×

5 สิ่งที่อเล็กซ์ได้เรียนรู้จากการเป็น TCP Spirit Ambassador [Advertorial]

16.11.2018
  • LOADING...

หลังจากได้รับเลือกให้เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของโครงการ TCP Spirit #1 หมอต้นไม้ สวนลุมฯ ที่ชวนให้คนเมืองมีโอกาสเป็นอาสาสมัครเพื่อเรียนรู้วิธีการดูแลรักษาต้นไม้อย่างถูกต้องเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา อเล็กซ์ เรนเดลล์ นักแสดงหนุ่มวัย 28 ปีที่ใช้เวลาวัยรุ่นส่วนใหญ่หมดไปกับการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมก็มีโอกาสส่งต่อเรื่องราวดีๆ อีกครั้ง ในโครงการ TCP Spirit #2 หมอต้นไม้ เชียงใหม่ ที่พาอาสาสมัครผู้มีใจรักในการดูแลสิ่งแวดล้อมไปทำความรู้จักกับวิธีการดูแลต้นไม้ในเมืองอย่างถูกต้อง โดยวิทยากรที่ทำหน้าที่เป็น ‘หมอต้นไม้’ ผ่านบรรดาต้นไม้ในเมืองเชียงใหม่ที่มักถูกผู้คนละเลย

 

ประสบการณ์เรียนรู้ในฐานะ ‘หมอต้นไม้’ ของอเล็กซ์ไม่เพียงแต่ให้ความรู้ด้านการดูแลต้นไม้อย่างถูกวิธี แต่ยังทำให้เขาได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ผ่านเรื่องราวที่ซ่อนตัวอยู่ใต้เงาไม้ รวมทั้งความคิดที่เปลี่ยนใหม่ของเมืองเชียงใหม่ในฐานะเมืองที่เขาอยากมาฝากชีวิตไว้ในอนาคต

 

 

ต้นไม้บอกเล่าประวัติศาสตร์

เชียงใหม่เป็นที่ที่ผมคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กๆ จากการเข้าค่ายกับที่โรงเรียนและการมาทำงานที่เชียงใหม่หลายๆ ครั้ง แต่สิ่งที่รับรู้กับเชียงใหม่จะเป็นลักษณะเมืองที่มีอากาศดี อยากไปเที่ยวในฤดูหนาว แต่พอมาทำงานสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะโปรเจกต์ TCP Spirit #2 หมอต้นไม้ เชียงใหม่ ที่นอกจากมุมมองเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ เรายังได้เห็นว่าเชียงใหม่เป็นเมืองที่ให้ความสำคัญกับศาสนา งานศิลปะ สิ่งแวดล้อม และประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก

 

ได้เห็นวิถีชีวิตของผู้คนที่ให้ความสำคัญกับรายละเอียดเล็กๆ ของธรรมชาติ ให้ความสำคัญกับคนในพื้นที่ทุกคนไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใครก็ตาม จากที่เมื่อก่อนผมไม่เคยคิดเลยนะว่าเชียงใหม่จะเป็นเมืองที่ผมอยากมาใช้ชีวิตในอนาคต แต่พอผ่านโปรเจกต์นี้ ได้มาทำความรู้จักกับเชียงใหม่ในอีกมุมหนึ่ง มันทำให้เราเห็นภาพว่าอยากจะมาสร้างบ้านให้พ่อแม่ หรือคิดว่าที่นี่น่าจะมีผลที่ดีกับชีวิตของเราในอนาคตไกลๆ ได้อยู่พอสมควร

 

 

การได้คุยกับพี่ๆ วิทยากรหลายคนในโปรเจกต์ TCP Spirit #2 หมอต้นไม้ เชียงใหม่ นอกจากเรื่องการดูแลรักษาต้นไม้ยังทำให้ผมเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของผู้คนผ่านคำบอกเล่า ความเชื่อ และวิถีปฏิบัติที่ผู้คนกระทำต่อต้นไม้ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบๆ ต้นไม้ใหญ่หนึ่งต้น เหตุผลที่เขาต้องมาปลูกป่าตรงนี้ ความสำคัญของแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร และทำให้เรามองเห็นภาพรวมประวัติศาสตร์ของผู้คนที่อาจไม่ได้บอกเล่ากันจากตำราเรียนทั่วไปได้เป็นอย่างดี

