×

อ่านกลยุทธ์ ‘GO ASEAN with krungsri’ ผนึก MUFG และพันธมิตร รุกตลาดสินเชื่ออาเซียน [ADVERTORIAL]

09.12.2024
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • กรุงศรี ปักธงเป็น ‘ธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืน’ มุ่งขับเคลื่อนกลยุทธ์ธุรกิจอาเซียนภายใต้แนวคิด GO ASEAN with krungsri สร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน ผนึกพันธมิตรทั้งในประเทศและอาเซียนเพื่อส่งต่อความเชี่ยวชาญและนำเสนอนวัตกรรมต่างๆ ด้านสินเชื่อเพื่อผู้บริโภครายย่อย มุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าขยายตลาดในอาเซียน
  • ภาพรวมปี 2567 กรุงศรี ประสบความสำเร็จในการขยายพอร์ตสินเชื่อในภูมิภาคอาเซียน โดยมุ่งเน้นการเติบโตในกลุ่มลูกค้า SMEs และกลุ่มลูกค้ารายย่อย รวมไปถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินทรัพย์และเสริมสร้างรายได้จากกลุ่มสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูง 
  • ปัจจุบันธุรกิจอาเซียนมีสัดส่วนสินเชื่อคิดเป็น 5% ของสินเชื่อรวม และสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 20% ของรายได้รวม ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) อยู่ที่ 23.2%
  • กลยุทธ์การดำเนินงานของธุรกิจอาเซียนในปี 2568 มุ่งไปที่การปรับแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคง เพิ่มความแข็งแกร่งในการสร้างรายได้ และเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขณะเดียวกันจะส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างกันในภูมิภาคอาเซียน สอดคล้องกับแนวคิด GO ASEAN with krungsri

คงไม่ต้องถามแล้วว่า ‘ทำไมกรุงศรีต้องบุกอาเซียน’ เพราะคำถามสำคัญกว่านั้นคือ หลังจากที่กรุงศรีประสบความสำเร็จจากการเดินเกมรุกอาเซียนในฐานะผู้นำในตลาดสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคของประเทศไทย นำความเชี่ยวชาญด้านให้บริการโซลูชัน บริการธุรกิจระหว่างประเทศ พร้อมนวัตกรรมใหม่ๆ ประกอบกับเครือข่ายที่แข็งแกร่งระดับโลกของ MUFG ทิศทางการดำเนินงานของกรุงศรีในอาเซียนต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร? 

 

เมื่อกรุงศรีปักธงที่จะเป็น ‘ธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืน’ ธุรกิจอาเซียนจึงเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่สำคัญของกรุงศรี  

 

พัทธ์หทัย กุลจันทร์

พัทธ์หทัย กุลจันทร์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจอาเซียน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

 

พัทธ์หทัย กุลจันทร์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจอาเซียน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ฉายภาพความสำเร็จของกรุงศรีในตลาดอาเซียน ปัจจุบันมีบริษัทในเครืออยู่ 6 บริษัท เป็นธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคจำนวน 5 บริษัท และธุรกิจธนาคารพาณิชย์จำนวน 1 แห่ง กระจายอยู่ 5 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ และยังร่วมมือกับธนาคารพันธมิตร 3 ราย ได้แก่ Bank Danamon อินโดนีเซีย, VietinBank เวียดนาม และ Security Bank ฟิลิปปินส์ เพื่อสนับสนุนลูกค้าไทยที่ต้องการขยายธุรกิจไปยังประเทศต่างๆ ในอาเซียน” 

 

พัทธ์หทัยกล่าวว่า “ปัจจุบันเรามีฐานลูกค้ามากกว่า 19 ล้านคน” มองมุมไหนก็เต็มไปด้วยโอกาส เพราะอาเซียนเป็นภูมิภาคที่ประชากรมากถึง 680 ล้านคน แค่ 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, ลาว และเมียนมา ก็มีประชากรมากถึง 600 ล้านคนแล้ว แถมยังเป็นประชากรวัยแรงงานที่มีอายุเฉลี่ย 24-40 ปีเท่านั้น 

 

หากดูจากผลการดำเนินงานจากการขยายเครือข่ายในอาเซียนปี 2567 ข้อมูลสิ้นเดือนกันยายน 2567 พบว่า ยอดสินเชื่อคงค้างประมาณ 1.04 แสนล้านบาท คิดเป็น 5% ของสินเชื่อรวมของกลุ่มกรุงศรี 

 

“จากแนวทางการดำเนินงานที่ผ่านมา ทำให้ภาพรวมในปี 2567 กรุงศรีประสบความสำเร็จในการขยายพอร์ตสินเชื่อในภูมิภาคอาเซียน โดยมุ่งเน้นการเติบโตในกลุ่มลูกค้า SMEs และกลุ่มลูกค้ารายย่อย นอกจากนี้เรายังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินทรัพย์ และเสริมสร้างรายได้จากกลุ่มสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูง ปัจจุบันธุรกิจอาเซียนมีสัดส่วนสินเชื่อคิดเป็น 5% ของสินเชื่อรวม และสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 20% ของรายได้รวม ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) อยู่ที่ 23.2%” 

 

มองแนวทางที่จะ ‘GO’ และโอกาสที่จะ ‘โต’ ไปกับกรุงศรี 

 

 

มองก็รู้ว่าอาเซียนมีศักยภาพทั้งในด้านการเติบโตของเศรษฐกิจระยะยาวจากจำนวนประชากร จากการประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ช่วงปี 2568-2572 ประเทศไทยจะขยายตัวราว 3% อินโดนีเซีย 5.1% เวียดนาม 6.5% ฟิลิปปินส์ 6.3% กัมพูชา 5.9% ลาว 4.3% และเมียนมา 2%  

 

 

คำถามคือ กรุงศรีจะเดินเกมอย่างไร? พัทธ์หทัยกล่าวว่า กรุงศรีไม่เพียงปักธงที่จะเป็นธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืนเท่านั้น แต่ต้องการพาลูกค้ากรุงศรีเข้าไปเติบโตในอาเซียนด้วยกันผ่าน ‘Regional Connectivity’ หรือการเชื่อมโยงระหว่างกันของภูมิภาค และ ‘Regional Network’ หรือเครือข่ายของภูมิภาค 

 

“หากมองในแง่ของกลยุทธ์การลงทุนในตลาดอาเซียน กรุงศรีเป็นลักษณะของการลงทุนซื้อบริษัท ข้อได้เปรียบของเราคือ ทีมงานที่เป็นทีมงานท้องถิ่นที่เข้าใจตลาดของประเทศนั้นๆ เป็นอย่างดี”

 

ย้อนกลับไปในปี 2557 ซึ่งเป็นปีแรกที่กรุงศรีขยายเครือข่ายไปสู่อาเซียน โดยเริ่มก่อตั้ง บริษัท กรุงศรี บริการเช่าสินเชื่อ จำกัด หรือ กรุงศรีลีสซิ่ง ใน สปป.ลาว เป็นการร่วมทุนระหว่างกรุงศรี ออโต้ ถือหุ้น 75% และกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผ่านบริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จํากัด (AYCAP) 25% ในระยะแรก บริษัทให้บริการสินเชื่อรถยนต์เป็นหลัก และเริ่มขยายผลิตภัณฑ์ไปสู่สินเชื่อในการชำระหนี้ ก่อนจะให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล 

 

ปี 2559 กรุงศรีเข้าซื้อกิจการ หัตถา กักสิกอร์ ลิมิเต็ด (Hattha Kaksekar Limited) ซึ่งเป็นไมโครไฟแนนซ์อันดับที่ 4 ของประเทศกัมพูชา เดือนกันยายน 2563 Hattha Kaksekar Limited ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ยกระดับการดำเนินธุรกิจเป็นธนาคารพาณิชย์ให้บริการครบวงจรภายใต้ชื่อ Hattha Bank Plc. ปัจจุบันมีสาขากว่า 170 สาขาทั่วประเทศกัมพูชา

 

“เดือนตุลาคมปีเดียวกัน เราได้พูดคุยกับ ซีเคียวริตี้ แบงก์ คอร์ปอเรชั่น (Security Bank Corporation หรือ SBC) หนึ่งในธนาคารชั้นนำของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่เป็นพันธมิตรของกรุงศรี ซึ่งในขณะนั้นเขาเข้าไปลงทุนใน บริษัท เอสบี ไฟแนนซ์ คอมปานี อิงค์ (SB Finance Company, Inc. หรือ SBF) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ให้บริการด้านสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในเครือ SBC กรุงศรีจึงเจรจาเข้าซื้อหุ้น 50% ของหุ้นที่ออกและชำระแล้วใน SBF” พัทธ์หทัยกล่าว

 

และปีที่ผ่านมา กรุงศรีประสบความสำเร็จในการซื้อกิจการอีก 3 บริษัท ได้แก่ SHB Finance ประเทศเวียดนาม, Home Credit ประเทศฟิลิปปินส์ และ Home Credit ประเทศอินโดนีเซีย 

 

“ข่าวดีคือ แผนการเข้าซื้อกิจการ SHB Finance ธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในประเทศเวียดนามนั้นราบรื่นและรวดเร็วกว่าแผนที่กำหนด โดยเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา กรุงศรียื่นเข้าซื้อและรับโอน 50% ที่คงเหลือจากการซื้อและรับโอนส่วนของทุนครั้งแรก โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างรอการพิจารณาอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่ากรุงศรีจะเข้าถือหุ้น 100% ของ SHB Finance เสร็จสมบูรณ์ในช่วงกลางปี 2568 จากเดิมที่คาดว่าจะยื่นเข้าซื้อ 50% ที่คงเหลือในปี 2569 (หรือ 3 ปีหลังจากการซื้อและโอนส่วนของทุนครั้งแรก) สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของกรุงศรีในการขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งในอาเซียนและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตลาดเวียดนาม” พัทธ์หทัยกล่าว 

 

จะเห็นว่ารูปแบบการดำเนินธุรกิจในอาเซียนของกรุงศรี ไม่ต่างจากรูปแบบธุรกิจในประเทศไทย พัทธ์หทัยอธิบายเพิ่มเติมว่า Hattha Bank เป็นธนาคารเดียวที่กรุงศรีเข้าไปลงทุน ส่วนที่เหลือทั้งหมดจะเป็นสถาบันการเงินในรูปแบบสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค (Consumer Finance)

 

“Hattha Bank นอกจากเงินฝากตามปกติ ปัจจุบันมีการยกระดับจากไมโครไฟแนนซ์มาให้บริการสินเชื่อบุคคลในพื้นที่ต่างจังหวัด รวมถึงสินเชื่อบ้าน ขายประกัน และบริการ Mobile App ในขณะที่ สปป.ลาว กรุงศรีให้บริการสินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อผ่อนชำระสินค้า และสินเชื่อส่วนบุคคล ด้านฟิลิปปินส์ ตอนที่เข้าซื้อ Home Credit มีเพียงผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล กรุงศรีจึงแนะนำสินเชื่อมอเตอร์ไซค์และผลิตภัณฑ์ Car4Cash ปัจจุบันทั้งสองผลิตภัณฑ์มีการเติบโตอย่างดี สำหรับเวียดนาม หลังจากเข้าซื้อกิจการก็ได้ทำงานร่วมกันและออกผลิตภัณฑ์ Cash Card หรือบัตรกดเงินสดเมื่อปลายปี 2566” 

 

สำหรับ Home Credit ในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย พัทธ์หทัยเผยว่า ด้วยรูปแบบแพลตฟอร์มที่เหมือนกัน มีการปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าผ่อนชำระสินค้า หากประวัติการชำระดีจะนำเสนอผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพิ่มเติม เช่น สินเชื่อเงินสด และหากผ่อนชำระได้ดีอีกจะนำเสนอบริการ Buy Now Pay Later โดยให้วงเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ 

 

“สิ่งที่น่าสนใจในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียคือ ตัวเลขการเติบโตของผลิตภัณฑ์ประกันค่อนข้างดี ในฟิลิปปินส์สูงถึง 200% และอินโดนีเซีย 160% กลยุทธ์ของเขาคือผูกขายประกันไปพร้อมกับการซื้อสินค้าเพื่อผ่อนชำระ” 

 

 

กรุงศรีสร้างความเชื่อมโยงผ่านผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายภายใต้เครือข่ายที่แข็งแกร่งในอาเซียน อาทิ Peer-to-Peer Cross Border การให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศแบบเรียลไทม์ โดยให้บริการในประเทศกัมพูชา ลาว เวียดนาม และอินโดนีเซีย, Krungsri Business Link แพลตฟอร์มจับคู่ธุรกิจตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจ SMEs, Krungsri ASEAN LINK บริการที่ปรึกษาสำหรับลูกค้าที่ต้องการขยายธุรกิจสู่อาเซียนโดยผู้เชี่ยวชาญ, Cross-border QR Payment บริการชำระเงินข้ามพรมแดนผ่าน QR Code ปัจจุบันเปิดให้บริการครอบคลุม 6 ประเทศในอาเซียน ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ และสุดท้ายคือ Krungsri Boarding Card บัตรแลกเงินต่างประเทศใช้จ่ายและช้อปปิ้งเรตถูกทั่วโลก

 

ที่ผ่านมากรุงศรีขับเคลื่อนธุรกิจอาเซียนและสร้างการเติบโตโดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ ด้วยการสร้างระบบนิเวศกรุงศรี (Krungsri Ecosystem) และความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น

 

  • ความแข็งแกร่งจากเครือข่ายและ MUFG เฉพาะในอาเซียน MUFG มีทั้งสาขา สำนักงาน ธนาคารพันธมิตร ที่ MUFG เข้าไปถือหุ้น ครอบคลุม 9 ใน 10 ประเทศของอาเซียน ทำให้บริษัทในเครือในต่างประเทศสามารถชิงความได้เปรียบทางการแข่งขัน เช่น การได้รับอันดับความน่าเชื่อถือที่ดีของกรุงศรีและ MUFG จากบริษัทจัดอันดับเครดิตชั้นนำ ส่งผลให้บริษัทลูกในต่างประเทศมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำลง สามารถแข่งขันในตลาดได้ดีขึ้น

 

  • ต่อยอดความเชี่ยวชาญด้านสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค ในฐานะผู้นำในตลาดสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในประเทศไทย กรุงศรีมุ่งส่งต่อความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญด้านสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค ทั้งจากกรุงศรี ออโต้, กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ให้กับบริษัทในเครือในต่างประเทศ เพื่อนำจุดแข็งและความสำเร็จที่ได้ไปเป็นแนวทางเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมทางการเงินที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในประเทศต่างๆ ช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือสามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ

 

  • ขยายความร่วมมือกับพันธมิตร กรุงศรีให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อขยายฐานลูกค้าไปยังประเทศต่างๆ ในอาเซียน โดยที่ผ่านมากรุงศรีพัฒนาความร่วมมือกับพันธมิตรหลายราย ภายใต้โครงการ ‘ASEAN Privilege’ จับมือกับพันธมิตรอย่าง คิง เพาเวอร์ และ เดอะมอลล์ กรุ๊ป เพื่อให้สิทธิประโยชน์ด้านไลฟ์สไตล์และการช้อปปิ้งแก่ลูกค้านักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศอาเซียนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย และล่าสุดกรุงศรีประกาศความร่วมมือกับเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล เพื่อขยายบริการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นธุรกิจที่ดึงดูดและเป็นจุดแข็งของประเทศ ให้สามารถเจาะกลุ่มลูกค้าในอาเซียนได้มากยิ่งขึ้น

 

 

เจาะกลยุทธ์การดำเนินงานของธุรกิจอาเซียนในปี 2568 

 

 

  • ปรับแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคง โดยในแต่ละบริษัทจะมีการกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับภาวะตลาดและสถานการณ์การแข่งขันในธุรกิจ เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการของสาขา และเร่งขยายฐานผู้ใช้งานโมบายล์แอปพลิเคชันของ Hattha Bank

 

  • เพิ่มความแข็งแกร่งในการสร้างรายได้ เช่น นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด และรักษาฐานลูกค้าเดิมให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ Home Credit Philippines และ Home Credit Indonesia สามารถครองความเป็นผู้นำอันดับ 1 ในธุรกิจ รวมทั้งพัฒนาโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อเข้าถึงลูกค้าในกลุ่มใหม่ๆ เช่น Home Credit Philippines และ SHB Finance ที่มีแผนการขยายและเข้าสู่ตลาดบัตรเครดิต การขายประกันในรูปแบบของผลิตภัณฑ์การเงินผ่านช่องทางธนาคาร (Bancassurance) ของ Hattha Bank

 

  • เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น การนำเทคโนโลยี Robotic Process Automation เข้ามาช่วยในงานด้านการปฏิบัติงาน เพื่อทำให้สามารถดำเนินการได้เร็วขึ้น ช่วยลดต้นทุน รวมถึงการพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือที่มีอยู่ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและมากขึ้น สามารถช่วยขยายฐานลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิผล

 

“ตลาดอาเซียนยังมีศักยภาพและโอกาสในการเติบโตอีกมาก กรุงศรียังคงยืนยันความมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอาเซียนต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าท้องถิ่นในแต่ละประเทศเข้าถึงนวัตกรรมทางการเงินที่หลากหลายสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ขณะเดียวกันจะช่วยส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างกันในภูมิภาคอาเซียนได้มากขึ้น เชื่อมั่นว่าความเชี่ยวชาญของกรุงศรีในธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค รวมไปถึงศักยภาพของบริษัทลูกในต่างประเทศ จะสามารถผสานความร่วมมือระหว่างกันและร่วมกันสร้างการเติบโตได้อีกมากในอนาคต สอดคล้องกับแนวคิด GO ASEAN with krungsri” พัทธ์หทัยกล่าวทิ้งท้าย 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising