ไม่ใช่แค่ภาคธุรกิจด้านพลังงานหรือปิโตรเคมีเท่านั้นที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และจะต้องปรับตัว เปลี่ยนนโยบายและแม่บทการดำเนินธุรกิจใหม่เพื่อการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและร่วมสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมและโลกใบนี้ เพราะภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็มีส่วนสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเช่นกัน
นั่นจึงทำให้ ESG Goals (Environmental, Social, and Governance) กลายเป็นเป้าหมายสำคัญที่ภาคธุรกิจน้อยใหญ่ทั่วโลกต่างก็หันมามุ่งเน้นเพราะเห็นพ้องตรงกันแล้วว่าเป็นหลักไมล์สำคัญในการทำธุรกิจคู่ขนานไปกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
หนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีส่วนในการร่วมเป็นผู้ช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อประเด็นความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นเซกเตอร์ที่อยู่ใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันผู้บริโภคมากที่สุด ย่อมหนีไม่พ้น ‘อุตสาหกรรมค้าปลีก’ หรือภาครีเทล ตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ที่ใช้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายภายในร้านค้า หรือกระบวนการการลำเลียงนำส่งสินค้าไปยังสาขาต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีบทบาทและเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่จะร่วมแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ เซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ เพิ่งจะคว้ารางวัลโครงการประเมินและจัดระดับธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable Business Index: LCSi) ในระดับโดดเด่น ประจำปี 2564 จาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. มาครองได้สำเร็จ จากการที่สามารถดำเนินนโยบายเพื่อร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม
บรรจุภัณฑ์แก้วกระดาษที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติถูกนำมาใช้สำหรับเครื่องดื่มร้อน-เย็น ของ All Café ในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น
โดยรางวัลที่ ซีพี ออลล์ คว้ามาครองได้นั้น ถือเป็นหมุดหมายสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่านโยบายและการดำเนินงานต่าง ๆในด้านสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง ซึ่งผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน สามารถดำเนินงานด้านการบริหารจัดการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ได้ประกาศ นโยบาย 7 Go Green 2021 เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง มุ่งเน้นการอนุรักษสิ่งแวดล้อมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2573 หรืออีก 9 ปีต่อจากนี้
คุณยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล กรรมการผู้จัดการ (ร่วม) บมจ.ซีพี ออลล์ กล่าวถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้นว่า “ซีพี ออลล์ ได้ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยได้ขับเคลื่อนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่องภายใต้การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, and Governance: ESG) เพื่อสังคม ชุมชน และประเทศชาติ อย่างยั่งยืน ซึ่งการได้รับรางวัลในครั้งนี้” แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จไปอีกขั้นสำหรับเป้าหมายการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สำหรับนโยบาย 7 Go Green 2021 เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง ที่กำลังขับเคลื่อนนั้น ประกอบไปด้วย
1. Green Store – ออกแบบและบริหารจัดการร้านอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เช่น โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพคอยล์เย็น สำหรับตู้แช่เย็นขนาดใหญ่, โครงการเครื่องปรับอากาศ ประเภท Inverter ภายในร้านฯ, โครงการใช้หลอดไฟ LED, โครงการสำรวจและติดตามสภาพอากาศภายในร้านฯ, โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์, โครงการปรับปรุงระบบทำความเย็นของตู้แสดงสินค้า ชนิดไร้บานประตูเป็นแบบรวมศูนย์, โครงการ Knockdown Store นำวัสดุเปลือกอาคารกลับมาใช้ใหม่ และ โครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
เป้าหมายปี 2564: เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนได้ 82,987,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 40,248 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) หรือเปรียบเทียบการปลูกไม้ยืนต้น จำนวน 111,554 ต้น
2. Green Packaging – โครงการด้านการจัดการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น มุ่งหวังในการลดปริมาณขยะพลาสติก หาวัสดุที่มาจากแหล่งทรัพยากรที่สามารถทดแทนได้ และต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) หรือนำมาใช้ใหม่ (Recyclable) หรือสามารถย่อยสลายได้ (Compostable) เช่น การจัดการบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยได้เริ่มใช้ฝายกดื่มไม่พึ่งหลอด ตั้งแต่ปี เมษายน 2563 ในร้าน All Café จำนวน 8,492 สาขาทั่วประเทศ และใช้แก้วกระดาษที่สามารถย่อยสลายได้ตามตามธรรมชาติ สำหรับเครื่องดื่มร้อน–เย็นในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ทั่วประเทศ เริ่มใช้ตั้งแต่ปี ธันวาคม 2562 ปัจจุบันใช้แก้วรักษ์โลกในร้านสาขาพื้นที่เกาะ สถานศึกษา และ สำนักงาน รวมกว่า 874 สาขา
เสื้อของพนักงานร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ที่เปลี่ยนมาใช้วัสดุจากขวดพลาสติกรีไซเคิล
โครงการการลดใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic) โดยการลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง และใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติทดแทน ได้แก่ ไม้คนกาแฟ ถุงกระดาษ และ กระดาษหุ้มหลอด เป็นต้น, โครงการเสื้อพนักงานที่ผลิตจากขวดพลาสติกรีไซเคิล โดยนำขวดพลาสติกมารีไซเคิลเป็นเสื้อ และ โครงการใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษีเต็มรูป แบบเล็กทรอนิกส์ เพื่อรณรงค์ในการลดใช้กระดาษ เป็นต้น
เป้าหมายปี 2564: กำหนดการแผนการดำเนินงานในการลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกจำนวน 10,813 ตัน, ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 80,921 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) หรือเปรียบเทียบการปลูกไม้ยืนต้นจำนวน 224,283 ต้น
3. Green Logistic – นำหลักเกณฑ์สำหรับการประเมินอาคารสีเขียว (Leadership in Energy & Environmental Design: LEED) เป็นหลักเกณฑ์ใช้พัฒนาและออกแบบนย์กระจายสินค้า ทั่วประเทศ ปัจจุบันมีทั้งหมด 20 แห่งใน12 จังหวัดทั่วประเทศ และได้ติดตั้งแผง Solar Cell เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วประเทศ
เป้าหมายปี 2564: เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนได้ 8,786,280 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh), ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 4,261 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) หรือเปรียบเทียบการปลูกไม้ยืนต้นจำนวน 11,810 ต้น
4. Green Living – รณรงค์และเชิญชวนผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมสร้างความตระหนักโดยมีเป้าหมายหลักเพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนแนวคิดหลัก เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy
แม้ภาพรวมของเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2573 จะใช้ระยะเวลาอีกนานพอสมควร แต่อย่างน้อยที่สุด การกล้าที่จะลุกมาสร้างความเปลี่ยนแปลง และเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ที่มีเป้าหมายยิ่งใหญ่เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสิ่งแวดล้อม แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สร้างประโยชน์ให้กับผู้คน สิ่งแวดล้อม และโลกใบนี้ได้อีกมหาศาล