 

 

การสร้างคุณค่าให้กับต้นไม้ในฐานะสถาปัตยกรรมทางธรรมชาติที่ลอกเลียนแบบไม่ได้

เรื่องที่ผมชอบมากคือล่าสุดผมได้ไปเห็นต้นมะขามยักษ์ใจกลางโรงแรมแทมมารีน ซึ่งหลายๆ ที่อาจเลือกถอนต้นไม้นี้ออกแล้วเอาพื้นที่ไปทำประโยชน์ด้านอื่นมากกว่า แต่ที่นี่เขาใช้วิธีสร้างคุณค่าให้ต้นไม้กลายเป็นสิ่งสำคัญ เป็นสถานที่ที่ต้องแนะนำให้แขกทุกคนที่มาได้รู้จักทั้งประวัติความเป็นมา เรื่องราว ความสำคัญของต้นไม้ต้นนี้

 

 

ซึ่งตรงนี้ไม่ได้สำคัญในแง่การบอกเล่าประวัติศาสตร์ แต่แสดงให้เห็นว่าเขาให้ความสำคัญกับต้นไม้จริงๆ ในฐานะสถาปัตยกรรมทางธรรมชาติเพียงหนึ่งเดียวที่มนุษย์ไม่มีวันจะลอกเลียนแบบขึ้นมาได้ แทนที่จะมองว่าต้นไม้เป็นภาระ แต่เขาสร้างคุณค่าให้กับต้นไม้นี้ เป็นการผสมผสานการอนุรักษ์ต้นไม้เก่าแก่และสนับสนุนการท่องเที่ยวสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี

 

 

ไม่ว่าจะเป็น ‘หมอ’ ด้านไหนก็ต้องให้ความสำคัญเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ให้มากที่สุด

อีกสิ่งหนึ่งที่ผมเรียนรู้คือไม่ว่าใครก็ตามที่ได้ชื่อว่าหมอ เขาต้องให้ความสำคัญกับสิ่งเล็กๆ เพราะเข้าใจดีว่าปัญหาที่ลุกลามใหญ่โตจนเกินการรักษานั้นมีที่มาจากปัจจัยเล็กๆ เสมอ ยกตัวอย่าง คนไข้เป็นแผลเล็กๆ ถ้าหมอคิดว่าแผลแค่นั้นแล้วไม่รักษาอย่างดีที่สุด แผลนั้นอาจเกิดอาการอักเสบ เป็นบาดทะยัก จนเป็นเหตุให้คนไข้ต้องตัดแขนหรือขาทิ้งไป

 

ไม่ต่างอะไรกับหมอต้นไม้ที่คนทั่วไปอาจมองเห็นรูบนต้นไม้ว่าเป็นแค่โพรงเล็กๆ แต่หมอต้นไม้จะไม่มองข้ามเรื่องพวกนี้เด็ดขาด เพราะรู้ดีว่าโพรงเล็กในวันนี้อาจเป็นเหตุให้ต้องตัดหรือถอนต้นไม้นั้นในอนาคต โปรเจกต์หมอต้นไม้ทำให้ผมเชื่อว่าหมอทุกคนต้องมีแพสชัน มีจิตใจที่อ่อนโยนกับอาการหรือปัญหาของคนไข้ที่เขารักษาให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นหมอรักษาคน รักษาสัตว์ หรือรักษาต้นไม้ก็ตาม

 

 

ตอนแรกที่ได้ยินคำว่า ‘หมอต้นไม้’ ผมก็งงเหมือนกันนะว่าคืออะไร จนได้มาคุยกับทาง TCP ถึงโปรเจกต์หมอต้นไม้แล้วเริ่มสนใจ จึงกลับไปหาข้อมูลเพิ่มเติมจนได้รู้ว่ามีคนที่ทำหน้าที่นี้อยู่จริงๆ เป็นหมอที่คอยรักษาผู้คนผ่านการดูแลต้นไม้ในเมืองให้ดีที่สุด แล้วก็เอาวิธีการและกระบวนการเรียนรู้มาเผยแพร่ให้กับหน่วยงานต่างๆ และเคสนี้ก็คืออาสาสมัครทั่วประเทศที่มีความรู้สึกอยากทำความเข้าใจถึงวิธีการดูแลรักษาต้นไม้ที่ถูกต้อง

 

สิ่งหนึ่งที่หมอต้นไม้สอนผมอย่างชัดเจนคือการให้ความสำคัญกับต้นไม้ในเมืองที่มักจะถูกละเลย เพราะคิดว่าไม่ใช่ต้นไม้ธรรมชาติ หรือเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่มีความสำคัญอะไร แต่จริงๆ แล้วต้นไม้ทุกต้นก็มีชีวิตและไม่ได้ดูแลกันง่ายๆ ไม่ใช่ว่ารดน้ำต้นไม้ทุกวันแล้วจบ เพราะหากดูแลไม่ดี ต้นไม้ในเมืองจะส่งผลกระทบให้กับชาวบ้านที่อยู่รอบข้างได้มากมาย เพราะฉะนั้นการปลูกต้นไม้ในเมืองเลยกินความหมายไกลกว่าการเป็นเครื่องประดับให้บ้านเมืองสวยงาม แต่หมายถึงชีวิตที่เราต้องดูแลอย่างถูกวิธีเช่นเดียวกัน

 

เพราะมีงานวิจัยในต่างประเทศหลายชิ้นที่บอกว่าเมืองไหนมีต้นไม้เยอะ ที่นั่นจะมีอัตราการก่ออาชญากรรมลดน้อยลง รวมทั้งมลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศที่ลดลง และส่งผลให้สภาพจิตใจของผู้คนในเมืองนั้นดีขึ้น แต่น่าเสียดายที่คนยังรับรู้ถึงการมีอยู่ของหมอต้นไม้ที่ทำงานด้านนี้น้อยเกินไป ทั้งๆ ที่เขาก็ทำงานหนักและเหนื่อยไม่ต่างจากคนที่ทำงานสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ เลย

 

 

จัดระเบียบความคิดและชีวิตของตัวเองให้มั่นคงก่อนมาเป็นอาสาสมัคร

ผมคิดว่าจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการทำงานอาสาสมัครคือต้องพอใจกับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ให้ได้ก่อน ผมพูดเสมอว่าที่มาทำงานสิ่งแวดล้อมตั้งแต่อายุยังน้อยได้เพราะผมโชคดีที่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว จากโอกาสที่ผู้ใหญ่ในวงการบันเทิงมอบให้ ผมรู้สึกมั่นคงในสิ่งที่ผมทำอยู่จนรู้สึกว่าไม่อยากใช้ชีวิตแบบ take adventage ที่เราได้รับ นั่งอยู่เฉยๆ แล้วรอให้งานวิ่งมาหาผมอย่างเดียว ผมคิดว่าเมื่อผมทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีแล้ว ผมก็อยากทำอะไรที่ไกลกว่านั้นเพื่อสังคมบ้าง

 

แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถทำแบบนี้ได้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคนอื่นทำอะไรผิดเลยนะครับ อย่างที่บอกว่าผมโชคดีจริงๆ ผมเลยทำแบบนี้ได้ แต่ถ้ารู้สึกว่าตัวเองเป็นวัยรุ่นที่ยังทำงานได้ไม่นาน ยังมีความมั่นคงด้านอื่นๆ ในชีวิตที่ต้องการอยู่ ผมคิดว่าการทุ่มเทเพื่อไขว่คว้าสิ่งเหล่านั้นให้มั่นคงก่อนคือเรื่องที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน

 

แล้วเมื่อไรที่รู้สึกว่าพอใจกับชีวิตด้านนั้นแล้ว พร้อมที่จะทำอะไรบางอย่างให้ก็ได้ โดยไม่มานั่งเสียใจหรือเสียดายเวลาในตอนหลัง ตอนนั้นค่อยมางานทำอาสาสมัครหรืองานอะไรก็ตามที่มีประโยชน์เพื่อสังคมก็ยังไม่สาย แล้วทุกๆ งานที่ทำตอนนั้นจะไม่ได้ให้แค่ความมั่นคงทางชีวิต แต่จะสร้างความมั่นคงด้านจิตใจเพิ่มขึ้นมา

 

 

เพราะเราไม่อาจเปลี่ยนโลกด้วยตัวคนเดียว การร่วมมือกันจึงสำคัญที่สุด

สิ่งที่ผมเรียนรู้มาตลอดคือการอนุรักษ์อะไรสักอย่าง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการมีส่วนร่วมของสังคม ผมคนเดียวไม่อาจทำอะไรได้มากนัก หน่วยงานหนึ่งก็ไม่สามารถทำได้ แต่ถ้าเรามาร่วมมือกัน มันจะเกิดพลังอะไรบางอย่างขึ้นมา โดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาที่เราจะเห็นองค์กรที่มีพลังทางสังคมหันมาทำงานทำงานอนุรักษ์ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากกว่าในอดีต

 

ตอนที่ผมทำเรื่องสิ่งแวดล้อมแรกๆ เมื่อหลายปีก่อน ยากมากเลยนะครับที่จะทำให้เรื่องนี้ไปอยู่ในการรับรู้ของคนในสังคม แต่ในสมัยนี้ทั้งพลังของหน่วยงานต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น พลังของโซเชียลมีเดียในการส่งต่อเรื่องราวดีๆ ที่เป็นแรงบันดาลใจ เป็นแรงกระตุ้นให้คนในสังคมตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือมีจิตใจที่รักในธรรมชาติมากขึ้น

 

ยิ่งมีพลังในการพูดเรื่องเดียวกันมากเท่าไร เสียงของเราก็จะยิ่งดังขึ้น เราได้เห็นการร่วมมือขององค์กรต่างๆ อย่างโปรเจกต์ TCP Spirit #2 หมอต้นไม้ เชียงใหม่ ก็เกิดจากความร่วมมือกันของหลายฝ่ายจนเราสามารถส่งต่อเรื่องราวดีๆ และสร้างแรงบันดาลใจจนมีอาสาสมัครเข้ามาร่วมกิจกรรมเรียนรู้ที่จะดูแลรักษาต้นไม้อย่างถูกวิธีมากขึ้น และแน่นอนว่าพลังเหล่านี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยถ้าหากมีใครคนหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งพยายามทำอยู่คนเดียว

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

FYI
  • ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมกับโปรเจกต์งานอาสาของ TCP Spirit ครั้งต่อไปได้ที่ www.facebook.com/TCPGroupThailand
  • กลุ่มธุรกิจ TCP เป็นองค์กรของคนไทยที่เป็นเจ้าของ เป็นผู้ผลิต และเป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์กระทิงแดง (เรดบูล), เรดดี้, โสมพลัส, สปอนเซอร์, แมนซั่ม, เพียวริคุ และซันสแนค
  • TCP Spirit คือโครงการอาสาสมัครแนวใหม่ที่มุ่งรวมพลังคนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนชุมชนและสังคมสู่ความยั่งยืน โดยต่อยอดและขยายความร่วมมือมาจาก ‘กระทิงแดง สปิริต’ ที่มุ่งให้การสนับสนุนจิตอาสาที่เป็นคนรุ่นใหม่ ภาคีเครือข่าย และกลุ่มองค์กรต่างๆ ผ่านกิจกรรมที่แปลกใหม่ในหลากหลายมิติ รวมถึงกิจกรรมที่สังคมต้องการ แต่ขาดพลังผลักดัน
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X