แกรนต์ คาร์ดอน ซีอีโอของ Cardone Capital และผู้เขียนหนังสือขายดีอย่าง The 10X Rule ใช้เวลา 20 ปีสำหรับการลองผิดลองถูก ก่อนจะกลายมาเป็นมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยหลายล้านดอลลาร์
ปัจจุบัน แกรนต์ คาร์ดอน อายุ 64 ปี มีรายได้จากบริษัท 18 แห่ง และเป็นเจ้าของอพาร์ตเมนต์ขนาด 12,000 ห้อง ความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาจากการใช้เวลาหลายปีเพื่อสังเกตนิสัยของบรรดามหาเศรษฐี และนี่คือเคล็ดลับ 8 ข้อที่มหาเศรษฐีเหล่านี้รู้ แต่เราอาจจะไม่รู้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ‘4 อุปนิสัย’ ที่ทำให้คนรวย ‘รวยยิ่งขึ้น!’ บทสรุปจากการสัมภาษณ์เศรษฐี 225 คน
- นักเศรษฐศาสตร์จากฮาร์วาร์ดชี้ หากคบ ‘เพื่อนรวย’ ตั้งแต่เด็ก จะทำให้รายได้ในอนาคตเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 20%
- ใครอยากเป็นเศรษฐี? ก็ฉันน่ะสิ! นี่คือเส้นทางรวยที่ผู้เชี่ยวชาญฟันธงว่าไวที่สุด (แต่ยากหน่อยนะ)
1. มหาเศรษฐีไม่กระจายการลงทุนในทันทีที่เริ่มต้น
โดยทั่วไปเรามักจะได้ยินว่าการกระจายพอร์ตลงทุนด้วยหุ้นที่หลากหลาย กองทุนรวม หรือการลงทุนอื่นๆ เป็นสิ่งที่ดี แต่สำหรับมหาเศรษฐีที่กำลังสร้างตัวขึ้นมา พวกเขามักจะทุ่มเงินลงทุนทั้งหมดไปกับโครงการหรือการลงทุนของตัวเอง แล้วค่อยกระจายการลงทุนเมื่อมีรายได้มากขึ้น
อย่างกรณีของ อีลอน มัสก์ ทุ่มเงินลงทุนทั้งหมดจำนวน 22 ล้านดอลลาร์ ที่ได้จากบริษัทแรก ไปกับการสร้างบริษัทที่ชื่อว่า Zip2 และทำเช่นนั้นอีกกับการสร้างบริษัทที่ชื่อว่า X.com
หลังจาก X.com ควบรวมกับ PayPal เขาสามารถสร้างเงินได้ถึง 180 ล้านดอลลาร์ จากการขาย PayPal ให้กับ eBay และทำให้เขามีเงินสดมากพอที่จะใช้ลงทุนใน Tesla, SpaceX และธุรกิจอื่นๆ
2. มหาเศรษฐีรู้ว่าหนี้มีไว้สำหรับธุรกิจ ไม่ใช่สำหรับบุคคล
เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเอง เราไม่ควรสะสมหนี้ โดยเฉพาะหนี้ที่ไม่จำเป็น เช่น ซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น หรือบ้านหรู
แม้ว่าเราจะสามารถจ่ายเงินสำหรับสิ่งเหล่านี้ได้ แต่แกรนต์ คาร์ดอน ไม่อยากที่จะเสียเงินไปกับการจ่ายดอกเบี้ย ในทางกลับกันเขาอยากจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้กับการสร้างเงินเพิ่ม ซึ่งก็คือการใส่เงินที่มีลงไปกับธุรกิจของตัวเอง
แกรนต์ คาร์ดอน ยังจ่ายเงินสดเพื่อซื้อบ้าน และไม่เคยปล่อยให้หนี้บัตรเครดิตสะสม ในบางกรณีหากเรากำลังสร้างธุรกิจ หนี้สามารถช่วยให้เราสร้างเงินได้จากการที่ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ได้เร็วมากขึ้น
3. การเป็นเจ้าของบ้านไม่ใช่สิ่งแรกของการลงทุน
คุณอาจคิดว่าการซื้อบ้านเป็นเหมือนความฝันของชาวอเมริกัน แต่มันแทบจะไม่ใช่สิ่งที่มหาเศรษฐีทำเป็นสิ่งแรก
ในความเห็นของแกรนต์ คาร์ดอน การเป็นเจ้าของบ้านไม่เหมือนกับการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ซึ่งเขาไม่ได้ซื้อบ้านจนกระทั่งมีเงินสดที่สามารถซื้อได้
4. กระแสเงินสดจากอสังหา คือสิ่งที่ช่วยปกป้องและสร้างเงินให้เติบโต
ในมุมกลับกัน กระแสเงินสดจากอสังหาริมทรัพย์ เช่น อสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าซึ่งสร้างรายได้จากค่าเช่ารายเดือน หรือสิทธิประโยชน์ทางภาษีและค่าบำรุงรักษา ล้วนเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อสร้างเงินให้พอกพูน
คุณสามารถสร้าง Passive Income จากการเป็นเจ้าของอสังหาเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ง่ายกว่ามากที่จะขายที่อยู่อาศัย เพราะการขายที่อยู่อาศัย คุณต้องมองหาผู้ซื้อที่ต้องการลงหลักปักฐานในบริเวณนี้ เมื่อคุณขายอสังหาเชิงพาณิชย์ คุณแค่ต้องหาผู้ซื้อที่ต้องการได้กำไร
5. มหาเศรษฐีมักจะซื้อล็อตใหญ่
มหาเศรษฐีมักต้องการจ่ายเงินเพื่อซื้อในราคาที่ดีกว่า และประหยัดเวลาในการทำกิจกรรมเดิมที่ไร้ประโยชน์
สิ่งนี้สามารถปรับใช้กับการทำธุรกิจ คนรวยอาจตกลงซื้ออุปกรณ์ด้วยล็อตใหญ่ หรือเมื่อเรามีความสามารถพอ เราควรจะซื้อทุกอย่างที่ไม่มีวันหมดอายุในปริมาณมากๆ
6. มหาเศรษฐีลงทุนในความสัมพันธ์
ไม่เคยมีใครที่นำเงินมาลงทุนกับผมโดยที่ไม่เคยรู้จักผมมาก่อน และอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ที่ผมเป็นเจ้าของ ถูกซื้อมาจากผู้ขายที่เลือกจะขายให้กับผมแทนที่จะเป็นคนอื่นๆ เพราะความสัมพันธ์ที่มีระหว่างกัน
ยิ่งมีคนรู้จักคุณมากขึ้นเท่าใด จะยิ่งช่วยทำให้ผู้คนเชื่อถือและเชื่อมั่นในทักษะและความสามารถของคุณมากขึ้นเท่านั้น สิ่งนี้นำไปสู่โอกาสที่เปิดกว้างมากขึ้น การปิดดีลที่รวดเร็ว และอำนาจในการต่อรอง
ดังนั้น เราควรสละเวลาและทรัพยากรเพื่อสร้างหรือรักษาความสัมพันธ์ที่ดีเอาไว้
7. มหาเศรษฐีไม่เคยพึงพอใจ
แกรนต์ คาร์ดอน ถามเพื่อนคนหนึ่งของเขา ซึ่งเคยเป็นซีอีโอที่ผ่านการทำงานร่วมกับกลุ่มมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยมากที่สุดในโลกจำนวนหนึ่ง ด้วยคำถามที่ว่า อะไรคือสิ่งที่มหาเศรษฐีเหล่านี้มีเหมือนๆ กัน
เพื่อนคนนั้นกล่าวว่า “มหาเศรษฐีเหล่านี้ไม่เคยพึงพอใจกับสิ่งที่พวกเขาทำสำเร็จแล้ว แต่กลับยังโฟกัสกับเป้าหมายถัดไปที่พวกเขาอาจทำได้สำเร็จ”
กลุ่มคนรวยไม่เคยพอใจกับความสำเร็จที่ผ่านมาแล้ว พวกเขาเชื่อว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้มากกว่านั้น สิ่งนี้ช่วยให้พวกเขาคิดใหญ่เกี่ยวกับไอเดียธุรกิจ การลงทุน และการต่อยอดความมั่งคั่ง
8. มหาเศรษฐีไม่เสียเวลาพยายามทำทุกอย่างด้วยตัวเอง
กลุ่มคนรวยระลึกอยู่เสมอว่าเวลาเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด คุณไม่สามารถจะหาซื้อเพิ่มได้จากที่ไหน
ดังนั้นพวกเขาจะบริหารจัดการเวลาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยการไม่พยายามควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง โดยเฉพาะรายละเอียดเล็กน้อยของธุรกิจและพอร์ตโฟลิโอ และเรียนรู้ที่จะกระจายความรับผิดชอบไปให้คนภายนอก ซึ่งมีความสามารถที่ต้องการแลกเวลาของพวกเขากับค่าตอบแทน
อ้างอิง: