ในโลกของการทำงาน ความเป็นมืออาชีพไม่ได้วัดกันแค่ความสามารถเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพฤติกรรมและนิสัยต่างๆ ที่คุณแสดงออกในที่ทำงานด้วย มาดู 9 นิสัยที่อาจทำลายภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพของคุณโดยไม่รู้ตัวกัน
1. การพูดมากเกินไป
ไม่ว่าจะเป็นการแชร์เรื่องส่วนตัวหรือการบ่นเรื่องต่างๆ ในชีวิตให้เพื่อนร่วมงานฟัง การพูดมากเกินไปอาจทำให้คุณพลาดโอกาสสำคัญไปถึง 65% เพราะคนอื่นอาจมองว่าคุณไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ ควรเลือกพูดเฉพาะเรื่องที่จำเป็น และคิดก่อนเสมอว่าสิ่งที่จะพูดนั้นเหมาะสมกับผู้ฟังหรือไม่
2. การตอบข้อความสำคัญช้า
การอ่านข้อความแล้วไม่ตอบหรือทิ้งการสนทนาค้างไว้ ยิ่งถ้าเป็นเรื่องสำคัญจะส่งผลให้ความน่าเชื่อถือของคุณลดลง จากการวิจัยพบว่า 78% ของคนที่รอข้อความแล้วไม่ได้รับการตอบกลับ พวกเขาจะเริ่มไม่ไว้วางใจผู้ที่ตอบข้อความช้า ควรตั้งกฎให้ตัวเองว่าจะตอบกลับให้เร็วที่สุดภายใน 1 ชั่วโมง แม้จะเป็นเพียงข้อความสั้นๆ เพื่อรับทราบ และไม่ควรปล่อยให้ข้ามวัน
3. ตอบตกลงทุกอย่าง
การรับปากว่าจะทำทุกอย่างโดยไม่ประเมินความสามารถของตัวเอง นำไปสู่ความเครียดและงานที่ไม่เสร็จตามกำหนด 70% เครียดเพราะรับปากทำงานโดยไม่คิดให้รอบคอบ ก่อนตอบตกลงงานใดๆ ควรประเมินเวลาและพลังงานของตัวเองให้ดี
4. การแชร์ข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป
การเล่าเรื่องส่วนตัวทุกรายละเอียดหรือแชร์เรื่องที่อาจทำให้ผู้อื่นอึดอัด ส่งผลให้ 70% ของคนพยายามหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์ด้วย ควรรักษาการสนทนาให้เป็นมืออาชีพและมีความเหมาะสม
5. โต๊ะทำงานไม่เป็นระเบียบ
โต๊ะทำงาน กระเป๋า หรือโทรศัพท์ที่ไม่เป็นระเบียบ นอกจากจะเสียเวลาค้นหาของแล้ว (เฉลี่ย 55 ชั่วโมงต่อปี) ยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพ ใช้เวลาวันละ 5 นาทีจัดระเบียบพื้นที่ทำงาน จะช่วยเพิ่มความมั่นใจและประสิทธิภาพการทำงาน
6. การบ่นตลอดเวลา
การนำความคิดแง่ลบเข้าสู่ทุกการสนทนา และเน้นพูดถึงแต่ปัญหาโดยไม่คิดหาทางแก้ไข ส่งผลให้ความสามารถในการตัดสินใจลดลงถึง 30% เมื่อเจอปัญหา ให้คิดหาทางแก้ไขควบคู่ไปด้วย เพราะการบ่นอย่างเดียวไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น
7. การมาสายเป็นประจำ
พฤติกรรมการมาสายและมักอ้างว่า “ขออีกแค่ 5 นาที” ลดโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพลงถึง 40% ควรออกจากบ้านเร็วขึ้นอีก เพื่อให้มั่นใจว่าจะถึงที่หมายตรงเวลา หรือใช้วิธีกดดู Google Maps เพื่อเช็กระยะทางและเวลาที่จะไปถึง จะช่วยให้คุณวางแผนการออกจากบ้านได้อย่างแม่นยำและไม่ไปสาย การตรงต่อเวลาสร้างความประทับใจและลดความเครียด
8. การหาข้อแก้ตัวเสมอ
เมื่องานเกิดเรื่องผิดพลาด แทนที่จะยอมรับความผิดพลาด กลับพยายามหาข้อแก้ตัว ผลักภาระให้คนอื่น หรือผัดวันประกันพรุ่ง ส่งผลให้โอกาสได้รับความไว้วางใจในงานสำคัญลดลง 60% ควรยอมรับความผิดพลาดและมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองอย่างจริงจัง
9. การสื่อสารที่ไม่เหมาะสม
การใช้คำสแลงหรือภาษาไม่เป็นทางการในที่ทำงาน และการส่งข้อความที่ไม่ชัดเจน ทำให้ 92% ของคนขาดความเชื่อมั่น ควรปรับการสื่อสารให้ชัดเจน ตรงประเด็น และเหมาะสมกับผู้รับสารแต่ละคนด้วย
การปรับปรุงนิสัยเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพ แต่ยังช่วยเพิ่มโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพการงานอีกด้วย การเริ่มต้นปรับเปลี่ยนทีละนิสัยจะช่วยให้คุณพัฒนาตัวเองได้อย่างยั่งยืน และสร้างความน่าเชื่อถือในที่ทำงานมากขึ้น