิจชะลอตัวคือจุดตัดสินความผันผวนของตลาดและจังหวะในการปรับพอร์ตลงทุน
  • นโยบาย America First สร้างความปั่นป่วนให้ทั้งตลาดโลกและเศรษฐกิจสหรัฐฯ เอง พร้อมบีบให้ธุรกิจทั่วโลกต้องเร่งปรับตัว
  • ความขัดแย้งระดับภูมิรัฐศาสตร์ไม่ได้กระทบทุกธุรกิจเท่ากัน นักลงทุนจึงต้องเข้าใจผลกระทบในระดับอุตสาหกรรมเพื่อวางแผนลงทุนอย่างแม่นยำ

โลกของการลงทุนกำลังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงปัจจัยสำคัญคือสิ่งจำเป็นสำหรับนักลงทุนทุกคน ธนาคารกสิกรไทย จัดงานสัมมนาใหญ่ K WEALTH Forum รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนจาก K WEALTH ศูนย์รวมความเชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์บริหารความมั่งคั่งครบทุกมิติ และบริษัทด้านการลงทุนชั้นนำระดับโลก Lombard Odier และ J.P. Morgan Asset Management มาร่วมแบ่งปันมุมมองที่ไม่ควรพลาด เพื่อช่วยให้เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้

 

5 ปัจจัยเปลี่ยนเกมการลงทุนที่ต้องจับตามอง

 

1. AI และการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน: AI กำลังเข้ามาเพิ่ม Productivity ให้พุ่งสูง แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในหลายอุตสาหกรรม นักลงทุนจำเป็นต้องเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในระดับที่สูงขึ้น

 

ดร. พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย

ดร. พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ 

ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย

 

ปี 2025 คือจุดที่เทคโนโลยี AI ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของอนาคตอีกต่อไป แต่กลายมาเป็นตัวแปรสำคัญที่พลิกโฉมทั้งเศรษฐกิจและพฤติกรรมการลงทุนอย่างแท้จริง เห็นได้จากราคาหุ้น NVIDIA ที่พุ่งสูงกว่า 6 เท่านับจากการเปิดตัว ChatGPT ในปี 2022 ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานต่อสัปดาห์มากกว่า 400 ล้านคน โอกาสของ AI จึงไม่ได้จำกัดแค่ในบริษัทเทคโนโลยี แต่ยังรวมถึงทุกธุรกิจที่รู้จักใช้ AI เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นักลงทุนที่เข้าใจคลื่นนี้ก่อน จะได้เปรียบทั้งเชิงกลยุทธ์และจังหวะการลงทุนในระยะยาว

 

2. หนี้สาธารณะทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้น: ระดับหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกไม่ได้น่ากลัวเสมอไป หากรัฐบาลนำเงินดังกล่าวไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว นี่อาจเป็นโอกาสในการลงทุนที่สำคัญ

 

Michael Strobaek Global Chief Investment Officer and Head of Investment Solutions of Bank Lombard Odier

Michael Strobaek

Global Chief Investment Officer and 

Head of Investment Solutions of Bank Lombard Odier

 

หากพิจารณาเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ การกู้หนี้เพื่อลงทุนสร้างอนาคตอาจกลายเป็นจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน นักลงทุนต้องเข้าใจว่าสิ่งสำคัญไม่ใช่แค่ ‘หนี้มากหรือน้อย’ แต่คือ ‘หนี้นี้พาเศรษฐกิจไปทางไหน’ นั่นจึงอาจเปิดมุมมองใหม่ในการประเมินความมั่นคงของประเทศ และโอกาสในการเลือกลงทุนที่เหมาะสม

 

3. ภาวะตลาดที่ผันผวนจากนโยบายของ Fed: ขณะที่ Fed ต้องเผชิญกับทางเลือกยากระหว่างการคุมเงินเฟ้อที่ยังไม่ลงตัวกับเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว นักลงทุนควรเตรียมพร้อมรับมือกับความผันผวนในตลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา

 

Tai Hui

Chief Market Strategist, Asia Pacific

J.P. Morgan Asset Management

 

ในสภาวะที่ Fed ยังคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 4.25-4.50% ขณะที่ไทยลดลงเหลือ 2% นักลงทุนเริ่มมองหาโอกาสจากอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ เช่น Money Market ในสหรัฐฯ แต่ต้องประเมินปัจจัยค่าเงินร่วมด้วย เพราะหากเงินบาทแข็งค่าอาจกัดกินผลตอบแทน นักลงทุนจึงควรบริหารพอร์ตให้เท่าทันบริบทเศรษฐกิจและความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของนโยบายการเงินโลก

 

4. ความผันผวนจากนโยบาย America First: ผลกระทบจากนโยบาย America First สร้างความผันผวนสูงให้กับตลาดโลก และยังมีผลกระทบย้อนกลับไปยัง GDP ของสหรัฐอเมริกาเอง นักลงทุนจึงต้องติดตามสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิด

 

ศิริพร สุวรรณการ

CFA, CFP, Chief Investment Officer

K WEALTH ธนาคารกสิกรไทย

 

นโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ไม่ได้สร้างแรงกระเพื่อมแค่กับคู่ค้าเพียงด้านเดียว แต่สะเทือนกลับมายังเศรษฐกิจของตนเองด้วย โดย Fed พบว่า ทุกๆ การขึ้นภาษี 1% ส่งผลให้ GDP สหรัฐฯ หดตัวลง 0.14% และกลุ่มธุรกิจไทย โดยเฉพาะอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์กำลังถูกบีบให้เร่งปรับตัว นักลงทุนจึงต้องประเมินสถานการณ์เชิงมหภาคอย่างใกล้ชิด เพราะนโยบายที่ ‘ดูเหมือนไกลตัว’ กำลังส่งแรงสะเทือนโดยตรงถึงการลงทุนของเรา

 

5. ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลต่อการลงทุน: ผลกระทบของความขัดแย้งในแต่ละภูมิภาคกำลังเปลี่ยนแปลงรูปแบบการลงทุน และจำเป็นอย่างยิ่งที่นักลงทุนต้องเข้าใจว่าความขัดแย้งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่างๆ อย่างไรบ้าง

 

 

เช่น ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลโดยตรงต่อราคาพลังงานและอาหารในยุโรป ขณะที่สถานการณ์ในตะวันออกกลางกลับไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันอย่างที่คาด นักลงทุนจึงไม่สามารถใช้มุมมองแบบ ‘ทั่วโลกเหมือนกันหมด’ ได้อีกต่อไป เพราะความขัดแย้งที่ต่างกัน ส่งผลต่ออุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคอย่างมีนัยสำคัญ

 

K WEALTH แนะนำกลยุทธ์การลงทุน GO GLOBAL และ Diversification การกระจายการลงทุนไปในหลายสินทรัพย์ทั่วโลก ผ่านการจัดพอร์ตแบบ Core & Satellite โดย Core เป็นส่วนที่มั่นคงและมีโอกาสให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอในระยะยาว กระจายความเสี่ยงไปในสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก แนะนำลงทุนใน Global Balanced Fund เช่น กองทุน K-WPBALANCED ส่วน Satellite เป็นการเลือกลงทุนจากการประเมินสถานการณ์ในช่วงเวลานั้นๆ โดยปัจจุบันให้น้ำหนักกับกองทุนตราสารหนี้ไทย เช่น กองทุน K-FIXEDPLUS และกองทุนหุ้นกลุ่ม Healthcare ที่ยังราคาไม่แพงและมีโอกาสเติบโตสูง เช่น กองทุน K-GHEALTH

 

วจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์

CFA, กรรมการผู้จัดการ บลจ. กสิกรไทย

 

ปณตพล ตัณฑวิเชียร

CFA, Chief Investment Officer บลจ. กสิกรไทย

 

ห้ามพลาด! ติดตามบทวิเคราะห์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ K WEALTH ได้ในซีรีส์การลงทุนเนื้อหาเข้มข้น K WEALTH GO GLOBAL The Series เพื่อเข้าใจและปรับตัวก่อนใคร ได้ทาง K WEALTH YouTube Channel

 

👉 คลิกชมเลย https://www.youtube.com/playlist?list=PLsf4kMGfDZvmGh8vW9jSkXqqRDEXOGW_d 

 

 

*ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising