×

ทำความเข้าใจ Tariff และ Non-Tariff Barriers มาตรการกีดกันการค้าที่ทรัมป์ ‘หลงรัก’ จะปกป้องเศรษฐกิจอเมริกาได้จริงหรือ?

11.02.2025
  • LOADING...
Tariff และ Non-Tariff

ทำความเข้าใจ Tariff และ Non-Tariff Barriers มาตรการกีดกันทางการค้าที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ‘หลงรัก’ และหยิบยกมาเป็นเครื่องมือหลักในการปกป้องและกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์บางคนมองว่า ภาษีศุลกากร (Tariff) อาจเป็นการกีดกันทางการค้าที่ ‘ไร้ประโยชน์ ขัดขวางการค้าโลก และทำให้สินค้าในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภาษีดังกล่าวมีราคาสูงขึ้นด้วยซ้ำ’

 

กระนั้นสิ่งที่น่าสนใจอีกประเด็นคือ ตามข้อมูลล่าสุดของ OECD แสดงให้เห็นว่า ไทยกีดกันการค้าและบริการสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียงรัสเซียเท่านั้น ขณะที่สหรัฐฯ มีมาตรการกีดกันทางการค้าและบริการต่ำกว่าไทยเสียอีก โดยอยู่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยกลุ่มประเทศ OECD

 

“ผมเชื่อมั่นอย่างยิ่งในภาษีศุลกากร (Tariff)” 

 

ย้อนกลับไป เมื่อปี 1988 โดนัลด์ ทรัมป์ ได้พ่ายแพ้การประมูลเปียโน ที่ใช้ในภาพยนตร์คลาสสิกเรื่อง “Casablanca” ให้กับบริษัทการค้าของญี่ปุ่นที่เป็นตัวแทนนักสะสมไป

 

เหตุการณ์นั้นอาจเป็นการเตือนใจถึงความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นของญี่ปุ่น และในปีถัดมา ทรัมป์ได้ออกรายการโทรทัศน์ เพื่อเรียกร้องให้สหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าจากญี่ปุ่น ในอัตรา 15-20%

 

“ผมเชื่อมั่นอย่างยิ่งในภาษีศุลกากร (Tariff)” ทรัมป์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในแมนฮัตตัน กล่าวกับนักข่าว ก่อนจะวิพากษ์วิจารณ์ญี่ปุ่น เยอรมนีตะวันตก ซาอุดีอาระเบีย และเกาหลีใต้เกี่ยวกับแนวทางการค้าของประเทศเหล่านั้น 

 

“อเมริกากำลังถูกฉ้อโกง” ทรัมป์กล่าว “ประเทศเราเป็นหนี้ เราต้องเก็บภาษี เราต้องปกป้องประเทศนี้”

 

ภาษีศุลกากร (Tariff) คืออะไร? ต่างกับภาษีอื่น (Tax) อย่างไร?

 

ทั้งภาษีศุลกากร (Tariff) และภาษี (Tax) มีความเหมือนกันประการหนึ่ง คือเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ให้รัฐบาล แต่ภาษีทั้ง 2 กลับมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน

 

โดยภาษีศุลกากร (Tariff) คือภาษีที่ประเทศหนึ่งเรียกเก็บจากสินค้าที่นำเข้าจากอีกประเทศหนึ่ง โดยภาษีศุลกากรอาจมีจุดประสงค์เพื่อให้สินค้าและบริการในประเทศมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ขณะที่ ภาษี (Tax) ส่วนใหญ่คือภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น

 

โดยภาษีนำเข้าหรือภาษีศุลกากร (Tariff) ยังมักเป็นเครื่องมือที่นักการเมืองเลือกใช้ หากต้องการผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจบางอย่าง เช่น เพิ่มการจ้างงานและเพิ่มความสามารถแข่งขันให้กับบริษัทในประเทศ

 

เปิด ‘ข้อดี-เสีย’ ของภาษีศุลกากร

 

บทความของ World Economic Forum ระบุว่า จากประวัติศาสตร์ ภาษีศุลกากรนั้นถือเป็นเครื่องมือที่ดึงดูดผู้นำทางการเมืองที่ต้องการปกป้องตลาดในประเทศจากสินค้าราคาถูก ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการผลิตและแรงงานในท้องถิ่น

 

โดยโจ ไบเดน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากทรัมป์ ก็เคยใช้ภาษีศุลกากรกับรถยนต์ไฟฟ้าและแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งถูกมองว่า เป็นวิธีการที่สมเหตุสมผลในการกระตุ้นความพยายามในการพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียวของสหรัฐฯ

 

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางคนเตือนว่า การประกาศขึ้นภาษีนำเข้ามักจะส่งผลให้เกิดสงครามพร่ากำลัง (war of attrition) ประเทศอื่นๆ การตอบโต้และโยนภาระต้นทุนให้กับผู้บริโภค และอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น

 

เนื่องจากในความเป็นจริงแล้ว ภาษีศุลกากรนับเป็นภาระแก่ธุรกิจและผู้บริโภค ‘ในประเทศ’ เนื่องจากจะทำให้สินค้านำเข้ามีราคาแพงขึ้น

 

ดังนั้น หากสินค้าในประเทศที่ใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศที่มีราคาแพงขึ้นในการผลิต ก็ส่งผลให้บริษัทในประเทศมีกำไรน้อยลง พนักงานได้ค่าจ้างน้อยลง และมีทำให้ตำแหน่งงานในประเทศน้อยลงตามไป ผลกระทบเหล่านี้จึงอาจทำให้เศรษฐกิจหดตัวลงในที่สุด

 

รู้จัก Non-Tariff Barriers อีกการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี

 

อย่างไรก็ตาม ในโลกของสงครามเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ ไม่ได้มีเครื่องมือแค่เครื่องมืออย่าง ‘ภาษีศุลกากร’ เท่านั้น แต่ยังมีมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers: NTB) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศด้วย ตัวอย่างเช่น มาตรการด้านสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม และเทคนิค มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด มาตรการตอบโต้การอุดหนุน และมาตรการอุดหนุนการส่งออก

 

โดยจากดัชนีความเข้มงวดข้อจำกัดด้านการค้าบริการระหว่างประเทศ (Services Trade Restrictiveness Index – STRI) ที่จัดทำโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) พบว่า แม้บางประเทศจะมีกำแพงภาษีนำเข้าต่ำ แต่ก็มีข้อจำกัดด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff barrier) สูง

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising