×

ผู้เชี่ยวชาญภัยพิบัติชี้ แผ่นดินไหวอาฟเตอร์ช็อกจะเบาลง แต่ระวังการเกิดเมนช็อกใหม่

โดย THE STANDARD TEAM
28.03.2025
  • LOADING...
aftershock-risk-mainshock

รศ. ดร.เสรี ศุภราทิตย์ หนึ่งในวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติ ฉายภาพสถานการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นไว้ว่า หากย้อนกลับไปในช่วงปี 1930 เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ในเมียนมา นั่นหมายความว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้อาจเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงมากที่สุดในรอบเกือบ 100 ปี 

 

📍 สาเหตุที่เกิดขึ้นคืออะไร 

 

สาเหตุที่เกิดขึ้นของแผ่นดินไหวในครั้งนี้มาจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) 

 

📍 จะมีอาฟเตอร์ช็อกเกิดขึ้นกี่ครั้ง 

 

รศ. ดร.เสรี กล่าวว่า จำนวนอาฟเตอร์ช็อกที่จะตามมากี่ครั้งนั้นยังไม่สามารถประเมินได้อย่างแน่นอน แต่จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในอดีต หากมีขนาดแผ่นดินไหวที่รุนแรงมากเช่นนี้ อาจจะมีอาฟเตอร์ช็อกตามมา 700-1,000 ครั้ง  

 

โดยหลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งแรกที่เมียนมา ได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกรุนแรงตามมาใน 12 นาทีให้หลังด้วยขนาด 6.4 ซึ่งถือว่ารุนแรงมาก 

 

รศ. ดร.เสรี มองว่า สำหรับประเทศไทยไม่น่ามีความกังวลเรื่องอาฟเตอร์ช็อก แต่สำหรับเมียนมายังต้องจับตาอย่างใกล้ชิด 

 

📍 อาฟเตอร์ช็อกเกิดขึ้น 1,000 ครั้งถือเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งสำคัญคือจะส่งผลกระทบกระเทือนมากหรือไม่? 

 

สิ่งที่ต้องจับตามองในขณะนี้อาจไม่ใช่การเกิดขึ้นของอาฟเตอร์ช็อก เนื่องจากขนาดของความสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นหลังจากนี้จะมีขนาดน้อยกว่า 7.7 (เมนช็อกที่เกิดขึ้นก่อนหน้า) ดังนั้นสิ่งที่ต้องจับตาดูคือการเกิดขึ้นของเมนช็อกในบริเวณอื่นอีกหรือไม่ เนื่องจากเมียนมาเป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นจุดที่ตั้งของรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault 

 

📍 จับตาอาคารที่สร้างก่อนกฎกระทรวง อาจไม่รองรับแรงสั่นสะเทือนได้

 

ประเทศไทยมีกฎกระทรวงเกี่ยวกับการก่อสร้างให้อาคารรับอัตราเร่งได้ในระดับ 0.08-0.14 แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ทำให้เกิดอัตราเร่งในระดับ 0.24 

 

ในเชียงใหม่เจออัตราเร่งในระดับ 0.05 G และกลับมาถึงกรุงเทพฯ ก็จะมีอัตราแรงสั่นสะเทือนที่ลดลงตามลำดับ แต่สิ่งที่ต้องกังวลคือกรุงเทพฯ นั้นตั้งอยู่ในบริเวณเนื้อดินอ่อน 

 

ดังนั้นโครงสร้างอาคารหลัก (คาน เสา และพื้น) ที่ก่อสร้างหลังมีประกาศกฎกระทรวงออกมาแล้ว ถือเป็นอาคารที่ไม่น่ามีความกังวล (อาคารที่ก่อสร้างในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา) แต่สำหรับอาคารที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างที่ไม่สมบูรณ์เป็นเรื่องธรรมดาที่ก่อให้เกิดการพังทลายลงมาได้ 

 

📍 แนวทางปฏิบัติหลังจากนี้ใน 2-3 เดือน 

 

อาฟเตอร์ช็อกยังคงจะเกิดขึ้นในระยะเวลา 2-3 เดือน แม้ว่าความรุนแรงจะทุเลาลงมา แต่ควรที่จะทำความเข้าใจข้อปฏิบัติในการระวังตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งก็คือการหลบใต้โต๊ะและตามหาที่โล่งแจ้ง เนื่องจากประเทศไทยอาจต้องอยู่กับอาฟเตอร์ช็อกไปอีก 2-3 เดือน 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising