อบาคัส ดิจิทัล (ABACUS digital) ชูเทคโนโลยี AI แก้ปัญหาหนี้ไทยอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างโอกาสที่เท่าเทียมแก่คนไทยทุกกลุ่มให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านสินเชื่อออนไลน์ ‘มันนี่ทันเดอร์’ (MoneyThunder) ที่ตอบโจทย์ด้วยการพัฒนา AI ด้วยฝีมือคนไทย โดดเด่นจนก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดสินเชื่อออนไลน์ด้วยการปล่อยสินเชื่อแล้วกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท
ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อบาคัส ดิจิทัล จำกัด เปิดเผยถึงวิสัยทัศน์ในการใช้เทคโนโลยีทางการเงินเพื่อส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อที่เท่าเทียมสำหรับคนไทยทุกกลุ่มเพื่อลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีครัวเรือนไทยถึง 42% ที่ยังประสบปัญหานี้ โดยมูลค่ารวมสูงถึง 8 หมื่นล้านบาท สาเหตุหลักมาจากข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางอย่างกลุ่มแรงงาน ฟรีแลนซ์ และผู้ประกอบการรายย่อยที่มีอยู่กว่า 21.3 ล้านคน
อบาคัส ดิจิทัล จึงพัฒนาแพลตฟอร์มที่ช่วยขยายโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างเป็นธรรม พร้อมผลักดันเศรษฐกิจที่เท่าเทียมและสร้างความมั่นคงในระยะยาว โดยการใช้เทคโนโลยีและ AI อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งก็คือแอปพลิเคชันสินเชื่อออนไลน์ ‘มันนี่ทันเดอร์’
AI จะมาเปลี่ยนธุรกิจสินเชื่อได้อย่างไร
ดร.สุทธาภา กล่าวเพิ่มเติมว่า AI เข้ามาเปลี่ยนธุรกิจสินเชื่อใน 3 มิติหลัก
- การประเมินความเสี่ยงที่แม่นยำยิ่งขึ้น โดย AI ใช้ตัวแปรวิเคราะห์มากกว่า 2,000 ชนิด เช่น พฤติกรรมทางการเงินและข้อมูลทางเลือก เพื่อประเมินความเสี่ยงของผู้กู้ได้อย่างละเอียดและแม่นยำ ส่งผลให้กลุ่มคนตัวเล็กหรือผู้ที่มีเครดิตน้อยสามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ง่ายขึ้น นี่เป็นการเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มเริ่มต้นสร้างเครดิตทางการเงินในระบบอย่างเท่าเทียม
- ลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน เนื่องจาก AI ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในกระบวนการอนุมัติสินเชื่อ ทำให้ธุรกิจสามารถเสนอสินเชื่อด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ส่งผลให้กลุ่มผู้กู้รายย่อยและธุรกิจขนาดเล็กได้รับโอกาสเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังลดอคติในกระบวนการพิจารณา
- ป้องกันการฉ้อโกงและสร้างความปลอดภัยในระบบ เพราะ AI มีความสามารถในการตรวจจับความผิดปกติในข้อมูลและพฤติกรรม ทำให้สามารถระบุและป้องกันการฉ้อโกงได้อย่างรวดเร็ว สิ่งนี้ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ให้บริการและลดความเสี่ยงในระบบ ส่งผลให้ผู้ที่มีความซื่อสัตย์สามารถได้รับสินเชื่ออย่างโปร่งใสและปลอดภัยมากขึ้น
นอกจากนี้ การมีการกรองข้อมูลที่เหมาะสมแล้ว ‘มันนี่ทันเดอร์’ ยังนำเสนอโปรแกรมการชำระคืนที่ยืดหยุ่นมากขึ้น และอนุญาตให้ผู้ใช้เปลี่ยนจากสินเชื่อหมุนเวียนเป็นสินเชื่อแบบกำหนดระยะเวลา หรือลดจำนวนเงินผ่อนชำระลงชั่วคราว พร้อมทั้งฟีเจอร์ที่ช่วยสร้างวินัยการชำระอย่าง ฟีเจอร์คะแนนการชำระเงิน (Repayment Score) ที่จะช่วยให้ผู้กู้รักษาเครดิตได้ในระยะยาว และยังมีฟีเจอร์ ‘รู้ทันหนี้’ เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ในการจัดการหนี้ ตอกย้ำบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาหนี้ของคนไทย และลดความเหลื่อมล้ำทางการเงินในสังคม
นอกจากนี้ ‘มันนี่ทันเดอร์’ ยังมีฟีเจอร์เฉพาะบุคคลที่พัฒนาโดย AI ในการช่วยเลือกแผนการชำระเงินและข้อเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม พร้อมต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ
สำหรับแอปพลิเคชันสินเชื่อออนไลน์ ‘มันนี่ทันเดอร์’ ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดสูงกว่า 20 ล้านครั้ง โดยมีจุดเด่นที่แตกต่างคือเทคโนโลยี AI ที่พัฒนาขึ้นเองจากความเข้าใจปัญหาทางการเงินของคนไทยอย่างแท้จริง ซึ่งสามารถใช้ในการประเมินความเสี่ยงได้อย่างแม่นยำ ลดต้นทุนและเพิ่มความปลอดภัยในกระบวนการให้สินเชื่อ ทำให้คนไทยทุกกลุ่มเข้าถึงสินเชื่อที่สะดวกและโปร่งใส ด้วยการสมัครสินเชื่อที่สะดวกผ่านช่องทางออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง โดยปัจจุบันให้บริการคนไทยได้อย่างทั่วถึง มีจำนวนผู้ใช้เติบโตแบบก้าวกระโดดสูงกว่า 4 ล้านคน และปล่อยสินเชื่อแล้วกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท
“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มันนี่ทันเดอร์สร้างความสำเร็จในการเปิดโอกาสทางการเงินให้คนไทยอย่างแท้จริง โดยพบว่าผู้ใช้สินเชื่อกว่า 1 ใน 3 เคยพึ่งพาสินเชื่อนอกระบบ และกว่า 30% เคยถูกปฏิเสธสินเชื่อจากธนาคาร ทั้งนี้ มากกว่า 50% ของผู้ใช้งานมีรายได้ที่ดีขึ้นหลังได้รับสินเชื่อจากมันนี่ทันเดอร์ นอกจากนี้เรายังส่งเสริมความเท่าเทียมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยมีสัดส่วนถึง 63% ของลูกค้าทั้งหมดที่เป็นผู้หญิง ซึ่งเทียบกับตลาดอยู่ที่เพียง 40% ตอกย้ำบทบาทสำคัญในการสนับสนุนผู้ประกอบการหญิง และปลดล็อกศักยภาพทางเศรษฐกิจพร้อมเปิดโอกาสการเข้าถึงทางการเงินให้กับคนไทย” ดร.สุทธาภา กล่าว
ตั้งเป้ากำไรโต 40% เดินหน้าขยายบริการสินเชื่อ เปิดทางสู่ตลาดภูมิภาค
ดร.สุทธาภา กล่าวว่า ปี 2568 ตั้งเป้าเติบโตยอดสินเชื่อคงค้างใกล้เคียงปี 2567 อยู่ที่ 10% จากยอดสินเชื่อคงค้างปัจจุบัน 8 พันล้านบาท โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทปล่อยสินเชื่อออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน ‘มันนี่ทันเดอร์’ ไปแล้วกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท ทั้งในส่วนของสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ และสินเชื่อส่วนบุคคล ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ที่ระดับ 3% ซึ่งต่ำกว่าตลาดผู้เล่นนาโนไฟแนนซ์เฉลี่ยอยู่ที่ 5-7%
ขณะเดียวกัน บริษัทตั้งเป้าเติบโตกำไรในปี 2568 ใกล้เคียงกับปี 2567 ที่มีอัตราการเติบโต 40% โดยบริษัทเริ่มมีผลประกอบการเป็นกำไรตั้งแต่ในปี 2566 อยู่ที่ 123 ล้านบาท และในปี 2567 มีกำไรสุทธิประมาณ 200 ล้านบาท นับตั้งแต่เริ่มให้บริการแอปพลิเคชันมันนี่ทันเดอร์เมื่อ 5 ปีก่อน
นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนที่จะขยายธุรกิจออกไปสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการระดมทุนใน Series C หลังจากเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ได้ระดมทุน Series A และ B มูลค่ากว่า 1.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ การระดมทุน Series C จะเน้นด้านการหาพันธมิตร (Partnership) มากกว่าระดมทุนทั่วไป เนื่องจากการจะออกไปสู่ภูมิภาคจำเป็นต้องมีพันธมิตรท้องถิ่นเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล ฐานลูกค้า และความเร็วที่เป็นมาตรฐานด้วย